จากการที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตอบโต้กรณีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ชี้แจงสาเหตุการทำรัฐประหารและปัญหาของระบอบทักษิณต่อประชาชน โดยระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรชี้แจงด้วยตัวเอง อย่าไปยืมมือคมช. และระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์สนิทสนมเหมือนเป็นพวกเดียวกันกับคมช. อีกทั้งยังกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ลงโทษผู้บริหารรัฐบาลชุดที่แล้ว พร้อมทั้งญาติพี่น้องอย่างเด็ดขาด ด้วยวิธีการนอกกฎหมายนั้น
พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าการให้สัมภาษณ์พาดพิงในเชิงเสียดสีของนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่ใส่ร้ายป้ายสี และบิดเบือนความจริงต่อสังคม ไม่สมควรที่นักการเมืองในระดับรักษาการหัวหน้าพรรคจะประพฤติปฏิบัติ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ขอชี้แจงต่อคำพาดพิงดังกล่าวดังนี้
1) ข้อเสนอของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการเรียกร้องให้คมช.รวมทั้งรัฐบาลตระหนักในการทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะการอธิบายถึงเหตุผล 4 ข้อในการเข้ามายึดอำนาจ เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำความเข้าใจเรื่องนี้น้อยมาก ขณะเดียวกันมีความพยายามจากกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจก่อกระแสโจมตีคมช.และรัฐบาล จนก่อให้เกิดความสับสนขึ้นในสังคม ดังนั้นการทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างละเอียดและต่อเนื่องเป็นความจำเป็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและก่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง
นอกจากนั้นนายชวน หลีกภัย ยังเสนอให้คมช.และรัฐบาลทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความผิดพลาด บกพร่องของ “ระบอบทักษิณ” ที่นำมาประเทศไปสู่ความยุ่งยาก เลวร้ายในช่วง 5 ปีเศษที่ผ่านมาด้วย เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปเคยรับฟังข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาลเก่าเพียงด้านเดียวเท่านั้น
การที่นายจาตุรนต์ พยายามคัดค้านการชี้แจงทำความเข้าใจกับเหตุผลการเข้ายึดอำนาจ รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่จะให้พูดถึง “ระบอบทักษิณ” นั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า นายจาตุรนต์กำลังวิตกจริต กลัวว่าความจริงที่จะถูกตีแผ่อาจไปกระทบกระเทือนต่อเจ้านายของตนเอง รวมทั้งเครือข่าย บริวารกลุ่มอำนาจเก่า จึงพยายามพลิกพลิ้วทำเป็นไม่เข้าใจว่า “ระบอบทักษิณ” คืออะไร และมีพรรคไทยรักไทยอยู่ในระบอบนี้ด้วยหรือไม่ ทั้งๆที่นายจาตุรนต์เองก็ทราบดีว่า “ระบอบทักษิณ” เป็นอย่างไร เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับใคร ก่อปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในประเทศนี้หนักหน่วงรุนแรงแค่ไหน เพราะนายจาตุรนต์เองได้ร่วมอยู่กับระบอบดังกล่าวมาอย่างแนบแน่นและต่อเนื่อง
2.) การที่นายจาตุรนต์ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ไปยืมมือคมช.มาเล่นงานกลุ่มอำนาจเก่า และระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพวกเดียวกันกับคมช.นั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่ได้มีความสัมพันธ์ หรือการกระทำใดๆร่วมกับคมช. ในฐานะพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีการต่อสู้ทางการเมืองที่เปิดเผยต่อสาธารณชนมาโดยตลอด อีกทั้งไม่ได้มีอิทธิพลเหนือองค์กรใดๆที่จะไปสั่งการหรือยืมมือใช้งานใครให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะปิดบังซ่อนเร้น เหมือนกับอดีตผู้นำรัฐบาลบางคนที่เคยประพฤติปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรในช่วงเรืองอำนาจ
ปัญหาความเลวร้ายที่เกิดขึ้นจาก “ระบอบทักษิณ” เช่น การแทรกแซง ครอบงำสื่อมวลชน, การทุจริตเชิงนโยบาย, การมีผลประโยชน์ทับซ้อน, การใช้อำนาจและกลไกอำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องบริวาร ฯลฯ เป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ขุดคุ้ย เปิดโปง มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีเศษที่ผ่านมา ดังนั้นการกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ไปยืมมือคมช.มาเล่นงานพรรคไทยรักไทย จึงเป็นการใส่ร้ายป้ายสีอย่างสิ้นเชิง
3.)พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเรียกร้อง หรือแสดงท่าทีใดๆที่จะให้ลงโทษผู้บริหารรัฐบาลชุดที่แล้ว พร้อมทั้งญาติพี่น้องอย่างเด็ดขาด ด้วยวิธีการนอกกฎหมาย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ยึดมั่นในหลักนิติรัฐมาตลอด ในกรณีความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลชุดที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
นายจาตุรนต์ก็ทราบดีว่า คงไม่มีพรรคการเมืองใดในระบอบประชาธิปไตยที่เสนอให้ใช้วิธีการนอกกฎหมายกับผู้กระทำผิด อีกทั้งวิธีการนอกกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดช่วง 5 ปีเศษที่ผ่านมา ก็ได้สร้างความสูญเสียให้กับบ้านเมืองอย่างมากมายมหาศาลมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร, การอุ้มฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, การสังหารชิปปิ้งหมู, การฆ่าตัดตอนในการปราบปรามยาเสพติด, การใช้อำนาจรัฐข่มขู่คุกคามผู้อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ฯลฯ เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 พ.ย. 2549--จบ--
พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าการให้สัมภาษณ์พาดพิงในเชิงเสียดสีของนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่ใส่ร้ายป้ายสี และบิดเบือนความจริงต่อสังคม ไม่สมควรที่นักการเมืองในระดับรักษาการหัวหน้าพรรคจะประพฤติปฏิบัติ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ขอชี้แจงต่อคำพาดพิงดังกล่าวดังนี้
1) ข้อเสนอของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการเรียกร้องให้คมช.รวมทั้งรัฐบาลตระหนักในการทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะการอธิบายถึงเหตุผล 4 ข้อในการเข้ามายึดอำนาจ เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำความเข้าใจเรื่องนี้น้อยมาก ขณะเดียวกันมีความพยายามจากกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจก่อกระแสโจมตีคมช.และรัฐบาล จนก่อให้เกิดความสับสนขึ้นในสังคม ดังนั้นการทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างละเอียดและต่อเนื่องเป็นความจำเป็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและก่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง
นอกจากนั้นนายชวน หลีกภัย ยังเสนอให้คมช.และรัฐบาลทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความผิดพลาด บกพร่องของ “ระบอบทักษิณ” ที่นำมาประเทศไปสู่ความยุ่งยาก เลวร้ายในช่วง 5 ปีเศษที่ผ่านมาด้วย เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปเคยรับฟังข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาลเก่าเพียงด้านเดียวเท่านั้น
การที่นายจาตุรนต์ พยายามคัดค้านการชี้แจงทำความเข้าใจกับเหตุผลการเข้ายึดอำนาจ รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่จะให้พูดถึง “ระบอบทักษิณ” นั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า นายจาตุรนต์กำลังวิตกจริต กลัวว่าความจริงที่จะถูกตีแผ่อาจไปกระทบกระเทือนต่อเจ้านายของตนเอง รวมทั้งเครือข่าย บริวารกลุ่มอำนาจเก่า จึงพยายามพลิกพลิ้วทำเป็นไม่เข้าใจว่า “ระบอบทักษิณ” คืออะไร และมีพรรคไทยรักไทยอยู่ในระบอบนี้ด้วยหรือไม่ ทั้งๆที่นายจาตุรนต์เองก็ทราบดีว่า “ระบอบทักษิณ” เป็นอย่างไร เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับใคร ก่อปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในประเทศนี้หนักหน่วงรุนแรงแค่ไหน เพราะนายจาตุรนต์เองได้ร่วมอยู่กับระบอบดังกล่าวมาอย่างแนบแน่นและต่อเนื่อง
2.) การที่นายจาตุรนต์ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ไปยืมมือคมช.มาเล่นงานกลุ่มอำนาจเก่า และระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพวกเดียวกันกับคมช.นั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่ได้มีความสัมพันธ์ หรือการกระทำใดๆร่วมกับคมช. ในฐานะพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีการต่อสู้ทางการเมืองที่เปิดเผยต่อสาธารณชนมาโดยตลอด อีกทั้งไม่ได้มีอิทธิพลเหนือองค์กรใดๆที่จะไปสั่งการหรือยืมมือใช้งานใครให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะปิดบังซ่อนเร้น เหมือนกับอดีตผู้นำรัฐบาลบางคนที่เคยประพฤติปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรในช่วงเรืองอำนาจ
ปัญหาความเลวร้ายที่เกิดขึ้นจาก “ระบอบทักษิณ” เช่น การแทรกแซง ครอบงำสื่อมวลชน, การทุจริตเชิงนโยบาย, การมีผลประโยชน์ทับซ้อน, การใช้อำนาจและกลไกอำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องบริวาร ฯลฯ เป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ขุดคุ้ย เปิดโปง มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีเศษที่ผ่านมา ดังนั้นการกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ไปยืมมือคมช.มาเล่นงานพรรคไทยรักไทย จึงเป็นการใส่ร้ายป้ายสีอย่างสิ้นเชิง
3.)พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเรียกร้อง หรือแสดงท่าทีใดๆที่จะให้ลงโทษผู้บริหารรัฐบาลชุดที่แล้ว พร้อมทั้งญาติพี่น้องอย่างเด็ดขาด ด้วยวิธีการนอกกฎหมาย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ยึดมั่นในหลักนิติรัฐมาตลอด ในกรณีความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลชุดที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
นายจาตุรนต์ก็ทราบดีว่า คงไม่มีพรรคการเมืองใดในระบอบประชาธิปไตยที่เสนอให้ใช้วิธีการนอกกฎหมายกับผู้กระทำผิด อีกทั้งวิธีการนอกกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดช่วง 5 ปีเศษที่ผ่านมา ก็ได้สร้างความสูญเสียให้กับบ้านเมืองอย่างมากมายมหาศาลมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร, การอุ้มฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, การสังหารชิปปิ้งหมู, การฆ่าตัดตอนในการปราบปรามยาเสพติด, การใช้อำนาจรัฐข่มขู่คุกคามผู้อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ฯลฯ เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 พ.ย. 2549--จบ--