กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2548 และปี 2548 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2548 เท่ากับ 111.4 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2548 เท่ากับ 111.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 0.1
2.2 เดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นร้อยละ 5.8
2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2548 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.5
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เทียบกับ เดือนพฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่อยู่ในอัตราที่สูงกว่า (พฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 0.7) จากการลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหาร ซึ่งลดลงร้อยละ 0.6 โดยราคาสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงได้แก่ ผักสด และผลไม้ ไข่ไก่ ไก่สด และข้าวสารเจ้า อย่างไรก็ตามราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคากลับสูงขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่สูงขึ้น ทำให้ราคาขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ 16.2ประกอบกับมีการปรับราคาจำหน่ายน้ำมันเบนซิน และดีเซลในประเทศ รวมทั้งค่าทัศนาจรต่างประเทศสูงขึ้น
4. เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ร้อยละ 5.8 (เดือนพฤศจิกายน ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 5.9) เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงในเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ที่อัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าเดือนที่แล้วคือร้อยละ 6.0 และ 5.9 ขณะที่ ภาคใต้ทรงตัวอยู่ในระดับร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เนื่องจากราคาสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เริ่มขยับตัวสูงขึ้นเท่ากับภาคอื่น เช่น อาหารสำเร็จรูป ข้าวราดแกง รวมถึงค่าบริการในการรักษาพยาบาล
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเฉลี่ยทั้งปี 2548 เท่ากับ 109.3 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ปัจจัยหลักสำคัญเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นค่อนข้างมากในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่ากระแสไฟฟ้า ปรับราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปกำกับดูแลโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ทำให้ดัชนีราคาลดลงในช่วง 2 เดือนหลังของปี
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เท่ากับ 103.4เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤศจิกายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
6.2 เดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นร้อยละ 2.6
6.3 เฉลี่ยทั้งปี 2548 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2548 เท่ากับ 111.4 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2548 เท่ากับ 111.5
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 0.1
2.2 เดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นร้อยละ 5.8
2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2548 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.5
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เทียบกับ เดือนพฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่อยู่ในอัตราที่สูงกว่า (พฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 0.7) จากการลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหาร ซึ่งลดลงร้อยละ 0.6 โดยราคาสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงได้แก่ ผักสด และผลไม้ ไข่ไก่ ไก่สด และข้าวสารเจ้า อย่างไรก็ตามราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคากลับสูงขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่สูงขึ้น ทำให้ราคาขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ 16.2ประกอบกับมีการปรับราคาจำหน่ายน้ำมันเบนซิน และดีเซลในประเทศ รวมทั้งค่าทัศนาจรต่างประเทศสูงขึ้น
4. เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ร้อยละ 5.8 (เดือนพฤศจิกายน ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 5.9) เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงในเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ที่อัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าเดือนที่แล้วคือร้อยละ 6.0 และ 5.9 ขณะที่ ภาคใต้ทรงตัวอยู่ในระดับร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เนื่องจากราคาสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เริ่มขยับตัวสูงขึ้นเท่ากับภาคอื่น เช่น อาหารสำเร็จรูป ข้าวราดแกง รวมถึงค่าบริการในการรักษาพยาบาล
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเฉลี่ยทั้งปี 2548 เท่ากับ 109.3 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ปัจจัยหลักสำคัญเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นค่อนข้างมากในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่ากระแสไฟฟ้า ปรับราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปกำกับดูแลโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ทำให้ดัชนีราคาลดลงในช่วง 2 เดือนหลังของปี
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2548 เท่ากับ 103.4เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤศจิกายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.2
6.2 เดือนธันวาคม 2547 สูงขึ้นร้อยละ 2.6
6.3 เฉลี่ยทั้งปี 2548 เทียบกับปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--