คุณถาม :ถ้าต้องการนำพ่อครัว/แม่ครัวไทยเข้าไปทำงานในกวางตุ้งต้องดำเนินการอย่างไร
EXIM ตอบ :กวางตุ้งเป็นมณฑลที่ประชากรมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงโดยมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศที่อยู่ในระดับราว 1ม2300 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี และประชากรนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านทั้งเพื่อการพบปะสังสรรค์หรือการเจรจาทางธุรกิจประกอบกับอาหารไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองกว่างโจวซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง เมืองเซินเจิ้น และเมืองจูไห่ ดังนั้น กวางตุ้งจึงเป็นมณฑลที่มีศักยภาพในการเข้าไปเปิดร้านอาหารไทย
ผู้ประกอบการที่เปิดร้านอาหารไทยในกวางตุ้งสามารถนำพ่อครัว/แม่ครัวไทยเข้าไปทำงานได้ โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลท้องถิ่นของกวางตุ้งกำหนดไว้ดังนี้
1.การขออนุยาตเดินทางเข้ากวางตุ้ง ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ ต่อ Public Security Department of Guangdong Province ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแล การเดินทางเข้าออกกวางตุ้งของชาวจีนและชาวต่างชาติ ได้แก่ ใบอนุญาตจัดตั้งร้านอาหาร หนังสือเชิญพ่อครัว/แม่ครัวมาทำงานในจีน หนังสือแจ้งเหตุผลความจำเป็นในการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย ประวัติพ่อครัว/แม่ครัว หนังสือรับรองการตรวจโรคและข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญของพ่อครัว/แม่ครัว และแบบฟอร์มใบสมัครทำงานในตำแหน่งคนครัว
2.การขอใบอนุญาตทำงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ เช่นเดียวกับข้อ 1 ต่อกรมแรงงานจีนประจำมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Labor Bureau)เพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้กับพ่อครัว/แม่ครัวไทย
3.การขึ้นทะเบียบและรับบัตรทำงาน เมื่อพ่อครัว/แม่ครัวไทยเดินทางถึงจีนแล้ว ผู้ประกอบการต้องพาไปตรวจสุขภาพที่ Department of Human Quarantine ประจำมณฑลกวางตุ้งโดยยื่นสำเนาหนังสือเดินทางพร้อมรูปถ่าย 3 ใบ หลังจากนั้นต้องพาไปรายงานตัวที่กรมแรงงานภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เดินทางถึงจีนเพื่อขึ้นทะเบียนและรับบัตรทำงาน โดยยื่นเอกสารสำคัญ ได้แก่ ใบอนุญาตจัดตั้งร้านอาหาร แบบฟอร์มใบสมัครงานในตำแหน่งคนครัวที่ได้รับการประทับตราจาก Public Security Department of Guangdong Province รูปขนาด 1 นิ้ว หนังสือเดินทาง ประวัติ สัญญาจ้างงาน ใบรายงานผลการตรวจสุขภาพของทางการจีน หนังสือรับรองต่างๆ และหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4.การขอถิ่นที่อยู่ให้แก่พ่อครัว/แม่ครัวไทย เมื่อพ่อครัว/แม่ครัวไทยได้รับบัตรทำงานแล้ว ผู้ประกอบการต้องพาไปรายงานตัวต่อ Public Security Department of Guangdong Province ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เดินทางถึงจีนเพื่อขออนุญาตเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในกวางตุ้ง โดยทั่วไปจะได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี หากครบกำหนดสามารถขอต่ออายุได้ปีต่อปี
คุณถาม :อยากทราบว่า Social Dumping คืออะไร
EXIM ตอบ : การทุ่มตลาด(Dumping) คือ การที่ผู้ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศคู่ค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดของประเทศผู้ส่งออกซึ่งเป็นการทุ่มตลาดด้านราคา (Price Dumping) อย่างำรก็ตาม การทุ่มตลาดที่เกิดขึ้นจริงมีหลายประเภท ได้แก่ การทุ่มตลาดจากการบริการ (Service Dumping)การทุ่มตลาดจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Dumping) และการทุ่มตลาดทางสังคม (Socil Dumping) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการทุ่มตลาดด้านราคาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและมีการกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมไว้อย่างชัดเจนกว่าการทุ่มตลาดประเภทอื่นๆ
สำหรับการทุ่มตลาดทางสังคม หรือ Socil Dumping เดิมหมายถึงการส่งออกสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยใช้ประโยชน์จากแรงงานนักโทษในการผลิตเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นโดยรวมถึงการส่งออกสินค้าราคาต่ำที่เกิดจากการจ้างแรงงานราคาถูกหรือแรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าไปด้วย
ในปี 2490 มีการบรรจุประเด็นการทุ่มตลาดทางสังคมบางส่วนไว้ในความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ฉบับปี 1947 ข้อ XX(e) ซึ่งกำหนดให้ภาคีสมาชิกของ GATT สามารถเลือกปฎิบัติต่อภาคีสมาชิกอื่นที่ใช้แรงงานนักโทษในการผลิตสินค้าส่งออกได้ ขณะเดียวกันก็มีการหยิบยกประเด็นการใช้แรงงานที่มีมาตรฐานต่ำเกินไปในการผลิตสินค้าให้ถือเป็นการทุ่มตลาดประเภทหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจึงพยายามผลักดันให้มีการเพิ่มประเด็นมาตรฐานแรงงานและสภาพแวลล้อมในการทำงานของแรงงานไว้ในเวทีเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)โดยอ้างถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร อย่างไรก็ตามประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศซึ่งใช้แรงงานราคาถูกเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทำให้ความพยายามที่จะบรรจุประเด็จมาตรฐานแรงงานไว้ในกติกาของ WTO ไม่ประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้ว่าการเจรจาการค้าภายใต้ WTO รอบล่าสุด (รอบโดฮา) ไม่มีการบรรจุประเด็นดังกล่าวไว้ในวาระการประชุม
แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศภายใต้กติกาของ WTO ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการในการขจัดการทุ่มตลาดทางสังคมได้ครอบคลุมทุกประเด็น แต่ในทางปฏิบัติประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมากสร้างกลไกของตอนเองเพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในลักษณะทุ่มตลาดทางสังคม ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงจำเป็นต้องติดตามและให้ความสำคัญกับกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการใช้แรงงานตลอดจนประเด็นทางสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้มาตรการทางการค้าในลักษณะดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดสินค้าไทยในเวทีการค้าโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
EXIM ตอบ :กวางตุ้งเป็นมณฑลที่ประชากรมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงโดยมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศที่อยู่ในระดับราว 1ม2300 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี และประชากรนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านทั้งเพื่อการพบปะสังสรรค์หรือการเจรจาทางธุรกิจประกอบกับอาหารไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองกว่างโจวซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง เมืองเซินเจิ้น และเมืองจูไห่ ดังนั้น กวางตุ้งจึงเป็นมณฑลที่มีศักยภาพในการเข้าไปเปิดร้านอาหารไทย
ผู้ประกอบการที่เปิดร้านอาหารไทยในกวางตุ้งสามารถนำพ่อครัว/แม่ครัวไทยเข้าไปทำงานได้ โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลท้องถิ่นของกวางตุ้งกำหนดไว้ดังนี้
1.การขออนุยาตเดินทางเข้ากวางตุ้ง ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ ต่อ Public Security Department of Guangdong Province ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแล การเดินทางเข้าออกกวางตุ้งของชาวจีนและชาวต่างชาติ ได้แก่ ใบอนุญาตจัดตั้งร้านอาหาร หนังสือเชิญพ่อครัว/แม่ครัวมาทำงานในจีน หนังสือแจ้งเหตุผลความจำเป็นในการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย ประวัติพ่อครัว/แม่ครัว หนังสือรับรองการตรวจโรคและข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญของพ่อครัว/แม่ครัว และแบบฟอร์มใบสมัครทำงานในตำแหน่งคนครัว
2.การขอใบอนุญาตทำงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ เช่นเดียวกับข้อ 1 ต่อกรมแรงงานจีนประจำมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Labor Bureau)เพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้กับพ่อครัว/แม่ครัวไทย
3.การขึ้นทะเบียบและรับบัตรทำงาน เมื่อพ่อครัว/แม่ครัวไทยเดินทางถึงจีนแล้ว ผู้ประกอบการต้องพาไปตรวจสุขภาพที่ Department of Human Quarantine ประจำมณฑลกวางตุ้งโดยยื่นสำเนาหนังสือเดินทางพร้อมรูปถ่าย 3 ใบ หลังจากนั้นต้องพาไปรายงานตัวที่กรมแรงงานภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เดินทางถึงจีนเพื่อขึ้นทะเบียนและรับบัตรทำงาน โดยยื่นเอกสารสำคัญ ได้แก่ ใบอนุญาตจัดตั้งร้านอาหาร แบบฟอร์มใบสมัครงานในตำแหน่งคนครัวที่ได้รับการประทับตราจาก Public Security Department of Guangdong Province รูปขนาด 1 นิ้ว หนังสือเดินทาง ประวัติ สัญญาจ้างงาน ใบรายงานผลการตรวจสุขภาพของทางการจีน หนังสือรับรองต่างๆ และหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4.การขอถิ่นที่อยู่ให้แก่พ่อครัว/แม่ครัวไทย เมื่อพ่อครัว/แม่ครัวไทยได้รับบัตรทำงานแล้ว ผู้ประกอบการต้องพาไปรายงานตัวต่อ Public Security Department of Guangdong Province ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เดินทางถึงจีนเพื่อขออนุญาตเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในกวางตุ้ง โดยทั่วไปจะได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี หากครบกำหนดสามารถขอต่ออายุได้ปีต่อปี
คุณถาม :อยากทราบว่า Social Dumping คืออะไร
EXIM ตอบ : การทุ่มตลาด(Dumping) คือ การที่ผู้ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศคู่ค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดของประเทศผู้ส่งออกซึ่งเป็นการทุ่มตลาดด้านราคา (Price Dumping) อย่างำรก็ตาม การทุ่มตลาดที่เกิดขึ้นจริงมีหลายประเภท ได้แก่ การทุ่มตลาดจากการบริการ (Service Dumping)การทุ่มตลาดจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Dumping) และการทุ่มตลาดทางสังคม (Socil Dumping) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการทุ่มตลาดด้านราคาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและมีการกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมไว้อย่างชัดเจนกว่าการทุ่มตลาดประเภทอื่นๆ
สำหรับการทุ่มตลาดทางสังคม หรือ Socil Dumping เดิมหมายถึงการส่งออกสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยใช้ประโยชน์จากแรงงานนักโทษในการผลิตเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นโดยรวมถึงการส่งออกสินค้าราคาต่ำที่เกิดจากการจ้างแรงงานราคาถูกหรือแรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าไปด้วย
ในปี 2490 มีการบรรจุประเด็นการทุ่มตลาดทางสังคมบางส่วนไว้ในความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ฉบับปี 1947 ข้อ XX(e) ซึ่งกำหนดให้ภาคีสมาชิกของ GATT สามารถเลือกปฎิบัติต่อภาคีสมาชิกอื่นที่ใช้แรงงานนักโทษในการผลิตสินค้าส่งออกได้ ขณะเดียวกันก็มีการหยิบยกประเด็นการใช้แรงงานที่มีมาตรฐานต่ำเกินไปในการผลิตสินค้าให้ถือเป็นการทุ่มตลาดประเภทหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจึงพยายามผลักดันให้มีการเพิ่มประเด็นมาตรฐานแรงงานและสภาพแวลล้อมในการทำงานของแรงงานไว้ในเวทีเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)โดยอ้างถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร อย่างไรก็ตามประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศซึ่งใช้แรงงานราคาถูกเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทำให้ความพยายามที่จะบรรจุประเด็จมาตรฐานแรงงานไว้ในกติกาของ WTO ไม่ประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้ว่าการเจรจาการค้าภายใต้ WTO รอบล่าสุด (รอบโดฮา) ไม่มีการบรรจุประเด็นดังกล่าวไว้ในวาระการประชุม
แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศภายใต้กติกาของ WTO ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการในการขจัดการทุ่มตลาดทางสังคมได้ครอบคลุมทุกประเด็น แต่ในทางปฏิบัติประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมากสร้างกลไกของตอนเองเพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในลักษณะทุ่มตลาดทางสังคม ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงจำเป็นต้องติดตามและให้ความสำคัญกับกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการใช้แรงงานตลอดจนประเด็นทางสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้มาตรการทางการค้าในลักษณะดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดสินค้าไทยในเวทีการค้าโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-