เศรษฐกิจโดยรวมเดือนกรกฎาคม 2549 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นเดียวกับเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การส่งออกและการนำเข้ายังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ดุลการค้าขาดดุล ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ยังคงเกินดุล
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรชะลอตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้รายได้เกษตรกรในเดือนนี้ขยายตัวลดลง การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเดือนก่อนเล็กน้อย สำหรับภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจ แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ปรับลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลง และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ สำหรับฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมปี 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากการผลิต ในหมวดสิ่งทอ เนื่องจากมีผู้ผลิตบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง ตามการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ที่ทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลายและกลุ่มสินค้าเหล็ก อย่างไรก็ตาม หมวดอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวดี เพราะการส่งออกจานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk Drive) และวงจรรวม (Integrated Circuit) เช่นเดียวกับการผลิตในหมวดเครื่องดื่มเร่งตัวขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.9 ลดลงจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราการใช้ กำลังการผลิต (ที่ปรับฤดูกาลแล้ว) อยู่ที่ร้อยละ 75.6 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 75.9 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็นผลจากฐานปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (ปรับฤดูกาล) ทุกรายการลดลง ยกเว้นปริมาณการใช้ไฟฟ้า ที่ยังคงเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้าง แม้ปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่ยังคงมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 101.1 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ภาษีจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 9.5 ชะลอตัวตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัว ร้อยละ 10.5 ชะลอตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ในประเทศ และภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากการผลิตยาสูบและ รถยนต์พาณิชย์ ซึ่งการผลิตลดลงในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงมากจากเดือนก่อน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจ บางแห่งนำส่งรายได้ล่าช้า สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล จำนวน 16.5 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออก มีมูลค่าสูงถึง 11.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เพราะสินค้าในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงและสินค้าเกษตรยังคงส่งออกดี ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้าว และยาง ทางด้านการนำเข้า มีมูลค่า 11.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 เป็นผลจากราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่ โลหะ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ดุลบัญชีเดินสะพัด ในเดือนนี้เกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ยอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากราคาในหมวดอาหารสดที่ชะลอตัวลง ตามราคาผักสดและผลไม้ รวมทั้งราคาไก่สดและไข่ไก่ ที่มีอุปทานออกสู่ตลาดมาก และราคาในหมวดพลังงานที่ชะลอตัวลงจากฐานสูงปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากฐานสูงปีก่อนที่เร่งขึ้นจากการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสาธารณะ ราคาอาหารบริโภคในบ้านนอกบ้าน และค่าเช่าบ้าน
ดัชนีราคาผู้ผลิตชะลอตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 9.2 จากร้อยละ 10.7 เพราะราคาสินค้าทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชะลอลง
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 119.6 พันล้านบาท หลังจากที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ลดลงช่วงปิดบัญชีครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานปีก่อนสูง ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 8.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้องจากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 1/ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่สถาบันการเงินอื่นลดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานปีก่อนที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 796.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)2/ ขยายตัวร้อยละ 10.0 8.0 9.0 และ 9.3 ตามลำดับ เป็นอัตราที่ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัวจากช่วงสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี ระหว่างวันที่ 1-24 สิงหาคม 2549 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวต่อเนื่องเช่นกัน
7. ค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 38.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพภายในช่วง 37.80-38.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสมดุลกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนที่ 38.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการคาดการณ์ของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม และภาวะตลาดเงินโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
ระหว่างวันที่ 1-24 สิงหาคม 2549 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 37.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีความต้องการเข้ามาถือสินทรัพย์บาทมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของเดือน
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณธรรมนูญ สดศรีชัย โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา e-mail: thammans@bot.or.th
1/ หมายถึง สินเชื่อภาคเอกชนรวมการถือครองหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
2/ หมายถึง ปริมาณเงินในความหมายที่กว้างกว่า M3 โดยได้รวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีลักษณะทดแทนเงินฝากได้ของสถาบันรับฝากเงินอื่น นอกเหนือจาก ธพ. บง. และ ธนาคารเฉพาะกิจ ในการจัดทำปริมาณเงินตามความหมายกว้างนี้ ธปท. ได้อ้างอิงคู่มือ Monetary and Financial Statistics Manual (MFSM2000) ของกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ รายละเอียดเกี่ยวกับนิยาม หลักการ และวิธีการจัดทำสามารถอ้างอิงได้จาก http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/EconData/EconFinance/download/MS06T.doc ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปี 2550 ธปท. จะเผยแพร่ปริมาณเงินตามความหมายกว้างแทนปริมาณเงินอื่น ๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรชะลอตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้รายได้เกษตรกรในเดือนนี้ขยายตัวลดลง การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเดือนก่อนเล็กน้อย สำหรับภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจ แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนนี้ปรับลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลง และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ สำหรับฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมปี 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากการผลิต ในหมวดสิ่งทอ เนื่องจากมีผู้ผลิตบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง ตามการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ที่ทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลายและกลุ่มสินค้าเหล็ก อย่างไรก็ตาม หมวดอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวดี เพราะการส่งออกจานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk Drive) และวงจรรวม (Integrated Circuit) เช่นเดียวกับการผลิตในหมวดเครื่องดื่มเร่งตัวขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.9 ลดลงจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราการใช้ กำลังการผลิต (ที่ปรับฤดูกาลแล้ว) อยู่ที่ร้อยละ 75.6 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 75.9 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เป็นผลจากฐานปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (ปรับฤดูกาล) ทุกรายการลดลง ยกเว้นปริมาณการใช้ไฟฟ้า ที่ยังคงเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้าง แม้ปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่ยังคงมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 101.1 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ภาษีจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 9.5 ชะลอตัวตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัว ร้อยละ 10.5 ชะลอตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ในประเทศ และภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากการผลิตยาสูบและ รถยนต์พาณิชย์ ซึ่งการผลิตลดลงในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงมากจากเดือนก่อน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจ บางแห่งนำส่งรายได้ล่าช้า สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล จำนวน 16.5 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออก มีมูลค่าสูงถึง 11.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เพราะสินค้าในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงและสินค้าเกษตรยังคงส่งออกดี ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ข้าว และยาง ทางด้านการนำเข้า มีมูลค่า 11.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 เป็นผลจากราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่ โลหะ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ดุลบัญชีเดินสะพัด ในเดือนนี้เกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ยอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 5.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากราคาในหมวดอาหารสดที่ชะลอตัวลง ตามราคาผักสดและผลไม้ รวมทั้งราคาไก่สดและไข่ไก่ ที่มีอุปทานออกสู่ตลาดมาก และราคาในหมวดพลังงานที่ชะลอตัวลงจากฐานสูงปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากฐานสูงปีก่อนที่เร่งขึ้นจากการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสาธารณะ ราคาอาหารบริโภคในบ้านนอกบ้าน และค่าเช่าบ้าน
ดัชนีราคาผู้ผลิตชะลอตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 9.2 จากร้อยละ 10.7 เพราะราคาสินค้าทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชะลอลง
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 119.6 พันล้านบาท หลังจากที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ลดลงช่วงปิดบัญชีครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานปีก่อนสูง ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 8.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้องจากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 1/ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่สถาบันการเงินอื่นลดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานปีก่อนที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 796.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)2/ ขยายตัวร้อยละ 10.0 8.0 9.0 และ 9.3 ตามลำดับ เป็นอัตราที่ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัวจากช่วงสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี ระหว่างวันที่ 1-24 สิงหาคม 2549 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวต่อเนื่องเช่นกัน
7. ค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 38.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพภายในช่วง 37.80-38.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสมดุลกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนที่ 38.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการคาดการณ์ของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคม และภาวะตลาดเงินโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
ระหว่างวันที่ 1-24 สิงหาคม 2549 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 37.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีความต้องการเข้ามาถือสินทรัพย์บาทมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของเดือน
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณธรรมนูญ สดศรีชัย โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา e-mail: thammans@bot.or.th
1/ หมายถึง สินเชื่อภาคเอกชนรวมการถือครองหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
2/ หมายถึง ปริมาณเงินในความหมายที่กว้างกว่า M3 โดยได้รวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีลักษณะทดแทนเงินฝากได้ของสถาบันรับฝากเงินอื่น นอกเหนือจาก ธพ. บง. และ ธนาคารเฉพาะกิจ ในการจัดทำปริมาณเงินตามความหมายกว้างนี้ ธปท. ได้อ้างอิงคู่มือ Monetary and Financial Statistics Manual (MFSM2000) ของกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ รายละเอียดเกี่ยวกับนิยาม หลักการ และวิธีการจัดทำสามารถอ้างอิงได้จาก http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/EconData/EconFinance/download/MS06T.doc ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปี 2550 ธปท. จะเผยแพร่ปริมาณเงินตามความหมายกว้างแทนปริมาณเงินอื่น ๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--