แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ราชดำเนิน
โปรดเกล้า
พระกรุ
ลาว
กรุงเทพ--20 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานประกอบพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ร่วมกับ ฯพณฯ นายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บริเวณพิธีจุดกึ่งกลางของสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ในโอกาสนี้ คุณพลอยไพลิน เจนเชน และคุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ตามเสด็จฯ และให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดดังกล่าวด้วย
บุคคลสำคัญและแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นที่มาร่วมพิธีดังกล่าว ประกอบด้วยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว นายเหวียน เติน ซุง (Mr. Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งมีกำหนดการจะเดินทางเยือนไทยต่อไปหลังจากพิธีเปิดสะพาน นาย Katsuhito Asano รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น นาย Kozo Yamamoto รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าญี่ปุ่น เป็นต้น กับแขกรับเชิญ คณะทูต และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีบนสะพานประมาณ 1000 คน นอกจากนั้นยังมีพี่น้องประชาชนชาวไทยและลาวเดินทางมาร่วมชมพิธีเปิดสะพานและเฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และต้อนรับรองประธานประเทศลาว แน่นขนัดทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขงใกล้บริเวณเชิงสะพาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้ นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กราบบังคมทูลและกล่าวรายงานต่อรองประธานประเทศลาวมีใจความสรุปว่า สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 นี้ เป็นโครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนไทยลาวสองฝั่งโขง โดยเฉพาะชาวจังหวัดมุกดาหารและแขวงสะหวันนะเขต และเป็นสิ่งสะท้อนกระแสความร่วมมือระดับภูมิภาคที่กำลังเพิ่มขยายตัวขึ้น รวมทั้งจะเป็นเครื่องสนับสนุนระบบเครือข่ายคมนาคมตามแนว East-West Economic Corridor ด้วย นอกจากนั้น สะพานแห่งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างลาว ไทย และญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ป่น (Japan Bank for International Cooperation —JBIC) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางการงาน และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency —JICA) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการสำรวจและออกแบบโครงการ
ในลำดับต่อมา พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 โดยสังเขปว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 มีขึ้นภายหลังจากความสำเร็จในการเปิดสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ซึ่งทำให้การคมนาคมขนส่งมีความสะดวก และเชื่อมให้ความสัมพันธ์สองประเทศกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างสะพานมิตรภาพ 2 ขึ้นระหว่างจังหวัดมุกดาหารของไทย และแขวงสะหวันนะเขตของลาว เพื่อให้เป็นส่วนเหนึ่งของการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมระหว่าง 4 ประเทศ คือ สหภาพพม่า ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC) ซึ่งจะเป็นการเปิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมสู่ประเทศอื่น ๆ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และอินเดียต่อไปได้ด้วย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 ของไทยได้แก่ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ส่วนฝ่ายลาว คือ กระทรวงคมนาคม การขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง รวมระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 36 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2546
เมื่อได้เวลาอันสมควร นายกรัฐมนตรีได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 เพื่อความเป็นสิริมงคล และก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลในด้านต่าง ๆ ยังความสุข ความเจริญ และความสะดวก ปลอดภัย มาสู่ประชาชนของทั้งสองประเทศ
จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายคำจารึกสะพานมิตรภาพ 2 ร่วมกับรองประธานประเทศ สปป.ลาว พระสงฆ์ทั้งสองฝ่ายเจริญพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
หลังจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ข้ามไปยังฝั่งลาวตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลลาว เพื่อทรงเยี่ยมชมกิจการโรงเรียนสาธารณสุขแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับผลิตพยาบาลของลาว โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามเสด็จฯ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของลาวเฝ้าฯ รับเสด็จฯ หลังจากนั้นนายบัวสอน บุบาผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว เป็นเจ้าภาพถวายเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันอย่างเป็นทางการ ณ อาคารด่านชายแดนสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งลาว โดยมีรองประธานประเทศลาว นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้ง 2 ท่านร่วมงานด้วย
สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงจากทางตะวันออกคือ เมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงฝั่งลาวที่บริเวณบ้านนาแก เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต และข้ามมาประเทศไทยที่บริเวณบ้านสงเปือย ตำบลบางทราย จังหวัดมุกดาหาร และผ่านไปยังฝั่งตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอดและเมืองเมียวดี ก่อนไปสิ้นสุดที่เมืองมะละแหม่งของพม่า มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 แล้วเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2549 ตัวสะพานมีความยาว 1,600 เมตร กว้าง 12 เมตร เป็นคอนกรีตอัดแรงเช่นเดียวกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 โครงสร้างเชิงลาดคอสะพานฝั่งไทยมีความยาว 250 เมตร และที่ฝั่ง สปป.ลาว มีความยาว 200 เมตร รวมความยาวทั้งสิ้น 2,050 เมตร ได้รับความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ประมาณ 8,090 ล้านเยน หรือประมาณ 2,588 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) โดยฝ่ายไทยและลาวรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดคนละครึ่ง กรรมสิทธิ์โครงการของแต่ละประเทศอยู่ที่จุดกึ่งกลางของสะพาน
โครงการสะพานแห่งนี้ไม่เพียงเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมเส้นทางต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเท่านั้น แต่จะช่วยเชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และเอื้ออำนวยให้แต่ละประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในทุก ๆ ด้าน บนพื้นฐานของความเป็นมิตรที่มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น จะสามารถได้ประโยชน์ด้านการเพิ่มโอกาสการพัฒนา และส่งเสริมการค้า การจ้างงาน การลงทุนและการท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวม นอกจากนั้น สะพานนี้จะเอื้ออำนายต่อการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจีนและเอเชียใต้ต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานประกอบพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ร่วมกับ ฯพณฯ นายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บริเวณพิธีจุดกึ่งกลางของสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ในโอกาสนี้ คุณพลอยไพลิน เจนเชน และคุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ตามเสด็จฯ และให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดดังกล่าวด้วย
บุคคลสำคัญและแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นที่มาร่วมพิธีดังกล่าว ประกอบด้วยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว นายเหวียน เติน ซุง (Mr. Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งมีกำหนดการจะเดินทางเยือนไทยต่อไปหลังจากพิธีเปิดสะพาน นาย Katsuhito Asano รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น นาย Kozo Yamamoto รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าญี่ปุ่น เป็นต้น กับแขกรับเชิญ คณะทูต และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีบนสะพานประมาณ 1000 คน นอกจากนั้นยังมีพี่น้องประชาชนชาวไทยและลาวเดินทางมาร่วมชมพิธีเปิดสะพานและเฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และต้อนรับรองประธานประเทศลาว แน่นขนัดทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขงใกล้บริเวณเชิงสะพาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้ นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กราบบังคมทูลและกล่าวรายงานต่อรองประธานประเทศลาวมีใจความสรุปว่า สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 นี้ เป็นโครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนไทยลาวสองฝั่งโขง โดยเฉพาะชาวจังหวัดมุกดาหารและแขวงสะหวันนะเขต และเป็นสิ่งสะท้อนกระแสความร่วมมือระดับภูมิภาคที่กำลังเพิ่มขยายตัวขึ้น รวมทั้งจะเป็นเครื่องสนับสนุนระบบเครือข่ายคมนาคมตามแนว East-West Economic Corridor ด้วย นอกจากนั้น สะพานแห่งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างลาว ไทย และญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ป่น (Japan Bank for International Cooperation —JBIC) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางการงาน และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency —JICA) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการสำรวจและออกแบบโครงการ
ในลำดับต่อมา พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 โดยสังเขปว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 มีขึ้นภายหลังจากความสำเร็จในการเปิดสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ซึ่งทำให้การคมนาคมขนส่งมีความสะดวก และเชื่อมให้ความสัมพันธ์สองประเทศกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างสะพานมิตรภาพ 2 ขึ้นระหว่างจังหวัดมุกดาหารของไทย และแขวงสะหวันนะเขตของลาว เพื่อให้เป็นส่วนเหนึ่งของการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมระหว่าง 4 ประเทศ คือ สหภาพพม่า ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC) ซึ่งจะเป็นการเปิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมสู่ประเทศอื่น ๆ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และอินเดียต่อไปได้ด้วย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 2 ของไทยได้แก่ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ส่วนฝ่ายลาว คือ กระทรวงคมนาคม การขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง รวมระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 36 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2546
เมื่อได้เวลาอันสมควร นายกรัฐมนตรีได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 เพื่อความเป็นสิริมงคล และก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลในด้านต่าง ๆ ยังความสุข ความเจริญ และความสะดวก ปลอดภัย มาสู่ประชาชนของทั้งสองประเทศ
จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายคำจารึกสะพานมิตรภาพ 2 ร่วมกับรองประธานประเทศ สปป.ลาว พระสงฆ์ทั้งสองฝ่ายเจริญพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
หลังจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ข้ามไปยังฝั่งลาวตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลลาว เพื่อทรงเยี่ยมชมกิจการโรงเรียนสาธารณสุขแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับผลิตพยาบาลของลาว โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามเสด็จฯ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของลาวเฝ้าฯ รับเสด็จฯ หลังจากนั้นนายบัวสอน บุบาผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว เป็นเจ้าภาพถวายเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันอย่างเป็นทางการ ณ อาคารด่านชายแดนสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งลาว โดยมีรองประธานประเทศลาว นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้ง 2 ท่านร่วมงานด้วย
สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงจากทางตะวันออกคือ เมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงฝั่งลาวที่บริเวณบ้านนาแก เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต และข้ามมาประเทศไทยที่บริเวณบ้านสงเปือย ตำบลบางทราย จังหวัดมุกดาหาร และผ่านไปยังฝั่งตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอดและเมืองเมียวดี ก่อนไปสิ้นสุดที่เมืองมะละแหม่งของพม่า มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 แล้วเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2549 ตัวสะพานมีความยาว 1,600 เมตร กว้าง 12 เมตร เป็นคอนกรีตอัดแรงเช่นเดียวกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 โครงสร้างเชิงลาดคอสะพานฝั่งไทยมีความยาว 250 เมตร และที่ฝั่ง สปป.ลาว มีความยาว 200 เมตร รวมความยาวทั้งสิ้น 2,050 เมตร ได้รับความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ประมาณ 8,090 ล้านเยน หรือประมาณ 2,588 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) โดยฝ่ายไทยและลาวรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดคนละครึ่ง กรรมสิทธิ์โครงการของแต่ละประเทศอยู่ที่จุดกึ่งกลางของสะพาน
โครงการสะพานแห่งนี้ไม่เพียงเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมเส้นทางต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเท่านั้น แต่จะช่วยเชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และเอื้ออำนวยให้แต่ละประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในทุก ๆ ด้าน บนพื้นฐานของความเป็นมิตรที่มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น จะสามารถได้ประโยชน์ด้านการเพิ่มโอกาสการพัฒนา และส่งเสริมการค้า การจ้างงาน การลงทุนและการท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวม นอกจากนั้น สะพานนี้จะเอื้ออำนายต่อการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจีนและเอเชียใต้ต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-