นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าไทยส่งออกโดยใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 1,258.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 20.03 ของมูลค่าการส่งออกรวมไปยังประเทศในอาเซียน เมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกภายใต้ CEPT ช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 1,167.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.80 ประเทศที่ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT มากที่สุด คือ อินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ 431.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น ร้อยละ 34 ของมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ รองลงมา คือ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นร้อยละ 25, 19, 17 ตามลำดับ
สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าใช้สิทธิพิเศษฯ รวม 1,123.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ซี่งมีมูลค่า 1,051.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นร้อยละ 6.90 รายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT สูง ได้แก่ รถยนต์บุคคล ส่วนประกอบรถยนต์ ยานยนต์สำหรับขนส่ง แชมพู ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ซีเมนต์เม็ด และตู้เย็น
ส่วนสินค้าเกษตรที่มีมูลค่า 134.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 116.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 15.96 รายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT สูง ได้แก่ สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง อาหารปรุงแต่ง ข้าวโพดสด หอมหัวใหญ่ กากน้ำตาล
ปลาแห้ง
เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT กับมูลค่าการส่งออกรายประเทศ ประเทศที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มูลค่าใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 54 ของการส่งออก ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 38 เวียดนาม ร้อยละ 36 และมาเลเซีย ร้อยละ 20 ส่วนประเทศที่ใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออก ได้แก่ กัมพูชา มูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 0.10 พม่า ร้อยละ 0.19 และลาว ร้อยละ 2.16 สาเหตุหนึ่งที่ใช้สิทธิพิเศษฯ น้อยเนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าว แต่ละครั้งมีมูลค่าน้อย
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงมาตรการเร่งลดภาษีสินค้า 9 สาขา ภายใต้สิทธิพิเศษฯ CEPT จากการที่อาเซียนกำหนดมาตรการเร่งลดภาษีภายใต้ CEPT สำหรับสินค้าใน 9 สาขา ได้แก่ สาขาเกษตร สาขาประมง สาขาไม้ สาขายาง สาขาสิ่งทอ สาขายานยนต์ สาขาอิเล็กทรอนิคส์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ จากเดิมกำหนดเวลาลดภาษีภายใต้ CEPT เป็น 0 ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม 6
ประเทศ ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ จะลดเป็น 0 ในปี 2558 เป็นเร่งเวลาในการลดภาษีเร็วขึ้นเป็นปี 2550 และ2555 ตามลำดับ การยกเว้นภาษีภายใต้ CEPT ดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th e-mail : tpdft@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าใช้สิทธิพิเศษฯ รวม 1,123.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ซี่งมีมูลค่า 1,051.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นร้อยละ 6.90 รายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT สูง ได้แก่ รถยนต์บุคคล ส่วนประกอบรถยนต์ ยานยนต์สำหรับขนส่ง แชมพู ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ซีเมนต์เม็ด และตู้เย็น
ส่วนสินค้าเกษตรที่มีมูลค่า 134.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 116.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 15.96 รายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ภายใต้ CEPT สูง ได้แก่ สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง อาหารปรุงแต่ง ข้าวโพดสด หอมหัวใหญ่ กากน้ำตาล
ปลาแห้ง
เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT กับมูลค่าการส่งออกรายประเทศ ประเทศที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มูลค่าใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 54 ของการส่งออก ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 38 เวียดนาม ร้อยละ 36 และมาเลเซีย ร้อยละ 20 ส่วนประเทศที่ใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออก ได้แก่ กัมพูชา มูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 0.10 พม่า ร้อยละ 0.19 และลาว ร้อยละ 2.16 สาเหตุหนึ่งที่ใช้สิทธิพิเศษฯ น้อยเนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าว แต่ละครั้งมีมูลค่าน้อย
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงมาตรการเร่งลดภาษีสินค้า 9 สาขา ภายใต้สิทธิพิเศษฯ CEPT จากการที่อาเซียนกำหนดมาตรการเร่งลดภาษีภายใต้ CEPT สำหรับสินค้าใน 9 สาขา ได้แก่ สาขาเกษตร สาขาประมง สาขาไม้ สาขายาง สาขาสิ่งทอ สาขายานยนต์ สาขาอิเล็กทรอนิคส์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ จากเดิมกำหนดเวลาลดภาษีภายใต้ CEPT เป็น 0 ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม 6
ประเทศ ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ จะลดเป็น 0 ในปี 2558 เป็นเร่งเวลาในการลดภาษีเร็วขึ้นเป็นปี 2550 และ2555 ตามลำดับ การยกเว้นภาษีภายใต้ CEPT ดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th e-mail : tpdft@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-