วันนี้ (16 เม.ย.) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบพฤติกรรมการร่ำรวยผิดปกติของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และอดีต ส.ส.เชียงใหม่ โดยเฉพาะในกรณีของหมู่บ้านชินณิชาวิลล์ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ว่าหลังจากได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วพบว่า มี 2 ประเด็นที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบต่อไปคือ ธนาคารใดเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อในการซื้อบริษัทการ์เดนซิตี้ ลากูน (ชื่อเดิมของโครงการชินณิชาวิลล์) จาก บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ในวงเงิน 800 ล้านบาท และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ผลประกอบการของบริษัท สร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ พบว่าในปี 2543 ขาดทุน 113 ล้านบาท ปี 2544 ขาดทุน 100 ล้านบาท ปี 2545 ขาดทุน 99 ล้านบาท รวมขาดทุน 3 ปี กว่า 300 ล้านบาท แต่ในปี 2546 กลับปรากฎว่าได้ใช้วงเงิน 800 ล้านบาท ในการเข้าไปซื้อโครงการจากบริษัท การ์เดนซิตี้ ลากูน และเปลี่ยนชื่อโครงการเป็นชินณิชาวิลล์ดังกล่าว ซึ่งภายหลังการถูกตรวจสอบพบว่าเพิ่งมีการเปลี่ยนชื่อจากชินณิชาวิลล์ เป็น เบฟเวอลี่ ฮิลล์ ในวันเดียวกันกับที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร (24 กพ. 2549) และมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่ และคณะกรรมการชุดใหม่ โดยมีอดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และมีประธานบริษัทซึ่งเพิ่งชนะโครงการประมูล Solar home ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกโครงการหนึ่ง ในวงเงิน 7,000 ล้านบาท
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ ยังพบว่า ความโยงใยของกลุ่มธุรกิจ กลุ่มอดีตข้าราชการที่เข้าไปถือหุ้นอยู่ในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ นั้น จะต้องมีการตรวจสอบทั้งในเชิงทุนประกอบการ และในเชิงการใช้อำนาจของรัฐ เพื่อใช้ประกอบเป็นรายงานการสอบสวนพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ต่อไป
“การตรวจสอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. — ส.ค. 2547 โดยที่กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ได้เข้าไปซื้อหุ้นใน 4 บริษัท ซึ่งใช้วงเงินเกือบ 2,000 ล้านบาท นี่คือประเด็นหลักที่จะนำไปสู่การตรวจสอบของ ปปช. เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ และมีการแฝงเร้นซุกซ่อนทรัพย์สินอยู่ในชื่อของทายาท และบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะได้ทำสรุปเป็นรายงานภายใน 10 วันเพื่อจะได้ตรวจสอบต่อไป เพราะว่าเมื่อตรวจสอบเข้าไปในบริษัท สยามสติปมิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทจีสติล ไม่เพียงแต่พบว่า นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ได้ถือหุ้น 210 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 1.60 บาท เป็นเงิน 336 ล้านบาทในวันที่ 16 มี.ค. 2547 แล้วยังปรากฎว่ามีชื่อนายพายัพ ชินวัตร ได้เข้าไปถือหุ้นอีก 100 ล้านหุ้นในช่วงเวลาเดียวกันด้วย” นายอลงกรณ์กล่าว พร้อมกับได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า นายพายัพ นั้นได้เกือบถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น แต่ยังสามารถนำเงินถึง 160 ล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัทจีสติล ซึ่งจะได้ทำการตรวจสอบต่อไป
พร้อมกันนี้นายอลงกรณ์ได้แสดงเอกสารที่ทางสถานีตำรวจนครบาล ทุ่งสองห้อง ได้ส่งไปถึงผู้ประกอบการร้านค้าที่อยู่ในซอยพงษ์เพชรเคหะ 2 ซึ่งเป็นปากทางเข้าหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ โดยในเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมายังคงใช้ชื่อหมู่บ้านว่า ชินณิชา วิลล์ อยู่ ซึ่งเป็นชื่อบุตรสาวคนโตของนางเยาวภา แต่หลังจากที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่าได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นเบฟเวอรี่ฮิลล์ ไปแล้ว และจากการสอบถามถึงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียงยืนยันว่า มีผู้พบเห็นนางเยาวภา และสามี เดินทางเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงการเข้าซื้อโครงการ และเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังปรากฎว่ามีบ้านหลังใหญ่ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของโดยนางเยาวภา อีกด้วย ดังนั้น นายอลงกรณ์ ต้องการคำชี้แจงจากนางเยาวภาว่าใช้ชื่อบุคคลใดเป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว และใช้เงินจากที่ใด เพราะนายอลงกรณ์ไม่เชื่อว่านางเยาวภาจะสามารถเป็นเจ้าของบ้านด้วยรายได้จากตำแหน่งส.ส. และปลัดกระทรวง ซึ่งบ้านในโครงการดังกล่าวมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 15 — 60 ล้าน
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังแย้มในตอนท้ายอีกว่า ตนได้รับเบาะแสเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ยังพบว่ายังมีที่ดินแปลงหนึ่งขนาด 1,000 ไร่ ในภาคอิสานและในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะได้ดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 เม.ย. 2549--จบ--
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ ยังพบว่า ความโยงใยของกลุ่มธุรกิจ กลุ่มอดีตข้าราชการที่เข้าไปถือหุ้นอยู่ในบริษัทสร้างสิน พร็อพเพอร์ตี้ นั้น จะต้องมีการตรวจสอบทั้งในเชิงทุนประกอบการ และในเชิงการใช้อำนาจของรัฐ เพื่อใช้ประกอบเป็นรายงานการสอบสวนพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ต่อไป
“การตรวจสอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. — ส.ค. 2547 โดยที่กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ได้เข้าไปซื้อหุ้นใน 4 บริษัท ซึ่งใช้วงเงินเกือบ 2,000 ล้านบาท นี่คือประเด็นหลักที่จะนำไปสู่การตรวจสอบของ ปปช. เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ และมีการแฝงเร้นซุกซ่อนทรัพย์สินอยู่ในชื่อของทายาท และบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะได้ทำสรุปเป็นรายงานภายใน 10 วันเพื่อจะได้ตรวจสอบต่อไป เพราะว่าเมื่อตรวจสอบเข้าไปในบริษัท สยามสติปมิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทจีสติล ไม่เพียงแต่พบว่า นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ได้ถือหุ้น 210 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 1.60 บาท เป็นเงิน 336 ล้านบาทในวันที่ 16 มี.ค. 2547 แล้วยังปรากฎว่ามีชื่อนายพายัพ ชินวัตร ได้เข้าไปถือหุ้นอีก 100 ล้านหุ้นในช่วงเวลาเดียวกันด้วย” นายอลงกรณ์กล่าว พร้อมกับได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า นายพายัพ นั้นได้เกือบถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น แต่ยังสามารถนำเงินถึง 160 ล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัทจีสติล ซึ่งจะได้ทำการตรวจสอบต่อไป
พร้อมกันนี้นายอลงกรณ์ได้แสดงเอกสารที่ทางสถานีตำรวจนครบาล ทุ่งสองห้อง ได้ส่งไปถึงผู้ประกอบการร้านค้าที่อยู่ในซอยพงษ์เพชรเคหะ 2 ซึ่งเป็นปากทางเข้าหมู่บ้านชินณิชา วิลล์ โดยในเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมายังคงใช้ชื่อหมู่บ้านว่า ชินณิชา วิลล์ อยู่ ซึ่งเป็นชื่อบุตรสาวคนโตของนางเยาวภา แต่หลังจากที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่าได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นเบฟเวอรี่ฮิลล์ ไปแล้ว และจากการสอบถามถึงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียงยืนยันว่า มีผู้พบเห็นนางเยาวภา และสามี เดินทางเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงการเข้าซื้อโครงการ และเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังปรากฎว่ามีบ้านหลังใหญ่ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของโดยนางเยาวภา อีกด้วย ดังนั้น นายอลงกรณ์ ต้องการคำชี้แจงจากนางเยาวภาว่าใช้ชื่อบุคคลใดเป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว และใช้เงินจากที่ใด เพราะนายอลงกรณ์ไม่เชื่อว่านางเยาวภาจะสามารถเป็นเจ้าของบ้านด้วยรายได้จากตำแหน่งส.ส. และปลัดกระทรวง ซึ่งบ้านในโครงการดังกล่าวมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 15 — 60 ล้าน
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังแย้มในตอนท้ายอีกว่า ตนได้รับเบาะแสเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ยังพบว่ายังมีที่ดินแปลงหนึ่งขนาด 1,000 ไร่ ในภาคอิสานและในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะได้ดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 เม.ย. 2549--จบ--