ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันเงินทุนไหลเข้ายังอยู่ในระดับปกติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยถึง
เงินทุนที่ไหลเข้าไทยประมาณ 140,000 ล.บาท หรือประมาณ 3,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ถือว่าไม่ใช่จำนวนที่มากจนผิดปกติแต่อย่างใด โดย
เงินทุนที่ไหลเข้ามานั้น ก็ไหลเข้ามาลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เข้ามาเพื่อซื้อกิจการรัฐวิสาหกิจอย่างที่เข้าใจ และแหล่งเงินทุนที่ไหลเข้ามา
ก็มีทั้งจาก สรอ. และประเทศอื่นๆ ส่วนกรณีที่มีข้อสังเกตว่าในช่วงที่มีการประกาศเว้นวรรคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการถอนเงินจำนวน
20,000 ล.บาท ออกจาก ธพ.แห่งหนึ่งนั้น เท่าที่ทราบไม่มีการถอนเงินเพื่อนำออกนอกประเทศแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการ
ดูแลภาวะเศรษฐกิจในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐบาลว่า ธปท.จะดูแลให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ โดยการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพมากที่สุด
เพื่อให้ผู้ค้าขายสามารถค้าขายได้ โดยปัจจัยเรื่องของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศขณะนี้ยังมีจำนวนเพียงพอ และยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยน
สัดส่วนประเภทสินทรัพย์ของเงินทุนสำรองในขณะนี้ (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.49 พบว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 76.7 ต่ำสุดในรอบ 48 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
โอกาสในการหางานทำเท่ากับ 77.2 ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 93.7 ต่ำสุดในรอบ 50 เดือน
ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ 82.5 ต่ำสุดในรอบ 48 เดือน และต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22 สำหรับสาเหตุที่
ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการ เป็นผลจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ผู้บริโภคกังวลมากที่สุด เกี่ยวกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นและรายได้
ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงกรณีที่ ธปท.ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 49 จาก
4.75-5.75% เหลือ 4.25-5.25% และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง ภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่า และความไม่สงบจาก
สถานการณ์ภาคใต้ ทั้งนี้ จากปัจจัยต่างๆ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวไปอีก 6 เดือน หรือไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ และจะกลับฟื้นตัวได้
ในไตรมาส 4 หากไม่มีปัจจัยใดมากระทบ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. ผลการสำรวจพบว่า ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมือง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย เป็นปัจจัยกระทบภาวะเศรษฐกิจและ
ธุรกิจ ดร.ยาใจ ชูวิชา ประธานคณะกรรมการสำรวจความเห็นประเด็นธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยการสำรวจผลกระทบที่นักธุรกิจได้รับจาก
อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยสำรวจผู้ประกอบการรวม 800 ตัวอย่าง ระหว่าง
วันที่ 2-6 พ.ค.49 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและต่อธุรกิจ เรียงตามลำดับจากผลกระทบมากที่สุด ประกอบด้วย ราคาน้ำมัน
สถานการณ์การเมือง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ทั้ง 4 ปัจจัยจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย
ผู้ตอบแบบสอบถาม 31.6% เห็นว่าจะทำให้ขาดดุลการค้า 23.0% เห็นว่าจะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 19.5% เห็นว่าจะทำให้การลงทุนจากในและ
ต่างประเทศชะลอตัว 14.7% เห็นว่าจะเกิดปัญหาเอ็นพีแอล และ 11.3% เห็นว่าจะทำให้บริษัทปิดกิจการเพิ่มขึ้น โดยปัญหาที่รัฐต้องเร่งแก้ไขด่วน
ที่สุดกลุ่มตัวอย่าง 79.7% ระบุว่าคือปัญหาราคาน้ำมัน (กรุงเทพธุรกิจ,โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอันเป็นผลจากราคาน้ำมัน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 9 พ.ค.49
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.โดย Investor’s Business Daily หรือ IBD ปรากฎว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน
พ.ค.49 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.1 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 48.6 ในเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมอง
แนวโน้มเศรษฐกิจในทางลบ โดยสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตลอดเดือน เม.ย.49 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือน พ.ค.49 ตัวเลขดัชนีของ IBD
ที่ลดลงดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวบอกแนวโน้มของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สำรวจโดย ม.มิชิแกนซึ่งมีกำหนดจะประกาศอย่างเป็นทางการใน
วันที่ 12 พ.ค.49 นี้ โดยผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีของ ม.มิชิแกนจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 86.1 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 87.4 ในเดือน
เม.ย.49 ในขณะที่ในรายงานอีกฉบับโดย ก.พาณิชย์ของ สรอ.เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.49 ต่ำกว่าที่คาคไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังผู้ค้าส่งของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
9 พ.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่ง สรอ. ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
เนื่องจากสินค้าคงคลังหมวดรถยนต์และยาที่เพิ่มขึ้นถูกชดเชยไปกับสินค้าหมวดปิโตรเลียม และอุปกรณ์สำหรับวิชาชีพและคอมพิวเตอร์ที่ลดลง ทั้งนี้
การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังสอดคล้องกับยอดขายสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน มี.ค.49 ส่งผลให้อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขาย
(ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในคลังออกไปได้อย่างรวดเร็ว) ลดลงอยู่ที่ 1.16 เดือน อันอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือน
ม.ค.49 อนึ่ง นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สินค้าคงคลังผู้ค้าส่งจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเดือน ก.พ.
(ตัวเลขเบื้องต้น) นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ ยังได้ทบทวนตัวเลขสินค้าคงคลังผู้ค้าส่งประจำเดือน ก.พ.49 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และยอดขายสินค้า
ขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (โดยตัวเลขที่ทบทวนแล้วของยอดขายสินค้าขายส่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่รายงานก่อนหน้านี้) ทั้งนี้ สินค้าคงคลังของสินค้า
คงทนที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 3 ปี ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า และสินค้าคงคลังหมวด
รถยนต์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน ก.พ.49 ขณะที่ยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.7 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ สินค้าคงคลังของอุปกรณ์วิชาชีพก็ลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากสินค้าคงคลังหมวดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ลดลง
ร้อยละ 1.4 ส่วนสินค้าคงคลังของสินค้าไม่คงทนในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 แม้ว่าปิโตรเลียมคงคลังจะลดลง เนื่องจากสินค้าคงคลัง
หมวดยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเดือน มี.ค.49 ลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วในเดือน มี.ค.49 ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือน ก.พ. นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี นับตั้ง
แต่เดือน มิ.ย.43 เนื่องจากสภาวะอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้าง รวมทั้งผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ลดลงร้อยละ
14.5 เทียบต่อเดือน ขณะที่ผลผลิตด้านพลังงานลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนผลผลิตจากโรงงานที่มีสัดส่วนเกือบทั้งหมดของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
ร้อยละ 1.4 นอกจากนี้ การค้าปลีกและคำสั่งซื้อสินค้าที่ชะลอตัวลง ทำให้เยอรมนีอาจจะต้องหันไปพึ่งพาการส่งออกอย่างมากเพื่อให้เศรษฐกิจใน
ไตรมาสแรกปีนี้ฟื้นตัวหลังจากที่ซบเซาลงในไตรมาสสุดท้ายปี 48 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย. จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซล
เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. ยังคงไม่
เปลี่ยนแปลงที่เฉลี่ยร้อยละ 3.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าของเงินวอนทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้า
จ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งนี้ตัวเลขการว่างงานดังกล่าวอยู่ในระดับร้อยละ 3.4 — 3.5 นับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยลดลง
จากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 4.0 ในเดือน ก.ย. ซึ่งการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยให้การว่างงานลดลง
ดังกล่าว ทั้งนี้ นาย Kim Seon —tae นักเศรษฐศาสตร์จาก CJ Investment & Securities กล่าวว่าเศรษฐกิจมีสัญญานของการฟื้นตัวอย่าง
มาก จากตลาดแรงงานที่ส่งสัญญานขยายตัวอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าของเงินวอนส่งผล
กระทบต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจและการลงทุน ที่จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการว่างงานดังกล่าว
อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้พิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ค. 49 9 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.537 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3677/37.6596 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83828 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 785.38/ 21.04 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,300/12,400 12,100/12,200 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.12 63.48 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันเงินทุนไหลเข้ายังอยู่ในระดับปกติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยถึง
เงินทุนที่ไหลเข้าไทยประมาณ 140,000 ล.บาท หรือประมาณ 3,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ถือว่าไม่ใช่จำนวนที่มากจนผิดปกติแต่อย่างใด โดย
เงินทุนที่ไหลเข้ามานั้น ก็ไหลเข้ามาลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เข้ามาเพื่อซื้อกิจการรัฐวิสาหกิจอย่างที่เข้าใจ และแหล่งเงินทุนที่ไหลเข้ามา
ก็มีทั้งจาก สรอ. และประเทศอื่นๆ ส่วนกรณีที่มีข้อสังเกตว่าในช่วงที่มีการประกาศเว้นวรรคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการถอนเงินจำนวน
20,000 ล.บาท ออกจาก ธพ.แห่งหนึ่งนั้น เท่าที่ทราบไม่มีการถอนเงินเพื่อนำออกนอกประเทศแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการ
ดูแลภาวะเศรษฐกิจในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐบาลว่า ธปท.จะดูแลให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ โดยการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพมากที่สุด
เพื่อให้ผู้ค้าขายสามารถค้าขายได้ โดยปัจจัยเรื่องของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศขณะนี้ยังมีจำนวนเพียงพอ และยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยน
สัดส่วนประเภทสินทรัพย์ของเงินทุนสำรองในขณะนี้ (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.49 พบว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 76.7 ต่ำสุดในรอบ 48 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
โอกาสในการหางานทำเท่ากับ 77.2 ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 93.7 ต่ำสุดในรอบ 50 เดือน
ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ 82.5 ต่ำสุดในรอบ 48 เดือน และต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22 สำหรับสาเหตุที่
ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการ เป็นผลจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ผู้บริโภคกังวลมากที่สุด เกี่ยวกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นและรายได้
ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงกรณีที่ ธปท.ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 49 จาก
4.75-5.75% เหลือ 4.25-5.25% และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง ภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่า และความไม่สงบจาก
สถานการณ์ภาคใต้ ทั้งนี้ จากปัจจัยต่างๆ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวไปอีก 6 เดือน หรือไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ และจะกลับฟื้นตัวได้
ในไตรมาส 4 หากไม่มีปัจจัยใดมากระทบ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. ผลการสำรวจพบว่า ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมือง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย เป็นปัจจัยกระทบภาวะเศรษฐกิจและ
ธุรกิจ ดร.ยาใจ ชูวิชา ประธานคณะกรรมการสำรวจความเห็นประเด็นธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยการสำรวจผลกระทบที่นักธุรกิจได้รับจาก
อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยสำรวจผู้ประกอบการรวม 800 ตัวอย่าง ระหว่าง
วันที่ 2-6 พ.ค.49 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและต่อธุรกิจ เรียงตามลำดับจากผลกระทบมากที่สุด ประกอบด้วย ราคาน้ำมัน
สถานการณ์การเมือง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ทั้ง 4 ปัจจัยจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย
ผู้ตอบแบบสอบถาม 31.6% เห็นว่าจะทำให้ขาดดุลการค้า 23.0% เห็นว่าจะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 19.5% เห็นว่าจะทำให้การลงทุนจากในและ
ต่างประเทศชะลอตัว 14.7% เห็นว่าจะเกิดปัญหาเอ็นพีแอล และ 11.3% เห็นว่าจะทำให้บริษัทปิดกิจการเพิ่มขึ้น โดยปัญหาที่รัฐต้องเร่งแก้ไขด่วน
ที่สุดกลุ่มตัวอย่าง 79.7% ระบุว่าคือปัญหาราคาน้ำมัน (กรุงเทพธุรกิจ,โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอันเป็นผลจากราคาน้ำมัน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 9 พ.ค.49
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.โดย Investor’s Business Daily หรือ IBD ปรากฎว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน
พ.ค.49 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.1 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 48.6 ในเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมอง
แนวโน้มเศรษฐกิจในทางลบ โดยสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตลอดเดือน เม.ย.49 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือน พ.ค.49 ตัวเลขดัชนีของ IBD
ที่ลดลงดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวบอกแนวโน้มของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สำรวจโดย ม.มิชิแกนซึ่งมีกำหนดจะประกาศอย่างเป็นทางการใน
วันที่ 12 พ.ค.49 นี้ โดยผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีของ ม.มิชิแกนจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 86.1 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 87.4 ในเดือน
เม.ย.49 ในขณะที่ในรายงานอีกฉบับโดย ก.พาณิชย์ของ สรอ.เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าสินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.49 ต่ำกว่าที่คาคไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังผู้ค้าส่งของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
9 พ.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่ง สรอ. ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
เนื่องจากสินค้าคงคลังหมวดรถยนต์และยาที่เพิ่มขึ้นถูกชดเชยไปกับสินค้าหมวดปิโตรเลียม และอุปกรณ์สำหรับวิชาชีพและคอมพิวเตอร์ที่ลดลง ทั้งนี้
การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังสอดคล้องกับยอดขายสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน มี.ค.49 ส่งผลให้อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขาย
(ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในคลังออกไปได้อย่างรวดเร็ว) ลดลงอยู่ที่ 1.16 เดือน อันอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือน
ม.ค.49 อนึ่ง นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สินค้าคงคลังผู้ค้าส่งจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเดือน ก.พ.
(ตัวเลขเบื้องต้น) นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ ยังได้ทบทวนตัวเลขสินค้าคงคลังผู้ค้าส่งประจำเดือน ก.พ.49 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และยอดขายสินค้า
ขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (โดยตัวเลขที่ทบทวนแล้วของยอดขายสินค้าขายส่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่รายงานก่อนหน้านี้) ทั้งนี้ สินค้าคงคลังของสินค้า
คงทนที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 3 ปี ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า และสินค้าคงคลังหมวด
รถยนต์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน ก.พ.49 ขณะที่ยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.7 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ สินค้าคงคลังของอุปกรณ์วิชาชีพก็ลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากสินค้าคงคลังหมวดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ลดลง
ร้อยละ 1.4 ส่วนสินค้าคงคลังของสินค้าไม่คงทนในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 แม้ว่าปิโตรเลียมคงคลังจะลดลง เนื่องจากสินค้าคงคลัง
หมวดยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเดือน มี.ค.49 ลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วในเดือน มี.ค.49 ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือน ก.พ. นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี นับตั้ง
แต่เดือน มิ.ย.43 เนื่องจากสภาวะอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้าง รวมทั้งผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็ลดลงร้อยละ
14.5 เทียบต่อเดือน ขณะที่ผลผลิตด้านพลังงานลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนผลผลิตจากโรงงานที่มีสัดส่วนเกือบทั้งหมดของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
ร้อยละ 1.4 นอกจากนี้ การค้าปลีกและคำสั่งซื้อสินค้าที่ชะลอตัวลง ทำให้เยอรมนีอาจจะต้องหันไปพึ่งพาการส่งออกอย่างมากเพื่อให้เศรษฐกิจใน
ไตรมาสแรกปีนี้ฟื้นตัวหลังจากที่ซบเซาลงในไตรมาสสุดท้ายปี 48 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย. จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซล
เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. ยังคงไม่
เปลี่ยนแปลงที่เฉลี่ยร้อยละ 3.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าของเงินวอนทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้า
จ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งนี้ตัวเลขการว่างงานดังกล่าวอยู่ในระดับร้อยละ 3.4 — 3.5 นับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยลดลง
จากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 4.0 ในเดือน ก.ย. ซึ่งการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยให้การว่างงานลดลง
ดังกล่าว ทั้งนี้ นาย Kim Seon —tae นักเศรษฐศาสตร์จาก CJ Investment & Securities กล่าวว่าเศรษฐกิจมีสัญญานของการฟื้นตัวอย่าง
มาก จากตลาดแรงงานที่ส่งสัญญานขยายตัวอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าของเงินวอนส่งผล
กระทบต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจและการลงทุน ที่จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการว่างงานดังกล่าว
อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้พิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ค. 49 9 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.537 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3677/37.6596 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83828 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 785.38/ 21.04 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,300/12,400 12,100/12,200 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.12 63.48 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--