เรื่องของสมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญกำลังได้รับความสนใจเพราะในทันทีที่มีสมัชชาแห่งชาติ เพื่อให้สมาชิกจำนวน 1,982 คน ไปประชุมคัดเลือกกันเองให้เหลือ 200 คนแล้วให้ คมช. พิจารณาคัดเลือกเอาเพียง 100 คนเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ การแสดงความเห็นในกระบวนการและขั้นตอนในการนี้ก็ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
มีทั้งที่วางใจและไม่ไว้วางใจเช่น เกรงกันว่าจะมีการบล็อคโหวตเพื่อคัดเลือกพวกพ้องกันเองซึ่งก็เป็นเรื่องที่ คมช. และผู้เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องเปิดใจกว้างรับฟังความเห็นเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการให้รัดกุมและอธิบายได้และต้องเข้าใจว่านี่เป็นเพียงขั้นต้นหรือยกแรกเท่านั้น ถ้าปล่อยให้เกิดความไม่เข้าใจ และไม่ไว้วางใจเสียตั้งแต่ต้นเช่นนี้แล้วต่อไปอะไรต่อมิอะไร ก็จะมีแต่ความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นแล้วจะทำให้งานใหญ่ของประเทศต้องเสียหายซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น
ผมเห็นว่าข้อวิพากษ์วิจารณ์ทำนองนี้อันที่จริงก็เป็นเรื่องที่พอจะคาดหมายได้อยู่ก่อนแล้วทั้งนี้ก็เพราะว่า ในเวลาที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ก็ไม่ทราบว่าความคิดหลักเป็นของนักวิชาการคนใดหรือจะด้วยความตั้งใจของใครหรือไม่ก็ไม่ทราบ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง สสร. ดูจะมีลักษณะของการโยนเผือกร้อนให้แก่ คมช. และประธานคมช.โดยแท้ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นความเต็มใจหรืออาจจะเป็นความประสงค์ของคมช. และประธานคมช.เอง เพราะอำนาจในการคัดเลือกเอาเพียง 100 คนจาก 200 คนที่ ที่ประชุมสมัชชาคัดเลือกมารวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่า 10 คนให้แต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานคมช. ล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสงวนไว้ซึ่งอำนาจของคมช. และประธานคมช.อย่างชัดเจน
เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณากันตามหลักการที่ว่าเมื่อมีสิทธิ ก็ต้องมีหน้าที่ เมื่อมีอำนาจและมีการใช้อำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบในผลของการใช้อำนาจนั้น คมช.และประธานคมช.ก็ต้องรับไปอย่างเต็ม ๆ หากจะมีความไม่พึงพอใจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน และที่สำคัญที่สุดก็คือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนซึ่งแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานคมช.
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนนั้น ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวยิ่งมีข่าวว่ามีนักวิชาการแวะเวียนไปให้ความเห็นต่อประธานคมช.อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางรัฐธรรมนูญนี่แหละ โดยปกติการรับฟังความเห็นมาก ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องระมัดระวังแยกแยะให้ดี โดยเฉพาะบางคนที่เป็นประเภทไม่มีประสบการณ์แต่มากไปด้วยจินตนาการว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ซึ่งพอปฏิบัติเข้าจริงก็ไม่เป็นอย่างที่ว่าแล้วก็จะเกิดความเสียหายขึ้นมาในที่สุด และที่สำคัญก็คือว่าถ้าประธานคมช.เผลอไผลไปแนะนำให้แต่งตั้งคนเหล่านี้เข้าไป เมื่อคนเหล่านี้แสดงความคิดความเห็นที่ไม่เข้าท่าออกมาแล้วสังคมรับไม่ได้ สังคมเขาก็มีสิทธิที่จะคิดว่านี่คือความคิดของประธานคมช. เพราะแนะนำให้แต่งตั้งมาเองและถ้าความคิดที่ว่านี้เป็นความคิดที่ล้าหลังและมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจด้วยแล้ว ผมว่าจะไปกันใหญ่ที่ว่าจะสมานฉันท์ก็จะไม่สมานฉันท์กันขึ้นมาเพราะเรื่องรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ คราวหลังสุดตอนจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ถึงขนาดยกธงเขียวกันไปแล้ว จึงไม่ควรลืมกันง่าย ๆ
ผมจึงอยากเห็นคมช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานคมช. ได้ใช้ความระมัดระวังรอบคอบกับเรื่องนี้เป็นพิเศษเพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมาอย่างไร โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ประธานคมช. ในฐานะหัวหน้าคณะการปฏิรูปการปกครองฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะของท่านจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เลยและผลที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอนก็คือว่า
1. จะเกิดความขัดแย้งแตกแยกขึ้นในสังคม ทำให้ยุ่งยากต่อการที่จะสร้างสมานฉันท์
2. จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปด้วยความยุ่งยาก และในที่สุดอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นตามความเห็นร่วมของสังคมอย่างแท้จริง
3. ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อคมช.ต้องลดลง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติภารกิจของคมช.และของรัฐบาล
อย่างไรก็ตามความยุ่งยากเหล่านี้ก็ยังอยู่ในวิสัยที่อาจป้องกันได้ ถ้าเพียงแต่ คมช. จะได้จัดดำเนินการให้การคัดเลือกและแต่งตั้ง สสร. 100 คน รวมทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 35 คน ซึ่งได้รับสมญานามว่า 35 อรหันต์ไปแล้วและที่สำคัญที่สุดคือ 10 อรหันต์ที่ประธานคมช.เป็นผู้แนะนำให้แต่งตั้งให้เป็นไปอย่างโปร่งใส เหมาะสมอธิบายได้ โดยไม่มีเรื่องพวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้องให้สังคมต้องระแวงแคลงใจพร้อม ๆ กับแสดงจุดยืนอันเป็นแนวทางในเชิงหลักการต่อ 35 อรหันต์เพื่อเป็นหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามแนวทางที่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทั้งในคำปรารภและในเนื้อหาที่เป็นบทมาตรา ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำขึ้นโดยมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง (ดูคำปรารภในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว)
2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดระบบการถ่วงดุลอำนาจ ระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพมากกว่าฉบับปี 2540 รวมทั้งสามารถป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระให้ได้ดีกว่าอีกด้วย (ดูคำปรารภในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว อันเป็นข้อความของการกราบบังคมทูลของหัวหน้าคณะปฏิรูปถึงมูลเหตุอันจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ)
3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบ (ดูมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้จัดทำคำชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่มีความแตกแต่งกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไข)
4. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่ล้าหลังกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ข้อนี้ไม่มีข้อกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องที่พอจะอนุมานได้เพราะเมื่อกำหนดให้ต้องใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบก็แสดงว่าต้องดีกว่าเก่านี่ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งก็คือเราจะพบความจริงทีเดียวว่ารัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตามที่จัดทำขึ้นโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เช่นมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างจริงจัง มิใช่ทำแต่เพียงพอเป็นพิธี รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นนั้นจะมีความก้าวหน้ามากไปกว่าฉบับก่อน ๆ ทั้งสิ้นเช่นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ซึ่งก้าวหน้าไปกว่าฉบับก่อนนั้นและรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต่อมาก็ก้าวหน้ามากไปกว่าฉบับปี 2534
เพราะฉะนั้นจึงน่าจะกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้ได้เลยว่าใครก็ตามที่คิดว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ถอยหลังไปกว่าเดิมซึ่งจะด้วยความมุ่งหมายอะไรก็แล้วแต่ ต้องเลิกคิดได้เลยเพราะประชาชนไม่มีวันยอมเป็นอันขาดและมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในบ้านเมืองเท่านั้นเอง
คมช. ต้องมีความกล้าหาญที่แสดงจุดยืนเหล่านี้ให้ปรากฎจึงจะรักษาความเชื่อมั่นและรักษาบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ไว้ได้จริง มิฉะนั้นแล้วอาการน่าเป็นห่วงครับ.
*******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--
มีทั้งที่วางใจและไม่ไว้วางใจเช่น เกรงกันว่าจะมีการบล็อคโหวตเพื่อคัดเลือกพวกพ้องกันเองซึ่งก็เป็นเรื่องที่ คมช. และผู้เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องเปิดใจกว้างรับฟังความเห็นเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการให้รัดกุมและอธิบายได้และต้องเข้าใจว่านี่เป็นเพียงขั้นต้นหรือยกแรกเท่านั้น ถ้าปล่อยให้เกิดความไม่เข้าใจ และไม่ไว้วางใจเสียตั้งแต่ต้นเช่นนี้แล้วต่อไปอะไรต่อมิอะไร ก็จะมีแต่ความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นแล้วจะทำให้งานใหญ่ของประเทศต้องเสียหายซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น
ผมเห็นว่าข้อวิพากษ์วิจารณ์ทำนองนี้อันที่จริงก็เป็นเรื่องที่พอจะคาดหมายได้อยู่ก่อนแล้วทั้งนี้ก็เพราะว่า ในเวลาที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ก็ไม่ทราบว่าความคิดหลักเป็นของนักวิชาการคนใดหรือจะด้วยความตั้งใจของใครหรือไม่ก็ไม่ทราบ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง สสร. ดูจะมีลักษณะของการโยนเผือกร้อนให้แก่ คมช. และประธานคมช.โดยแท้ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นความเต็มใจหรืออาจจะเป็นความประสงค์ของคมช. และประธานคมช.เอง เพราะอำนาจในการคัดเลือกเอาเพียง 100 คนจาก 200 คนที่ ที่ประชุมสมัชชาคัดเลือกมารวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่า 10 คนให้แต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานคมช. ล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสงวนไว้ซึ่งอำนาจของคมช. และประธานคมช.อย่างชัดเจน
เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณากันตามหลักการที่ว่าเมื่อมีสิทธิ ก็ต้องมีหน้าที่ เมื่อมีอำนาจและมีการใช้อำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบในผลของการใช้อำนาจนั้น คมช.และประธานคมช.ก็ต้องรับไปอย่างเต็ม ๆ หากจะมีความไม่พึงพอใจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน และที่สำคัญที่สุดก็คือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนซึ่งแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานคมช.
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนนั้น ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวยิ่งมีข่าวว่ามีนักวิชาการแวะเวียนไปให้ความเห็นต่อประธานคมช.อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางรัฐธรรมนูญนี่แหละ โดยปกติการรับฟังความเห็นมาก ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องระมัดระวังแยกแยะให้ดี โดยเฉพาะบางคนที่เป็นประเภทไม่มีประสบการณ์แต่มากไปด้วยจินตนาการว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ซึ่งพอปฏิบัติเข้าจริงก็ไม่เป็นอย่างที่ว่าแล้วก็จะเกิดความเสียหายขึ้นมาในที่สุด และที่สำคัญก็คือว่าถ้าประธานคมช.เผลอไผลไปแนะนำให้แต่งตั้งคนเหล่านี้เข้าไป เมื่อคนเหล่านี้แสดงความคิดความเห็นที่ไม่เข้าท่าออกมาแล้วสังคมรับไม่ได้ สังคมเขาก็มีสิทธิที่จะคิดว่านี่คือความคิดของประธานคมช. เพราะแนะนำให้แต่งตั้งมาเองและถ้าความคิดที่ว่านี้เป็นความคิดที่ล้าหลังและมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจด้วยแล้ว ผมว่าจะไปกันใหญ่ที่ว่าจะสมานฉันท์ก็จะไม่สมานฉันท์กันขึ้นมาเพราะเรื่องรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ คราวหลังสุดตอนจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ถึงขนาดยกธงเขียวกันไปแล้ว จึงไม่ควรลืมกันง่าย ๆ
ผมจึงอยากเห็นคมช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานคมช. ได้ใช้ความระมัดระวังรอบคอบกับเรื่องนี้เป็นพิเศษเพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมาอย่างไร โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ประธานคมช. ในฐานะหัวหน้าคณะการปฏิรูปการปกครองฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะของท่านจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เลยและผลที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอนก็คือว่า
1. จะเกิดความขัดแย้งแตกแยกขึ้นในสังคม ทำให้ยุ่งยากต่อการที่จะสร้างสมานฉันท์
2. จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปด้วยความยุ่งยาก และในที่สุดอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นตามความเห็นร่วมของสังคมอย่างแท้จริง
3. ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อคมช.ต้องลดลง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติภารกิจของคมช.และของรัฐบาล
อย่างไรก็ตามความยุ่งยากเหล่านี้ก็ยังอยู่ในวิสัยที่อาจป้องกันได้ ถ้าเพียงแต่ คมช. จะได้จัดดำเนินการให้การคัดเลือกและแต่งตั้ง สสร. 100 คน รวมทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 35 คน ซึ่งได้รับสมญานามว่า 35 อรหันต์ไปแล้วและที่สำคัญที่สุดคือ 10 อรหันต์ที่ประธานคมช.เป็นผู้แนะนำให้แต่งตั้งให้เป็นไปอย่างโปร่งใส เหมาะสมอธิบายได้ โดยไม่มีเรื่องพวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้องให้สังคมต้องระแวงแคลงใจพร้อม ๆ กับแสดงจุดยืนอันเป็นแนวทางในเชิงหลักการต่อ 35 อรหันต์เพื่อเป็นหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามแนวทางที่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทั้งในคำปรารภและในเนื้อหาที่เป็นบทมาตรา ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำขึ้นโดยมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง (ดูคำปรารภในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว)
2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดระบบการถ่วงดุลอำนาจ ระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพมากกว่าฉบับปี 2540 รวมทั้งสามารถป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระให้ได้ดีกว่าอีกด้วย (ดูคำปรารภในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว อันเป็นข้อความของการกราบบังคมทูลของหัวหน้าคณะปฏิรูปถึงมูลเหตุอันจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ)
3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบ (ดูมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้จัดทำคำชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่มีความแตกแต่งกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไข)
4. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่ล้าหลังกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ข้อนี้ไม่มีข้อกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องที่พอจะอนุมานได้เพราะเมื่อกำหนดให้ต้องใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบก็แสดงว่าต้องดีกว่าเก่านี่ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งก็คือเราจะพบความจริงทีเดียวว่ารัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตามที่จัดทำขึ้นโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เช่นมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างจริงจัง มิใช่ทำแต่เพียงพอเป็นพิธี รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นนั้นจะมีความก้าวหน้ามากไปกว่าฉบับก่อน ๆ ทั้งสิ้นเช่นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ซึ่งก้าวหน้าไปกว่าฉบับก่อนนั้นและรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต่อมาก็ก้าวหน้ามากไปกว่าฉบับปี 2534
เพราะฉะนั้นจึงน่าจะกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้ได้เลยว่าใครก็ตามที่คิดว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ถอยหลังไปกว่าเดิมซึ่งจะด้วยความมุ่งหมายอะไรก็แล้วแต่ ต้องเลิกคิดได้เลยเพราะประชาชนไม่มีวันยอมเป็นอันขาดและมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในบ้านเมืองเท่านั้นเอง
คมช. ต้องมีความกล้าหาญที่แสดงจุดยืนเหล่านี้ให้ปรากฎจึงจะรักษาความเชื่อมั่นและรักษาบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ไว้ได้จริง มิฉะนั้นแล้วอาการน่าเป็นห่วงครับ.
*******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--