สรุปผลงานเด่นในรอบปี 2548 และแผนงานการเจรจาของปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 5, 2006 15:45 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          เขตการค้าเสรี
FTA ไทย-เปรู
เริ่มเจรจาครั้งแรกเมื่อต้นปี 2547 มีการลงนามพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทยกับ
เปรู เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ในระหว่างการเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ครั้งที่ 13 ที่นครปูซาน ประเทศเกาหลี
พิธีสารดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเปรู ซึ่งได้ตกลงเรื่องเปิดเสรีสินค้าบางส่วนที่เรียกว่า Early
Harvest โดยตกลงลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีกว่าร้อยละ 50 ของรายการสินค้าทั้งหมด ครอบคลุมมูลค่าส่งออก 32 ล้านเหรียญสหรัฐและลดเป็น
ศูนย์ภายใน 5 ปี ประมาณร้อยละ 17 ของรายการสินค้าครอบคลุมมูลค่าส่งออก 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยกับเปรูที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของเปรู ได้แก่ รถปิคอัพ พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับ
อากาศ เครื่องซักผ้า เส้นใยสังเคราะห์ โทรทัศน์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ในปี 2549 จะมีการเจรจากันต่อไปในเรื่องสินค้าที่เหลือ รวมทั้งเรื่องถิ่นกำเนิดสินค้า การใช้มาตรการปกป้อง การค้าบริการและการ
ลงทุน โดยกำหนดจะประชุมครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม
FTA ไทย-นิวซีแลนด์
ได้มีการลงนามไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(นายทนง พิทยะ) กับรัฐมนตรีการค้า
นิวซีแลนด์ มีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฏาคม 2548 ครอบคลุมทั้งเรื่องการค้าสินค้า
บริการ การลงทุน และความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า
ในช่วง 11 เดือน (ม.ค-พ.ย 48) ไทยได้ดุลการค้ากับนิวซีแลนด์มูลค่า 253.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 250
ทั้งนี้การส่งออกภายใต้ FTA ในช่วง ก.ค. - ต.ค. 48 มีมูลค่า 193.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59 สินค้าที่เพิ่มขึ้นมูลค่า
สูง ได้แก่ รถประเภทชนิดต่างๆ และปลาทูน่ากระป๋อง เป็นต้น
FTA ไทย-ออสเตรเลีย
จากผลความตกลงเขตการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2548 นั้น กรมเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศได้ส่งเสริมให้ เอกชนรับทราบมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยจัดโครงการฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาพ่อครัวพันธุ์ A ไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่สนใจเดินทางไปประกอบอาชีพพ่อค
รัว/แม่ครัวในต่างประเทศ มีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น การใช้ภาษาอังกฤษ ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับการทำงานในต่าง
ประเทศ รวมทั้งการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำงานและการใช้ชีวิตทั่วไป ทั้งนี้ได้นำรายชื่อผู้ที่ผ่านการทดสอบ ลงตีพิมพ์ใน
ทำเนียบพ่อครัวเผยแพร่ให้สมาคม ร้านอาหารไทย โรงแรมและภัตตาคารในต่างประเทศทราบ รวมทั้งเผยแพร่รายชื่อในสื่อประขา
สัมพันธ์และนิทรรศการต่างๆ
จนถึงขณะนี้ ได้มีการส่งพ่อครัวไปทำหน้าที่เป็น chef ที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว 2 คน และกำลังจะจัดส่งไปเพิ่มเติมในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ การค้าไทย-ออสเตรเลียในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย. 48) ไทยส่งออกเป็นมูลค่า 2,942 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 31 ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 3,035 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการนำเข้าทองคำและน้ำมันปิโตรเลียมส่วนที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าจะลดลงเหลือ 2,199 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุล 733 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
FTA ไทย-อินเดีย
จากผลความตกลงการค้าเสรีไทย — อินเดีย (82 รายการ) ทำให้การค้าสองฝ่าย ในช่วงเดือนมกราคม — พฤศจิกายน
2548 มีมูลค่า 386.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 95 เป็นมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย 305 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าจากอินเดีย 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และไทยได้เปรียบ
ดุลการค้า 224 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 228 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องรับ โทรทัศน์สี เครื่องปรับอากาศ รัตน
ชาติ และกึ่งรัตนชาติ ส่วนประกอบเครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นต้น สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ หลอดภาพ โทรทัศน์สี กระปุกเกียร์ โพลิ
คาร์บอเนต เครื่องเพชรพลอย เป็นต้น ในส่วนของการลดภาษีสินค้าส่วนที่เหลือจำนวนกว่า 5,000 รายการ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
สินค้าปกติ และสินค้าอ่อนไหว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งการทำ FTA จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ในแง่ที่อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ ทำให้อุปสงค์
ต่อการส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้การค้าระหว่างไทย - อินเดีย เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งเขตการค้าเสรี
จะต้องใช้เวลาพอสมควร เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีเวลาปรับตัว เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
FTA ไทย-เอฟต้า
ไทยและ EFTA ได้มีการประชุมจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอย่างเป็นทางการรอบที่ 1 เมื่อวันที่ 11-15 ตุลาคม 2548 ที่
ภูเก็ต หลังจากที่ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าการเจรจาดังกล่าวควรคลอบคลุมทุกเรื่อง และยึดหลัก
ความยืดหยุ่น เพื่อให้มีความเป็นไปได้สูงในการจัดทำความตกลงที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ในการเจรจาจะครอบคลุม ทั้งใน ด้านการเปิด
ตลาดสินค้าเกษตร ลินค้าอุตสาหกรรม การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อโดยรัฐบาล แหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น
ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ EFTA ผลักดันให้มีการลดภาษีสินค้าประมง ให้มีการเปิดเสรีบริการและการลงทุน รวมทั้งให้มีการคุ้ม
ครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น
ทั้งนี้ จะมีการหารือในครั้งต่อไปในวันที่ 16-20 มกราคม 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่
องค์การการค้าโลก (WTO)
ฮ่องกงได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยมีการประชุม
ระหว่างผู้อำนวยการใหญ่ WTO และประธานการประชุม (รัฐมนตรีการค้าของฮ่องกง) กับรัฐมนตรีสมาชิกบางประเทศจำนวน 26
ประเทศที่ได้รับเชิญ รวมทั้งไทย โดยเรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ การกำหนดวันยกเลิกการอุดหนุนส่งออก เนื่องจากประเทศสมาชิกไม่พอใจข้อ
เสนอของสหภาพยุโรป
แต่ในที่สุดก็สามารถสรุปผลการเจรจาได้สาระสำคัญของปฏิญญารัฐมนตรีในเรื่องสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.สินค้าเกษตร
1.1 การอุดหนุนส่งออก จากข้อเสนอให้ยกเลิกในปี 2010 ของสหรัฐฯ กลุ่มเคร์นส์ และกลุ่ม G20 ที่ประชุมสามารถตกลง
กันได้ให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบในปี 2013 โดยจะดำเนินการในลักษณะ progressive และ parallel กับมาตรการอื่นๆ ที่
มีผลเหมือนการอุดหนุนส่งออก เพื่อลดการอุดหนุนให้มากที่สุดภายในครึ่งแรกของการปฏิบัติตามพันธกรณี สำหรับมาตรการอื่นๆ ที่มีผลในการส่งออกให้
กำหนด modality ภายในวันที่ 30 เมษายน 2006 ตัวอย่างการอุดหนุนส่งออกของประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่
สินค้าข้าว
สหภาพยุโรป 30 ล้านยูโร
สหรัฐอเมริกา 200ล้านเหรียญ (ในรูปของการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกและการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร)
สินค้าน้ำตาล
สหภาพยุโรป 400 ล้านยูโร
สินค้าไก่
สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา 120 ล้านเหรียญ
สำหรับสินค้าน้ำตาลนั้น ผลจากการที่ไทยชนะกรณีพิพาทกับสหภาพยุโรป จะทำให้สหภาพยุโรป ต้องลดการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลลง
ประมาณปีละ 4 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1,139 ล้านยูโรภายในเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้น และจะ
ทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากผลการปฏิรูประบบน้ำตาลในสหภาพยุโรป เร็วขึ้น
1.2 การอุดหนุนการผลิตภายในประเทศ ตกลงกรอบการลดโดยสหภาพยุโรป ซึ่งมีการอุดหนุนมากที่สุด (88 พันล้านเหรียญ
สหรัฐฯ) จะต้องลดมากกว่าประเทศอื่นๆ ในขณะที่ญี่ปุ่น (36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และสหรัฐฯ (19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งมีการอุดหนุน
ในลำดับรองลงมาจะลด ในอัตราที่ต่ำกว่า ส่วนประเทศที่เหลือลดในอัตราที่ต่ำกว่าทั้งสามประเทศ นอกจากนี้ ยังตกลงให้มีการจัดทำกฎเกณฑ์เพื่อให้มี
การลดการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างการอุดหนุนของประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่
สินค้าข้าว
สหภาพยุโรป 556 ล้านยูโร
สหรัฐอเมริกา 607 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าน้ำตาล
สหภาพยุโรป 5,800 ล้านยูโร
สหรัฐอเมริกา 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
การลดการอุดหนุนภายในประเทศพัฒนาแล้วจะขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาด สำหรับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนับเป็นผลดีต่อ
ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว และน้ำตาล
1.3 การเปิดตลาด ที่ประชุมตกลงให้กำหนดระดับการลดภาษีเป็น 4 bands โดยภาษีสูงซึ่งอยู่ใน band สูงสุดลดลง
มากกว่าอัตราภาษีใน band ที่ต่ำกว่าและให้ประเทศกำลังพัฒนากำหนดจำนวน สินค้าพิเศษ (special products) และใช้มาตรการ
ปกป้องพิเศษ (special safeguard measures) ได้
ประเทศพัฒนาแล้วมีระดับอัตราภาษีสูง (tariff peak) ในสินค้าเกษตร ตัวอย่างเช่น
ญี่ปุ่น ข้าว 1,000 %
แคนาดา เนื้อไก่ 238 %
สหรัฐฯ ถั่ว 132 %
สหภาพฯ เนื้อวัว 215 %
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลดภาษีตามข้อเสนอของกลุ่มG20 พบว่า ประโยชน์ที่ไทยได้จากการส่ง
ออกสินค้าสำคัญ 20 อันดับแรกของไทยในตลาดคู่ค้าสำคัญอาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่ง
ออกหลักของไทยจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
ข้าว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
น้ำตาล 540 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไก่ 117 ล้านเหรียญสหรัฐ
มันสำปะหลัง 69 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.4 ทั้งนี้ ที่ประชุมตกลงให้จัดทำ modality ข้อผูกพันเกษตรให้เสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน2006
จากการศึกษาของธนาคารโลกพบว่า ผลจากการยกเลิกการอุดหนุนส่งออก และลดการอุดหนุนการผลิตจะทำให้การบิดเบือนตลาดสินค้า
เกษตรลดลง โดยมีผลให้ราคาสินค้าเกษตรขยับสูงขึ้นเพิ่มeconomic welfare gain ประมาณ 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2015
(2568) อย่างไรก็ตามการลด/ยกเลิกภาษีสินค้าเกษตรจะให้ประโยชน์มากกว่าการยกเลิกการอุดหนุนส่งออกและ การอุดหนุนการผลิตถึง 12
เท่า การศึกษาดังกล่าวยังพบว่าครึ่งหนึ่งของ gains จากการเปิดเสรีการค้าของโลก จะตกแก่ประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น บราซิล
อินเดีย และประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย จะได้รับผลประโยชน์จากราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นโดยเฉพาะหากมีการเปิดตลาดสินค้าที่ได้ประโยชน์ที่สำคัญ
เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ไก่ และผลไม้ เป็นต้น
2.สินค้าอุตสาหกรรม
2.1 สมาชิกตกลงใช้สูตรสวิสที่มีค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) มากกว่าหนึ่งค่า และให้จัดทำ รูปแบบการลดภาษี
(modalities) ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และจัดทำร่างตารางข้อผูกพัน (schedule of concessions) ให้
เสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ค่าสัมประสิทธิ์ที่ต่างกันนี้ จะมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้ค่าสูงกว่า ลดภาษีในอัตราต่ำกว่าประเทศ
พัฒนาแล้วที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ต่ำ
2.2 ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปของการลดภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า รวมทั้งระยะเวลาในการลดภาษีที่อาจยาวนานกว่า
ประเทศพัฒนาแล้ว หรือดึงสินค้าบางตัวออกจากการใช้สูตรลดภาษี
2.3 ให้พิจารณาข้อเสนอเรื่องการลดภาษีแบบรายสาขา (sector approach) โดยให้สมาชิกเข้าร่วมโดยสมัครใจ
2.4 ให้เพิ่มรายการสินค้าผูกพันอัตราภาษี
2.5 ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาของประเทศที่ต้องเสียสิทธิพิเศษทางภาษี (preference erosion) เนื่องจากการลดภาษีใน WTO
2.6 เพิ่มความยืดหยุ่นในการลดภาษีแก่ประเทศ small, vulnerable economies แต่จะต้องไม่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกกลุ่มภายใน
ประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง
2.7 ให้แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs)
3.การค้าบริการ
3.1 กำหนดแผนงาน เป้าหมายและวิธีการวัดระดับคุณภาพของการเปิดเสรีการค้าบริการของสมาชิก รวมทั้งตกลงให้นำแนวทาง
การเจรจาหลายฝ่าย (plurilateral approach) มาใช้ร่วมกับวิธีการเจรจาสองฝ่าย (bilateral approach) เพื่อเร่งรัดให้การ
เจรจาเปิดตลาดสินค้าบริการมีความคืบหน้าและมีคุณภาพมากขึ้น
3.2 ให้เร่งรัดการเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์การค้าบริการใน 4 เรื่องให้เสร็จตามกำหนด คือ มาตรการปกป้องฉุกเฉิน การจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐ การอุดหนุน และการกำหนดกฎระเบียบภายในประเทศ(domestic regulation)
4.การเปิดตลาด Duty Free and Quota Free แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs)
4.1 เปิดตลาดเป็นพิเศษให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในรูป duty free and quota free แก่สินค้าทุกประเภทจากประเทศพัฒนา
น้อยที่สุดภายในปี 2008 หรือในปีที่เริ่มปฏิบัติตามพันธกรณี
4.2 ประเทศที่ยังไม่สามารถทำได้ให้เปิดตลาดให้ LDCs อย่างน้อยร้อยละ 97 ของจำนวนสินค้าออกของประเทศ
LDCs ภายในปี 2008 หรือในปีที่เริ่มปฏิบัติตามพันธกรณี และค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นจนครบทุกรายการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศกำลัง
พัฒนาที่มีระดับการพัฒนาที่คล้ายกันด้วย
4.3 ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับอนุญาตให้ค่อยๆ ปฏิบัติตามพันธกรณีและมีความยืดหยุ่นในเรื่องจำนวนสินค้า
4.4 กำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่โปร่งใสและง่ายในการปฏิบัติ
ผลกระทบจากปฏิญญาฮ่องกง เรื่อง NAMA ต่อประเทศไทย
Implication from the Hong Kong Declaration — NAMA
1. ปฏิญญารัฐมนตรีสมาชิก WTO ที่ฮ่องกง ในเรื่อง NAMA
สมาชิกตกลงใช้สูตรสวิสที่มีค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) มากกว่าหนึ่งค่า ซึ่งสินค้าที่ยังมิได้ผูกพันจะไดรับการเพิ่มอัตรา
(non — linear mark - up) จากอัตราเก็บจริงก่อนที่จะเข้าสูตรการลดภาษี และให้มีความยืดหยุ่นในการลดภาษีแก่ประเทศกำลังพัฒนา
เช่น การลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าสูตรสำหรับสินค้าอ่อนไหวบางรายการ
ทั้งนี้ สมาชิกต้องการให้พิจารณาข้อเสนอเรื่องการลดภาษีแบบรายสาขา โดยให้สมาชิกเข้าร่วมอย่างสมัครใจและพิจารณาขอบเขตปัญหา
ของประเทศที่ต้องเสียสิทธิพิเศษทางภาษี(preference erosion) และประเทศกลุ่ม small , vulnerable economies และหาแนวทางแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี สมาชิกต้องการรักษาความสมดุลระหว่างการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยให้มีการเปิดตลาดมากพอ
อย่าง เท่าเทียมกัน และสมาชิกตกลงให้จัดทำรูปแบบการลดภาษี (modality) ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และจัดทำร่างตารางข้อ
ผูกพันภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549
2. ผลกระทบต่อประเทศไทย
โดยหลักการ การลดภาษีนำเข้าจะช่วยลดการบิดเบือน (distortion) ในการจัดสรรทรัพยากร ในระบบเศรษฐกิจ และช่วยเพิ่ม
ช่องทางการเลือกสินค้าให้กับผู้บริโภคในประเทศรวมถึงผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สินค้าส่งออก
ของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ซึ่ง TDRI1 ได้เคยศึกษาว่าการลดภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จะก่อประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้
ตารางที่ 1 สรุปผลวิจัย TDRI เรื่องผลกระทบการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม
สมมุติฐาน/ผลกระทบทางเศรษฐกิจ อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย สวัสดิการทางเศรษฐกิจไทย
(GDP Growth) (economic welfare)
ไทยลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการเหลือร้อยละ 0 0.77% + 2,239 Mil. US$
สมาชิก WTO ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการเหลือร้อยละ 0 1.96% + 3,221 Mil.
สำหรับการวิเคราะห์เบื้องต้นในผลกระทบจากปฏิญญาฮ่องกงเรื่อง NAMA ต่อประเทศไทยสำนักเจรจาการค้าพหุภาคีศึกษาแล้ว เห็นว่า
ปฎิญญาดังกล่าวมีความสอดคล้องกับท่าทีและนโยบายของไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการใช้สูตรสวิสที่มีค่า coefficient มากกว่าหนึ่งค่า จะทำ
ให้ภาษีสูงลดลงใน
1 การศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ภายใต้โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางในการเตรียมพร้อมของ
ภาคอุตสาหกรรมไทยอันเนื่องมาจากการเจรจา WTO ซึ่เสนอต่อสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยใช้แบบจำลอง GTAP
อัตราที่มากกว่าภาษีต่ำ ซึ่งจะทำให้ภาษีสูง (tariff peaks) ในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐฯสหภาพฯ และญี่ปุ่น ลด
ลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง สรุปได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สรุปภาษีสูงในตลาดส่งออกสำคัญของไทย — ต้องลดภาษีลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง
สินค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
มูลค่าการ อัตราภาษี มูลค่าการ อัตรา มูลค่าการ อัตราภาษี
ส่งออก นำเข้า ส่งออก ภาษี ส่งออก นำเข้า
(Mil. US$) สูงสุด (Mil. US$) นำเข้าสูงสุด (Mil. US$) สูงสุด
สิ่งทอและรองเท้า 2,087 58.20% 1,231 17% 431 30%
อาหารทะเลกระป๋อง 889 35% 126 26% 452 10.50%
เซรามิก 126 28% 140 12% 102 6.60%
นอกจากนี้ ปฏิญญาดังกล่าวยังเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาในการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วและสามารถให้ความ
คุ้มครองทางภาษีแก่สินค้าอ่อนไหวบางรายการ เช่น ยานยนต์ (ภาษีผูกพันร้อยละ 80 หากต้องลดด้วยสูตรจะเหลือประมาณร้อยละ 12 แต่สามารถใช้
ความยืดหยุ่นในการลดภาษีน้อยกว่าสูตรได้ ซึ่งจะทำให้ภาษีเหลือประมาณร้อยละ 40) สรุปผลกระทบของ Hong Kong Declaration ต่อประเทศ
ไทยสรุปตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 สรุปผลกระทบของ Hong Kong Declaration ต่อประเทศไทย
สาระสำคัญ ผลกระทบต่อไทย สาเหตุ
1. Swiss formula with coefficients ได้ประโยชน์ ลดภาษีสูงในอัตราที่มากกว่าภาษีต่ำ โดยเฉพาะ tariff peaks ในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
2. Special & Differential ได้ประโยชน์ ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องลดภาษีมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาสามารถ
Treatment and Less than full ใช้ความยืดหยุ่นได้สำหรับสินค้าอ่อนไหวบางรายการ
reciprocity in reduction
commitment
3. Sectoral initiatives on a non- ได้ประโยชน์ ให้ความสำคัญกับการลดภาษีรายสาขา ซึ่งไทยได้จัดทำสาขาอัญมณีและเครื่องประดั
mandatory basis
4. Non—linear mark—up for unbound items ได้ประโยชน์ จะทำให้ unbound items ที่มีภาษีต่ำได้รับการ mark — up มากกว่า
ภาษีสูง (ไทยมี unbound items ที่มีภาษีต่ำหลายรายการ)
สิ่งที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการเจราจาการค้าบริการใน WTO
สิ่งที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการเจราจาการค้าบริการใน WTO
ปฏิญญารัฐมนตรีกำหนดให้การเจรจาให้ความสำคัญกับสาขาและรูปแบบการให้บริการ (mode) ที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์
mode ที่ไทยสนใจคือ การเข้าไปให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (mode 4) และ การจัดตั้งธุรกิจ (mode 3) ในบางสาขา (สาขาที่ไทยสนใจ ได้แก่
การท่องเที่ยว โดยเฉพาะภัตตาคาร สปา บริการด้านสุขภาพและสังคม บริการด้านก่อสร้าง และวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่อง)
กำหนดให้สมาชิกทบทวนข้อเสนอการเปิดตลาด (improved commitment) เพื่อเพิ่มประเภทของบุคคลธรรมดาที่สามารถเข้าไปทำงาน
ในประเทศสมาชิก (mode 4) ได้มากขึ้น โดยครอบคลุมบุคคลที่มีสัญญาจ้างนักวิชาชีพอิสระ และผู้ประกอบการอาชีพอื่น ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ภาใต้การ
โอนย้ายภายในบริษัทข้ามประเทศ และกำหนดให้ยกเลิกมาตรการทดสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs tests) และขยายเวลาใน
การเข้ามาให้บริการได้นานขึ้น
สรุปประเด็นปัญหาการค้าไทยกับสหภาพยุโรป
ในรอบปีที่ผ่านมา ไทยได้เจรจาแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป 2 เรื่อง ได้แก่
1. การเจรจาชดเชยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีข้าวของสหภาพยุโรป ภายใต้มาตรา 28 ของแกตต์
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 EU มีมติให้ปฏิรูปนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป (CAP Reform) ซึ่งรวมถึงนโยบายสินค้าข้าว
โดยกำหนดให้ลดราคาแทรกแซงลงครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้อัตราภาษี ข้าวขาวและข้าวกล้องจะลดลงประมาณร้อยละ 55 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 เป็นต้น
ไป ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในของสหภาพยุโรปได้ EU จึงขอปรับเปลี่ยนระบบการนำเข้าข้าวใหม่จากระบบ Margin of
Preference (MOP) เป็นระบบภาษีอัตราภาษีคงที่ (Fixed Rate) โดยเมื่อ 1 กันยายน 2547 EU ได้กำหนดอัตราภาษีสำหรับข้าวกล้อง
(พิกัด 100620) ที่ 65 ยูโร/ตัน และ ข้าวขาว (พิกัด 100630) ที่ 175 ยูโร/ตัน
ไทยและ EU ได้มีการเจรจาอย่างเป็นทางการหลายครั้ง จนสามารถสรุปผลการเจรจาได้เป็นที่พอใจของ 2 ฝ่าย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ดังนี้
ข้าวขาว EU จะกำหนดอัตราภาษีที่เรียกเก็บ (applied rate) เป็น 2 อัตราคือ อัตราต่ำที่ 145 ยูโร/ตัน และอัตราสูงที่ 175 ยู
โร/ตัน กล่าวคือ จะเริ่มเก็บที่อัตรา 145 ยูโร/ตัน หากปริมาณนำเข้าข้าวขาวของปีการตลาดก่อนหน้า (1 กันยายน-31 สิงหาคม) ต่ำกว่าหรือเท่า
กับ 387,743 ตัน และเรียกเก็บที่อัตรา 175 ยูโร/ตัน หากปริมาณนำเข้าข้าวขาวของปีการตลาดก่อนหน้าสูงกว่า 387,743 ตัน ทั้งนี้ กำหนดให้มี
การพิจารณาการปรับภาษีปีละ 2 ครั้ง และ EU ตกลงจะเพิ่มโควตารวมสำหรับข้าวขาวอีก 13,500 ตัน ที่อัตราภาษี 0 ด้วย โดยจะจัดสรรโควตา
จำนวนนี้ให้ไทยเป็นจำนวน 4,313 ตัน
ข้าวหัก EU ตกลงจะกำหนดอัตราภาษีที่เรียกเก็บ (applied rate) ที่ 65 ยูโร/ตัน และจะเพิ่มโควตาข้าวหักจาก 80,000 ตัน
เป็น 100,000 ตัน และลดภาษีในโควตาลงจาก 100 ยูโร/ตัน เป็น 45 ยูโร/ตัน (applied rate — 30.77%)
EU และไทยได้ลงนามในความตกลงดังกล่าวในรูปของสาส์นแลกเปลี่ยน เมื่อ 20 และ 21 ธันวาคม 2548 ตามลำดับ ซึ่งทำให้ความ
ตกลงฯ มีผลสมบูรณ์ และ EU แจ้งว่าจะสามารถออกประกาศได้ภายใน 1 มกราคม 2549 โดยให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังถึงวันที่ 1 กันยายน 2548
2. การเจรจาขอชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 สหภาพยุโรปได้มีการขยายสมาชิกภาพเป็นครั้งที่ 5 โดยรวมประเทศจากยุโรปกลางและตะวันออกอีก 10
ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ลัตเวีย เอสโทเนีย ฮังการี ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสโลวีเนีย ในภาพรวม
ของการขยายสมาชิกภาพครั้งนี้ ไทยได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษี (จากการเปลี่ยนแปลงตารางข้อผูกพันของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกใหม่)
เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 6 ล้านยูโรต่อปี สินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ ได้แก่รถบรรทุก/ปิกอัพ มอเตอร์ไฟฟ้า และลวดเคเบิลนำไฟ เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าส่ง
ออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 42.0, 50.3 และ 11.4 ล้านยูโร ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางรายการที่ไทยได้รับผลกระทบจากภาษีที่เพิ่มขึ้น โดยในรายการสินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่เพิ่มสูง
ขึ้น อาทิ ปลากระป๋อง และข้าว เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 11.4 และ 10.0 ล้านยูโร ตามลำดับ
กระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นขอสงวนสิทธิการเจรจาชดเชยผลกระทบดังกล่าวกับสหภาพยุโรปภายใต้มาตรา 24.6 ของแกตต์ เมื่อวันที่ 8
เมษายน 2547 และได้มีการเจรจาหลายครั้งตั้งแต่ปี 2547 เมื่อเดือนกันยายน 2548 ไทยและสหภาพยุโรปสามารถสรุปผลการเจรจาได้ โดยสหภาพ
ยุโรป ตกลงที่จะให้การชดเชยผลกระทบด้านภาษีกับไทย ดังนี้
- ปลาแปรรูปอื่นๆ ทำจากทูน่า (พิกัด 160420 70) : สหภาพยุโรปจะเปิดโควตาใหม่ อัตราภาษีภายในโควตาร้อย
ละ 0 (นอกโควตาร้อยละ 24) จำนวน 2,558 ตัน และจัดสรรให้ไทย 1,816 ตัน
- ปลาแปรรูปอื่นๆ ทำจากซาร์ดีน (พิกัด 160420 50) : สหภาพยุโรปจะเปิดโควตาใหม่อัตราภาษีภายในโควตาร้อย
ละ 0 (นอกโควตาร้อยละ 25) จำนวน 2,275 ตัน และจัดสรรให้ไทย 1,410 ตัน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ