เซรามิกครึ่งปีแรกยังไปสวย แม้ตลาดในประเทศชะลอ ส่งออกขยายตัวกว่าร้อยละ 8 จากปีก่อน ชี้เครื่องสุขภัณฑ์-เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร อนาคตแจ่มใส ตลาดนอกอ้าแขนรับฝีมือไทย
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกไทยช่วงครึ่งปีแรกพบว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศมีการชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมทั้งปัจจัยจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุนซึ่งส่งผลต่อการบริโภค แต่สำหรับตลาดต่างประเทศยังมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไทยจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ เยอรมนี แคนาดา และประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวม 328 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.72 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวในการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้นบุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งตลาดเหล่านี้มีความต้องการใช้สินค้าจากไทยเนื่องจากเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลงเล็กน้อย ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวลดลงในตลาดสหภาพยุโรป และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพยุโรป เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าลดลง
สำหรับภาวะการผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิตทั้งสิ้น 76 ล้านตารางเมตร ซึ่งมีอัตราการขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 4 ล้านชิ้น มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.20 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยภาพรวมครึ่งปีแรกแม้ภาวะการผลิตภาพรวมของอุตสาหกรรมเซรามิกจะไม่คึกคักนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่าการส่งออกกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความปราณีตในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นฝีมือของคนไทยล้วนๆ แสดงให้เห็นว่าอนาคตในตลาดส่งออกยังมีการขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง แม้จะมีการขยายตัวแต่มีแนวโน้มลดลงมาตลอดเนื่องจากประเทศจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการแข่งขันในสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกให้สามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกไทยช่วงครึ่งปีแรกพบว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศมีการชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมทั้งปัจจัยจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุนซึ่งส่งผลต่อการบริโภค แต่สำหรับตลาดต่างประเทศยังมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไทยจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ เยอรมนี แคนาดา และประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวม 328 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.72 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวในการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้นบุผนัง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งตลาดเหล่านี้มีความต้องการใช้สินค้าจากไทยเนื่องจากเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลงเล็กน้อย ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวลดลงในตลาดสหภาพยุโรป และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพยุโรป เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าลดลง
สำหรับภาวะการผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิตทั้งสิ้น 76 ล้านตารางเมตร ซึ่งมีอัตราการขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 4 ล้านชิ้น มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.20 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยภาพรวมครึ่งปีแรกแม้ภาวะการผลิตภาพรวมของอุตสาหกรรมเซรามิกจะไม่คึกคักนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่าการส่งออกกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความปราณีตในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นฝีมือของคนไทยล้วนๆ แสดงให้เห็นว่าอนาคตในตลาดส่งออกยังมีการขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง แม้จะมีการขยายตัวแต่มีแนวโน้มลดลงมาตลอดเนื่องจากประเทศจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการแข่งขันในสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกให้สามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-