กรุงเทพ--24 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 เอกอัครราชทูตกลุ่มลาตินอเมริกา 7 ประเทศประกอบด้วยเอกอัครราชทูต Luis Alberto Sepulveda จากชิลี เอกอัครราชทูต Javier Ramon จากเม็กซิโก เอกอัครราชทูต Maria Luisa Fernandez จากคิวบา เอกอัคราชทูต Carlos Manuel Alfredo Velasco Mendiola จากเปรู นาย Joaquim Augusto Whitaker Salles อุปทูตจากบราซิล นาย Jorge Alberto Grau Olivari อุปทูตจากอาร์เจนตินา และนาย Emil Joseph Waight อุปทูตจากเบลิซ ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในโอกาสนี้ ได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศไทยมากยิ่งขึ้นเพื่อขยายลู่ทางทางการค้าและการลงทุน พร้อมทั้งกิจกรรมด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน
เอกอัครราชทูตกลุ่มลาตินอเมริกาได้กล่าวแสดงความยินดีต่อ ดร. กันตธีร์ฯ ในโอกาสที่ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถือเป็นข่าวดีเนื่องจากว่า ดร. กันตธีร์ฯ เปรียมเสมือนเพื่อนและเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับภูมิภาคเป็นอย่างดี ในระหว่างการหารือนั้น เอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาได้แสดงความประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย และหวังที่จะมีพัฒนาการไปในทางเดียวกับที่ประเทศเปรูและชิลีได้นำร่องไปแล้ว กล่าวคือ การเริ่มต้นเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
ในขณะเดียวกัน เอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาได้เชิญให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนภูมิภาคอีก พร้อมทั้งเข้าร่วมการประชุมที่จะมีขึ้นต่างๆ อาทิ Fourth World Water Forum ซึ่งเม็กซิโกจะเป็นเจ้าภาพในเดือนมีนาคม 2549 และการประชุมสุดยอดองค์การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในเดือนกันยายน 2549 ที่ประเทศคิวบา นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนการเยือนอื่นๆ ที่กำหนดไว้แล้ว ประเด็นอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือรวมถึงความร่วมมือด้านพลังงาน เทคโนโลยี อุตสาหกรรมเครื่องบิน และกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆ
ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความขอบคุณต่อเอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาที่ได้มาเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ และได้เน้นถึงความสำคัญที่ประเทศไทยมีต่อประเทศในภูมิภาคนี้ ดังที่เห็นได้จากการเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอาร์เจนตินา เปรู และเม็กซิโก นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวถึงการประชุมผู้นำเอเปคที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งตนได้มีโอกาสหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหลายประเทศ รวมทั้งปานามา สำหรับปีหน้านี้ก็มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งนอกจากการแลกเปลี่ยนการเยือนทั่วไปแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีดำริที่จะเยือนประเทศในภูมิภาคดังกล่าวหลายประเทศด้วย
ประเทศในลาตินอเมริกานับเป็นตลาดใหม่ ที่ไทยได้ให้ความสำคัญ เพื่อรองรับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเดิมของไทยในระยะสั้น และเสริมสร้างการเป็นพันธมิตร เพื่อขยายฐานการผลิตสำหรับสินค้าไทย และเป็นประตูสู่ภูมิภาคระหว่างกันในระยะยาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 เอกอัครราชทูตกลุ่มลาตินอเมริกา 7 ประเทศประกอบด้วยเอกอัครราชทูต Luis Alberto Sepulveda จากชิลี เอกอัครราชทูต Javier Ramon จากเม็กซิโก เอกอัครราชทูต Maria Luisa Fernandez จากคิวบา เอกอัคราชทูต Carlos Manuel Alfredo Velasco Mendiola จากเปรู นาย Joaquim Augusto Whitaker Salles อุปทูตจากบราซิล นาย Jorge Alberto Grau Olivari อุปทูตจากอาร์เจนตินา และนาย Emil Joseph Waight อุปทูตจากเบลิซ ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในโอกาสนี้ ได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศไทยมากยิ่งขึ้นเพื่อขยายลู่ทางทางการค้าและการลงทุน พร้อมทั้งกิจกรรมด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน
เอกอัครราชทูตกลุ่มลาตินอเมริกาได้กล่าวแสดงความยินดีต่อ ดร. กันตธีร์ฯ ในโอกาสที่ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถือเป็นข่าวดีเนื่องจากว่า ดร. กันตธีร์ฯ เปรียมเสมือนเพื่อนและเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับภูมิภาคเป็นอย่างดี ในระหว่างการหารือนั้น เอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาได้แสดงความประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย และหวังที่จะมีพัฒนาการไปในทางเดียวกับที่ประเทศเปรูและชิลีได้นำร่องไปแล้ว กล่าวคือ การเริ่มต้นเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
ในขณะเดียวกัน เอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาได้เชิญให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนภูมิภาคอีก พร้อมทั้งเข้าร่วมการประชุมที่จะมีขึ้นต่างๆ อาทิ Fourth World Water Forum ซึ่งเม็กซิโกจะเป็นเจ้าภาพในเดือนมีนาคม 2549 และการประชุมสุดยอดองค์การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในเดือนกันยายน 2549 ที่ประเทศคิวบา นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนการเยือนอื่นๆ ที่กำหนดไว้แล้ว ประเด็นอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือรวมถึงความร่วมมือด้านพลังงาน เทคโนโลยี อุตสาหกรรมเครื่องบิน และกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆ
ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความขอบคุณต่อเอกอัครราชทูตลาตินอเมริกาที่ได้มาเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ และได้เน้นถึงความสำคัญที่ประเทศไทยมีต่อประเทศในภูมิภาคนี้ ดังที่เห็นได้จากการเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอาร์เจนตินา เปรู และเม็กซิโก นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวถึงการประชุมผู้นำเอเปคที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งตนได้มีโอกาสหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหลายประเทศ รวมทั้งปานามา สำหรับปีหน้านี้ก็มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งนอกจากการแลกเปลี่ยนการเยือนทั่วไปแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีดำริที่จะเยือนประเทศในภูมิภาคดังกล่าวหลายประเทศด้วย
ประเทศในลาตินอเมริกานับเป็นตลาดใหม่ ที่ไทยได้ให้ความสำคัญ เพื่อรองรับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเดิมของไทยในระยะสั้น และเสริมสร้างการเป็นพันธมิตร เพื่อขยายฐานการผลิตสำหรับสินค้าไทย และเป็นประตูสู่ภูมิภาคระหว่างกันในระยะยาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-