นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แถลงความคืบหน้า
โครงสร้างส่วนต่อขยายที่เป็นสถานีกับการระบบวางราง ว่ามีความคืบหน้าไปประมาณ 54% ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้โครงสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จ โดยทาง กทม.จะมีการทดสอบระบบในช่วงประมาณเดือนเมษายน — พฤษภาคมในปี 2550 ซึ่งหมายความว่าประชาชนฝั่งธนฯ จะได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าของ กทม.วิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันต้องใช้เวลาชั่วโมงถึงชั่วโมงครึ่งในการที่ต้องเสียเวลารถติดอยู่บนสะพานตากสิน ซึ่งถ้ารถไฟฟ้าต่อได้ใช้เวลาแค่ประมาณ 5 - 10 นาทีซึ่งก็จะเร็วมาก
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีรถไฟฟ้า 2 ระบบ คือบีทีเอส ที่กรุงเทพมหานครดูแลโดยตรงระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร วิ่ง 2 สาย คือสายสุขุมวิทและสีลม ซึ่งปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครมีโครงการส่วนต่อขยายจากบริเวณสาทร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางประมาณ 2.2 กิโลเมตร นอกจากนั้น กทม.ได้มีการเริ่มโครงการส่วนต่อขยายเส้นที่ 2 ก็คือเส้นสุขุมวิทจากอ่อนนุชไปถึงซอยแบริ่งหรือสุขุมวิท 107 ระยะทางประมาณ 5.25 กิโลเมตรซึ่งวันศุกร์ที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆอาจจะมีความไม่สะดวกในช่วงต้นก็คือมีการปิดการจราจรในช่วงกลางคืนประมาณช่วง 22.00 - 05.00 น.ของวันรุ่งซึ่งส่วนต่อขยายจากอ่อนนุชไปถึงบริเวณสุขุมวิช 107 ก็จะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2552 กับอีกเส้นหนึ่งก็คือเส้นจากหมอชิตเลยไปถึงสี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตรก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีหน้า
“สิ่งที่ผมอยากให้ประชาชนทราบว่า จริงๆแล้วความคืบหน้าของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเมื่อเทียบกับการที่จะรอพร้อมกันใหม่ไม่ว่าจะเป็นระยะทางกี่ร้อยกิโลเมตรและกี่เส้นทางก็ตาม เพราะว่าปัญหาวันนี้คือ น้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นทุกวันและประชาชนก็เสียเวลาทุกวันช่วงเช้าและช่วงเย็น กทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายว่าจะผลักดันส่วนต่อขยายให้ครบถ้วน ยกตัวอย่างจากปัจจุบันที่เริ่มสร้างแล้ว 2.2 กิโลเมตรถึงวงเวียนใหญ่ อีกหน่อยก็จะผลักดันให้ครบเส้นไปถึงไปถึงที่เพชรเกษม แถวบางหว้า” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า ในกรณีเส้นอ่อนนุชไปถึงสุขุมวิท 107 ระยะยาวจะไปถึงสำโรง ประชาชนแถวสมุทรปราการก็จะได้ใช้บริการ ส่วนเส้นที่ไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะขยายไปให้สุดเขตที่สะพานใหม่ซึ่งโครงการทั้งหมดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้แถลงทั้งหมด 7 สายก็คือระยะทางรวม 139 กิโลเมตรซึ่งจะประกอบไปด้วยสายสีแดง รังสิต — หัวลำโพง และ พญาไท — อโศก — สนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนสายสีเขียว ตนได้เล่าให้ฟังแล้วในส่วนต่อขยายที่ กทม.กำลังดำเนินการอยู่ในระยะแรก และก็มีสายสีน้ำเงิน บางซื่อ — ท่าพระ — หัวลำโพง และสายสีม่วง แคราย — บางใหญ่
“นอกเหนือจากการเส้นทางที่ส่วนหนึ่งมาจากแผ่นแม่บทที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว สิ่งที่มีความสำคัญอีกเรื่องคือในเรื่องของระบบเชื่อมต่อซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เองได้ศึกษาแผนแม่บททั้งหมดไม่เฉพาะเครือข่ายที่เป็นรถไฟฟ้าอย่างเดียว แต่หมายความว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ตามตรอกซอกซอย ตามหมู่บ้านตามพื้นที่ต่างๆ จะเดินทางมาขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างไร ฉะนั้น ต้องดูจากบ้านของประชาชนว่าจะเดินทางถึงจุดที่จะไปต่อรถไฟฟ้า ถ้าเป็นคนที่สัญจรโดยระบบสาธารณะทั่วไป เช่น เดินเท้าไปต่อรถเมล์ จากรถเมล์ไปขึ้นรถไฟฟ้า หรือขึ้นรถวินมอเตอร์ไซด์ด้วย” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์คือจะต้องมี 1.การเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเดินให้มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะดวกที่จะเดินหรือขึ้นจุดต่อรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ต่อได้ 2.วินมอเตอร์ไซด์ก็จะปรับปรุงให้มีความปลอดภัย มีความสะดวกในการสัญจรจากที่อยู่ในซอย หรือเส้นทางจักรยานที่หลายคนที่ใช้จักรยานอยู่ต้องมีจุดจอดรถจักรยานบริเวณสถานีรถไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ก็มีการผลักดันในส่วนของกรุงเทพมหานครที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วกับอีกส่วนหนึ่งประชาชนที่ขับรถต้องมีการสำรวจจุดจอดแล้วจร ซึ่งปัจจุบันในส่วนต่อขยาย กทม.ดูแลอยู่ก็จะสำรวจจุดจอดแล้วจรไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น ต้องมองทั้งระบบ
“ส่วนที่ 2 ก็คือระบบเชื่อมต่อที่ใช้ระบบรถเมล์ด่วนพิเศษที่เรียกว่า บีอาร์ที โครงการนี้เป็นอีกโครงการที่จะช่วยประหยัดระยะเวลาและก็มีความสะดวก มีมาตรฐานเหมือนขึ้นรถไฟฟ้า แต่เป็นระบบที่วิ่งชิดเกาะกลางถนน และค่าก่อสร้างถูกกว่าและเร็วกว่ากับอีกระบบหนึ่งคือระบบขนาดเบา เรียกอีกชื่อว่า โมโนเรล ซึ่งอันนี้ก็จะช่วยเชื่อมต่อใน loop นอกเหนือจากเส้นทางหลัก 7 สายของพรรคประชาธิปัตย์” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่ 2 ก็ที่มีความสำคัญในเรื่องของการปรับเส้นทางของรถเมล์ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางที่จะมีรถไฟฟ้า ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนและไม่ก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดในเส้นทางที่ประชาชนมีทางเลือกที่จะขึ้นรถไฟฟ้าได้ และสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดอีกเรื่องหนึ่งคือ ระบบตั๋วร่วมไม่ว่าจะเดินทางด้วยระบบไหนประชาชนก็จะมีความสะดวก เวลาเชื่อมต่อระบบก็จะเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว แทนที่วันนี้จะขึ้นรถใต้ดินและมาต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ต้องเสียค่าแรกเข้า 2 ครั้ง
“สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นนอกเหนือจากเส้นทางหลัก พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอคือ การบูรณาการเส้นทางการสัญจรทั้งหมดเพื่อให้ประชาชนได้มีความสะดวกและก็สามารถที่จะเดินทางได้ตามความเป็นจริงในชีวิตปัจจุบันที่เป็นอยู่” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--
โครงสร้างส่วนต่อขยายที่เป็นสถานีกับการระบบวางราง ว่ามีความคืบหน้าไปประมาณ 54% ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้โครงสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จ โดยทาง กทม.จะมีการทดสอบระบบในช่วงประมาณเดือนเมษายน — พฤษภาคมในปี 2550 ซึ่งหมายความว่าประชาชนฝั่งธนฯ จะได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าของ กทม.วิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันต้องใช้เวลาชั่วโมงถึงชั่วโมงครึ่งในการที่ต้องเสียเวลารถติดอยู่บนสะพานตากสิน ซึ่งถ้ารถไฟฟ้าต่อได้ใช้เวลาแค่ประมาณ 5 - 10 นาทีซึ่งก็จะเร็วมาก
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีรถไฟฟ้า 2 ระบบ คือบีทีเอส ที่กรุงเทพมหานครดูแลโดยตรงระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร วิ่ง 2 สาย คือสายสุขุมวิทและสีลม ซึ่งปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครมีโครงการส่วนต่อขยายจากบริเวณสาทร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางประมาณ 2.2 กิโลเมตร นอกจากนั้น กทม.ได้มีการเริ่มโครงการส่วนต่อขยายเส้นที่ 2 ก็คือเส้นสุขุมวิทจากอ่อนนุชไปถึงซอยแบริ่งหรือสุขุมวิท 107 ระยะทางประมาณ 5.25 กิโลเมตรซึ่งวันศุกร์ที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆอาจจะมีความไม่สะดวกในช่วงต้นก็คือมีการปิดการจราจรในช่วงกลางคืนประมาณช่วง 22.00 - 05.00 น.ของวันรุ่งซึ่งส่วนต่อขยายจากอ่อนนุชไปถึงบริเวณสุขุมวิช 107 ก็จะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2552 กับอีกเส้นหนึ่งก็คือเส้นจากหมอชิตเลยไปถึงสี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตรก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีหน้า
“สิ่งที่ผมอยากให้ประชาชนทราบว่า จริงๆแล้วความคืบหน้าของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเมื่อเทียบกับการที่จะรอพร้อมกันใหม่ไม่ว่าจะเป็นระยะทางกี่ร้อยกิโลเมตรและกี่เส้นทางก็ตาม เพราะว่าปัญหาวันนี้คือ น้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นทุกวันและประชาชนก็เสียเวลาทุกวันช่วงเช้าและช่วงเย็น กทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายว่าจะผลักดันส่วนต่อขยายให้ครบถ้วน ยกตัวอย่างจากปัจจุบันที่เริ่มสร้างแล้ว 2.2 กิโลเมตรถึงวงเวียนใหญ่ อีกหน่อยก็จะผลักดันให้ครบเส้นไปถึงไปถึงที่เพชรเกษม แถวบางหว้า” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า ในกรณีเส้นอ่อนนุชไปถึงสุขุมวิท 107 ระยะยาวจะไปถึงสำโรง ประชาชนแถวสมุทรปราการก็จะได้ใช้บริการ ส่วนเส้นที่ไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะขยายไปให้สุดเขตที่สะพานใหม่ซึ่งโครงการทั้งหมดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้แถลงทั้งหมด 7 สายก็คือระยะทางรวม 139 กิโลเมตรซึ่งจะประกอบไปด้วยสายสีแดง รังสิต — หัวลำโพง และ พญาไท — อโศก — สนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนสายสีเขียว ตนได้เล่าให้ฟังแล้วในส่วนต่อขยายที่ กทม.กำลังดำเนินการอยู่ในระยะแรก และก็มีสายสีน้ำเงิน บางซื่อ — ท่าพระ — หัวลำโพง และสายสีม่วง แคราย — บางใหญ่
“นอกเหนือจากการเส้นทางที่ส่วนหนึ่งมาจากแผ่นแม่บทที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว สิ่งที่มีความสำคัญอีกเรื่องคือในเรื่องของระบบเชื่อมต่อซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เองได้ศึกษาแผนแม่บททั้งหมดไม่เฉพาะเครือข่ายที่เป็นรถไฟฟ้าอย่างเดียว แต่หมายความว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ตามตรอกซอกซอย ตามหมู่บ้านตามพื้นที่ต่างๆ จะเดินทางมาขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างไร ฉะนั้น ต้องดูจากบ้านของประชาชนว่าจะเดินทางถึงจุดที่จะไปต่อรถไฟฟ้า ถ้าเป็นคนที่สัญจรโดยระบบสาธารณะทั่วไป เช่น เดินเท้าไปต่อรถเมล์ จากรถเมล์ไปขึ้นรถไฟฟ้า หรือขึ้นรถวินมอเตอร์ไซด์ด้วย” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์คือจะต้องมี 1.การเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเดินให้มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะดวกที่จะเดินหรือขึ้นจุดต่อรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ต่อได้ 2.วินมอเตอร์ไซด์ก็จะปรับปรุงให้มีความปลอดภัย มีความสะดวกในการสัญจรจากที่อยู่ในซอย หรือเส้นทางจักรยานที่หลายคนที่ใช้จักรยานอยู่ต้องมีจุดจอดรถจักรยานบริเวณสถานีรถไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ก็มีการผลักดันในส่วนของกรุงเทพมหานครที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วกับอีกส่วนหนึ่งประชาชนที่ขับรถต้องมีการสำรวจจุดจอดแล้วจร ซึ่งปัจจุบันในส่วนต่อขยาย กทม.ดูแลอยู่ก็จะสำรวจจุดจอดแล้วจรไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น ต้องมองทั้งระบบ
“ส่วนที่ 2 ก็คือระบบเชื่อมต่อที่ใช้ระบบรถเมล์ด่วนพิเศษที่เรียกว่า บีอาร์ที โครงการนี้เป็นอีกโครงการที่จะช่วยประหยัดระยะเวลาและก็มีความสะดวก มีมาตรฐานเหมือนขึ้นรถไฟฟ้า แต่เป็นระบบที่วิ่งชิดเกาะกลางถนน และค่าก่อสร้างถูกกว่าและเร็วกว่ากับอีกระบบหนึ่งคือระบบขนาดเบา เรียกอีกชื่อว่า โมโนเรล ซึ่งอันนี้ก็จะช่วยเชื่อมต่อใน loop นอกเหนือจากเส้นทางหลัก 7 สายของพรรคประชาธิปัตย์” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายอภิรักษ์กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่ 2 ก็ที่มีความสำคัญในเรื่องของการปรับเส้นทางของรถเมล์ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางที่จะมีรถไฟฟ้า ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนและไม่ก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดในเส้นทางที่ประชาชนมีทางเลือกที่จะขึ้นรถไฟฟ้าได้ และสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดอีกเรื่องหนึ่งคือ ระบบตั๋วร่วมไม่ว่าจะเดินทางด้วยระบบไหนประชาชนก็จะมีความสะดวก เวลาเชื่อมต่อระบบก็จะเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว แทนที่วันนี้จะขึ้นรถใต้ดินและมาต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ต้องเสียค่าแรกเข้า 2 ครั้ง
“สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นนอกเหนือจากเส้นทางหลัก พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอคือ การบูรณาการเส้นทางการสัญจรทั้งหมดเพื่อให้ประชาชนได้มีความสะดวกและก็สามารถที่จะเดินทางได้ตามความเป็นจริงในชีวิตปัจจุบันที่เป็นอยู่” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--