รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ) ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 7 (The 7th ASEM Finance Ministers’ Meeting: ASEM FMM) ระหว่างวันที่ 8 - 9 เมษายน 2549 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย โดยมีนาย Karl Heinz Grasser รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐออสเตรียเป็นประธาน
1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ของ 38 ประเทศสมาชิกจากภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวมทั้งกรรมาธิการยุโรป ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารกลางยุโรป ทั้งนี้ ผู้แทนจากประเทศไทย ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมฯ ดังกล่าว
2. สาระสำคัญของการประชุม สรุปได้ดังนี้
2.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโลก (Global Economic Situation)
2.1.1 ที่ประชุมรับทราบว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2548 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2549 ภูมิภาคเอเชียและสหรัฐอเมริกายังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลงแต่แสดงถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และส่งสัญญาณความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมขอให้ประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระมัดระวังควบคู่การดำเนินนโยบายสำคัญๆ เช่น การวิจัยและการพัฒนา การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและยุโรปให้มีความสมดุลและมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั่วกัน นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของไข้หวัดนก และภาวะภัยธรรมชาติ เป็นต้น ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในดำเนินนโยบายภายในประเทศ รวมทั้งนโยบายความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ดังกล่าว
2.1.2 ที่ประชุมเห็นควรให้มีการลงทุนในพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มกำลังการผลิตและการกลั่นน้ำมัน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้และการเก็บสำรองน้ำมัน รวมทั้งเรียกร้องให้มีการหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ใช้น้ำมันในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอเรื่องกลยุทธ์ด้านพลังงาน (Green Paper) ซึ่งจัดทำโดยกรรมาธิการยุโรป เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านพลังงานในอนาคต
2.1.3 ที่ประชุมได้หารือเรื่องการกำหนดนโยบายเพื่อลดปัญหาความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance) เพื่อสร้างความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลาง โดยเห็นพ้องว่าจะต้องมีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
2.1.4 สำหรับประเด็นปัญหาสัดส่วนการออกเสียงที่ไม่เท่าเทียมกันของ Bretton Woods Institutions (BWIs) และการจัดสรรโควต้าการถือหุ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก ที่ประชุมตกลงที่จะหาแนวทางร่วมกันเพื่อปรับปรุงวิธีการออกเสียงในส่วนของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศสมาชิกอื่นๆ โดยจะนำเสนอผลความคืบหน้าและข้อสรุปเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนกันยายน 2549 ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อไป
2.2 มาตรการป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering)
ที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ประเทศสมาชิกอาเซมดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ Financial Action Task Force on Money Laundering (FATF) ในการป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ในการนี้ ที่ประชุมรับทราบถึงความพยายามของประเทศพม่าในปีที่ผ่านมาในการดำเนินการตามกฎระเบียบ FATF โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝ่ายยุโรปได้ขอให้ประเทศพม่าพิจารณาดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินระหว่างประเทศโดยเร็ว
2.3 การดำเนินนโยบายเพื่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (Making Globalisation a Success for all)
ที่ประชุมได้หารือถึงโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และนำไปสู่การจัดสรรแรงงานระหว่างประเทศ (International Division of Labor) โดยเห็นพ้องถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบรับความท้าทายและฉวยโอกาสจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ เห็นว่ากระแสโลกาภิวัตน์จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกประเทศ หากสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนทางธุรกิจและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การมีตลาดสินค้าและแรงงานที่มีความยืดหยุ่น การมีแรงงานที่มีคุณภาพและปริมาณพอเพียง และการมีตลาดเงินตลาดทุนที่มีเสถียรภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่เท่าเทียมกัน คือ การมีระบบประกันสังคมที่ดี ในเฉพาะต่อผู้อ่อนแอและผู้ด้อยโอกาสในสังคม นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบที่ควรดำเนินการต่อใน 3 ประเด็น คือ (1) การเจรจารอบโดฮาให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการให้การปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างกับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (2) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษในเวลาที่เหมาะสม และ (3) การพัฒนากลยุทธ์ในการสื่อสารที่เพียงพอในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับการส่งเสริมนโยบายโลกาภิวัตน์ร่วมกัน
ในส่วนของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืนเพื่อสนองตอบต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกและประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เปลี่ยนไป โดยเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการในนโยบายหลักๆ เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เป็นต้น และการดำเนินนโยบายในประเทศที่จะพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าให้แข็งแกร่ง เช่น การปฏิรูประบบการศึกษา การดำเนินโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค การปรับโครงสร้างหนี้ และโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น
2.4 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน อาเซม (ASEM Trust Fund) และมีมติให้เน้นด้านการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร และขอให้กรรมาธิการยุโรป ศึกษาร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือแบบใหม่ในอนาคต ที่ประชุมให้ความเห็นชอบใน Terms of Reference (TOR) เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งกลไกความร่วมมือในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือข้อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม อาทิ ข้อเสนอกรอบความร่วมมือด้านมาตรฐานศุลกากรของ อาเซม และข้อเสนอของธนาคารพัฒนาเอเชียเกี่ยวกับมาตรการริเริ่มในการจัดตั้งตลาด Carbon (ADB Carbon Market Initiative) เป็นต้น
3. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8
ที่ประชุมเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเป็น 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง และเห็นชอบให้สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพสำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซมครั้งที่ 8 ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2551 อย่างไรก็ตาม ยังคงให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลัง อาเซมต่อไปทุกปี โดยในปี 2550 สาธารณรัฐเกาหลีจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพด้วย
สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 7 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย จะได้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซม (ASEM Leader’s Meeting) ที่ประเทศฟินแลนด์ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2549 18 เมษายน 49--
1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ของ 38 ประเทศสมาชิกจากภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวมทั้งกรรมาธิการยุโรป ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารกลางยุโรป ทั้งนี้ ผู้แทนจากประเทศไทย ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมฯ ดังกล่าว
2. สาระสำคัญของการประชุม สรุปได้ดังนี้
2.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโลก (Global Economic Situation)
2.1.1 ที่ประชุมรับทราบว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2548 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2549 ภูมิภาคเอเชียและสหรัฐอเมริกายังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลงแต่แสดงถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และส่งสัญญาณความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมขอให้ประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระมัดระวังควบคู่การดำเนินนโยบายสำคัญๆ เช่น การวิจัยและการพัฒนา การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและยุโรปให้มีความสมดุลและมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั่วกัน นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของไข้หวัดนก และภาวะภัยธรรมชาติ เป็นต้น ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในดำเนินนโยบายภายในประเทศ รวมทั้งนโยบายความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ดังกล่าว
2.1.2 ที่ประชุมเห็นควรให้มีการลงทุนในพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มกำลังการผลิตและการกลั่นน้ำมัน และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้และการเก็บสำรองน้ำมัน รวมทั้งเรียกร้องให้มีการหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ใช้น้ำมันในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอเรื่องกลยุทธ์ด้านพลังงาน (Green Paper) ซึ่งจัดทำโดยกรรมาธิการยุโรป เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านพลังงานในอนาคต
2.1.3 ที่ประชุมได้หารือเรื่องการกำหนดนโยบายเพื่อลดปัญหาความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance) เพื่อสร้างความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลาง โดยเห็นพ้องว่าจะต้องมีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
2.1.4 สำหรับประเด็นปัญหาสัดส่วนการออกเสียงที่ไม่เท่าเทียมกันของ Bretton Woods Institutions (BWIs) และการจัดสรรโควต้าการถือหุ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก ที่ประชุมตกลงที่จะหาแนวทางร่วมกันเพื่อปรับปรุงวิธีการออกเสียงในส่วนของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศสมาชิกอื่นๆ โดยจะนำเสนอผลความคืบหน้าและข้อสรุปเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนกันยายน 2549 ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อไป
2.2 มาตรการป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering)
ที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ประเทศสมาชิกอาเซมดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ Financial Action Task Force on Money Laundering (FATF) ในการป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ในการนี้ ที่ประชุมรับทราบถึงความพยายามของประเทศพม่าในปีที่ผ่านมาในการดำเนินการตามกฎระเบียบ FATF โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝ่ายยุโรปได้ขอให้ประเทศพม่าพิจารณาดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินระหว่างประเทศโดยเร็ว
2.3 การดำเนินนโยบายเพื่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (Making Globalisation a Success for all)
ที่ประชุมได้หารือถึงโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และนำไปสู่การจัดสรรแรงงานระหว่างประเทศ (International Division of Labor) โดยเห็นพ้องถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบรับความท้าทายและฉวยโอกาสจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ เห็นว่ากระแสโลกาภิวัตน์จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกประเทศ หากสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนทางธุรกิจและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การมีตลาดสินค้าและแรงงานที่มีความยืดหยุ่น การมีแรงงานที่มีคุณภาพและปริมาณพอเพียง และการมีตลาดเงินตลาดทุนที่มีเสถียรภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่เท่าเทียมกัน คือ การมีระบบประกันสังคมที่ดี ในเฉพาะต่อผู้อ่อนแอและผู้ด้อยโอกาสในสังคม นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบที่ควรดำเนินการต่อใน 3 ประเด็น คือ (1) การเจรจารอบโดฮาให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการให้การปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างกับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (2) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษในเวลาที่เหมาะสม และ (3) การพัฒนากลยุทธ์ในการสื่อสารที่เพียงพอในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับการส่งเสริมนโยบายโลกาภิวัตน์ร่วมกัน
ในส่วนของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืนเพื่อสนองตอบต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกและประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เปลี่ยนไป โดยเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการในนโยบายหลักๆ เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เป็นต้น และการดำเนินนโยบายในประเทศที่จะพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าให้แข็งแกร่ง เช่น การปฏิรูประบบการศึกษา การดำเนินโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค การปรับโครงสร้างหนี้ และโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น
2.4 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน อาเซม (ASEM Trust Fund) และมีมติให้เน้นด้านการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร และขอให้กรรมาธิการยุโรป ศึกษาร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือแบบใหม่ในอนาคต ที่ประชุมให้ความเห็นชอบใน Terms of Reference (TOR) เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งกลไกความร่วมมือในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือข้อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม อาทิ ข้อเสนอกรอบความร่วมมือด้านมาตรฐานศุลกากรของ อาเซม และข้อเสนอของธนาคารพัฒนาเอเชียเกี่ยวกับมาตรการริเริ่มในการจัดตั้งตลาด Carbon (ADB Carbon Market Initiative) เป็นต้น
3. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8
ที่ประชุมเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเป็น 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง และเห็นชอบให้สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพสำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซมครั้งที่ 8 ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2551 อย่างไรก็ตาม ยังคงให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลัง อาเซมต่อไปทุกปี โดยในปี 2550 สาธารณรัฐเกาหลีจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพด้วย
สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 7 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย จะได้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซม (ASEM Leader’s Meeting) ที่ประเทศฟินแลนด์ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2549 18 เมษายน 49--