แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงมหาดไทย
กรุงเทพ--19 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2548 คณะผู้แทนไทยนำโดย พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯลฯ ได้เดินทางเยือนกรุงฮานอยเพื่อร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 2 (Joint Working Group on Political and Security Cooperation : JWG on PSC) โดยมีเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ร่วมในคณะผู้แทนไทยด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายเวียดนามมีนายเล กง ฟุง (Le Cong Phung) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนาม
ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ทบทวนสถานะความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงในรอบปีที่ผ่านมา ที่สำคัญคือได้มีการพิจารณาร่างเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่
(1) Thailand-Vietnam Security Outlook (TVSO) ซึ่งจะเป็น “เอกสารแม่บท” สำหรับใช้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคง และเสนอแนวทางการดำเนินการของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ ไทยและเวียดนามเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับหัวข้อและเนื้อหาของร่าง TVSO และคาดว่าจะสามารถจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์แบบภายในต้นเดือนตุลาคม 2548
(2) Plan of Action on Political and Security Cooperation (2006-2008) หรือ
”แผนปฏิบัติการ” สำหรับแต่ละประเด็นของความร่วมมือ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะให้รวมร่างดังกล่าว พร้อมทั้งประมวลข้อเสนอแนะที่ทั้งสองฝ่ายเสนอ เพื่อจัดทำเป็นเอกสารฉบับเดียวสำหรับใช้เป็นแนวทางร่วมกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงให้จัดทำเอกสารทั้งสองให้แล้วเสร็จและนำเสนอต่อที่ประชุมกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism) ครั้งที่ 1 ซึ่ง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเหวียน ซี เนียน (Nguyen Dy Nien) รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม เป็นประธานร่วม และการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 2 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2549 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่ประชุม JWG on PSC ครั้งที่ 2 ยังได้หารือกันถึงโครงการและกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายนำเสนอ และเห็นด้วยว่า “มิติ” ของความมั่นคงในปัจจุบันได้ขยายขอบเขตเกินกว่าด้านการเมือง การทหาร ข่าวกรอง ไปถึงเรื่องความมั่นคงทางสังคม การระบาดของโรค ความมั่นคงด้านพลังงาน การกงสุล ฯลฯ รวมทั้งเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ จากการที่มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านต่าง ๆ การพัฒนาเส้นทางถนนเชื่อมโยง การติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างไทย-เวียดนามที่เพิ่มขึ้นมาก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถร่วมกันป้องปราม/ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
นอกเหนือจากโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนและฝึกอบรมสาขาต่าง ๆ ระดับทวิภาคีที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้ความร่วมมือกับประเทศที่ 3 อาทิ โครงการศึกษา/อบรมด้านขบวนการยุติธรรม การป้องกันการก่อการร้าย การฟอกเงิน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (cybercrime) และอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ๆ และในเรื่องการจัดทำเอกสารความตกลงต่าง ๆ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะให้มีการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ สนธิสัญญาความร่วมมือด้านอาญา สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการขจัดการค้าสตรีและเด็ก
ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว รวมทั้งเห็นว่าควรร่วมกันทบทวนเอกสารความตกลงอื่น ๆ ที่เคยมีการลงนาม
ในช่วงที่ผ่านมาเพื่อให้มีการปฏิบัติตามอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนสถานะความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายเคยตกลงกันในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2547 ให้มีการจัดประชุมด้านความมั่นคงขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เป็นกรอบสำหรับติดตาม/ดูแลความสัมพันธ์ด้านนี้ และเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้สร้างความคุ้นเคย มีการประสานและทำงานกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้วิธีการทำงานที่สอดประสานกัน ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการดำเนินความสัมพันธ์สาขาอื่น ๆ ต่อไปด้วยจากการที่ทั้งสองฝ่ายเน้นให้มีความร่วมมือในโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาขาต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนจากการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมาคือการที่ทั้งสองฝ่ายมีกลไกและมาตรการด้าน “ความมั่นคงทางสังคม” (social security) และ “ความมั่นคงของมนุษย์” (human security) ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง/ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การลักลอบค้ามนุษย์ ยาเสพติด และอาวุธสงคราม ฯลฯ ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบต่าง ๆ และความไม่สงบเรียบร้อยโดยเฉพาะตามบริเวณจังหวัดชายแดน ในขณะที่การร่วมมืออย่างใกล้ชิดของหน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร สาธารณสุข ฯลฯ จะทำให้การติดต่อไปมาหาสู่และค้าขายระหว่างไทย-วน.(รวมทั้งลาว และกัมพูชา) สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จากการที่มีการนำระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันปัญหาอื่น ๆ เช่นไข้หวัดนก SARS ฯลฯ ด้วย นอกจากนี้
ที่ประชุมได้หารือเรื่องพลังงานและผลกระทบต่อความมั่นคง รวมทั้งเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำใน
แม่น้ำโขง ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญและควรมีการนำเสนอต่อที่ประชุมระหว่างประเทศ เช่น GMS (Greater Mekong Sub-region) ฯลฯ เพื่อสะท้อนปัญหาเหล่านี้ให้ประเทศ/องค์กรที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขจัดการอย่างเป็นระบบให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ทั้งหมดนี้ เพื่อจะสามารถสร้างความอยู่ดีกินดีและลดผลกระทบที่จะเกิดกับสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้องในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2548 คณะผู้แทนไทยนำโดย พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯลฯ ได้เดินทางเยือนกรุงฮานอยเพื่อร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 2 (Joint Working Group on Political and Security Cooperation : JWG on PSC) โดยมีเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ร่วมในคณะผู้แทนไทยด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายเวียดนามมีนายเล กง ฟุง (Le Cong Phung) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนาม
ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ทบทวนสถานะความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงในรอบปีที่ผ่านมา ที่สำคัญคือได้มีการพิจารณาร่างเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่
(1) Thailand-Vietnam Security Outlook (TVSO) ซึ่งจะเป็น “เอกสารแม่บท” สำหรับใช้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคง และเสนอแนวทางการดำเนินการของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ ไทยและเวียดนามเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับหัวข้อและเนื้อหาของร่าง TVSO และคาดว่าจะสามารถจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์แบบภายในต้นเดือนตุลาคม 2548
(2) Plan of Action on Political and Security Cooperation (2006-2008) หรือ
”แผนปฏิบัติการ” สำหรับแต่ละประเด็นของความร่วมมือ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะให้รวมร่างดังกล่าว พร้อมทั้งประมวลข้อเสนอแนะที่ทั้งสองฝ่ายเสนอ เพื่อจัดทำเป็นเอกสารฉบับเดียวสำหรับใช้เป็นแนวทางร่วมกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงให้จัดทำเอกสารทั้งสองให้แล้วเสร็จและนำเสนอต่อที่ประชุมกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism) ครั้งที่ 1 ซึ่ง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเหวียน ซี เนียน (Nguyen Dy Nien) รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม เป็นประธานร่วม และการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 2 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2549 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ที่ประชุม JWG on PSC ครั้งที่ 2 ยังได้หารือกันถึงโครงการและกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายนำเสนอ และเห็นด้วยว่า “มิติ” ของความมั่นคงในปัจจุบันได้ขยายขอบเขตเกินกว่าด้านการเมือง การทหาร ข่าวกรอง ไปถึงเรื่องความมั่นคงทางสังคม การระบาดของโรค ความมั่นคงด้านพลังงาน การกงสุล ฯลฯ รวมทั้งเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ จากการที่มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านต่าง ๆ การพัฒนาเส้นทางถนนเชื่อมโยง การติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างไทย-เวียดนามที่เพิ่มขึ้นมาก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถร่วมกันป้องปราม/ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
นอกเหนือจากโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนและฝึกอบรมสาขาต่าง ๆ ระดับทวิภาคีที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้ความร่วมมือกับประเทศที่ 3 อาทิ โครงการศึกษา/อบรมด้านขบวนการยุติธรรม การป้องกันการก่อการร้าย การฟอกเงิน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (cybercrime) และอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่ ๆ และในเรื่องการจัดทำเอกสารความตกลงต่าง ๆ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะให้มีการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ สนธิสัญญาความร่วมมือด้านอาญา สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการขจัดการค้าสตรีและเด็ก
ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว รวมทั้งเห็นว่าควรร่วมกันทบทวนเอกสารความตกลงอื่น ๆ ที่เคยมีการลงนาม
ในช่วงที่ผ่านมาเพื่อให้มีการปฏิบัติตามอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนสถานะความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายเคยตกลงกันในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2547 ให้มีการจัดประชุมด้านความมั่นคงขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เป็นกรอบสำหรับติดตาม/ดูแลความสัมพันธ์ด้านนี้ และเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้สร้างความคุ้นเคย มีการประสานและทำงานกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้วิธีการทำงานที่สอดประสานกัน ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการดำเนินความสัมพันธ์สาขาอื่น ๆ ต่อไปด้วยจากการที่ทั้งสองฝ่ายเน้นให้มีความร่วมมือในโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาขาต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนจากการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมาคือการที่ทั้งสองฝ่ายมีกลไกและมาตรการด้าน “ความมั่นคงทางสังคม” (social security) และ “ความมั่นคงของมนุษย์” (human security) ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง/ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การลักลอบค้ามนุษย์ ยาเสพติด และอาวุธสงคราม ฯลฯ ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบต่าง ๆ และความไม่สงบเรียบร้อยโดยเฉพาะตามบริเวณจังหวัดชายแดน ในขณะที่การร่วมมืออย่างใกล้ชิดของหน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร สาธารณสุข ฯลฯ จะทำให้การติดต่อไปมาหาสู่และค้าขายระหว่างไทย-วน.(รวมทั้งลาว และกัมพูชา) สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จากการที่มีการนำระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันปัญหาอื่น ๆ เช่นไข้หวัดนก SARS ฯลฯ ด้วย นอกจากนี้
ที่ประชุมได้หารือเรื่องพลังงานและผลกระทบต่อความมั่นคง รวมทั้งเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำใน
แม่น้ำโขง ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญและควรมีการนำเสนอต่อที่ประชุมระหว่างประเทศ เช่น GMS (Greater Mekong Sub-region) ฯลฯ เพื่อสะท้อนปัญหาเหล่านี้ให้ประเทศ/องค์กรที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขจัดการอย่างเป็นระบบให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ทั้งหมดนี้ เพื่อจะสามารถสร้างความอยู่ดีกินดีและลดผลกระทบที่จะเกิดกับสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้องในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-