1 เสถียรภาพในประเทศ
เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนพฤษภาคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักสด ไข่ไก่ และเนื้อสุกร เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้มีผลผลิตน้อย สำหรับราคาในที่มิใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากผลการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสาธารณะ เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ตามการปรับราคาน้ำมันดีเซลของทางการ รวมทั้งราคาสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 โดยมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ค่อนข้างชัดเจนมากขึ้น
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนเมษายน 2548 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ของกำลังแรงงานรวมโน้มลดลงต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งต่อเนื่อง ส่งผลให้แรงงานบางส่วนโยกย้ายสู่ภาคนอกเกษตร ซึ่งการจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี อาทิ การค้าส่งค้าปลีก และการก่อสร้าง ในอัตราร้อยละ 4.4 และ 2.6 ตามลำดับ ขณะที่การจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวลง
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2548 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,135 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 4.0 พันล้านบาทตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิจากต่างประเทศของหนี้รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่มิใช่สถาบันการเงิน รวมทั้งหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9.8 พันล้านบาท จากการกู้เงินในตลาดซื้อคืนเพื่อชำระภาระอาวัล ค่าดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงได้ปรับลดลงจากการชำระคืนหนี้ระยะสั้นเป็นสำคัญ ทำให้หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในเดือนนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 43.6 ซึ่งใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2 เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารในไตรมาสที่ 1/2548 และการปรับข้อมูลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของภาครัฐบาล ทำให้
ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2548 ลดลงมาอยู่ที่ 49.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยประกาศไว้เดิม 51.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนเมษายน 2548 มียอดคงค้าง 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้มีการนำเข้าหนี้สุทธิจำนวน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากหนี้ภาคทางการและภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร และเมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.4 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคเอกชน แม้ว่าภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารจะมีการนำเข้าเงินกู้และสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ภาคธนาคารชำระคืนหนี้ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีการนำเข้าหนี้ในภาคเอกชนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้หนี้ภาคเอกชนเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ มาอยู่ที่ 34.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ
หนี้ภาคทางการ เพิ่มขึ้น 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศขายคืนตราสารหนี้ระยะสั้นของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการออกตราสารหนี้ระยะยาวในต่างประเทศ เมื่อรวมกับผลของเงินเยนที่มีค่าแข็งขึ้น ทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาคทางการเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 อยู่ที่ 48.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อมูลค่าการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนพฤษภาคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักสด ไข่ไก่ และเนื้อสุกร เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้มีผลผลิตน้อย สำหรับราคาในที่มิใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากผลการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสาธารณะ เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ตามการปรับราคาน้ำมันดีเซลของทางการ รวมทั้งราคาสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 โดยมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ค่อนข้างชัดเจนมากขึ้น
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนเมษายน 2548 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ของกำลังแรงงานรวมโน้มลดลงต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งต่อเนื่อง ส่งผลให้แรงงานบางส่วนโยกย้ายสู่ภาคนอกเกษตร ซึ่งการจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี อาทิ การค้าส่งค้าปลีก และการก่อสร้าง ในอัตราร้อยละ 4.4 และ 2.6 ตามลำดับ ขณะที่การจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวลง
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนเมษายน 2548 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,135 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 4.0 พันล้านบาทตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิจากต่างประเทศของหนี้รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่มิใช่สถาบันการเงิน รวมทั้งหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9.8 พันล้านบาท จากการกู้เงินในตลาดซื้อคืนเพื่อชำระภาระอาวัล ค่าดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงได้ปรับลดลงจากการชำระคืนหนี้ระยะสั้นเป็นสำคัญ ทำให้หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในเดือนนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 43.6 ซึ่งใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2 เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารในไตรมาสที่ 1/2548 และการปรับข้อมูลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของภาครัฐบาล ทำให้
ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2548 ลดลงมาอยู่ที่ 49.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยประกาศไว้เดิม 51.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนเมษายน 2548 มียอดคงค้าง 49.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้มีการนำเข้าหนี้สุทธิจำนวน 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากหนี้ภาคทางการและภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร และเมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.4 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคเอกชน แม้ว่าภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารจะมีการนำเข้าเงินกู้และสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ภาคธนาคารชำระคืนหนี้ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีการนำเข้าหนี้ในภาคเอกชนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้หนี้ภาคเอกชนเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ มาอยู่ที่ 34.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ
หนี้ภาคทางการ เพิ่มขึ้น 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศขายคืนตราสารหนี้ระยะสั้นของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการออกตราสารหนี้ระยะยาวในต่างประเทศ เมื่อรวมกับผลของเงินเยนที่มีค่าแข็งขึ้น ทำให้ยอดคงค้างหนี้ภาคทางการเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 อยู่ที่ 48.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อมูลค่าการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--