วันนี้ (20 ส.ค.49) เวลา 10.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธิอมร ในฐานะคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ส่อเจตนายื้อผลสอบคดีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ฯ ด้วยการใช้กลไกทางการเมืองเข้ามากดดันการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐว่า กรณีที่นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์หลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตนอยากจะอธิบายเพิ่มเติม ประการแรก 1.เหตุผลสำคัญในการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ที่บอกว่าเพื่อมาสอบซ้ำ เพราะในช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ตอนแรกบอกว่า ได้รับเอกสารเพิ่มต้องสอบ ทั้งที่เปิดเอกสารแล้วไม่มีนัยสำคัญอะไรเพิ่มเติมเลย จากนั้นก็เปลี่ยนประเด็นไปอีกว่าต้องดึงกระทรวงการคลังเข้ามาร่วมเพราะมีความชำนาญเรื่องเงินและเรื่องภาษี ตนฟังเหตุผลนี้แล้วเห็นว่าฟังไม่ขึ้น
เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับภาษี การเป็นผู้ถือหุ้นแทนคือเส้นทางเงิน เป็นการกระทำความผิดที่กำหนดไว้ชัดเจนใน มาตรา 36 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ประการที่ 2. มีความพยายามที่ตั้งคณะกรรมการทั้งๆที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ นายยรรยง เป็นนักฎหมาย แต่ที่ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดเหมือนกับ ไม่มีเข้าใจกฎหมาย ม.46 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) จะต้องเป็นผู้มีอำนาจในการตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น การสอบข้อเท็จจริงในลักษณะนี้ ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องมีการตั้งเป็นทางการ
ซึ่งในอดีตก็เคยมีแล้วในคำสั่งที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นการแต่งตั้งพนักงานทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ให้กรมทางธุรกิจการค้า ไม่มีใครระดับกระทรวงพาณิชย์เข้าไปเกี่ยวข้องในกฎหมายฉบับนี้ได้ “ผมอยากเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่าอย่านั่งเฉยๆ กระทรวงทำงานกันมั่วขนาดนี้ รัฐมนตรีว่าการรับผิดชอบ อย่านั่งเฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้บอกว่าเรื่องนี้มอบไปแล้วให้รัฐมนตรีช่วย เมื่อัฐมนตรีช่วยทำแบบนี้ ผมคิดว่าถึงเวลาที่รัฐมนตรีว่าการต้องมาสะสาง” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ประการที่ 1 มีความพยายามจะตั้งเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานในเรื่องของการถือหุ้นแทน เรื่องนี้ชัดเจนว่า คนที่พูดไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกฎหมายนี้ ตนเกี่ยวข้องโดยตรงในฐานะผู้ร่วมออกกฎหมายและเป็นผู้บังคับใช้ถึง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2542 - 2547 กฎหมายระบุชัดแล้ว ไม่ต้องตั้งเกณฑ์อะไรอีก ประการที่ 2 การตั้งเกณฑ์ใดๆ ขึ้นมาใหม่จะเป็นการวางกับดักตัวเอง ในโลกนี้ตอนที่ออกกฎหมายฉบับนี้ได้มีการศึกษากฎหมายลักษณะเดียวกันทั่วโลกและไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ออกเกณฑ์ในลักษณะนอมินี เพราะไม่ต้องการให้ออกเกณฑ์เพื่อล็อกตัวเอง แม้กระทั่งระดับองค์กกรการค้าโลกมีเรื่องนี้เขียนไว้ว่า ถ้าเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ แต่กฎหมายของไทยแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบอกว่าถ้าถือหุ้นไม่เกิน 51% เป็นไทย ถ้าเกิน 51% ก็เป็นต่างด้าว แต่อีกส่วนหนึ่งระบุว่าอย่าไปถือหุ้นแทนกัน โครงสร้างของกฎหมายเราไม่เหมือนกับทั่วโลก แต่เจตนารมณ์เหมือนกัน ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเกณฑ์
“ถ้าจำได้เมื่อ 2 - 3 วันที่แล้วทาง กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) พยายามที่จะตั้งเกณฑ์เรื่องนี้ ทันทีที่ต้องได้รับหนังสือทักท้วงจากสถานทูต ฉะนั้น อย่าอ้างนักลงทุนต่างชาติ กฎหมายฉบับนี้ได้มีการพูดคุยกับนักลงทุนต่างประเทศในไทยเป็นเรียบร้อยแล้วและเห็นตรงกันว่ากรอบกฎหมายฉบับนี้พอแล้วไม่ต้องมีเกณฑ์อะไรมากไปกว่านี้” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า เป็นห่วงกรณีที่ น.พ.สุชัย เจริญ เจริญรัตนกุล รักษาการกระทรวงไอซีทีออกมาให้สัมภาษณ์ว่า แม้บริษัทไม่ใช่สัญชาติไทย ไม่กระทบต่อธุรกิจโทรคมนาคม ไม่น่าจะกระทบบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เพราะทุกอย่างถูกต้อง ตนอยากเตือน ว่าทันทีที่พูดคำพูดนี้ออกมา ความเป็นทาสของคำพูดก้เกิดขึ้นทันที เพราะกฎหมายโทรคมนาคม ระบุไว้ชัดเจนว่า ม.8 ของกฎหมายฉบับนี้ว่า คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาติต้องไม่เป็นบุคคลต่างด้าวตามคำกำจัดความของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ท่านเอาอะไรมาพูด ไม่กระทบได้อย่างไร ถ้ากุหลาบแก้วเป็นต่างด้าวกระทบหมดทั้งยวงทั้งชินคอร์ป บริษัทลูกของชินคอร์ป เอไอเอส ชินแซท แคปปิตอลโอเค แอร์เอเชีย กระทบหมด ฉะนั้นขอให้ท่านศึกษากฎหมายให้ชัดก่อนพูด ไม่งั้นท่านจะสร้างความสัลสนให้กับสังคมในเรื่องการตรวจสอบการถือหุ้นแทนทั้งหมด
“พฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ก็ดีชี้ให้เห็นชัดเจนว่าตอนนี้มีพฤติกรรมของฝ่ายการเมืองพยายามจะยื้อเรื่อง การตรวจสอบด้วยวิธีการตะแบงกฎหมายและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด เรื่องนี้ต้องหยุด เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องมีโอกาสที่จะกระทำผิดกฎหมาย เรื่องนี้หลายคนมองออก ดังนั้นอย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ตนเป็นห่วงว่าหากปล่อยให้ช้าจะมีกระบวนการไปแก้หลักฐาน สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ บริษัทที่อยู่เบื้องหลังตัวละครการซื้อหุ้นชินแซททั้งหมดชื่อบริษัทฮันตันวิลเลี่ยมบริษัทนี้อยู่ที่เดียวกันกับบริษัทไซเปรสกับบริษัทแอสเปรน กับบริษัทกุหลาบแก้วตอนที่ตั้งขึ้นมา และบริษัทนี้คือทนายของดาโต๊ะสุรินทร์ เรื่องตรงกันหมด ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น บริษัทนี้ย้ายสำนักงานแล้ว “เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่า การเมืองไปกดดันข้าราชการ ปลัดกระทรวงกระทรวง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจอย่างรุนแรง เพราว่ากฎหมายนี้ออกมาเพื่อไม่ให้การเมืองเข้าไปแทรกแซง อำนาจอยู่ที่กรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวซึ่งเป็นกรรมการร่วมกับรัฐและเอกชน อำนาจที่มีในการเรียกเอสารข้อเท็จจริงเอกสารทั้งหมดอยู่ที่กรมพัฒนาธุรกิจไม่ใช่กระทรวง ถ้าท่านยังแทรกแซงต่อไปท่านทำผิดกฎหมายขอให้ท่านเลิกและถึงเวลาแล้วท่าต้องเปิดเผยข้อมูลในเรื่องกุหลาบแก้วที่สอบเสร็จแล้วปรากฎต่อสาธารณชนทันที” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ฝากความห่วงใยถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วยว่า ตนไม่ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจอะไรในการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของกรมพัฒนาธุรกิจ ณ วันนี้ตนเชื่อว่า กรมพัฒนาฯสามารถยื่นเรื่องต่อตำรวจสามารถทำได้เลย เว่นแต่รัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ชะลอ ถ้าทำจะเป็นคำสั่งที่มิชอบ และสามารถไปยื่นฟ้องศาลปกครองได้ ทั้งนี้นายเกียรติ ยังยืนยันอีกว่า ตนจะตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด ไม่มีทางปล่อยอย่างแน่นอน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ส.ค. 2549--จบ--
เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับภาษี การเป็นผู้ถือหุ้นแทนคือเส้นทางเงิน เป็นการกระทำความผิดที่กำหนดไว้ชัดเจนใน มาตรา 36 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ประการที่ 2. มีความพยายามที่ตั้งคณะกรรมการทั้งๆที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ นายยรรยง เป็นนักฎหมาย แต่ที่ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดเหมือนกับ ไม่มีเข้าใจกฎหมาย ม.46 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) จะต้องเป็นผู้มีอำนาจในการตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น การสอบข้อเท็จจริงในลักษณะนี้ ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องมีการตั้งเป็นทางการ
ซึ่งในอดีตก็เคยมีแล้วในคำสั่งที่ 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นการแต่งตั้งพนักงานทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ให้กรมทางธุรกิจการค้า ไม่มีใครระดับกระทรวงพาณิชย์เข้าไปเกี่ยวข้องในกฎหมายฉบับนี้ได้ “ผมอยากเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่าอย่านั่งเฉยๆ กระทรวงทำงานกันมั่วขนาดนี้ รัฐมนตรีว่าการรับผิดชอบ อย่านั่งเฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้บอกว่าเรื่องนี้มอบไปแล้วให้รัฐมนตรีช่วย เมื่อัฐมนตรีช่วยทำแบบนี้ ผมคิดว่าถึงเวลาที่รัฐมนตรีว่าการต้องมาสะสาง” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ประการที่ 1 มีความพยายามจะตั้งเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานในเรื่องของการถือหุ้นแทน เรื่องนี้ชัดเจนว่า คนที่พูดไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกฎหมายนี้ ตนเกี่ยวข้องโดยตรงในฐานะผู้ร่วมออกกฎหมายและเป็นผู้บังคับใช้ถึง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2542 - 2547 กฎหมายระบุชัดแล้ว ไม่ต้องตั้งเกณฑ์อะไรอีก ประการที่ 2 การตั้งเกณฑ์ใดๆ ขึ้นมาใหม่จะเป็นการวางกับดักตัวเอง ในโลกนี้ตอนที่ออกกฎหมายฉบับนี้ได้มีการศึกษากฎหมายลักษณะเดียวกันทั่วโลกและไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ออกเกณฑ์ในลักษณะนอมินี เพราะไม่ต้องการให้ออกเกณฑ์เพื่อล็อกตัวเอง แม้กระทั่งระดับองค์กกรการค้าโลกมีเรื่องนี้เขียนไว้ว่า ถ้าเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ แต่กฎหมายของไทยแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบอกว่าถ้าถือหุ้นไม่เกิน 51% เป็นไทย ถ้าเกิน 51% ก็เป็นต่างด้าว แต่อีกส่วนหนึ่งระบุว่าอย่าไปถือหุ้นแทนกัน โครงสร้างของกฎหมายเราไม่เหมือนกับทั่วโลก แต่เจตนารมณ์เหมือนกัน ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเกณฑ์
“ถ้าจำได้เมื่อ 2 - 3 วันที่แล้วทาง กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) พยายามที่จะตั้งเกณฑ์เรื่องนี้ ทันทีที่ต้องได้รับหนังสือทักท้วงจากสถานทูต ฉะนั้น อย่าอ้างนักลงทุนต่างชาติ กฎหมายฉบับนี้ได้มีการพูดคุยกับนักลงทุนต่างประเทศในไทยเป็นเรียบร้อยแล้วและเห็นตรงกันว่ากรอบกฎหมายฉบับนี้พอแล้วไม่ต้องมีเกณฑ์อะไรมากไปกว่านี้” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า เป็นห่วงกรณีที่ น.พ.สุชัย เจริญ เจริญรัตนกุล รักษาการกระทรวงไอซีทีออกมาให้สัมภาษณ์ว่า แม้บริษัทไม่ใช่สัญชาติไทย ไม่กระทบต่อธุรกิจโทรคมนาคม ไม่น่าจะกระทบบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เพราะทุกอย่างถูกต้อง ตนอยากเตือน ว่าทันทีที่พูดคำพูดนี้ออกมา ความเป็นทาสของคำพูดก้เกิดขึ้นทันที เพราะกฎหมายโทรคมนาคม ระบุไว้ชัดเจนว่า ม.8 ของกฎหมายฉบับนี้ว่า คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาติต้องไม่เป็นบุคคลต่างด้าวตามคำกำจัดความของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ท่านเอาอะไรมาพูด ไม่กระทบได้อย่างไร ถ้ากุหลาบแก้วเป็นต่างด้าวกระทบหมดทั้งยวงทั้งชินคอร์ป บริษัทลูกของชินคอร์ป เอไอเอส ชินแซท แคปปิตอลโอเค แอร์เอเชีย กระทบหมด ฉะนั้นขอให้ท่านศึกษากฎหมายให้ชัดก่อนพูด ไม่งั้นท่านจะสร้างความสัลสนให้กับสังคมในเรื่องการตรวจสอบการถือหุ้นแทนทั้งหมด
“พฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ก็ดีชี้ให้เห็นชัดเจนว่าตอนนี้มีพฤติกรรมของฝ่ายการเมืองพยายามจะยื้อเรื่อง การตรวจสอบด้วยวิธีการตะแบงกฎหมายและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด เรื่องนี้ต้องหยุด เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องมีโอกาสที่จะกระทำผิดกฎหมาย เรื่องนี้หลายคนมองออก ดังนั้นอย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ตนเป็นห่วงว่าหากปล่อยให้ช้าจะมีกระบวนการไปแก้หลักฐาน สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ บริษัทที่อยู่เบื้องหลังตัวละครการซื้อหุ้นชินแซททั้งหมดชื่อบริษัทฮันตันวิลเลี่ยมบริษัทนี้อยู่ที่เดียวกันกับบริษัทไซเปรสกับบริษัทแอสเปรน กับบริษัทกุหลาบแก้วตอนที่ตั้งขึ้นมา และบริษัทนี้คือทนายของดาโต๊ะสุรินทร์ เรื่องตรงกันหมด ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น บริษัทนี้ย้ายสำนักงานแล้ว “เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่า การเมืองไปกดดันข้าราชการ ปลัดกระทรวงกระทรวง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจอย่างรุนแรง เพราว่ากฎหมายนี้ออกมาเพื่อไม่ให้การเมืองเข้าไปแทรกแซง อำนาจอยู่ที่กรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวซึ่งเป็นกรรมการร่วมกับรัฐและเอกชน อำนาจที่มีในการเรียกเอสารข้อเท็จจริงเอกสารทั้งหมดอยู่ที่กรมพัฒนาธุรกิจไม่ใช่กระทรวง ถ้าท่านยังแทรกแซงต่อไปท่านทำผิดกฎหมายขอให้ท่านเลิกและถึงเวลาแล้วท่าต้องเปิดเผยข้อมูลในเรื่องกุหลาบแก้วที่สอบเสร็จแล้วปรากฎต่อสาธารณชนทันที” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ ฝากความห่วงใยถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วยว่า ตนไม่ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจอะไรในการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของกรมพัฒนาธุรกิจ ณ วันนี้ตนเชื่อว่า กรมพัฒนาฯสามารถยื่นเรื่องต่อตำรวจสามารถทำได้เลย เว่นแต่รัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ชะลอ ถ้าทำจะเป็นคำสั่งที่มิชอบ และสามารถไปยื่นฟ้องศาลปกครองได้ ทั้งนี้นายเกียรติ ยังยืนยันอีกว่า ตนจะตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด ไม่มีทางปล่อยอย่างแน่นอน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ส.ค. 2549--จบ--