แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2549
ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน การส่งออกและนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน ส่วนการลงทุนลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรลดลงตามผลผลิตที่ลดลงโดยเฉพาะลำไย ขณะที่ภาคบริการกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกชะลอลงจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเล็กน้อย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ตามการลดลงทางด้านผลผลิต โดยผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 จากลำไยที่ลดลงร้อยละ 37.6 เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติ อีกทั้งมีการส่งเสริมการผลิตนอกฤดู อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวนาปรังและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ ด้านราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เนื่องจากผลผลิตลดลงประกอบกับมีการดำเนินการที่ดีในการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในช่วงกระจุกตัว ราคาหอมแดงชะลอลงจากเดือนก่อนโดยสูงขึ้นร้อยละ 9.1 ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปรังมีราคาทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.7 เป็น 161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เดือนก่อน ตามสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ แผงวงจรสำเร็จรูป ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 4 เท่าตัว ตามแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย ส่วนผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องร้อยละ 19.7 เหลือ 123.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่ลดลง
3. ภาคบริการ ภาคบริการกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการเข้าพักของโรงแรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.4 เดือนก่อน เป็นร้อยละ 44.8 และจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็นราคา 813.1 บาทต่อห้อง อย่างไรก็ดี ภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบจากด้านราคาน้ำมันและต้นทุนค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวปรับพฤติกรรมและระยะเวลาในการเดินทาง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน โดยผู้บริโภคยังคงระมัด ระวังในการใช้จ่าย สำหรับกิจกรรมด้านการใช้จ่ายที่สำคัญกลับลดลงในเดือนนี้ โดยปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์และรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนภาคเหนือยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยพิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ ส่วนปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.1 เดือนก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ด้านการลงทุนเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ตามการนำเข้าเครื่องจักรในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็น 208.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เป็น 161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามสินค้าสำคัญ อาทิ แผงวงจรสำเร็จรูป ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ร้อยละ 24.9 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 47.4 เหลือ10.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดลงของการส่งออกสินค้าประเภทคาร์บูเรเตอร์และเครื่องเพชรพลอย ประกอบกับมีผู้ส่งออกบางรายปรับเปลี่ยนการทำพิธีการศุลกากรไปที่ส่วนกลาง สำหรับการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 4.9 เหลือ 36.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 10.0 เหลือ 26.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่ลดลงมากได้แก่ ผลิตภัณฑ์พืชผล น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเรซิ่น การส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 34.0 เหลือ 2.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดลงของการส่งออกสินค้ายานพาหนะและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์พืชสวน ส่วนการส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 เป็น 8.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์พืชผล ผลิตภัณฑ์ยาง และน้ำมันพืช
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 เป็น 140.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็น 130.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 เป็น 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ยังขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.8 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี และเงินแท่ง เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ด้านการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 เป็น 7.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เยื่อกระดาษและไม้ต่างๆ สินค้าประมง ผักและผลไม้ ส่วนการนำเข้าจากลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และร้อยละ 30.5 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 68.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 67.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากที่เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือนก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1เดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.2 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงเช่นกัน โดยมีอัตราเพิ่มร้อยละ 2.0
8. การจ้างงาน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนมิถุนายน 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.53 ล้านคน ผู้มีงานทำ 6.43 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.2 ระยะเดียวกันปีก่อน แรงงานในภาคเกษตรมีจำนวน 3.36 ล้านคน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตพืชผลทำให้แรงงานส่วนหนึ่งโยกย้ายเข้าสู่ภาคเกษตร ส่วนแรงงานนอกภาคเกษตรมีจำนวน 3.07 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ในสาขาก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกันกับระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น (ตามมาตรา 33) ในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวน 0.58 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.6 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 มีจำนวน 327,545 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากของส่วนราชการ บริษัทจำหน่ายรถยนต์ และบริษัทลีสซิ่ง โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดค้าง 258,638 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 โดยภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ในกิจการโรงแรมและลีสซิ่ง ส่วนภาคเหนือตอนล่างเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ ในกิจการโรงสีข้าวและเช่าซื้อรถยนต์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 78.96 สูงกว่าร้อยละ 74.57
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน การส่งออกและนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน ส่วนการลงทุนลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรลดลงตามผลผลิตที่ลดลงโดยเฉพาะลำไย ขณะที่ภาคบริการกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกชะลอลงจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเล็กน้อย
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ตามการลดลงทางด้านผลผลิต โดยผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 จากลำไยที่ลดลงร้อยละ 37.6 เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติ อีกทั้งมีการส่งเสริมการผลิตนอกฤดู อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวนาปรังและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ ด้านราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เนื่องจากผลผลิตลดลงประกอบกับมีการดำเนินการที่ดีในการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในช่วงกระจุกตัว ราคาหอมแดงชะลอลงจากเดือนก่อนโดยสูงขึ้นร้อยละ 9.1 ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปรังมีราคาทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.7 เป็น 161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เดือนก่อน ตามสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ แผงวงจรสำเร็จรูป ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 4 เท่าตัว ตามแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย ส่วนผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องร้อยละ 19.7 เหลือ 123.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่ลดลง
3. ภาคบริการ ภาคบริการกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการเข้าพักของโรงแรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.4 เดือนก่อน เป็นร้อยละ 44.8 และจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็นราคา 813.1 บาทต่อห้อง อย่างไรก็ดี ภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบจากด้านราคาน้ำมันและต้นทุนค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวปรับพฤติกรรมและระยะเวลาในการเดินทาง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน โดยผู้บริโภคยังคงระมัด ระวังในการใช้จ่าย สำหรับกิจกรรมด้านการใช้จ่ายที่สำคัญกลับลดลงในเดือนนี้ โดยปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์และรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนภาคเหนือยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยพิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ ส่วนปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.1 เดือนก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ด้านการลงทุนเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ตามการนำเข้าเครื่องจักรในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็น 208.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เป็น 161.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามสินค้าสำคัญ อาทิ แผงวงจรสำเร็จรูป ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ร้อยละ 24.9 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 47.4 เหลือ10.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดลงของการส่งออกสินค้าประเภทคาร์บูเรเตอร์และเครื่องเพชรพลอย ประกอบกับมีผู้ส่งออกบางรายปรับเปลี่ยนการทำพิธีการศุลกากรไปที่ส่วนกลาง สำหรับการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 4.9 เหลือ 36.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 10.0 เหลือ 26.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกที่ลดลงมากได้แก่ ผลิตภัณฑ์พืชผล น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเรซิ่น การส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 34.0 เหลือ 2.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดลงของการส่งออกสินค้ายานพาหนะและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์พืชสวน ส่วนการส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 เป็น 8.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์พืชผล ผลิตภัณฑ์ยาง และน้ำมันพืช
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 เป็น 140.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็น 130.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 เป็น 2.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าสำคัญที่ยังขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.8 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี และเงินแท่ง เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ด้านการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 เป็น 7.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เยื่อกระดาษและไม้ต่างๆ สินค้าประมง ผักและผลไม้ ส่วนการนำเข้าจากลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และร้อยละ 30.5 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 68.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 67.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากที่เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือนก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1เดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.2 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงเช่นกัน โดยมีอัตราเพิ่มร้อยละ 2.0
8. การจ้างงาน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนมิถุนายน 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.53 ล้านคน ผู้มีงานทำ 6.43 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.2 ระยะเดียวกันปีก่อน แรงงานในภาคเกษตรมีจำนวน 3.36 ล้านคน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตพืชผลทำให้แรงงานส่วนหนึ่งโยกย้ายเข้าสู่ภาคเกษตร ส่วนแรงงานนอกภาคเกษตรมีจำนวน 3.07 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ในสาขาก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกันกับระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น (ตามมาตรา 33) ในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวน 0.58 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.6 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 มีจำนวน 327,545 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากของส่วนราชการ บริษัทจำหน่ายรถยนต์ และบริษัทลีสซิ่ง โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดค้าง 258,638 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 โดยภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ในกิจการโรงแรมและลีสซิ่ง ส่วนภาคเหนือตอนล่างเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ ในกิจการโรงสีข้าวและเช่าซื้อรถยนต์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 78.96 สูงกว่าร้อยละ 74.57
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--