อาจจะเป็นเพราะโพลของบางสำนัก เมื่อไม่กี่วันมานี้ที่บอกว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลมีแนวโน้มลดลงก็เป็นได้ เราจึงได้ยินข่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้กำชับให้รัฐมนตรีในคณะเร่งประชาสัมพันธ์ผลงาน ซึ่งก็คงด้วยความเข้าใจว่า คงจะเป็นเพราะยังไม่ค่อยจะได้ประชาสัมพันธ์กันมากนัก
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ก็มีโพลจากบางสำนักออกมาว่า ประชาชนโดยทั่วไปยังมีความรู้สึกว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองยังดีกว่าภาวการณ์ในสมัยรัฐบาลเก่า และในอนาคตน่าจะดีกว่าเดิม ซึ่งก็คงพอที่จะทำให้ท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรากตรำทำงานหนัก คลายความวิตกกังวลลงได้บ้าง
อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลลดลง หรือเป็นเพียงเพราะไม่ค่อยได้ประชาสัมพันธ์กระนั้นหรือ และอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าภาวการณ์ด้านการเมือง ยังดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่า ทั้งในอนาคตน่าจะดีกว่าเดิม ซึ่งฟังดูแล้วจะรู้สึกว่า เป็นความเชื่อมั่นที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว และโพลของทั้ง 2 สำนัก ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดถึงเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้แต่ประการใด
จึงต้องมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาหาคำตอบ ซึ่งก็น่าจะได้คำตอบว่า
ในส่วนของความเชื่อมั่นว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่านั้น ก็คงเป็นเพราะว่าภาวการณ์ด้านการเมืองในสมัยของรัฐบาลเก่านั้น วิกฤตสุดๆ กว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ดังที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีการยึดอำนาจการปกครอง โดยมีการกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งวิกฤต 4 ประการด้วยกัน ประชาชนโดยทั่วไปจึงเห็นว่า รับฟังได้
ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ต่างก็มีความรู้สึกว่าเรียบร้อยกว่าเดิม รวมทั้งยังมีความเชื่อมั่นในความสุจริตใจของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ฯ และประธาน คมช. พล.อ.สนธิฯ และเชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวและ คมช.น่าจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา และนำพาประเทศชาติไปสู่การปฎิรูปการเมืองที่ดีกว่าเก่า เหล่านี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่า
ส่วนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลที่มีแนวโน้มลดลงไปนั้น คงเป็นเพราะว่า เมื่อประชาชนโดยทั่วไป ต่างก็มีความรู้สึกว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองในช่วงสมัยของรัฐบาลเก่า วิกฤตสุดๆ และต่างก็มีความคับข้องใจ ภายใต้ภาวการณ์ดังกล่าวอยู่แล้ว ในทันทีที่ได้รับฟังเหตุแห่งวิกฤต 4 ประการ ที่เป็นข้ออ้างของการยึดอำนาจจึงเห็นด้วย และที่มากไปกว่านั้นคือ ถึงขนาดสะใจด้วยความรู้สึกว่า น่าจะยึดอำนาจเสียตั้งนานแล้วก็ยังมี ภาพของการขานรับการยึดอำนาจ จึงมีให้เห็นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในตอนต้นๆ
ความรู้สึกที่ตามมาก็คือ ต่างก็มีความหวังว่าจะได้เห็นการชำระสะสางความเลวร้ายต่างๆ ในเร็ววัน ซึ่งจะเป็นเพราะความคับข้องใจที่มีมานาน หรือเพื่อความสะใจ หรือเพื่อความถูกต้อง เป็นธรรมในสังคม หรือจะเพื่ออะไรก็แล้วแต่ แต่นี่คือ การตั้งความหวังของสังคมไทย ภายหลังการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจใหม่ไว้ค่อนข้างสูง
เมื่อสังคมตั้งความหวังไว้สูงมาก และเมื่อเวลาลุล่วงเลยมาแล้วระยะหนึ่ง ก็ยังไม่เห็นว่า มีสิ่งใดที่พอเป็นมรรคเป็นผลตามที่ได้ตั้งความหวังเอาไว้มากนัก ความรู้สึกไม่สมหวังหรือผิดหวังก็ตามมา นี่เป็นกฎเกณฑ์ธรรมดาๆของสังคม โดยเฉพาะสังคมที่มีความรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกดขี่ข่มเหง มาโดยตลอด และกำลังเรียกหาความเป็นธรรม
ภาวการณ์อย่างหนึ่งของคนที่เป็นนักการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองอาชีพที่อยู่ในวงการเมืองมานานๆ และที่ประชาชนยังมีความรู้สึกว่า ยังพอเป็นที่ไว้วางใจได้ ก็คือ ภารกิจในการรับฟัง การปรับทุกข์ของคนที่คิดว่า ตนเองก็เป็นเจ้าจองประเทศด้วยเหมือนกัน
ภายหลังการยึดอำนาจแล้วระยะหนึ่ง ผมได้รับฟังการปรับทุกข์มาโดยตลอด เป็นต้นว่า
“ยังไม่เห็นมีใครชี้แจงถึงเหตุจำเป็น 4 ประการที่จำต้องทำการยึดอำนาจให้เป็นที่กระจ่างกันเสียที”
“นายกฯ ดีใช้ได้ แต่รัฐมนตรีบางคน ก็เคยมีความใกล้ชิด และเคยร่วมใช้อำนาจที่ผิดพลาด กับรัฐบาลเก่ามาก่อน แล้วอย่างนี้จะไว้ใจได้หรือ”
“การเสนอชื่อแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ดูจะยังเป็นเรื่องของพวกพ้องมากเกินไป”
“ยึดอำนาจกันมา เพราะทนดูคนในรัฐบาลเก่าทุจริตคอรัปชั่นกันไม่ไหว แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นจับผิดใครได้ และเมื่อไหร่จะได้เห็นการยึดหรืออายัดทรัพย์กันได้บ้าง”
“ตั้งทหารไปเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจมากเกินไปหน่อย คงเป็นเรื่องของพวกพ้องอีกสินะ”
อีกเยอะแยะมากมาย แม้แต่เรื่องที่ท่านพล.อ.ชวลิต ท่านออกมาพูดจาเมื่อ 2 — 3 วันมานี้ ก็มีคนมาปรับทุกข์ให้ฟัง ว่าลึกๆแล้ว เป็นเพราะเหตุอันใด
นี่ผมก็ว่าไปตามที่ได้รับฟังการปรับทุกข์มา ซึ่งก็พอที่จะนับเนื่องได้ว่า เป็นความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งในสังคม ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี และเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งความหวังไว้ค่อนข้างสูงของสังคมตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่ค่อยสมหวังมากนัก จึงทำให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ด้วยเหตุคะแนนความเชื่อมั่นในส่วนตัวของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ฯ ยังดีอยู่ มิฉะนั้นตัวเลขความเชื่อมั่นโดยรวมของรัฐบาลจะแย่ลงไปอีก จึงป็นเรื่องที่รัฐบาลและ คมช.ไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด
การประชาสัมพันธ์ที่อาจจะน้อยไปตามที่ท่านายกรัฐมนตรีได้กำชับคณะรัฐมนตรี ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งด้วย เพราะถ้าเปรียบเทียบการใช้สื่อ วิทยุและโทรทัศน์ของรัฐในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ของรัฐบาลนี้และรัฐบาลเก่าของนายกฯทักษิณนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เทียบกันไม่ได้เลย เพราะรัฐบาลนั้นเขาไปไกลถึงขั้นโฆษณาชวนเชื่อกันเลยทีเดียว ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ก็ดูจะเข้าใจดีอยู่ และก็เคยพูดถึงเรื่องนี้มาแล้ว
อย่างไรก็ตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากๆ แม้จะเป็นเรื่องที่สำคัญก็จริงอยู่ แต่การปฎิบัติที่เป็นจริงเป็นรูปเป็นธรรม จับต้องได้ อธิบายได้ และเป็นการสนองตอบต่อความหวังของสังคม จะสำคัญยิ่งกว่า และที่สำคัญที่สุดก็คือว่า สิ่งใดที่รัฐบาลเก่าเขาทำแล้วเป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการยึดอำนาจ คนในรัฐบาลนี้ไม่ควรทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรที่เป็นความเจ็บปวดในความรู้สึกของประชาชนที่รักความเป็นธรรมมากเท่ากับคำแก้ตัวของผู้บริหารบ้านเมืองในทำนองที่ว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
แม้ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลและ คมช.จะลดน้อยลงไปบ้าง แต่ก็มีขึ้นมีลง ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความไวในความรู้สึกของประชาชนที่ติดตามข่าวสารการเมืองอย่างใกล้ชิด ซึ่งฟังดูก็ยังตั้งใจที่จะฝากความหวังไว้แก่รัฐบาลนี้ และ คมช. ในการทำภารกิจตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ผมจึงเห็นว่าในช่วงนี้ถ้ารัฐบาลและ คมช.ตลอดทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง จะได้ทำในเรื่องต่อไปนี้ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ประชาชนคงจะมีความรู้สึกสมหวังมากขึ้น และมีความเชื่อมั่นในรัฐบาล และ คมช.มากขึ้น คือ
1. ชี้แจงทำความเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นของการยึดอำนาจทั้ง 4 ข้อ โดยเน้นหนักในพื้นที่ที่ประชาชนยังมีความสับสน สมุดปกขาวที่จะจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคำชี้แจงก็ควรเร่งรัดให้เสร็จโดยเร็ว โดยไม่ควรจะไปกังวลต่อความวิตกของบางฝ่ายว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะการปล่อยให้สถานการณ์คลุมเครืออยู่ด้วยความไม่รู้จริงต่างหาก ที่จะเป็นการบ่มเพาะความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้น เพราะอาจยุยงปลุกปั่นกันได้ง่าย
2. เร่งรัดการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นที่มีการกล่าวหาไว้แล้วให้เกิดผลโดยเร็ว เพราะเพียงสามารถนำผู้เกี่ยวข้องขึ้นฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ และสามารถยึดและอายัดทรัพย์คืนรัฐได้บ้างก็จะเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นความจริงได้ดียิ่งกว่าคำชี้แจงใดๆ
3. เร่งรัดการสอบสวนเพื่อลงโทษทางวินัย และดำเนินคดีแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีส่วนในการกระทำความผิดร่วมด้วย หรือในฐานะผู้ช่วยเหลือฝ่ายการเมือง ที่กระทำความผิดให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลยอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
4. ไม่ควรส่งเสริมให้มีการแต่งตั้งนายทหารเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจใดๆอีก เว้นแต่ผู้ที่มีความเหมาะสมจริงๆ ที่สามารถอธิบายคุณสมบัติความเหมาะสมได้ ในส่วนของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไปแล้ว ก็ควรจะได้แสดงความสามารถให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โดยไม่ชักช้า เพื่อลบคำครหาของสังคม
5. การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดย คมช.จำนวน 100 คนจาก 200 คน ที่คัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ตาม การคัดเลือกคณะกรรมาธิกการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 25 คน จากที่ประชุมฯก็ตาม และการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน โดยคำแนะนำของประธาน คมช.ก็ตาม ต้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ควรให้มีภาพของพวกพ้องหรือ บล็อกโหวตเกิดขึ้น หากแต่ควรเป็นภาพของความเหมาะสมเป็นสำคัญ เพราะถ้าภาพที่ออกมาไม่เป็นที่ประทับใจของสังคม แถมยังเป็นที่ครหาว่าเป็นเรื่องของพวกพ้อง เพื่อสืบทอดอำนาจ นอกเหนือจากจะไม่ได้รัฐธรรมนูญที่จะเป็นโครงสร้างสำคัญในการเสริมสร้างพื้นฐานประชาธิปไตย ให้มีความมั่นคงแข็งแรงต่อไปข้างหน้า คำครหาของสังคม ในลักษณะดังกล่าวนี้ ก็จะมีลักษณะเป็นลูกตุ้ม ถ่วงความเชื่อมั่นของรัฐบาล และ คมช.ให้ต่ำลงไปอีก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่ง
ทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้งที่เป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และทั้งที่เป็นข้อเสนอ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่ได้รับจากการทำภารกิจในฐานะของการรับฟังการปรับทุกข์จากคนที่มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยความรู้สึกว่า ถึงอย่างไรคณะปฏิรูปฯ ก็ได้ร่วมมือกันทำการยึดอำนาจกันมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยคำประกาศว่า จะปัดกวาดบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย และจะช่วยกันวางพื้นฐานใหม่ให้ดีกว่าเดิม ก็อยากให้ทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือรัฐบาล และคมช.ได้ทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งจะทำได้อย่างเต็มที่ ก็ด้วยความเชื่อมั่นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเท่านั้น เพราะการรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเอาไว้ได้ จะเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงและมั่นคง สามารถป้องกันคลื่นใต้น้ำทั้งในและนอกประเทศได้ ไม่ว่าจะถาโถมเข้ามาสักกี่คลื่นก็ตาม.
17 พฤศจิกายน 2549
....................................................................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ย. 2549--จบ--
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ก็มีโพลจากบางสำนักออกมาว่า ประชาชนโดยทั่วไปยังมีความรู้สึกว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองยังดีกว่าภาวการณ์ในสมัยรัฐบาลเก่า และในอนาคตน่าจะดีกว่าเดิม ซึ่งก็คงพอที่จะทำให้ท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรากตรำทำงานหนัก คลายความวิตกกังวลลงได้บ้าง
อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลลดลง หรือเป็นเพียงเพราะไม่ค่อยได้ประชาสัมพันธ์กระนั้นหรือ และอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าภาวการณ์ด้านการเมือง ยังดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่า ทั้งในอนาคตน่าจะดีกว่าเดิม ซึ่งฟังดูแล้วจะรู้สึกว่า เป็นความเชื่อมั่นที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว และโพลของทั้ง 2 สำนัก ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดถึงเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้แต่ประการใด
จึงต้องมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาหาคำตอบ ซึ่งก็น่าจะได้คำตอบว่า
ในส่วนของความเชื่อมั่นว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่านั้น ก็คงเป็นเพราะว่าภาวการณ์ด้านการเมืองในสมัยของรัฐบาลเก่านั้น วิกฤตสุดๆ กว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ดังที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีการยึดอำนาจการปกครอง โดยมีการกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งวิกฤต 4 ประการด้วยกัน ประชาชนโดยทั่วไปจึงเห็นว่า รับฟังได้
ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ต่างก็มีความรู้สึกว่าเรียบร้อยกว่าเดิม รวมทั้งยังมีความเชื่อมั่นในความสุจริตใจของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ฯ และประธาน คมช. พล.อ.สนธิฯ และเชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวและ คมช.น่าจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา และนำพาประเทศชาติไปสู่การปฎิรูปการเมืองที่ดีกว่าเก่า เหล่านี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองดีกว่าในสมัยรัฐบาลเก่า
ส่วนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลที่มีแนวโน้มลดลงไปนั้น คงเป็นเพราะว่า เมื่อประชาชนโดยทั่วไป ต่างก็มีความรู้สึกว่า ภาวการณ์ด้านการเมืองในช่วงสมัยของรัฐบาลเก่า วิกฤตสุดๆ และต่างก็มีความคับข้องใจ ภายใต้ภาวการณ์ดังกล่าวอยู่แล้ว ในทันทีที่ได้รับฟังเหตุแห่งวิกฤต 4 ประการ ที่เป็นข้ออ้างของการยึดอำนาจจึงเห็นด้วย และที่มากไปกว่านั้นคือ ถึงขนาดสะใจด้วยความรู้สึกว่า น่าจะยึดอำนาจเสียตั้งนานแล้วก็ยังมี ภาพของการขานรับการยึดอำนาจ จึงมีให้เห็นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในตอนต้นๆ
ความรู้สึกที่ตามมาก็คือ ต่างก็มีความหวังว่าจะได้เห็นการชำระสะสางความเลวร้ายต่างๆ ในเร็ววัน ซึ่งจะเป็นเพราะความคับข้องใจที่มีมานาน หรือเพื่อความสะใจ หรือเพื่อความถูกต้อง เป็นธรรมในสังคม หรือจะเพื่ออะไรก็แล้วแต่ แต่นี่คือ การตั้งความหวังของสังคมไทย ภายหลังการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจใหม่ไว้ค่อนข้างสูง
เมื่อสังคมตั้งความหวังไว้สูงมาก และเมื่อเวลาลุล่วงเลยมาแล้วระยะหนึ่ง ก็ยังไม่เห็นว่า มีสิ่งใดที่พอเป็นมรรคเป็นผลตามที่ได้ตั้งความหวังเอาไว้มากนัก ความรู้สึกไม่สมหวังหรือผิดหวังก็ตามมา นี่เป็นกฎเกณฑ์ธรรมดาๆของสังคม โดยเฉพาะสังคมที่มีความรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกดขี่ข่มเหง มาโดยตลอด และกำลังเรียกหาความเป็นธรรม
ภาวการณ์อย่างหนึ่งของคนที่เป็นนักการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองอาชีพที่อยู่ในวงการเมืองมานานๆ และที่ประชาชนยังมีความรู้สึกว่า ยังพอเป็นที่ไว้วางใจได้ ก็คือ ภารกิจในการรับฟัง การปรับทุกข์ของคนที่คิดว่า ตนเองก็เป็นเจ้าจองประเทศด้วยเหมือนกัน
ภายหลังการยึดอำนาจแล้วระยะหนึ่ง ผมได้รับฟังการปรับทุกข์มาโดยตลอด เป็นต้นว่า
“ยังไม่เห็นมีใครชี้แจงถึงเหตุจำเป็น 4 ประการที่จำต้องทำการยึดอำนาจให้เป็นที่กระจ่างกันเสียที”
“นายกฯ ดีใช้ได้ แต่รัฐมนตรีบางคน ก็เคยมีความใกล้ชิด และเคยร่วมใช้อำนาจที่ผิดพลาด กับรัฐบาลเก่ามาก่อน แล้วอย่างนี้จะไว้ใจได้หรือ”
“การเสนอชื่อแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ดูจะยังเป็นเรื่องของพวกพ้องมากเกินไป”
“ยึดอำนาจกันมา เพราะทนดูคนในรัฐบาลเก่าทุจริตคอรัปชั่นกันไม่ไหว แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นจับผิดใครได้ และเมื่อไหร่จะได้เห็นการยึดหรืออายัดทรัพย์กันได้บ้าง”
“ตั้งทหารไปเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจมากเกินไปหน่อย คงเป็นเรื่องของพวกพ้องอีกสินะ”
อีกเยอะแยะมากมาย แม้แต่เรื่องที่ท่านพล.อ.ชวลิต ท่านออกมาพูดจาเมื่อ 2 — 3 วันมานี้ ก็มีคนมาปรับทุกข์ให้ฟัง ว่าลึกๆแล้ว เป็นเพราะเหตุอันใด
นี่ผมก็ว่าไปตามที่ได้รับฟังการปรับทุกข์มา ซึ่งก็พอที่จะนับเนื่องได้ว่า เป็นความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งในสังคม ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี และเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งความหวังไว้ค่อนข้างสูงของสังคมตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่ค่อยสมหวังมากนัก จึงทำให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ด้วยเหตุคะแนนความเชื่อมั่นในส่วนตัวของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ฯ ยังดีอยู่ มิฉะนั้นตัวเลขความเชื่อมั่นโดยรวมของรัฐบาลจะแย่ลงไปอีก จึงป็นเรื่องที่รัฐบาลและ คมช.ไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด
การประชาสัมพันธ์ที่อาจจะน้อยไปตามที่ท่านายกรัฐมนตรีได้กำชับคณะรัฐมนตรี ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งด้วย เพราะถ้าเปรียบเทียบการใช้สื่อ วิทยุและโทรทัศน์ของรัฐในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ของรัฐบาลนี้และรัฐบาลเก่าของนายกฯทักษิณนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เทียบกันไม่ได้เลย เพราะรัฐบาลนั้นเขาไปไกลถึงขั้นโฆษณาชวนเชื่อกันเลยทีเดียว ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ก็ดูจะเข้าใจดีอยู่ และก็เคยพูดถึงเรื่องนี้มาแล้ว
อย่างไรก็ตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากๆ แม้จะเป็นเรื่องที่สำคัญก็จริงอยู่ แต่การปฎิบัติที่เป็นจริงเป็นรูปเป็นธรรม จับต้องได้ อธิบายได้ และเป็นการสนองตอบต่อความหวังของสังคม จะสำคัญยิ่งกว่า และที่สำคัญที่สุดก็คือว่า สิ่งใดที่รัฐบาลเก่าเขาทำแล้วเป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการยึดอำนาจ คนในรัฐบาลนี้ไม่ควรทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรที่เป็นความเจ็บปวดในความรู้สึกของประชาชนที่รักความเป็นธรรมมากเท่ากับคำแก้ตัวของผู้บริหารบ้านเมืองในทำนองที่ว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
แม้ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลและ คมช.จะลดน้อยลงไปบ้าง แต่ก็มีขึ้นมีลง ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความไวในความรู้สึกของประชาชนที่ติดตามข่าวสารการเมืองอย่างใกล้ชิด ซึ่งฟังดูก็ยังตั้งใจที่จะฝากความหวังไว้แก่รัฐบาลนี้ และ คมช. ในการทำภารกิจตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ผมจึงเห็นว่าในช่วงนี้ถ้ารัฐบาลและ คมช.ตลอดทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง จะได้ทำในเรื่องต่อไปนี้ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ประชาชนคงจะมีความรู้สึกสมหวังมากขึ้น และมีความเชื่อมั่นในรัฐบาล และ คมช.มากขึ้น คือ
1. ชี้แจงทำความเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นของการยึดอำนาจทั้ง 4 ข้อ โดยเน้นหนักในพื้นที่ที่ประชาชนยังมีความสับสน สมุดปกขาวที่จะจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคำชี้แจงก็ควรเร่งรัดให้เสร็จโดยเร็ว โดยไม่ควรจะไปกังวลต่อความวิตกของบางฝ่ายว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะการปล่อยให้สถานการณ์คลุมเครืออยู่ด้วยความไม่รู้จริงต่างหาก ที่จะเป็นการบ่มเพาะความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้น เพราะอาจยุยงปลุกปั่นกันได้ง่าย
2. เร่งรัดการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นที่มีการกล่าวหาไว้แล้วให้เกิดผลโดยเร็ว เพราะเพียงสามารถนำผู้เกี่ยวข้องขึ้นฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ และสามารถยึดและอายัดทรัพย์คืนรัฐได้บ้างก็จะเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นความจริงได้ดียิ่งกว่าคำชี้แจงใดๆ
3. เร่งรัดการสอบสวนเพื่อลงโทษทางวินัย และดำเนินคดีแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีส่วนในการกระทำความผิดร่วมด้วย หรือในฐานะผู้ช่วยเหลือฝ่ายการเมือง ที่กระทำความผิดให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลยอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
4. ไม่ควรส่งเสริมให้มีการแต่งตั้งนายทหารเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจใดๆอีก เว้นแต่ผู้ที่มีความเหมาะสมจริงๆ ที่สามารถอธิบายคุณสมบัติความเหมาะสมได้ ในส่วนของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไปแล้ว ก็ควรจะได้แสดงความสามารถให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โดยไม่ชักช้า เพื่อลบคำครหาของสังคม
5. การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดย คมช.จำนวน 100 คนจาก 200 คน ที่คัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ตาม การคัดเลือกคณะกรรมาธิกการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 25 คน จากที่ประชุมฯก็ตาม และการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน โดยคำแนะนำของประธาน คมช.ก็ตาม ต้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ควรให้มีภาพของพวกพ้องหรือ บล็อกโหวตเกิดขึ้น หากแต่ควรเป็นภาพของความเหมาะสมเป็นสำคัญ เพราะถ้าภาพที่ออกมาไม่เป็นที่ประทับใจของสังคม แถมยังเป็นที่ครหาว่าเป็นเรื่องของพวกพ้อง เพื่อสืบทอดอำนาจ นอกเหนือจากจะไม่ได้รัฐธรรมนูญที่จะเป็นโครงสร้างสำคัญในการเสริมสร้างพื้นฐานประชาธิปไตย ให้มีความมั่นคงแข็งแรงต่อไปข้างหน้า คำครหาของสังคม ในลักษณะดังกล่าวนี้ ก็จะมีลักษณะเป็นลูกตุ้ม ถ่วงความเชื่อมั่นของรัฐบาล และ คมช.ให้ต่ำลงไปอีก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่ง
ทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้งที่เป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และทั้งที่เป็นข้อเสนอ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่ได้รับจากการทำภารกิจในฐานะของการรับฟังการปรับทุกข์จากคนที่มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยความรู้สึกว่า ถึงอย่างไรคณะปฏิรูปฯ ก็ได้ร่วมมือกันทำการยึดอำนาจกันมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยคำประกาศว่า จะปัดกวาดบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย และจะช่วยกันวางพื้นฐานใหม่ให้ดีกว่าเดิม ก็อยากให้ทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือรัฐบาล และคมช.ได้ทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งจะทำได้อย่างเต็มที่ ก็ด้วยความเชื่อมั่นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเท่านั้น เพราะการรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเอาไว้ได้ จะเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงและมั่นคง สามารถป้องกันคลื่นใต้น้ำทั้งในและนอกประเทศได้ ไม่ว่าจะถาโถมเข้ามาสักกี่คลื่นก็ตาม.
17 พฤศจิกายน 2549
....................................................................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ย. 2549--จบ--