ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 98.26 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าขณะนี้ราคายางสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่ง
เป็นสิ่งผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าชนิดอื่น และจากการที่ราคายางสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางทั้งระบบ โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำยางข้น ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องปิดกิจการชั่วคราว ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯ
จึงเตรียมพิจารณามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากราคายางที่สูงขึ้น ซึ่งเบื้องต้นจะดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบการปรับลดภาษี
หรือสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะการปรับปรุงเครื่องจักรในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์
ยาง โดยให้สถาบันวิจัยยางเร่งผลักดันของบประมาณจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับอุตสาหกรรมถุงมือยางและยางล้อส่งออก และเร่งจัดทำ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทยให้เป็นมาตรฐานสากล
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.39 บาท สูงขึ้นจาก 92.71 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.89
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.89 บาท สูงขึ้นจาก 92.21 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.91
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.39 บาท สูงขึ้นจาก 91.71 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.92
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.35 บาท สูงขึ้นจาก 90.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.98
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.86 บาท สูงขึ้นจาก 88.97 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.89 หรือร้อยละ 3.25
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.50 บาท สูงขึ้นจาก 91.63 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.87 บาท
หรือร้อยละ 3.13
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.76 บาท ลดลงจาก 49.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.64 บาท
หรือร้อยละ 7.37
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.18 บาท สูงขึ้นจาก 41.17 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.01 บาท หรือร้อยละ 2.45
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.85 บาท สูงขึ้นจาก 86.96 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.89 บาท หรือร้อยละ 2.17
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนสิงหาคม 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.19 บาท สูงขึ้นจาก 103.49 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.61
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.04 บาท สูงขึ้นจาก 102.34 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.64
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.53 บาท สูงขึ้นจาก 72.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.78 บาท หรือร้อยละ 1.07
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.94 บาท สูงขึ้นจาก 103.24 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.62
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.79 บาท สูงขึ้นจาก 102.09 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.64
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.28 บาท สูงขึ้นจาก 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.78 บาท
หรือร้อยละ 1.07
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
หนังสือพิมพ์ The Commercial Times เสนอข่าวแผนงานการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมยางรถยนต์บริษัท Cheng Shin
Rubber Ind.,Co.,Ltd. (เจิ้ง ซิน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่สุดของไต้หวัน ภายใต้แบรนด์เนม MAXXIS และมีผลประกอบการ
ในปี 2548 คิดเป็น 38,400 ล้านเหรียญไต้หวัน มีอัตราการเติบโตร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาว่า บริษัทได้วางแผนจะลงทุน
ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในเวียดนาม และกำลังวางแผนขยายโรงงานผลิตยางรถยนต์แห่งที่ 2 ในนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออก
(Eastern Seaboard) ที่จังหวัดระยอง ปัจจุบันบริษัทเจิ้ง ซิน ฯ ได้ขยายโครงการครอบคลุมถึงประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
มาเลเซีย และสิงคโปร์ และอยู่ระหว่างการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มที่โรงงานรถยนต์ในไต้หวันและจีน นอกจากนี้บริษัทเจิ้ง ซินได้มี
การทำข้อตกลงร่วมกับบริษัท General Motors (G.M.) ของสหรัฐฯ ในการส่งยางรถยนต์ป้อนให้กับ บริษัท G.M. มาเป็นระยะเวลา
3 ปีแล้ว
สำหรับปี 2548 อุปสงค์ยางธรรมชาติโลกมีประมาณ 8.7 ล้านตัน คาดว่าในปี 2553
อุปสงค์ยางธรรมชาติโลกจะเพิ่มเป็น 11 ล้านตัน ซึ่งตลาดหลักคือ จีนและอินเดีย และจากการคาดการณ์ของ The
Economist Intelligence Unit (EIU) คาดว่าในปี 2563 ทวีปเอเซียจะมีอัตราจำหน่ายรถยนต์ต่อปีสูงถึง 38 ล้านคัน หรือเท่ากับ
ร้อยละ 40 ของยอดจำหน่ายทั่วโลก เพิ่มขึ้นจาก 22.19 และ 11.65 ล้านคัน ในปี 2553 และปี 2542 ตามลำดับ ดังนั้นศักยภาพ
ในการผลิตยางรถยนต์จะมีปริมาณมากมหาศาลโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางรถยนต์ รวมทั้งอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติในประเทศไทย เช่น
อุตสาหกรรมการบ่มยางพารา รวมทั้งการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ซึ่งน่าส่งเสริมได้อย่างเต็มที่
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน สิงหาคม 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 439.13 เซนต์สิงคโปร์ ( 104.69 บาท) สูงขึ้นจาก 430.50
เซนต์สิงคโปร์ (102.72 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.63 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.00
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 272.31 เซนต์สหรัฐ ( 104.17 บาท) สูงขึ้นจาก 267.69 เซนต์สหรัฐ
(102.21 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.62 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.73
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 231.75 เพนนี ( 88.65 บาท ) สูงขึ้นจาก 224.13 เพนนี
(85.58 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.62 เพนนี หรือร้อยละ 3.40
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.90 เยน (106.81 บาท) สูงขึ้นจาก 316.20 เยน
(104.45 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.70 เยน หรือร้อยละ 3.07
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 26 มิย. - 2 กค. 2549--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าขณะนี้ราคายางสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่ง
เป็นสิ่งผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าชนิดอื่น และจากการที่ราคายางสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางทั้งระบบ โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำยางข้น ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องปิดกิจการชั่วคราว ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯ
จึงเตรียมพิจารณามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากราคายางที่สูงขึ้น ซึ่งเบื้องต้นจะดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบการปรับลดภาษี
หรือสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะการปรับปรุงเครื่องจักรในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์
ยาง โดยให้สถาบันวิจัยยางเร่งผลักดันของบประมาณจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับอุตสาหกรรมถุงมือยางและยางล้อส่งออก และเร่งจัดทำ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทยให้เป็นมาตรฐานสากล
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.39 บาท สูงขึ้นจาก 92.71 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.89
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.89 บาท สูงขึ้นจาก 92.21 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.91
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.39 บาท สูงขึ้นจาก 91.71 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.68 บาท หรือร้อยละ 2.92
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.35 บาท สูงขึ้นจาก 90.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.98
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.86 บาท สูงขึ้นจาก 88.97 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.89 หรือร้อยละ 3.25
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.50 บาท สูงขึ้นจาก 91.63 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.87 บาท
หรือร้อยละ 3.13
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.76 บาท ลดลงจาก 49.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.64 บาท
หรือร้อยละ 7.37
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.18 บาท สูงขึ้นจาก 41.17 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.01 บาท หรือร้อยละ 2.45
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.85 บาท สูงขึ้นจาก 86.96 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.89 บาท หรือร้อยละ 2.17
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนสิงหาคม 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.19 บาท สูงขึ้นจาก 103.49 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.61
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.04 บาท สูงขึ้นจาก 102.34 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.64
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.53 บาท สูงขึ้นจาก 72.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.78 บาท หรือร้อยละ 1.07
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.94 บาท สูงขึ้นจาก 103.24 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.62
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.79 บาท สูงขึ้นจาก 102.09 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.70 บาท หรือร้อยละ 2.64
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.28 บาท สูงขึ้นจาก 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.78 บาท
หรือร้อยละ 1.07
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
หนังสือพิมพ์ The Commercial Times เสนอข่าวแผนงานการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมยางรถยนต์บริษัท Cheng Shin
Rubber Ind.,Co.,Ltd. (เจิ้ง ซิน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่สุดของไต้หวัน ภายใต้แบรนด์เนม MAXXIS และมีผลประกอบการ
ในปี 2548 คิดเป็น 38,400 ล้านเหรียญไต้หวัน มีอัตราการเติบโตร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาว่า บริษัทได้วางแผนจะลงทุน
ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในเวียดนาม และกำลังวางแผนขยายโรงงานผลิตยางรถยนต์แห่งที่ 2 ในนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออก
(Eastern Seaboard) ที่จังหวัดระยอง ปัจจุบันบริษัทเจิ้ง ซิน ฯ ได้ขยายโครงการครอบคลุมถึงประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
มาเลเซีย และสิงคโปร์ และอยู่ระหว่างการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มที่โรงงานรถยนต์ในไต้หวันและจีน นอกจากนี้บริษัทเจิ้ง ซินได้มี
การทำข้อตกลงร่วมกับบริษัท General Motors (G.M.) ของสหรัฐฯ ในการส่งยางรถยนต์ป้อนให้กับ บริษัท G.M. มาเป็นระยะเวลา
3 ปีแล้ว
สำหรับปี 2548 อุปสงค์ยางธรรมชาติโลกมีประมาณ 8.7 ล้านตัน คาดว่าในปี 2553
อุปสงค์ยางธรรมชาติโลกจะเพิ่มเป็น 11 ล้านตัน ซึ่งตลาดหลักคือ จีนและอินเดีย และจากการคาดการณ์ของ The
Economist Intelligence Unit (EIU) คาดว่าในปี 2563 ทวีปเอเซียจะมีอัตราจำหน่ายรถยนต์ต่อปีสูงถึง 38 ล้านคัน หรือเท่ากับ
ร้อยละ 40 ของยอดจำหน่ายทั่วโลก เพิ่มขึ้นจาก 22.19 และ 11.65 ล้านคัน ในปี 2553 และปี 2542 ตามลำดับ ดังนั้นศักยภาพ
ในการผลิตยางรถยนต์จะมีปริมาณมากมหาศาลโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางรถยนต์ รวมทั้งอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติในประเทศไทย เช่น
อุตสาหกรรมการบ่มยางพารา รวมทั้งการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ซึ่งน่าส่งเสริมได้อย่างเต็มที่
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน สิงหาคม 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 439.13 เซนต์สิงคโปร์ ( 104.69 บาท) สูงขึ้นจาก 430.50
เซนต์สิงคโปร์ (102.72 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.63 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.00
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 272.31 เซนต์สหรัฐ ( 104.17 บาท) สูงขึ้นจาก 267.69 เซนต์สหรัฐ
(102.21 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.62 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.73
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 231.75 เพนนี ( 88.65 บาท ) สูงขึ้นจาก 224.13 เพนนี
(85.58 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.62 เพนนี หรือร้อยละ 3.40
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.90 เยน (106.81 บาท) สูงขึ้นจาก 316.20 เยน
(104.45 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.70 เยน หรือร้อยละ 3.07
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 26 มิย. - 2 กค. 2549--
-พห-