บริษัทใหญ่เมืองย่าโมทุ่มทุนกว่า 50 ล้านบาท เนรมิตพื้นที่ 12 ไร่เศษ สร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซลขนาดใหญ่และมีมาตรฐาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนการขนส่ง ตลอดจนธุรกิจอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมในยุคราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากการนำน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือแม้แต่น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหารมาผ่านกระบวนการทางเคมี โดยในกระบวนการผลิตนั้นจะผสมน้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์กับแอลกอฮอล์ มาทำปฏิกิริยากันจนได้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ ไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ไบโอดีเซลแบบรูปผสมและไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ซึ่งประเภทสุดท้ายจะมีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันดีเซลมากที่สุด แต่จะให้การเผาไหม้ที่สะอาดกว่าทำให้เกิดคาร์บอนมอน๊อกไซด์น้อยกว่าและไม่มีกำมะถันจึงไม่มีปัญหาในเรื่องซัลเฟส นอกจากนี้ยังมีเขม่าคาร์บอนน้อยทำให้ไม่เกิดการอุดตันของระบบไอเสียและยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย
สำหรับไบโอดีเซลนี้ จะช่วยลดเงินตราออกนอกประเทศ ส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ช่วยลดภาวะโลกร้อนและมลพิษในอากาศ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยโรงงานนี้จะเปิดให้บริการภายในสิ้นปี 2549 ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชทรีท เคมีคอล เลขที่ 84/1 ซอยสุขมนตรี 22 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีกำลังการผลิตสูงสุดประมาณ 100,000 ลิตรต่อวัน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากการนำน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือแม้แต่น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหารมาผ่านกระบวนการทางเคมี โดยในกระบวนการผลิตนั้นจะผสมน้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์กับแอลกอฮอล์ มาทำปฏิกิริยากันจนได้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ ไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ไบโอดีเซลแบบรูปผสมและไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ซึ่งประเภทสุดท้ายจะมีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันดีเซลมากที่สุด แต่จะให้การเผาไหม้ที่สะอาดกว่าทำให้เกิดคาร์บอนมอน๊อกไซด์น้อยกว่าและไม่มีกำมะถันจึงไม่มีปัญหาในเรื่องซัลเฟส นอกจากนี้ยังมีเขม่าคาร์บอนน้อยทำให้ไม่เกิดการอุดตันของระบบไอเสียและยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย
สำหรับไบโอดีเซลนี้ จะช่วยลดเงินตราออกนอกประเทศ ส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ช่วยลดภาวะโลกร้อนและมลพิษในอากาศ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยโรงงานนี้จะเปิดให้บริการภายในสิ้นปี 2549 ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชทรีท เคมีคอล เลขที่ 84/1 ซอยสุขมนตรี 22 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีกำลังการผลิตสูงสุดประมาณ 100,000 ลิตรต่อวัน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-