ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ชี้เศรษฐกิจปีนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเรื่องความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและ
ประเทศคู่ค้า รวมทั้งราคาน้ำมัน ซึ่งต้องติดตามว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน แต่ถือว่าไทยมีแรงส่งที่
ดีให้ขยายตัวจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากสินเชื่อเร่งตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยที่เป็นแรงส่งมี 3 ข้อ คือ 1) การ
ลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตลอด 3-4 ปี 2)การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงถึง
ร้อยละ 22-23 และ 3) การลงทุนของภาครัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการลงทุนดังกล่าวจะมีการนำเข้ามากแค่ไหน จะ
กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ธปท. ได้ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในปี 47 เบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 6.2
จากปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.4 การขยายตัว
มาจากการส่งออกเป็นหลัก มูลค่าการส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 87,700 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 23.6 ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 86,600 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 ดุลการค้าเกินดุล
1,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากปีก่อนที่เกินดุลการค้า 3,300 ล้านดอลลาร์ สรอ.(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.พาณิชย์ยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ระยะสั้นในช่วงนี้ นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ระยะสั้นภายในกลางปี 48
แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน หรือเงินฝากประจำอื่น ๆ ยังไม่มีความแน่นอน แม้สภาพคล่องปีที่แล้ว
ลดไปร้อยละ 20 แต่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังพอ ๆ กัน ยังมีเงินฝากเข้ามาเพิ่ม จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ดูสภาพ
คล่องเป็นหลัก ส่วนเรื่องสินเชื่อคาดว่าในปีนี้ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบจะขยายสินเชื่อได้ร้อยละ 7-8 เนื่องจากการลงทุน
ภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลาสติก ที่มีราคาดี ด้าน น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน
ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารจะไม่เป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ย โดยขณะนี้สินเชื่อปี 47
ของธนาคารเพิ่มขึ้นสุทธิ 5.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 30 เป็นสัดส่วนที่มาก เพราะฐานสินเชื่อยัง
น้อยอยู่ ทั้งนี้ แหล่งข่าวจาก ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ตามปกติการขึ้นดอกเบี้ยของสถาบันการเงินจะขึ้นดอกเบี้ย
เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน ก่อน จากนั้นจึงปรับดอกเบี้ยออมทรัพย์หรือเงินกู้ขึ้นมา ซึ่งจากสถานการณ์ใน
ตลาดคาดว่าปีนี้ทั้งปีจะมีการขึ้นดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 0.50-.075 (โพสต์ทูเดย์)
3. เอดีบีสนับสนุนไทยปฏิรูปโครงสร้างประเทศ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง กล่าวภายหลัง
เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงนโยบายเรื่อง “ยกเครื่องเศรษฐกิจไทย” ว่า ระยะต่อจากนี้รัฐบาลจะปฏิรูปโครง
สร้างประเทศทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยในส่วนของภาครัฐจะเริ่มต้นที่ ก.คลังเป็นแห่ง
แรก ซึ่งการกำหนดนโยบายต่อจากนี้ต้องวางแผนการพัฒนาครอบคลุมทั้งภูมิภาค ไม่จำกัดอยู่ในประเทศเท่านั้น ด้าน
นายทาดาโอ ชีโน่ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้แสดงเจตนารมณ์จะช่วยเหลือไทยในการ
ปฏิรูปโครงสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะให้การสนับสนุนด้านเทคนิค บุคลากร และอื่น ๆ ที่
ไม่ใช่ตัวเงิน พร้อมทั้งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) นอกจากนี้ ธ.เคเอฟดับ
เบิลยู ของประเทศเยอรมนี ก็ได้แสดงท่าที่ว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือไทยในการปฏิรูปประเทศเช่นกัน (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งกองทุนเงินออมกลางเพื่อการเกษียณอายุ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งกองทุนเงินออมกลางเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแนวทาง
หนึ่งในการระดมเงินออมในประเทศให้มากขึ้น เพราะจากนี้ไปอีก 4-5 ปี ประเทศจะใช้เงินลงทุนในโครงการ
ขนาดใหญ่มากถึง 2 ล้านล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรเงินเป็นไปตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จึงควร
เร่งจัดตั้งกองทุนเงินออมขึ้นมาสนับสนุนด้วย ซึ่งคาดว่าภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ จะเห็นรูปแบบของกองทุนดัง
กล่าวที่ชัดเจนได้ โดยวัตถุประสงค์การตั้งกองทุนยังเป็นการลดภาระงบประมาณในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่พบว่าใน
อนาคตคนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น หากใช้งบประมาณมาดูแลอาจทำให้เกิดปัญหาได้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน พ.ย.47 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 12 ม.ค.48 ทางการ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ 60.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 56.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ที่
ระดับ 54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และเป็นการเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 60 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เป็นครั้งแรก โดยการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นจำนวน 155.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สาเหตุหลักจากการที่ผู้บริโภค สรอ.มีความ
ต้องการสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภทเทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของ
สรอ.ยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่าราคาน้ำมันโลกจะชะลอตัวลงก็ตาม ในขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 2.3 เป็น
จำนวน 95.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนและวัตถุดิบสำหรับการผลิต รวมถึง
รถยนต์และอุปกรณ์ลดลง และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของ สรอ.เป็นสัดส่วนร้อยละ
25 ของการส่งออกโดยรวม ได้ชะลอการนำเข้าสินค้าจาก สรอ.ลงเล็กน้อย อนึ่ง แม้ว่าการอ่อนค่าลงของเงิน
ดอลลาร์ สรอ.จะเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้าส่งออกของ สรอ. แต่ในขณะเดียวกันความต้องการ
สินค้าจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญก็ชะลอตัวเช่นกัน สำหรับยอดขาดดุลการค้าในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) มี
จำนวน 561.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่ายอดรวมการขาดดุลการค้าของทั้งปี 46 ที่มีจำนวน 496.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.47 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 4.6 พัน ล.ปอนด์ รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 12 ม.ค.48 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.47 อังกฤษขาดดุลการค้าสินค้า
จำนวน 4.6 พัน ล.ปอนด์ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขาดดุลจำนวน 5.0 พัน ล. ปอนด์และน้อยกว่าที่คาดการณ์
ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง 5.1 พัน ล.ปอนด์ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงเนื่องจากมีการส่ง
ออกสินค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 16.9 พัน ล.ปอนด์หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 อันเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.45 เป็น
ต้นมา โดยเฉพาะมีการส่งออกสินค้าในหมวดปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การค้ากับกลุ่มประเทศสหภาพ
ยุโรป 25 ประเทศอังกฤษขาดดุลการค้าลดลงจำนวน 1.88 พัน ล.ปอนด์ ลดลงจากจำนวน 2.12 พัน ล.ปอนด์ใน
เดือนก่อน และเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.46 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ
ภาวะการอ่อนค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงเมื่อเทียบกับเงินยูโร อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าที่ลดลงเพียงเล็ก
น้อยนั้นไม่ได้ทำให้นักวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.อังกฤษจะคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.75 ในการประชุมในสัปดาห์นี้และเดือนถัดไป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ธ.ค.47 ที่คำนวณตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.2 ต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 12 ม.ค.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเยอรมนีในเดือน ธ.ค.47 ที่คำนวณตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปหลังปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งแรกซึ่งดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 ต่อเดือนและร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยในเดือน พ.ย.47 ดัชนีดังกล่าวลดลงร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.0 ต่อปี แต่หากคำนวณตามมาตรฐานของเยอรมนีเองดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อเดือนและร้อยละ 2.1
ต่อปีปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งก่อน โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่ามาจากการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ทำ
ให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากราคาที่พักตามแหล่งท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส
และปีใหม่ จึงไม่ควรให้ความสำคัญกับตัวเลขของเดือน ธ.ค.47 มากนัก เพราะการแข่งขันในตลาดทำให้ธุรกิจส่วน
ใหญ่ไม่กล้าปรับราคาสินค้า นอกจากนี้ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นยังทำให้วัตถุดิบซึ่งซื้อเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.มีราคาถูกลง
จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 ต่อปีหลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 1.6 ในปี 46
และ ปี 47 ตามลำดับ(รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 3.7 ในปีนี้และปีหน้า
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ม.ค.48 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6-11 ม.ค.ที่ผ่านมารอยเตอร์ได้ทำการ
สำรวจผู้ชำนาญทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มสถาบันการเงินที่สำคัญเกี่ยวกับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก พบว่า
การเติบโตของเศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ในระดับปานกลางหลังจากที่แข็งแกร่งอย่างมากในปี 47 โดยคาดว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 3.8 ในปี 48 และร้อยละ 3.7 ในปีถัดไป ซึ่งลดลงจากปี 47 ที่ผลสำรวจประมาณการไว้ว่าอยู่ที่ร้อยละ
4.8 และต่ำกว่าผลสำรวจครั้งสุดท้ายของรอยเตอร์เมื่อเดือน ก.ค.ปีก่อนที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ในปี 48 แต่
ก็ยังคงอยู่สูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเฉลี่ย 20 ปีที่ผ่านมาที่ไอเอ็มเอฟรายงานไว้ว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5
ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ระดับดังกล่าวเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการอ่อนลงของค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. โดยปัจจุบัน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.อยู่ที่ร้อยละ 2.25 และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือนนี้ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่
จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13/1/2548 12/1/2548 30/1/2547 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.957 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7748/39.0683 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 694.63/20.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.2 36.49 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ชี้เศรษฐกิจปีนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเรื่องความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและ
ประเทศคู่ค้า รวมทั้งราคาน้ำมัน ซึ่งต้องติดตามว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน แต่ถือว่าไทยมีแรงส่งที่
ดีให้ขยายตัวจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากสินเชื่อเร่งตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยที่เป็นแรงส่งมี 3 ข้อ คือ 1) การ
ลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตลอด 3-4 ปี 2)การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงถึง
ร้อยละ 22-23 และ 3) การลงทุนของภาครัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการลงทุนดังกล่าวจะมีการนำเข้ามากแค่ไหน จะ
กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ธปท. ได้ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในปี 47 เบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 6.2
จากปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.4 การขยายตัว
มาจากการส่งออกเป็นหลัก มูลค่าการส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 87,700 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 23.6 ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 86,600 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 ดุลการค้าเกินดุล
1,100 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากปีก่อนที่เกินดุลการค้า 3,300 ล้านดอลลาร์ สรอ.(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.พาณิชย์ยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ระยะสั้นในช่วงนี้ นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ระยะสั้นภายในกลางปี 48
แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน หรือเงินฝากประจำอื่น ๆ ยังไม่มีความแน่นอน แม้สภาพคล่องปีที่แล้ว
ลดไปร้อยละ 20 แต่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังพอ ๆ กัน ยังมีเงินฝากเข้ามาเพิ่ม จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ดูสภาพ
คล่องเป็นหลัก ส่วนเรื่องสินเชื่อคาดว่าในปีนี้ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบจะขยายสินเชื่อได้ร้อยละ 7-8 เนื่องจากการลงทุน
ภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลาสติก ที่มีราคาดี ด้าน น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน
ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารจะไม่เป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ย โดยขณะนี้สินเชื่อปี 47
ของธนาคารเพิ่มขึ้นสุทธิ 5.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 30 เป็นสัดส่วนที่มาก เพราะฐานสินเชื่อยัง
น้อยอยู่ ทั้งนี้ แหล่งข่าวจาก ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ตามปกติการขึ้นดอกเบี้ยของสถาบันการเงินจะขึ้นดอกเบี้ย
เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน ก่อน จากนั้นจึงปรับดอกเบี้ยออมทรัพย์หรือเงินกู้ขึ้นมา ซึ่งจากสถานการณ์ใน
ตลาดคาดว่าปีนี้ทั้งปีจะมีการขึ้นดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 0.50-.075 (โพสต์ทูเดย์)
3. เอดีบีสนับสนุนไทยปฏิรูปโครงสร้างประเทศ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง กล่าวภายหลัง
เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงนโยบายเรื่อง “ยกเครื่องเศรษฐกิจไทย” ว่า ระยะต่อจากนี้รัฐบาลจะปฏิรูปโครง
สร้างประเทศทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยในส่วนของภาครัฐจะเริ่มต้นที่ ก.คลังเป็นแห่ง
แรก ซึ่งการกำหนดนโยบายต่อจากนี้ต้องวางแผนการพัฒนาครอบคลุมทั้งภูมิภาค ไม่จำกัดอยู่ในประเทศเท่านั้น ด้าน
นายทาดาโอ ชีโน่ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้แสดงเจตนารมณ์จะช่วยเหลือไทยในการ
ปฏิรูปโครงสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะให้การสนับสนุนด้านเทคนิค บุคลากร และอื่น ๆ ที่
ไม่ใช่ตัวเงิน พร้อมทั้งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) นอกจากนี้ ธ.เคเอฟดับ
เบิลยู ของประเทศเยอรมนี ก็ได้แสดงท่าที่ว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือไทยในการปฏิรูปประเทศเช่นกัน (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งกองทุนเงินออมกลางเพื่อการเกษียณอายุ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งกองทุนเงินออมกลางเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแนวทาง
หนึ่งในการระดมเงินออมในประเทศให้มากขึ้น เพราะจากนี้ไปอีก 4-5 ปี ประเทศจะใช้เงินลงทุนในโครงการ
ขนาดใหญ่มากถึง 2 ล้านล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรเงินเป็นไปตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จึงควร
เร่งจัดตั้งกองทุนเงินออมขึ้นมาสนับสนุนด้วย ซึ่งคาดว่าภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ จะเห็นรูปแบบของกองทุนดัง
กล่าวที่ชัดเจนได้ โดยวัตถุประสงค์การตั้งกองทุนยังเป็นการลดภาระงบประมาณในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่พบว่าใน
อนาคตคนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น หากใช้งบประมาณมาดูแลอาจทำให้เกิดปัญหาได้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน พ.ย.47 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 12 ม.ค.48 ทางการ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ 60.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 56.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ที่
ระดับ 54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และเป็นการเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 60 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เป็นครั้งแรก โดยการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นจำนวน 155.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สาเหตุหลักจากการที่ผู้บริโภค สรอ.มีความ
ต้องการสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภทเทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของ
สรอ.ยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่าราคาน้ำมันโลกจะชะลอตัวลงก็ตาม ในขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 2.3 เป็น
จำนวน 95.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนและวัตถุดิบสำหรับการผลิต รวมถึง
รถยนต์และอุปกรณ์ลดลง และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของ สรอ.เป็นสัดส่วนร้อยละ
25 ของการส่งออกโดยรวม ได้ชะลอการนำเข้าสินค้าจาก สรอ.ลงเล็กน้อย อนึ่ง แม้ว่าการอ่อนค่าลงของเงิน
ดอลลาร์ สรอ.จะเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้าส่งออกของ สรอ. แต่ในขณะเดียวกันความต้องการ
สินค้าจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญก็ชะลอตัวเช่นกัน สำหรับยอดขาดดุลการค้าในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.47) มี
จำนวน 561.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่ายอดรวมการขาดดุลการค้าของทั้งปี 46 ที่มีจำนวน 496.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.47 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 4.6 พัน ล.ปอนด์ รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 12 ม.ค.48 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.47 อังกฤษขาดดุลการค้าสินค้า
จำนวน 4.6 พัน ล.ปอนด์ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขาดดุลจำนวน 5.0 พัน ล. ปอนด์และน้อยกว่าที่คาดการณ์
ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง 5.1 พัน ล.ปอนด์ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงเนื่องจากมีการส่ง
ออกสินค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 16.9 พัน ล.ปอนด์หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 อันเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.45 เป็น
ต้นมา โดยเฉพาะมีการส่งออกสินค้าในหมวดปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การค้ากับกลุ่มประเทศสหภาพ
ยุโรป 25 ประเทศอังกฤษขาดดุลการค้าลดลงจำนวน 1.88 พัน ล.ปอนด์ ลดลงจากจำนวน 2.12 พัน ล.ปอนด์ใน
เดือนก่อน และเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค.46 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ
ภาวะการอ่อนค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงเมื่อเทียบกับเงินยูโร อย่างไรก็ตาม การขาดดุลการค้าที่ลดลงเพียงเล็ก
น้อยนั้นไม่ได้ทำให้นักวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.อังกฤษจะคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.75 ในการประชุมในสัปดาห์นี้และเดือนถัดไป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ธ.ค.47 ที่คำนวณตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.2 ต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 12 ม.ค.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค
ของเยอรมนีในเดือน ธ.ค.47 ที่คำนวณตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปหลังปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งแรกซึ่งดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 ต่อเดือนและร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยในเดือน พ.ย.47 ดัชนีดังกล่าวลดลงร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.0 ต่อปี แต่หากคำนวณตามมาตรฐานของเยอรมนีเองดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อเดือนและร้อยละ 2.1
ต่อปีปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งก่อน โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่ามาจากการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ทำ
ให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากราคาที่พักตามแหล่งท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส
และปีใหม่ จึงไม่ควรให้ความสำคัญกับตัวเลขของเดือน ธ.ค.47 มากนัก เพราะการแข่งขันในตลาดทำให้ธุรกิจส่วน
ใหญ่ไม่กล้าปรับราคาสินค้า นอกจากนี้ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นยังทำให้วัตถุดิบซึ่งซื้อเป็นเงินดอลลาร์ สรอ.มีราคาถูกลง
จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 ต่อปีหลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 1.6 ในปี 46
และ ปี 47 ตามลำดับ(รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 3.7 ในปีนี้และปีหน้า
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ม.ค.48 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6-11 ม.ค.ที่ผ่านมารอยเตอร์ได้ทำการ
สำรวจผู้ชำนาญทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มสถาบันการเงินที่สำคัญเกี่ยวกับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก พบว่า
การเติบโตของเศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ในระดับปานกลางหลังจากที่แข็งแกร่งอย่างมากในปี 47 โดยคาดว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 3.8 ในปี 48 และร้อยละ 3.7 ในปีถัดไป ซึ่งลดลงจากปี 47 ที่ผลสำรวจประมาณการไว้ว่าอยู่ที่ร้อยละ
4.8 และต่ำกว่าผลสำรวจครั้งสุดท้ายของรอยเตอร์เมื่อเดือน ก.ค.ปีก่อนที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ในปี 48 แต่
ก็ยังคงอยู่สูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเฉลี่ย 20 ปีที่ผ่านมาที่ไอเอ็มเอฟรายงานไว้ว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5
ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ระดับดังกล่าวเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการอ่อนลงของค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. โดยปัจจุบัน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.อยู่ที่ร้อยละ 2.25 และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือนนี้ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่
จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13/1/2548 12/1/2548 30/1/2547 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.957 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7748/39.0683 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 694.63/20.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.2 36.49 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--