กรุงเทพ--9 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาเขตแดนไทย-ลาว บริเวณสามหมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์ และบริเวณบ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังจากที่เมื่อเร็วๆ นี้ มีสื่อมวลชนบางฉบับเสนอข่าวคลาดเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
1. ปัญหาเขตแดนบริเวณ 3 หมู่บ้าน (บ้านใหม่ บ้านกลาง และบ้านสว่าง) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ติดต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก) กับแขวงไชยะบุรี และบริเวณบ้านร่มเกล้า ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต่างเป็นบริเวณที่ไทยและลาวมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดพื้นที่พิพาท ประมาณ 19 ตารางกิโลเมตรในส่วนของปัญหา 3 หมู่บ้าน และประมาณ 72 ตารางกิโลเมตรในส่วนของปัญหาบ้านร่มเกล้า
2. พื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณนี้ เป็นพื้นที่ที่เคยมีสถานการณ์รุนแรงในช่วงปี พ.ศ. 2527 (กรณี 3 หมู่บ้าน) และ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 (กรณีบ้านร่มเกล้า) ซึ่งในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ดังกล่าว พื้นที่ทั้งสองบริเวณมีประชาชนของไทยและลาวอาศัยอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก
3. ในการเจรจาระงับกรณีพิพาททั้งสองซึ่งดำเนินการในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2527 ถึง 2530 สำหรับกรณี 3 หมู่บ้าน และในช่วงระหว่างปี 2530 ถึง 2539 สำหรับกรณีบ้านร่มเกล้านั้น เป็นการดำเนินการในทุกด้านเพื่อลดความตึงเครียดของสถานการณ์ ทั้งโดยการจัดทำข้อตกลงหยุดยิง การถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ 3 หมู่บ้าน หรือการแยกกำลังทหารออกจากแนวสู้รบของกรณีบ้านร่มเกล้า (เนิน 1428) ออกข้างละ 3 กิโลเมตร รวมทั้งการเจรจาทางด้านเทคนิคและข้อกฎหมายเพื่อพิสูจน์ทราบแนวเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ ทั้งนี้ แม้ว่าการพิสูจน์ทราบแนวเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้ง 2 บริเวณ จะยังไม่ได้ข้อยุติในระหว่างการเจรจาที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้างต้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็มิได้สละสิทธิ์ในการอ้างอธิปไตยของตนเหนือพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ รวมทั้ง มิได้จัดทำข้อตกลงใดๆ ที่กำหนดให้พื้นที่ 3 หมู่บ้าน และบ้านร่มเกล้าเป็นเขตปลอดคน (No - Man’s - Land) แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองโดยพฤตินัยในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณนั้น ต่างเป็นไปตามที่แต่ละฝ่ายเคยใช้อยู่ก่อนที่จะเกิดกรณีพิพาท
4. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา การแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณ 3 หมู่บ้าน และบริเวณบ้านร่มเกล้าได้ดำเนินภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธาน และดำเนินการโดยใช้วิธีสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวระหว่างกัน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-ลาวในภาพรวม บนพื้นฐานของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส แผนที่ และเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแม้ว่าจนถึงปัจจุบันทั้งสองฝ่ายจะยังไม่สามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ แต่ในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมก็ได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการว่า “เส้นเขตแดนที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไว้แล้วนั้นจะมีผลบังคับใช้ได้ภายหลังที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมของทั้งสองฝ่าย และได้ผ่านขั้นตอนด้านกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ โดยในระหว่างรอการมีผลบังคับใช้ของเส้นเขตแดนนั้น ประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตและทำมาหากินตามเดิมโดยไม่ให้ทางการของอีกฝ่ายหนึ่งมายุ่งเกี่ยว และห้ามมิให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมในบริเวณ 100 เมตรในแต่ละด้านของสันปันน้ำ ที่เป็นแนวเส้นเขตแดน” ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ
โดยเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายลาวในห้วงเวลาตั้งแต่การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 5 เป็นต้นมา พบว่าทั้งสองฝ่ายได้เคารพและปฏิบัติตามข้อตกลงที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นอย่างดี
5. นอกจากนี้ การเจรจาและการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกคณะกรรมาธิการฯ หรือแม้แต่กลุ่มธุรกิจต่างๆ และไม่เคยมีการหยิบยกเรื่องทางธุรกิจมาเกี่ยวข้องกับการเจรจาด้านเขตแดนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาเขตแดนไทย-ลาว บริเวณสามหมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์ และบริเวณบ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังจากที่เมื่อเร็วๆ นี้ มีสื่อมวลชนบางฉบับเสนอข่าวคลาดเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
1. ปัญหาเขตแดนบริเวณ 3 หมู่บ้าน (บ้านใหม่ บ้านกลาง และบ้านสว่าง) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ติดต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก) กับแขวงไชยะบุรี และบริเวณบ้านร่มเกล้า ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต่างเป็นบริเวณที่ไทยและลาวมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดพื้นที่พิพาท ประมาณ 19 ตารางกิโลเมตรในส่วนของปัญหา 3 หมู่บ้าน และประมาณ 72 ตารางกิโลเมตรในส่วนของปัญหาบ้านร่มเกล้า
2. พื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณนี้ เป็นพื้นที่ที่เคยมีสถานการณ์รุนแรงในช่วงปี พ.ศ. 2527 (กรณี 3 หมู่บ้าน) และ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 (กรณีบ้านร่มเกล้า) ซึ่งในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ดังกล่าว พื้นที่ทั้งสองบริเวณมีประชาชนของไทยและลาวอาศัยอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก
3. ในการเจรจาระงับกรณีพิพาททั้งสองซึ่งดำเนินการในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2527 ถึง 2530 สำหรับกรณี 3 หมู่บ้าน และในช่วงระหว่างปี 2530 ถึง 2539 สำหรับกรณีบ้านร่มเกล้านั้น เป็นการดำเนินการในทุกด้านเพื่อลดความตึงเครียดของสถานการณ์ ทั้งโดยการจัดทำข้อตกลงหยุดยิง การถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ 3 หมู่บ้าน หรือการแยกกำลังทหารออกจากแนวสู้รบของกรณีบ้านร่มเกล้า (เนิน 1428) ออกข้างละ 3 กิโลเมตร รวมทั้งการเจรจาทางด้านเทคนิคและข้อกฎหมายเพื่อพิสูจน์ทราบแนวเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ ทั้งนี้ แม้ว่าการพิสูจน์ทราบแนวเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้ง 2 บริเวณ จะยังไม่ได้ข้อยุติในระหว่างการเจรจาที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้างต้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็มิได้สละสิทธิ์ในการอ้างอธิปไตยของตนเหนือพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ รวมทั้ง มิได้จัดทำข้อตกลงใดๆ ที่กำหนดให้พื้นที่ 3 หมู่บ้าน และบ้านร่มเกล้าเป็นเขตปลอดคน (No - Man’s - Land) แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองโดยพฤตินัยในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณนั้น ต่างเป็นไปตามที่แต่ละฝ่ายเคยใช้อยู่ก่อนที่จะเกิดกรณีพิพาท
4. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา การแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณ 3 หมู่บ้าน และบริเวณบ้านร่มเกล้าได้ดำเนินภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธาน และดำเนินการโดยใช้วิธีสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวระหว่างกัน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-ลาวในภาพรวม บนพื้นฐานของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส แผนที่ และเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแม้ว่าจนถึงปัจจุบันทั้งสองฝ่ายจะยังไม่สามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวเส้นเขตแดนที่ถูกต้องในพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ แต่ในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมก็ได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการว่า “เส้นเขตแดนที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไว้แล้วนั้นจะมีผลบังคับใช้ได้ภายหลังที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมของทั้งสองฝ่าย และได้ผ่านขั้นตอนด้านกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ โดยในระหว่างรอการมีผลบังคับใช้ของเส้นเขตแดนนั้น ประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตและทำมาหากินตามเดิมโดยไม่ให้ทางการของอีกฝ่ายหนึ่งมายุ่งเกี่ยว และห้ามมิให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมในบริเวณ 100 เมตรในแต่ละด้านของสันปันน้ำ ที่เป็นแนวเส้นเขตแดน” ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่พิพาททั้งสองบริเวณ
โดยเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายลาวในห้วงเวลาตั้งแต่การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 5 เป็นต้นมา พบว่าทั้งสองฝ่ายได้เคารพและปฏิบัติตามข้อตกลงที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นอย่างดี
5. นอกจากนี้ การเจรจาและการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกคณะกรรมาธิการฯ หรือแม้แต่กลุ่มธุรกิจต่างๆ และไม่เคยมีการหยิบยกเรื่องทางธุรกิจมาเกี่ยวข้องกับการเจรจาด้านเขตแดนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-