ในยุคแห่งดิจิตัลในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเตอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ (Competitive advantage) ระบบ “e-” ต่าง ๆ ต่างเป็นที่คุ้นหู ไม่ว่าจะเป็น e-business, e-commerce หรือ e-shopping อย่างไรก็ตามอาจยังมีคำถามว่าควรเริ่มต้นอย่างไร ซึ่งบันได 5 ขั้นต่อไปนี้คงพอจะเป็น guideline สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ได้
เริ่มก้าวแรกด้วย electronic mail (e-mail)
หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มเข้าสู่โลกของธุรกิจแบบดิจิตัลอย่างไร ลองเริ่มจากการติดต่อสื่อสารผ่านทาง e-mail แทนการส่ง FAX หรือเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ในองค์กรเอง จนกระทั่งการติดต่อระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ suppliers และลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีการให้บริการฟรี e-mail อยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต เช่น hotmail, yahoo หรือ gmail เป็นต้น
เพิ่มช่องทางสื่อสารด้วยเว็บไซต์
จากนั้นลองสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ และบริการ ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้อย่าง online การใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้โดยกำจัดข้อจำกัดทางด้านกายภาพออกไป นอกจากนี้เว็บไซต์ยังสามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีบริการด้านรับฝากเว็บไซต์มากมายทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งฟรีและเสียค่าบริการ ตัวอย่างเช่น http://www.smethai.com ให้บริการสร้างร้านค้าอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซื้อขายผ่าน e-commerce
จากนั้นทำเว็บไซต์ของคุณให้เป็น e-commerce ซึ่งคือการซื้อและขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตโดยลูกค้าสามารถดูรายละเอียดสินค้าในเว็บไซต์และสั่งสินค้าหรือบริการได้อย่าง online โดยการจ่ายเงินสามารถทำผ่าน electronic payment , credit card หรือ online banking ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีองค์กรที่เชื่อถือได้ในด้านการรักษาความปลอดภัยเข้าร่วมด้วย เช่น Certificate Authority (CA)
ก้าวขึ้นสู่ e-business
แน่นอนว่าแค่การซื้อขายสินค้าและบริการยังไม่พอ ขั้นต่อไปคือการบูรณาการห่วงโซอุปทาน (supply chain) ซึ่งประกอบไปด้วย suppliers, partners และ ลูกค้าเพื่อให้เกิดการโฟล (flow) ของสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงลูกค้าเป็นสายเดียวกัน ซึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบูรณาการดังกล่าว กระบวนการทางธุรกิจภายใน เช่น การจัดซื้อ การคลัง การเงิน การบัญชี และอื่นๆ จะต้องเป็นแบบ electronic ด้วย โดยจุดประสงค์ของ e-business ก็เพื่อลดการเสียเวลาในทุกทุกขึ้นตอนของห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง
สมบูรณ์แบบด้วย transformed organization
ถึงตรงนี้องค์กรของคุณก็ใกล้จะกลายร่างเป็น e-Firm แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดให้มีระบบสารสนเทศแบบเปิดสำหรับ suppliers และ ลูกค้า ตัวอย่างเช่น suppliers สามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านคลังสินค้าของบริษัทได้ เพื่อที่จะสามารถจัดเตรียมสินค้าได้อย่างทันเวลา และในขณะเดียวกันลูกค้าต้องสามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อและการส่งของของตนเองได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด business model แบบใหม่ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างองค์กรและบุคคล
กรุงโรมไม่ได้สร้างขึ้นได้ในวันเดียวฉันท์ใด e-Firm ก็ไม่ได้สร้างขึ้นในวันเดียวฉันท์นั้น การปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งดิจิตัลต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อย่าชะล่าใจปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าไปก่อนนะคะ.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เริ่มก้าวแรกด้วย electronic mail (e-mail)
หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มเข้าสู่โลกของธุรกิจแบบดิจิตัลอย่างไร ลองเริ่มจากการติดต่อสื่อสารผ่านทาง e-mail แทนการส่ง FAX หรือเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ในองค์กรเอง จนกระทั่งการติดต่อระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ suppliers และลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีการให้บริการฟรี e-mail อยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต เช่น hotmail, yahoo หรือ gmail เป็นต้น
เพิ่มช่องทางสื่อสารด้วยเว็บไซต์
จากนั้นลองสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ และบริการ ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้อย่าง online การใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลจะช่วยขยายตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้โดยกำจัดข้อจำกัดทางด้านกายภาพออกไป นอกจากนี้เว็บไซต์ยังสามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีบริการด้านรับฝากเว็บไซต์มากมายทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งฟรีและเสียค่าบริการ ตัวอย่างเช่น http://www.smethai.com ให้บริการสร้างร้านค้าอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซื้อขายผ่าน e-commerce
จากนั้นทำเว็บไซต์ของคุณให้เป็น e-commerce ซึ่งคือการซื้อและขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตโดยลูกค้าสามารถดูรายละเอียดสินค้าในเว็บไซต์และสั่งสินค้าหรือบริการได้อย่าง online โดยการจ่ายเงินสามารถทำผ่าน electronic payment , credit card หรือ online banking ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีองค์กรที่เชื่อถือได้ในด้านการรักษาความปลอดภัยเข้าร่วมด้วย เช่น Certificate Authority (CA)
ก้าวขึ้นสู่ e-business
แน่นอนว่าแค่การซื้อขายสินค้าและบริการยังไม่พอ ขั้นต่อไปคือการบูรณาการห่วงโซอุปทาน (supply chain) ซึ่งประกอบไปด้วย suppliers, partners และ ลูกค้าเพื่อให้เกิดการโฟล (flow) ของสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงลูกค้าเป็นสายเดียวกัน ซึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบูรณาการดังกล่าว กระบวนการทางธุรกิจภายใน เช่น การจัดซื้อ การคลัง การเงิน การบัญชี และอื่นๆ จะต้องเป็นแบบ electronic ด้วย โดยจุดประสงค์ของ e-business ก็เพื่อลดการเสียเวลาในทุกทุกขึ้นตอนของห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง
สมบูรณ์แบบด้วย transformed organization
ถึงตรงนี้องค์กรของคุณก็ใกล้จะกลายร่างเป็น e-Firm แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดให้มีระบบสารสนเทศแบบเปิดสำหรับ suppliers และ ลูกค้า ตัวอย่างเช่น suppliers สามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านคลังสินค้าของบริษัทได้ เพื่อที่จะสามารถจัดเตรียมสินค้าได้อย่างทันเวลา และในขณะเดียวกันลูกค้าต้องสามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อและการส่งของของตนเองได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด business model แบบใหม่ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างองค์กรและบุคคล
กรุงโรมไม่ได้สร้างขึ้นได้ในวันเดียวฉันท์ใด e-Firm ก็ไม่ได้สร้างขึ้นในวันเดียวฉันท์นั้น การปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งดิจิตัลต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อย่าชะล่าใจปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าไปก่อนนะคะ.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-