กรุงเทพ--18 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 เวลา 19.00น. (เวลาท้องถิ่นในประเทศไทย) ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้ร่วมกับสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงวิสัยทัศน์ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูน (Enhanced Partnership) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในอนาคตให้ครอบคลุมความร่วมมือในทุกๆ ด้านทั้งทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการพัฒนา
การออกแถลงการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ได้มีส่วนอย่างมากในการริเริ่มและโน้มน้าวให้สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วม ในภูมิภาคนี้มากขึ้น
แถลงการณ์ดังกล่าว จะปูทางให้สหรัฐฯ เข้ามาสนับสนุนการรวมตัวกันของประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในภูมิภาค อีกทั้ง ยังตกลงที่จะร่วมกันจัดทำกรอบความตกลง ว่าด้วยการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐฯ และสนับสนุนให้สหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้นนอกจากนั้น ยังจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการเผชิญกับปัญหาข้ามชาติและสิ่งท้าทายใหม่ๆ การจัดการและรับมือกับภัยพิบัติ และการควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะไข้หวัดนก ตลอดจนร่วมมือกันในเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทน ในขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการติดต่อระดับประชาชนระหว่างกัน ทั้งนี้ จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวไว้ต่อไปด้วย
แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศที่เป็นสมาชิกเอเปค อันได้แก่ บรูไนดาลุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะพบหารือกับนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 โดยประธานาธิบดี Bush ได้แสดงความปรารถนากับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในระหว่างการพบหารือกันที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 19 กันยายน ศกนี้ ที่จะให้มีการประชุมดังกล่าวขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความประสงค์ของสหรัฐฯ ที่จะกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียน
ฯ พณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน ในกรอบความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ และ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของไทย ได้เสนอแนวความคิดเรื่องความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนอย่างเป็น ทางการในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2548 ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งสหรัฐฯ เห็นชอบด้วย และที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2548 ที่นครนิวยอร์ก ได้เน้นย้ำความคิดที่ให้มีการจัดทำเอกสารดังกล่าว
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานฯ กับสหรัฐฯ โดยรับหน้าที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 และจะครบวาระ 3 ปีในกลางปี 2549 ซี่งตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษที่ประเทศไทยทำหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานฯ นั้น ประเทศไทยได้แสดงบทบาทที่โดดเด่นในการผลักดัน ให้เกิดความคืบหน้าในความสัมพันธ์และความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐฯ โดยเฉพาะการขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้ครอบคลุมสาขาต่างๆ มากขึ้น อาทิ การขยายการค้า การลงทุน สาธารณสุข การจัดการภัยพิบัติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 เวลา 19.00น. (เวลาท้องถิ่นในประเทศไทย) ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้ร่วมกับสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงวิสัยทัศน์ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูน (Enhanced Partnership) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในอนาคตให้ครอบคลุมความร่วมมือในทุกๆ ด้านทั้งทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการพัฒนา
การออกแถลงการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ได้มีส่วนอย่างมากในการริเริ่มและโน้มน้าวให้สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วม ในภูมิภาคนี้มากขึ้น
แถลงการณ์ดังกล่าว จะปูทางให้สหรัฐฯ เข้ามาสนับสนุนการรวมตัวกันของประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในภูมิภาค อีกทั้ง ยังตกลงที่จะร่วมกันจัดทำกรอบความตกลง ว่าด้วยการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหรัฐฯ และสนับสนุนให้สหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้นนอกจากนั้น ยังจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการเผชิญกับปัญหาข้ามชาติและสิ่งท้าทายใหม่ๆ การจัดการและรับมือกับภัยพิบัติ และการควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะไข้หวัดนก ตลอดจนร่วมมือกันในเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทน ในขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการติดต่อระดับประชาชนระหว่างกัน ทั้งนี้ จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวไว้ต่อไปด้วย
แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศที่เป็นสมาชิกเอเปค อันได้แก่ บรูไนดาลุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะพบหารือกับนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 โดยประธานาธิบดี Bush ได้แสดงความปรารถนากับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในระหว่างการพบหารือกันที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 19 กันยายน ศกนี้ ที่จะให้มีการประชุมดังกล่าวขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความประสงค์ของสหรัฐฯ ที่จะกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียน
ฯ พณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน ในกรอบความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ และ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของไทย ได้เสนอแนวความคิดเรื่องความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนอย่างเป็น ทางการในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2548 ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งสหรัฐฯ เห็นชอบด้วย และที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2548 ที่นครนิวยอร์ก ได้เน้นย้ำความคิดที่ให้มีการจัดทำเอกสารดังกล่าว
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานฯ กับสหรัฐฯ โดยรับหน้าที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 และจะครบวาระ 3 ปีในกลางปี 2549 ซี่งตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษที่ประเทศไทยทำหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานฯ นั้น ประเทศไทยได้แสดงบทบาทที่โดดเด่นในการผลักดัน ให้เกิดความคืบหน้าในความสัมพันธ์และความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐฯ โดยเฉพาะการขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้ครอบคลุมสาขาต่างๆ มากขึ้น อาทิ การขยายการค้า การลงทุน สาธารณสุข การจัดการภัยพิบัติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-