นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลสรุปการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 12 (The 12th APEC Finance Ministers’ Meeting) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2548 ณ เมืองเจจู สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะ ผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้แทนระดับสูง ของกระทรวงการคลังและธนาคารกลางจากเขตเศรษฐกิจเอเปค รวมทั้งผู้บริหาร สถาบันการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการเอเปค และมี นายดัก ซู ฮัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ สาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธาน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ประมาณการภาวะเศรษฐกิจว่ากลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกจะเติบโตขึ้นในปี 2548 นี้ประมาณร้อยละ 6.9 ซึ่งหากไม่นับสาธารณรัฐ ประชาชนจีนแล้วเศรษฐกิจของภูมิภาคจะยังเติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 4.3 ในปีนี้ โดยคาดการว่าอัตราการเติบโตของจีนในปีนี้จะประมาณร้อยละ 9 ทั้งนี้ สถาบันการเงินฯ ได้ประมาณการอัตราการเติบโตของภูมิภาคเอเซียตะวันออกในปีหน้าว่าจะเติบโตขึ้นต่อ เนื่องในอัตราร้อยละ 7
การเติบโตของเศรษฐกิจโลกนั้นมีความเสี่ยง 2 ประการได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความไม่สมดุลของการค้าโลก ซึ่งการที่สหรัฐฯขาดดุลการค้า จำนวนมากกับภูมิภาคเอเชียอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดต่ำลง และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินของโลกและเสถียรภาพ ของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคจะต้องบริหาร นโยบายการคลังอย่างรัดกุมและบูรณาการ รวมทั้งบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่น สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงของแต่ละประเทศนั้นๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รายงานต่อที่ประชุมว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2548 นี้จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอัตราประมาณร้อยละ 4.1 — 4.6 เนื่องจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอันได้แก่การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายกลางปีจำนวน 50,000 ล้านบาท มาตรการบริหารการนำเข้า ท่องเที่ยว และส่งออก ประกอบกับการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ (Mega projects) อย่างไรก็ดีในปี 2548 นี้คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลเป็นครั้งแรกนับแต่วิกฤติสถาบันการเงิน โดยอาจจะขาดดุลจาดดุลประมาณร้อยละ 2.2-2.8 เมื่อเทียบกับผลผลิตมวลรวม ภายในประเทศ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในปี 2548 จะประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
2. หัวข้อหลักของการประชุม ในปีนี้ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีและมีเสถียรภาพ (Free and Stable Movement of Capital) ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยได้หารือเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งในรูปของการลงทุนโดยตรงและการลงทุน ในหลักทรัพย์ โดยรวมไปถึงการโอนเงิน (Remittance) ข้ามประเทศของแรงงาน ในต่างประเทศ ซึ่งที่ประชุมสนับสนุนการเปิดเสรีบัญชีทุน ในแนวทางที่ไม่ส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพทางการเงินโดยให้สมาชิกแต่ละเขตเศรษฐกิจพิจารณาความเหมาะสมของ ระดับสภาพการณ์ก่อนเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งในส่วนของไทยได้กล่าวย้ำถึง มาตรการการรักษาเสถียรภาพทางการเงินที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
(1) การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงนโยบายการเงินและ Prudential Supervision Policy เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางการเงิน
(2) การมีระบบตรวจสอบการเคลื่อนย้ายเงินทุน และ
(3) การพัฒนาระบบการเงินและตลาดทุน ทั้งในประเทศและในภูมิภาค ที่มีความทนทานต่อความไม่แน่นอนของเงินทุนเคลื่อนย้าย
2) การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจผู้สูงวัย (Meet the Challenge of Ageing Economy) ปัญหาของ ประชากรสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อ การบริหารนโยบายการคลัง โดยเฉพาะการรักษาวินัยการคลังและความยั่งยืน ทางการคลัง ซึ่งเขตเศรษฐกิจ มีความจำเป็นและเร่งด่วนในการปรับโครงสร้าง ตลาดการเงินและด้านการคลัง รวมทั้งมีระบบบำเหน็จบำนาญที่เหมาะสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการออม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และการให้ความรู้ ทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้นำเสนอในที่ประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ว่าได้มีการ ดำเนินการพัฒนาระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุใน 3 รูปแบบได้แก่ การประกันสังคม การออมภาคบังคับ และการออมภาคสมัครใจ ซึ่งไทยกำลัง ดำเนินการจัดตั้งกองทุนแห่งชาติเพื่อการเกษียณอายุ National Pension Fund ขึ้นเพื่อสนับสนุนการออมภาคบังคับสำหรับบุคคลที่มิใช่ข้าราชการ
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคได้ประกาศปฏิญญาความ ร่วมมือของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการรองรับความท้าทายด้านปัญหาประชากรสูงวัย ณ เมืองเจจู ในวันที่ 9 กันยายน 2548 โดยสาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าวได้แก่ ความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคที่จะพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินและการคลังให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ โดยเฉพาะในด้าน ระบบบำเหน็จบำนาญและการสาธารณสุข นอกจากนี้สมาชิกเอเปคได้ตกลงจะจัดตั้ง คณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คนจากสมาชิกเอเปคเพื่อศึกษาหาแนวทางหรือนโยบายที่เหมาะสมในการรองรับความ ท้าทายของเขตเศรษฐกิจต่อปัญหาประชากรสูงวัย โดยนำเสนอผลการศึกษา ในการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 13 ในปี 2549 ต่อไป
3. การหารือทวิภาคีกับผู้นำเขตเศรษฐกิจต่างๆ
ไทยได้หารือทวิภาคีกับสาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา โดยหัวข้อที่หารือส่วนใหญ่คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านภาวะ เศรษฐกิจทั้งในประเทศและในภูมิภาค ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ต่อเศรษฐกิจ ค่าของเงินสกุลท้องถิ่น รวมทั้งนโยบายต่างๆของรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะยังได้พบกับประธานธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถ่น และการจัดตั้งสถาบันจัดอันดับแห่งภูมิภาค (Regional Credit Rating Agency)
4. มาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยมีบทบาท
ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาทร่วมเป็นเจ้าภาพ 2 มาตรการได้แก่ 1) มาตรการสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ให้การสนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อันเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่ กระทรวงการคลังไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เอเปคครั้งที่ 10 ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2546 โดยสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปค จำนวน 12 แห่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุนธุรกิจ SME ทั้งนี้ในปีนี้มีสถาบันการเงินจากฟิลิปปินส์และเม็กซิโกขอเข้ามาร่วมในกลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วย อนึ่ง ในปีนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสถาบันการเงินดังกล่าว และประสบผลสำเร็จ อย่างดี 2) มาตรการริเริ่มเกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างประเทศ Initiative on Remittance System ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงนโยบาย Policy Dialogue ไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งผลจากการประชุมดังกล่าว เป็นข้อสรุปของมาตรการริเริ่มนี้ และได้นำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังในครั้งนี้ด้วย
5. การประชุม Ministerial Retreat
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เอเปคในวันที่ 9 กันยายน 2548 ได้หารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวการณ์ของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละเขตเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการที่ ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และความพร้อมของแต่ละประเทศในการเตรียมการ เผชิญปัญหาประชากรสูงวัย ซึ่งในการประชุม Ministerial Retreat ครั้งนี้เจ้าภาพเปิดให้ผู้แทนภาคเอกชนจาก APEC Business Advisory Council (ABAC) เข้าร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเอเปค เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งต่อไป จะมีขึ้นที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2549
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2548 9 กันยายน 48--
1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ประมาณการภาวะเศรษฐกิจว่ากลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกจะเติบโตขึ้นในปี 2548 นี้ประมาณร้อยละ 6.9 ซึ่งหากไม่นับสาธารณรัฐ ประชาชนจีนแล้วเศรษฐกิจของภูมิภาคจะยังเติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 4.3 ในปีนี้ โดยคาดการว่าอัตราการเติบโตของจีนในปีนี้จะประมาณร้อยละ 9 ทั้งนี้ สถาบันการเงินฯ ได้ประมาณการอัตราการเติบโตของภูมิภาคเอเซียตะวันออกในปีหน้าว่าจะเติบโตขึ้นต่อ เนื่องในอัตราร้อยละ 7
การเติบโตของเศรษฐกิจโลกนั้นมีความเสี่ยง 2 ประการได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความไม่สมดุลของการค้าโลก ซึ่งการที่สหรัฐฯขาดดุลการค้า จำนวนมากกับภูมิภาคเอเชียอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดต่ำลง และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินของโลกและเสถียรภาพ ของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคจะต้องบริหาร นโยบายการคลังอย่างรัดกุมและบูรณาการ รวมทั้งบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่น สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงของแต่ละประเทศนั้นๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รายงานต่อที่ประชุมว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2548 นี้จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอัตราประมาณร้อยละ 4.1 — 4.6 เนื่องจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอันได้แก่การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายกลางปีจำนวน 50,000 ล้านบาท มาตรการบริหารการนำเข้า ท่องเที่ยว และส่งออก ประกอบกับการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ (Mega projects) อย่างไรก็ดีในปี 2548 นี้คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลเป็นครั้งแรกนับแต่วิกฤติสถาบันการเงิน โดยอาจจะขาดดุลจาดดุลประมาณร้อยละ 2.2-2.8 เมื่อเทียบกับผลผลิตมวลรวม ภายในประเทศ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในปี 2548 จะประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
2. หัวข้อหลักของการประชุม ในปีนี้ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่
1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีและมีเสถียรภาพ (Free and Stable Movement of Capital) ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยได้หารือเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งในรูปของการลงทุนโดยตรงและการลงทุน ในหลักทรัพย์ โดยรวมไปถึงการโอนเงิน (Remittance) ข้ามประเทศของแรงงาน ในต่างประเทศ ซึ่งที่ประชุมสนับสนุนการเปิดเสรีบัญชีทุน ในแนวทางที่ไม่ส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพทางการเงินโดยให้สมาชิกแต่ละเขตเศรษฐกิจพิจารณาความเหมาะสมของ ระดับสภาพการณ์ก่อนเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งในส่วนของไทยได้กล่าวย้ำถึง มาตรการการรักษาเสถียรภาพทางการเงินที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
(1) การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงนโยบายการเงินและ Prudential Supervision Policy เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางการเงิน
(2) การมีระบบตรวจสอบการเคลื่อนย้ายเงินทุน และ
(3) การพัฒนาระบบการเงินและตลาดทุน ทั้งในประเทศและในภูมิภาค ที่มีความทนทานต่อความไม่แน่นอนของเงินทุนเคลื่อนย้าย
2) การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจผู้สูงวัย (Meet the Challenge of Ageing Economy) ปัญหาของ ประชากรสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อ การบริหารนโยบายการคลัง โดยเฉพาะการรักษาวินัยการคลังและความยั่งยืน ทางการคลัง ซึ่งเขตเศรษฐกิจ มีความจำเป็นและเร่งด่วนในการปรับโครงสร้าง ตลาดการเงินและด้านการคลัง รวมทั้งมีระบบบำเหน็จบำนาญที่เหมาะสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการออม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และการให้ความรู้ ทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้นำเสนอในที่ประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ว่าได้มีการ ดำเนินการพัฒนาระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุใน 3 รูปแบบได้แก่ การประกันสังคม การออมภาคบังคับ และการออมภาคสมัครใจ ซึ่งไทยกำลัง ดำเนินการจัดตั้งกองทุนแห่งชาติเพื่อการเกษียณอายุ National Pension Fund ขึ้นเพื่อสนับสนุนการออมภาคบังคับสำหรับบุคคลที่มิใช่ข้าราชการ
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคได้ประกาศปฏิญญาความ ร่วมมือของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการรองรับความท้าทายด้านปัญหาประชากรสูงวัย ณ เมืองเจจู ในวันที่ 9 กันยายน 2548 โดยสาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าวได้แก่ ความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคที่จะพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินและการคลังให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ โดยเฉพาะในด้าน ระบบบำเหน็จบำนาญและการสาธารณสุข นอกจากนี้สมาชิกเอเปคได้ตกลงจะจัดตั้ง คณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คนจากสมาชิกเอเปคเพื่อศึกษาหาแนวทางหรือนโยบายที่เหมาะสมในการรองรับความ ท้าทายของเขตเศรษฐกิจต่อปัญหาประชากรสูงวัย โดยนำเสนอผลการศึกษา ในการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 13 ในปี 2549 ต่อไป
3. การหารือทวิภาคีกับผู้นำเขตเศรษฐกิจต่างๆ
ไทยได้หารือทวิภาคีกับสาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา โดยหัวข้อที่หารือส่วนใหญ่คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านภาวะ เศรษฐกิจทั้งในประเทศและในภูมิภาค ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ต่อเศรษฐกิจ ค่าของเงินสกุลท้องถิ่น รวมทั้งนโยบายต่างๆของรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะยังได้พบกับประธานธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถ่น และการจัดตั้งสถาบันจัดอันดับแห่งภูมิภาค (Regional Credit Rating Agency)
4. มาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยมีบทบาท
ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ไทยมีบทบาทร่วมเป็นเจ้าภาพ 2 มาตรการได้แก่ 1) มาตรการสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ให้การสนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อันเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่ กระทรวงการคลังไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เอเปคครั้งที่ 10 ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2546 โดยสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปค จำนวน 12 แห่งได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุนธุรกิจ SME ทั้งนี้ในปีนี้มีสถาบันการเงินจากฟิลิปปินส์และเม็กซิโกขอเข้ามาร่วมในกลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วย อนึ่ง ในปีนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสถาบันการเงินดังกล่าว และประสบผลสำเร็จ อย่างดี 2) มาตรการริเริ่มเกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างประเทศ Initiative on Remittance System ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงนโยบาย Policy Dialogue ไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งผลจากการประชุมดังกล่าว เป็นข้อสรุปของมาตรการริเริ่มนี้ และได้นำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังในครั้งนี้ด้วย
5. การประชุม Ministerial Retreat
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เอเปคในวันที่ 9 กันยายน 2548 ได้หารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวการณ์ของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละเขตเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการที่ ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และความพร้อมของแต่ละประเทศในการเตรียมการ เผชิญปัญหาประชากรสูงวัย ซึ่งในการประชุม Ministerial Retreat ครั้งนี้เจ้าภาพเปิดให้ผู้แทนภาคเอกชนจาก APEC Business Advisory Council (ABAC) เข้าร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเอเปค เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งต่อไป จะมีขึ้นที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2549
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2548 9 กันยายน 48--