ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ยืนยันไม่ยกเลิกมาตรการหักกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 30 นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
จะติดตามประเมินผลหลังจากการใช้ไปแล้ว 3-6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถควบคุมค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และหากค่าเงินบาท
เคลื่อนไหวในแนวเดียวกับค่าเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค ก็พร้อมจะมีการทบทวนมาตรการดังกล่าวอีกครั้งอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวส่งผลดี
ต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเป็นประโยชน์ต่อภาคการส่งออก ซึ่งเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ด้าน
นายวิจิตร สุพินิจ ประธาน กก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ธปท. ควรติดตามดูภาวะตลาดหุ้นว่าเคลื่อนไหวอย่างไร ก่อนการปรับมาตรการหักกัน
สำรองร้อยละ 30 รวมทั้งการพิจารณายกเว้นไม่ใช้มาตรการดังกล่าวสำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธุรกิจก่อสร้างมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมสูงสุด ธปท. รายงานยอดข้อมูลสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
แยกตามประเภทธุรกิจในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยภาคธุรกิจการก่อสร้างเป็นภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมมากที่สุด โดยมีจำนวนเอ็นพีแอล
31,296 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ รองลงมาได้แก่สินเชื่อของธุรกิจที่เกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์มียอดเอ็นพีแอล 56,144 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 16.27 ลดลงจากไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้เช่นกัน
ส่วนสินเชื่อประเภทอื่นที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อค่อนข้างสูงได้แก่ การเหมืองแร่ และการย่อยหิน ขณะที่ธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อ
ไม่มากนักได้แก่ ธุรกิจการพาณิชย์ การบริการ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล การธนาคารและธุรกิจการเงิน และการสาธารณูปโภค
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังจะพิจารณาขยายเวลาลดอัตราภาษีเงินได้ให้กับบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้จะพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนตามข้อเสนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ
สภาธุรกิจตลาดทุน ให้มีการขยายเวลาสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ให้กับบริษัท
ที่เข้าจดทะเบียนใหม่กับตลาดหลักทรัพย์ไทยจากเดิมที่จะหมดกำหนดภายในสิ้นปีนี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านใน สรอ.ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 26 ธ.ค.49
ราคาบ้านครอบครัวเดี่ยวในพื้นที่ตัวเมือง 10 แห่งใน สรอ.ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 โดยดัชนีจากผลสำรวจโดย
Standard & Poor’s/Case-Shiller อยู่ที่ระดับ 224.43 แต่หากเทียบต่อปีราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีเดียวกันที่ได้
จากการสำรวจพื้นที่ตัวเมือง 20 แห่งและนับเป็นการรายงานครั้งแรกที่ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนมาอยู่ที่ระดับ 205.20 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
เมื่อเทียบต่อปี โดยราคาบ้านใน Detroit ลดลงมากที่สุดคือร้อยละ 3.6 ในขณะที่ราคาบ้านใน Seattle และ Portland สูงขึ้นถึงร้อยละ
14.1 และ 13.2 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงอย่างไม่คาดคิดที่ร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 27 ธ.ค.49
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงอย่างไม่คาดคิดที่ร้อยละ 0.1 เทียบจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังจากที่
เดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ยอดขายปลีกในเดือน พ.ย.ลดลงอย่างไม่คาดคิดเนื่องจากสภาวะ
อากาศที่อบอุ่นส่งผลให้ยอดขายเครื่องแต่งกายสำหรับฤดูกาลและสินค้าอื่นตามฤดูกาลชะลอตัว รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงก็ทำให้ยอดขายน้ำมันชะลอลง
ตามไปด้วย ขณะที่นักวิเคราะห์เห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ ธ.กลางญี่ปุ่นคำนึงถึงในการกำหนดนโยบายการเงิน และเป็นตัวเลขบ่งชี้
ล่าสุดที่อาจส่งผลให้ ธ.กลางปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า (ม.ค.50) นอกจากนี้ อนึ่ง การบริโภคของญี่ปุ่นชะลอตัวมาหลาย
เดือนแล้ว และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่อ้างว่ามีสาเหตุจากอากาศที่แปรปรวนและการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานที่ลดลงจากปัจจัยหลายประการ อย่างไร
ก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวเตือนถึงสัญญาณภาวะชะลอตัวของการบริโภคส่วนบุคคลและระดับราคา และเน้นว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของ ธ.กลาง ทั้งนี้ ธ.กลางคงระดับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ
0.25 ในการประชุมเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เมื่อเดือน ก.ค.49 ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
(รอยเตอร์)
3. ความสามารถในการทำกำไรของกิจการส่งออกเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 8 รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 49 สมาคมการค้าแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ผู้ส่งออกของเกาหลีใต้มีผลประกอบการกำไรลดลง
ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากเงินวอนแข็งค่าขึ้น ทั้งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และเมื่อเทียบกับเงินเยน ประกอบกับราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ทั้งนี้กำไรของกิจการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 47 ที่
ผู้ประกอบการเกาหลีใต้มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายการเงินวิตกว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะชะลอลงเมื่อเศรษฐกิจ สรอ.
ชะลอตัว ทั้งนี้ในปีนี้เงินวอนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นราวร้อยละ 8.4 และแข็งค่าขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเงินเยน ซึ่งผู้ส่งออก
ของเกาหลีใต้เป็นคู่แข่งทางการค้าของญี่ปุ่นในตลาดสำคัญและผลิตภัณฑ์เดียวกัน (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
26 ธ.ค.49 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศหรือ GDP ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7
ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.49 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี โดยเป็นผลจากอุตสาหกรรมยาซึ่งผลผลิตขยายตัวถึง
ร้อยละ 46 ต่อปี ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดกลับลดลงหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 11.5 ทั้งนี้หากไม่รวมผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งค่อนข้างผันผวนจากการปิดสายการผลิตบ่อยครั้งเพื่อทำความสะอาดและ
เปลี่ยนไปผลิตยาชนิดใหม่แล้ว ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.49 จะขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ธ.ค. 49 26 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.392 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.1500/36.5324 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12434 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.72/5.77 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.87 58.97 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ยืนยันไม่ยกเลิกมาตรการหักกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 30 นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
จะติดตามประเมินผลหลังจากการใช้ไปแล้ว 3-6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถควบคุมค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และหากค่าเงินบาท
เคลื่อนไหวในแนวเดียวกับค่าเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค ก็พร้อมจะมีการทบทวนมาตรการดังกล่าวอีกครั้งอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวส่งผลดี
ต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเป็นประโยชน์ต่อภาคการส่งออก ซึ่งเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ด้าน
นายวิจิตร สุพินิจ ประธาน กก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ธปท. ควรติดตามดูภาวะตลาดหุ้นว่าเคลื่อนไหวอย่างไร ก่อนการปรับมาตรการหักกัน
สำรองร้อยละ 30 รวมทั้งการพิจารณายกเว้นไม่ใช้มาตรการดังกล่าวสำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธุรกิจก่อสร้างมีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมสูงสุด ธปท. รายงานยอดข้อมูลสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
แยกตามประเภทธุรกิจในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยภาคธุรกิจการก่อสร้างเป็นภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมมากที่สุด โดยมีจำนวนเอ็นพีแอล
31,296 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ รองลงมาได้แก่สินเชื่อของธุรกิจที่เกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์มียอดเอ็นพีแอล 56,144 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 16.27 ลดลงจากไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้เช่นกัน
ส่วนสินเชื่อประเภทอื่นที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อค่อนข้างสูงได้แก่ การเหมืองแร่ และการย่อยหิน ขณะที่ธุรกิจที่มีสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อ
ไม่มากนักได้แก่ ธุรกิจการพาณิชย์ การบริการ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล การธนาคารและธุรกิจการเงิน และการสาธารณูปโภค
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังจะพิจารณาขยายเวลาลดอัตราภาษีเงินได้ให้กับบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้จะพิจารณามาตรการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนตามข้อเสนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ
สภาธุรกิจตลาดทุน ให้มีการขยายเวลาสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ให้กับบริษัท
ที่เข้าจดทะเบียนใหม่กับตลาดหลักทรัพย์ไทยจากเดิมที่จะหมดกำหนดภายในสิ้นปีนี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านใน สรอ.ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 26 ธ.ค.49
ราคาบ้านครอบครัวเดี่ยวในพื้นที่ตัวเมือง 10 แห่งใน สรอ.ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 โดยดัชนีจากผลสำรวจโดย
Standard & Poor’s/Case-Shiller อยู่ที่ระดับ 224.43 แต่หากเทียบต่อปีราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีเดียวกันที่ได้
จากการสำรวจพื้นที่ตัวเมือง 20 แห่งและนับเป็นการรายงานครั้งแรกที่ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนมาอยู่ที่ระดับ 205.20 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
เมื่อเทียบต่อปี โดยราคาบ้านใน Detroit ลดลงมากที่สุดคือร้อยละ 3.6 ในขณะที่ราคาบ้านใน Seattle และ Portland สูงขึ้นถึงร้อยละ
14.1 และ 13.2 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงอย่างไม่คาดคิดที่ร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 27 ธ.ค.49
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.49 ลดลงอย่างไม่คาดคิดที่ร้อยละ 0.1 เทียบจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังจากที่
เดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ยอดขายปลีกในเดือน พ.ย.ลดลงอย่างไม่คาดคิดเนื่องจากสภาวะ
อากาศที่อบอุ่นส่งผลให้ยอดขายเครื่องแต่งกายสำหรับฤดูกาลและสินค้าอื่นตามฤดูกาลชะลอตัว รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงก็ทำให้ยอดขายน้ำมันชะลอลง
ตามไปด้วย ขณะที่นักวิเคราะห์เห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ ธ.กลางญี่ปุ่นคำนึงถึงในการกำหนดนโยบายการเงิน และเป็นตัวเลขบ่งชี้
ล่าสุดที่อาจส่งผลให้ ธ.กลางปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า (ม.ค.50) นอกจากนี้ อนึ่ง การบริโภคของญี่ปุ่นชะลอตัวมาหลาย
เดือนแล้ว และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่อ้างว่ามีสาเหตุจากอากาศที่แปรปรวนและการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานที่ลดลงจากปัจจัยหลายประการ อย่างไร
ก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวเตือนถึงสัญญาณภาวะชะลอตัวของการบริโภคส่วนบุคคลและระดับราคา และเน้นว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของ ธ.กลาง ทั้งนี้ ธ.กลางคงระดับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ
0.25 ในการประชุมเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เมื่อเดือน ก.ค.49 ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
(รอยเตอร์)
3. ความสามารถในการทำกำไรของกิจการส่งออกเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 8 รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 49 สมาคมการค้าแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ผู้ส่งออกของเกาหลีใต้มีผลประกอบการกำไรลดลง
ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากเงินวอนแข็งค่าขึ้น ทั้งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และเมื่อเทียบกับเงินเยน ประกอบกับราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ทั้งนี้กำไรของกิจการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 47 ที่
ผู้ประกอบการเกาหลีใต้มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายการเงินวิตกว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะชะลอลงเมื่อเศรษฐกิจ สรอ.
ชะลอตัว ทั้งนี้ในปีนี้เงินวอนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นราวร้อยละ 8.4 และแข็งค่าขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเงินเยน ซึ่งผู้ส่งออก
ของเกาหลีใต้เป็นคู่แข่งทางการค้าของญี่ปุ่นในตลาดสำคัญและผลิตภัณฑ์เดียวกัน (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
26 ธ.ค.49 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศหรือ GDP ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7
ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.49 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี โดยเป็นผลจากอุตสาหกรรมยาซึ่งผลผลิตขยายตัวถึง
ร้อยละ 46 ต่อปี ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดกลับลดลงหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 11.5 ทั้งนี้หากไม่รวมผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งค่อนข้างผันผวนจากการปิดสายการผลิตบ่อยครั้งเพื่อทำความสะอาดและ
เปลี่ยนไปผลิตยาชนิดใหม่แล้ว ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.49 จะขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ธ.ค. 49 26 ธ.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.392 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.1500/36.5324 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12434 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.72/5.77 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.87 58.97 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--