แท็ก
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อิมแพคเมืองทองธานี
นิติศาสตร์ จุฬา
ศาลรัฐธรรมนูญ
นครราชสีมา
วันนี้ (9 ต.ค.48) เวลา 13.00น. ที่อาคาร 9 อิมแพคเมืองทองธานี อาจารย์สุจิตต์ บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ นักกฎหมายมหาชน และอาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สะท้อนถึงมุมมองของตนเองในการจัดประชุมสมัชชาประชาชน ของพรรคประชาธิปัตย์ช่วง 2 วันที่ผ่านมา...
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่าตนไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองใด และที่มาร่วมการประชุมในวันนี้ก็มาเพื่อสังเกตการณ์ว่า ขณะนี้การเมืองเดินไปถึงไหนแล้ว โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ว่ายังสามารถคงบทบาทความเป็นพรรคการเมืองของตัวเองได้หรือไม่ ซึ่งจากการสังเกตก็พบว่าทั้งสมาชิกพรรคและผู้มาร่วมงานมีความหลากหลายทางความคิด ‘ผมคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี เห็นได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์พยายามสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และสามารถดำรงคงอยู่ได้ ผมเองยังไม่รู้ว่าการประชุมกลุ่มย่อยมาความเห็นหลากหลายเพียงใด แต่ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะหากทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น และพรรคการเมืองมีโอกาสรับรู้และนำมาใช้ในทางปฏิบัติ ผมขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยที่ประสบความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้’
อ.สุจิตต์ บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าการประชุมสมัชชาประชาชนเป็นการสร้างพลังของประชาชนให้เข้มแข็ง ให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพรวมถึงความคิดเห็น ซึ่งกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยนั้น ตนเห็นว่าภาคประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงประชาชนในระดับรากหญ้าเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงประชาชนในทุกฐานะ ทุกอาชีพด้วย ‘ประชาธิปไตยจะมีไม่ได้หากประชาชนยังรับแต่นโยบาย โดยไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และเท่าที่ผมประชุมก็พบว่าผู้เข้าร่วมมีความหลากหลายและเห็นว่าไม่ถูกชักจูงหรือชี้นำ ทุกอย่างเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ออกมาจากความรู้สึก ซึ่งผมถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี’
อาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงที่ต้องคิดให้มาก เพราะวันนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะบอกประชาชนว่า การเมืองกำลังจะถูกเปลี่ยนมือจากนักการเมืองไปสู่ พรรคการเมืองกับประชาชน อย่างไรก็ตามหวังว่าการจัดการประชุมในลักษณะนี้จะมีต่อไป ‘จุดที่น่าสนใจคือ คำโฆษณาเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมที่บอกว่าการมาประชุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการสร้างนโยบาย แต่เป็นการช่วยกันดูอนาคตของประเทศ เป็นเรื่องอนาคตของประเทศก็คือความยิ่งใหญ่ของนโยบาย ขณะนี้ภาคประชาชนสะท้อนความเห็นออกมาว่าอยากจะเป็นผู้ที่คุมพรรคการเมืองอีกที ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะต้องถอดรหัสให้ได้ แล้วจะดำเนินการในพรรคการเมืองอย่างไรเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านี้’
อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา กล่าวว่าการจัดการประชุมรูปแบบนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะบอกกับประชาชนว่าพรรคฯเป็นของประชาชนไม่ใช่ของหัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรค พรรคเป็นสถาบันทางการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งตนมองว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังถูกท้าทายให้พัฒนาจากระบบของพรรคอนุรักษ์นิยมมาเป็นพรรคของประชาชนในรูปแบบ ‘พัฒนาการนิยม’ ซึ่งแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นที่หดจากพรรคการเมืองใหญ่มาเป็นของคนๆเดียวหรือของครอบครัว ‘ขณะนี้การเมืองรูปแบบซีอีโอกำลังรุกคืบไปทุกภาคส่วนของสังคม ทุน สื่อ รวมไปถึงการเข้าครอบงำตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นการจะยั้บยั้งการรุกคืบดังกล่าว ต้องมีการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สังคมมีพลังต่อต้าน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องใช้อำนาจอ้างอิงจากประชาชนที่ได้จากการประชุมสมัชชาครั้งนี้เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมือง’
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ต.ค. 2548--จบ--
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่าตนไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองใด และที่มาร่วมการประชุมในวันนี้ก็มาเพื่อสังเกตการณ์ว่า ขณะนี้การเมืองเดินไปถึงไหนแล้ว โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ว่ายังสามารถคงบทบาทความเป็นพรรคการเมืองของตัวเองได้หรือไม่ ซึ่งจากการสังเกตก็พบว่าทั้งสมาชิกพรรคและผู้มาร่วมงานมีความหลากหลายทางความคิด ‘ผมคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี เห็นได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์พยายามสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และสามารถดำรงคงอยู่ได้ ผมเองยังไม่รู้ว่าการประชุมกลุ่มย่อยมาความเห็นหลากหลายเพียงใด แต่ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะหากทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น และพรรคการเมืองมีโอกาสรับรู้และนำมาใช้ในทางปฏิบัติ ผมขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยที่ประสบความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้’
อ.สุจิตต์ บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าการประชุมสมัชชาประชาชนเป็นการสร้างพลังของประชาชนให้เข้มแข็ง ให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพรวมถึงความคิดเห็น ซึ่งกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยนั้น ตนเห็นว่าภาคประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงประชาชนในระดับรากหญ้าเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงประชาชนในทุกฐานะ ทุกอาชีพด้วย ‘ประชาธิปไตยจะมีไม่ได้หากประชาชนยังรับแต่นโยบาย โดยไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และเท่าที่ผมประชุมก็พบว่าผู้เข้าร่วมมีความหลากหลายและเห็นว่าไม่ถูกชักจูงหรือชี้นำ ทุกอย่างเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ออกมาจากความรู้สึก ซึ่งผมถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี’
อาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงที่ต้องคิดให้มาก เพราะวันนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะบอกประชาชนว่า การเมืองกำลังจะถูกเปลี่ยนมือจากนักการเมืองไปสู่ พรรคการเมืองกับประชาชน อย่างไรก็ตามหวังว่าการจัดการประชุมในลักษณะนี้จะมีต่อไป ‘จุดที่น่าสนใจคือ คำโฆษณาเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมที่บอกว่าการมาประชุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการสร้างนโยบาย แต่เป็นการช่วยกันดูอนาคตของประเทศ เป็นเรื่องอนาคตของประเทศก็คือความยิ่งใหญ่ของนโยบาย ขณะนี้ภาคประชาชนสะท้อนความเห็นออกมาว่าอยากจะเป็นผู้ที่คุมพรรคการเมืองอีกที ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะต้องถอดรหัสให้ได้ แล้วจะดำเนินการในพรรคการเมืองอย่างไรเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านี้’
อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา กล่าวว่าการจัดการประชุมรูปแบบนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะบอกกับประชาชนว่าพรรคฯเป็นของประชาชนไม่ใช่ของหัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรค พรรคเป็นสถาบันทางการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งตนมองว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังถูกท้าทายให้พัฒนาจากระบบของพรรคอนุรักษ์นิยมมาเป็นพรรคของประชาชนในรูปแบบ ‘พัฒนาการนิยม’ ซึ่งแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นที่หดจากพรรคการเมืองใหญ่มาเป็นของคนๆเดียวหรือของครอบครัว ‘ขณะนี้การเมืองรูปแบบซีอีโอกำลังรุกคืบไปทุกภาคส่วนของสังคม ทุน สื่อ รวมไปถึงการเข้าครอบงำตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นการจะยั้บยั้งการรุกคืบดังกล่าว ต้องมีการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สังคมมีพลังต่อต้าน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องใช้อำนาจอ้างอิงจากประชาชนที่ได้จากการประชุมสมัชชาครั้งนี้เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมือง’
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ต.ค. 2548--จบ--