กษ. มอบสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประชุม ACMECS ที่ประเทศลาว เพื่อผลักดันให้ความตกลง ด้านความร่วมมือต่าง ๆ นำไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว ด้านที่ประชุมเห็นชอบไฟเขียวขยายความร่วมมือเป็น 7 สาขา พร้อมเสนอให้พม่าเป็นผู้ประสานความร่วมมือสาขาเกษตร ส่วนเวียดนามปฏิเสธดูแลสาขาอุตสาหกรรม อ้างยังไม่มีความพร้อมพอ
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) กับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
สำหรับการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรี ACMECS ด้านต่างประเทศได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการ ACMECS ปี 2549 ที่มีการขยายความร่วมมือจากเดิม 6 สาขา เป็น 7 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ ของไทยได้เสนอให้แยกสาขาอุตสาหกรรมออกจากสาขาเกษตร ขณะนี้สหภาพพม่าเป็นผู้ประสานความร่วมมือในสาขาเกษตร
ในส่วนของ สปป.ลาว กิจกรรมการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) และการค้า สินค้าเกษตรมีเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ขอความอนุเคราะห์ให้สถานทูตไทยประจำ สปป.ลาว ประสานงานกับกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ในแขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต เพื่อเร่งรัดดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการการผลิตพืชไร่แบบมีสัญญา ในพื้นที่ทั้ง 2 แขวงในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ และขยายผลเชื่อมโยงกับการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญาระหว่างประชาชนกับประชาชนต่อไป สำหรับในสหภาพพม่า ยังอยู่ในระหว่างการหารือกับเจ้าหน้าที่ เนื่องจากจังหวัดตากที่เป็นจังหวัดนำร่องเป็นเขตอิทธิพลของชนกลุ่มน้อย ทำให้รัฐบาลพม่าไม่ให้การสนับสนุนในกิจกรรมใด ๆ
ด้านแผนลงทุนจังหวัดชายแดน Contract Farming ในปี 2548 ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังไม่สามารถบรรลุผลได้ตามพืชเป้าหมาย 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน และละหุ่ง ซึ่งมีการนำเข้าเพียง 3 ชนิดคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ผิวมัน ร้อยละ 2 ของแผนที่มีการลงทะเบียนขออนุญาตลงทุนผลิตสินค้าเกษตรและนำเข้ากับจังหวัดชายแดน ซึ่งมีอุปสรรคของพืชนำเข้าที่สำคัญคือ ถั่วเหลือง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้เชิญประชุมกับผู้เกี่ยวข้องและได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าในปี 2549 จะสามารถนำเข้าสินค้าดังกล่าวได้มากขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้าเกษตรของด่านชายแดนทั่วประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ในปี 2548 และใน 5 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ลูกเดือย เป็นต้น
ซึ่งถือว่าปริมาณการค้าสินค้าเกษตรชายแดนที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นผลงานของโครงการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังเป็นการสร้างแหล่งวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมของไทย ซึ่งถือเป็น Win-Win Situation นายพินิจกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) กับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ เมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
สำหรับการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรี ACMECS ด้านต่างประเทศได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการ ACMECS ปี 2549 ที่มีการขยายความร่วมมือจากเดิม 6 สาขา เป็น 7 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ ของไทยได้เสนอให้แยกสาขาอุตสาหกรรมออกจากสาขาเกษตร ขณะนี้สหภาพพม่าเป็นผู้ประสานความร่วมมือในสาขาเกษตร
ในส่วนของ สปป.ลาว กิจกรรมการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) และการค้า สินค้าเกษตรมีเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ขอความอนุเคราะห์ให้สถานทูตไทยประจำ สปป.ลาว ประสานงานกับกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ในแขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต เพื่อเร่งรัดดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการการผลิตพืชไร่แบบมีสัญญา ในพื้นที่ทั้ง 2 แขวงในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ และขยายผลเชื่อมโยงกับการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญาระหว่างประชาชนกับประชาชนต่อไป สำหรับในสหภาพพม่า ยังอยู่ในระหว่างการหารือกับเจ้าหน้าที่ เนื่องจากจังหวัดตากที่เป็นจังหวัดนำร่องเป็นเขตอิทธิพลของชนกลุ่มน้อย ทำให้รัฐบาลพม่าไม่ให้การสนับสนุนในกิจกรรมใด ๆ
ด้านแผนลงทุนจังหวัดชายแดน Contract Farming ในปี 2548 ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังไม่สามารถบรรลุผลได้ตามพืชเป้าหมาย 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน และละหุ่ง ซึ่งมีการนำเข้าเพียง 3 ชนิดคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ผิวมัน ร้อยละ 2 ของแผนที่มีการลงทะเบียนขออนุญาตลงทุนผลิตสินค้าเกษตรและนำเข้ากับจังหวัดชายแดน ซึ่งมีอุปสรรคของพืชนำเข้าที่สำคัญคือ ถั่วเหลือง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้เชิญประชุมกับผู้เกี่ยวข้องและได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าในปี 2549 จะสามารถนำเข้าสินค้าดังกล่าวได้มากขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้าเกษตรของด่านชายแดนทั่วประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ในปี 2548 และใน 5 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ลูกเดือย เป็นต้น
ซึ่งถือว่าปริมาณการค้าสินค้าเกษตรชายแดนที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นผลงานของโครงการลงทุนทำการเกษตรแบบมีสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังเป็นการสร้างแหล่งวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมของไทย ซึ่งถือเป็น Win-Win Situation นายพินิจกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-