ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของ
ค่าเงินบาทขณะนี้ ซึ่งเคลื่อนไหวที่ประมาณ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ว่า ถือว่ามีเสถียรภาพและมีแนวโน้มที่ไม่ผันผวนมากนัก ทำให้ ธปท.ไม่จำ
เป็นต้องเข้าไปทำอะไรมาก แม้ว่าตอนนี้ค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น เงินเยนญี่ปุ่น และเงินยูโร จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
ก็ตาม สำหรับการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท.ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ถือว่าเป็นภาระของ ธปท. ส่วนเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาใน
ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น ก็ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ระบุสถานการณ์การเมืองที่ผ่อนคลายลงน่าจะช่วยให้ความเชื่อมั่นฟื้นตัวขึ้น นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย
เศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินกรณีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นที่น่าจะกลับมา จึงเห็นว่าขณะนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคธุรกิจน่าจะมีการ
ลงทุน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังไม่สูงมากนัก และเงินบาทที่แข็งค่าช่วยให้ต้นทุนการนำเข้าต่างๆ ถูกลงด้วย ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้า
ตัดสินใจลงทุน เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นแต่ผู้ประกอบการส่งผ่านไปยังราคาสินค้าได้ไม่เต็มที่นั้น เชื่อว่าหาก ก.พาณิชย์ทยอยประกาศปรับขึ้นราคาสินค้า
เพื่อสะท้อนต้นทุนมากยิ่งขึ้น จะช่วยลดข้อจำกัดของผู้ประกอบการได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท.จะดูแลให้เศรษฐกิจของ
ประเทศมีเสถียรภาพมากที่สุด ซึ่งทุกฝ่ายควรปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามครรลองที่ถูกต้อง (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. ก.คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยในปี 49 จะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวว่า ก.คลังยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะขยายตัวลดลงจากที่
คาดการณ์ไว้ที่ 4.5-5.5% ก็ตาม โดยยอมรับว่าปัญหาน้ำมันขณะนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งขณะนี้
สศค.อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด และรัฐบาลก็ได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นมุ่ง
ช่วยในรายกลุ่ม (เซกเตอร์) เป็นหลัก ทั้งนี้ ยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการลดภาษีน้ำมัน เพราะถือว่าเป็นการบิดเบือนตลาด
ถ้าหากนำมาใช้ก็จะส่งผลกระทบต่อ งปม.ของประเทศในระยะยาว (ผู้จัดการรายวัน)
4. ไทยตัดสินใจไม่ร่วมลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดทำความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ซึ่งมีกำหนดที่สมาชิกจะลงนามความตกลง
ร่วมกันในเดือน พ.ค.49 และความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.49 ว่า ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่ร่วมเจรจาจัดทำเขตการค้า
เสรีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตัดสินใจที่จะไม่ร่วมลงนามในความตกลงดังกล่าว โดยได้ขอถอนตัวลงนามร่วมกับ 9 ประเทศสมาชิกที่เหลือ ทั้งนี้
เนื่องจากไม่พอใจผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเจรจาร่วมกับเกาหลี และไม่สามารถตกลงในรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดได้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ต่อปีสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 พ.ค.49
สมาคมผู้ค้าปลีกของอังกฤษหรือ BRC รายงานยอดค้าปลีกของร้านเดียวกัน (same store sales) ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อ
เทียบกับเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดต่อปีนับตั้งแต่เดือน มี.ค.45 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน มี.ค.49 อย่างไรก็ดี BRC เตือน
ให้ระวังการเปรียบเทียบยอดขายต่อปีดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้ตกอยู่ในเดือน เม.ย. ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ในเดือน มี.ค. แต่
อย่างไรก็ตามเมื่อนำยอดขายในเดือน มี.ค.และ เม.ย.49 มารวมกัน same store sales ก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจาก
สภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นในเดือน เม.ย.49 เมื่อประกอบกับช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลอีสเตอร์ทำให้ยอดขายเสื้อผ้าและอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยอดขายสินค้าที่เกี่ยวกับการแต่งบ้านและสวนรวมถึงเฟอร์นิเจอร์และพรมก็เพิ่มขึ้นเมื่อชาวอังกฤษใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวตกแต่งบ้านของพวกเขา
ใหม่ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ ธ.กลางอังกฤษจะเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปี(รอยเตอร์)
2. การส่งออกของมาเลเซียเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ
มาเลเซีย เมื่อวันที่ 8 พ.ค.49 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่ง
เป็นอัตราการเพิ่มที่ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเดือน ก.ย.48 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกและเป็นดัชนีชี้วัดศักยภาพของการส่งออกด้วย ทำให้ตัวเลขเกินดุลการ
ค้าลดลงเหลือ 9.6 พันล้านริงกิต (2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 10.2 พันล้านริงกิต จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกของ
มาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 100% ของจีดีพี นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 โดยผลผลิตโรงงานที่มีสัดส่วน 2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในช่วง 3 เดือนแรก
ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าไม่รู้สึกกังวลและคาดว่าความต้องการสินค้าของมาเลเซียในตลาดโลกที่ยังดีอยู่จะทำให้ตัวเลข
ในเดือนต่อ ๆ ไปปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 96.6
รายงานจากเกาหลีใต้ เมื่อ 9 พ.ค. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดความรู้สึกของ
ผู้บริโภคเกี่ยวกับความคาดหวังด้านภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลใน 6 เดือนข้างหน้า โดยในเดือน เม.ย.49 ดัชนีลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 96.6 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ลดลงจากระดับ 100.7 ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
ที่ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ตั้งแต่เคยลดลงต่ำสุดที่ระดับ 99 เมื่อเดือน ส.ค.48 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่ระดับต่ำกว่า 100 นั่นหมายถึงว่าผู้บริโภค
ส่วนใหญ่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลจะเลวร้ายลงใน 6 เดือนข้างหน้า อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นดัชนีที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้เฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดถึงความต้องการภายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในประเทศ
(จีดีพี) เกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 จะเติบโตร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากเชียงไฮ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 49
รายงานการวิจัยของ the State Information Center และตีพิมพ์ในวารสารตลาดหลักทรัพย์ของจีน คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เศรษฐกิจจีนจะ
ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 10.2 ในไตรมาสแรก ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ผลการสำรวจได้เสนอให้ทางการจีนดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อที่จะจำกัดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ทำให้
ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น โดยได้แสดงความเห็นว่าต้องปรับเพิ่มต้นทุนเงินทุนโดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และกำหนดให้ ธพ. เพิ่มทุนสำรองให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันควรที่จะต้องจับตาการสูงขึ้นอย่างมากของราคาสินทรัพย์ สำหรับปริมาณเงินหมุนเวียน M2 ที่เป็นเครื่องชี้วัดสภาพคล่อง
ในระบบ ธพ. ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 18.8 และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่แล้ว แต่สูงกว่าเป้าหมายของทางการจีนที่ร้อยละ
16 ได้สร้างความวิตกให้แก่ทางการจีนเนื่องจากการฟื้นตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อาจส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้น และก่อให้เกิดหนี้
เสียในระบบการเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้ทางการจีนจัดการกับทุนสำรองระหว่างประเทศและเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ทำ
ให้จีนเกินดุลการค้าจำนวนมหาศาลด้วย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ค. 49 8 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.537 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3677/37.6596 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83703 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 782.91/ 20.55 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,100/12,200 12,100/12,200 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.48 64.14 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของ
ค่าเงินบาทขณะนี้ ซึ่งเคลื่อนไหวที่ประมาณ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ว่า ถือว่ามีเสถียรภาพและมีแนวโน้มที่ไม่ผันผวนมากนัก ทำให้ ธปท.ไม่จำ
เป็นต้องเข้าไปทำอะไรมาก แม้ว่าตอนนี้ค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น เงินเยนญี่ปุ่น และเงินยูโร จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
ก็ตาม สำหรับการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท.ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ถือว่าเป็นภาระของ ธปท. ส่วนเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาใน
ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น ก็ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ระบุสถานการณ์การเมืองที่ผ่อนคลายลงน่าจะช่วยให้ความเชื่อมั่นฟื้นตัวขึ้น นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย
เศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินกรณีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นที่น่าจะกลับมา จึงเห็นว่าขณะนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคธุรกิจน่าจะมีการ
ลงทุน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังไม่สูงมากนัก และเงินบาทที่แข็งค่าช่วยให้ต้นทุนการนำเข้าต่างๆ ถูกลงด้วย ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้า
ตัดสินใจลงทุน เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นแต่ผู้ประกอบการส่งผ่านไปยังราคาสินค้าได้ไม่เต็มที่นั้น เชื่อว่าหาก ก.พาณิชย์ทยอยประกาศปรับขึ้นราคาสินค้า
เพื่อสะท้อนต้นทุนมากยิ่งขึ้น จะช่วยลดข้อจำกัดของผู้ประกอบการได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท.จะดูแลให้เศรษฐกิจของ
ประเทศมีเสถียรภาพมากที่สุด ซึ่งทุกฝ่ายควรปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามครรลองที่ถูกต้อง (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. ก.คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยในปี 49 จะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการ
คลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวว่า ก.คลังยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะขยายตัวลดลงจากที่
คาดการณ์ไว้ที่ 4.5-5.5% ก็ตาม โดยยอมรับว่าปัญหาน้ำมันขณะนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งขณะนี้
สศค.อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด และรัฐบาลก็ได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นมุ่ง
ช่วยในรายกลุ่ม (เซกเตอร์) เป็นหลัก ทั้งนี้ ยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการลดภาษีน้ำมัน เพราะถือว่าเป็นการบิดเบือนตลาด
ถ้าหากนำมาใช้ก็จะส่งผลกระทบต่อ งปม.ของประเทศในระยะยาว (ผู้จัดการรายวัน)
4. ไทยตัดสินใจไม่ร่วมลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดทำความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ซึ่งมีกำหนดที่สมาชิกจะลงนามความตกลง
ร่วมกันในเดือน พ.ค.49 และความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.49 ว่า ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่ร่วมเจรจาจัดทำเขตการค้า
เสรีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตัดสินใจที่จะไม่ร่วมลงนามในความตกลงดังกล่าว โดยได้ขอถอนตัวลงนามร่วมกับ 9 ประเทศสมาชิกที่เหลือ ทั้งนี้
เนื่องจากไม่พอใจผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเจรจาร่วมกับเกาหลี และไม่สามารถตกลงในรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดได้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ต่อปีสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 9 พ.ค.49
สมาคมผู้ค้าปลีกของอังกฤษหรือ BRC รายงานยอดค้าปลีกของร้านเดียวกัน (same store sales) ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อ
เทียบกับเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดต่อปีนับตั้งแต่เดือน มี.ค.45 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน มี.ค.49 อย่างไรก็ดี BRC เตือน
ให้ระวังการเปรียบเทียบยอดขายต่อปีดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้ตกอยู่ในเดือน เม.ย. ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ในเดือน มี.ค. แต่
อย่างไรก็ตามเมื่อนำยอดขายในเดือน มี.ค.และ เม.ย.49 มารวมกัน same store sales ก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจาก
สภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นในเดือน เม.ย.49 เมื่อประกอบกับช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลอีสเตอร์ทำให้ยอดขายเสื้อผ้าและอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยอดขายสินค้าที่เกี่ยวกับการแต่งบ้านและสวนรวมถึงเฟอร์นิเจอร์และพรมก็เพิ่มขึ้นเมื่อชาวอังกฤษใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวตกแต่งบ้านของพวกเขา
ใหม่ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ ธ.กลางอังกฤษจะเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปี(รอยเตอร์)
2. การส่งออกของมาเลเซียเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ
มาเลเซีย เมื่อวันที่ 8 พ.ค.49 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่ง
เป็นอัตราการเพิ่มที่ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเดือน ก.ย.48 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกและเป็นดัชนีชี้วัดศักยภาพของการส่งออกด้วย ทำให้ตัวเลขเกินดุลการ
ค้าลดลงเหลือ 9.6 พันล้านริงกิต (2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 10.2 พันล้านริงกิต จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกของ
มาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 100% ของจีดีพี นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 โดยผลผลิตโรงงานที่มีสัดส่วน 2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในช่วง 3 เดือนแรก
ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าไม่รู้สึกกังวลและคาดว่าความต้องการสินค้าของมาเลเซียในตลาดโลกที่ยังดีอยู่จะทำให้ตัวเลข
ในเดือนต่อ ๆ ไปปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.49 ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 96.6
รายงานจากเกาหลีใต้ เมื่อ 9 พ.ค. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดความรู้สึกของ
ผู้บริโภคเกี่ยวกับความคาดหวังด้านภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลใน 6 เดือนข้างหน้า โดยในเดือน เม.ย.49 ดัชนีลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 96.6 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ลดลงจากระดับ 100.7 ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
ที่ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ตั้งแต่เคยลดลงต่ำสุดที่ระดับ 99 เมื่อเดือน ส.ค.48 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่ระดับต่ำกว่า 100 นั่นหมายถึงว่าผู้บริโภค
ส่วนใหญ่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลจะเลวร้ายลงใน 6 เดือนข้างหน้า อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นดัชนีที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้เฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดถึงความต้องการภายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในประเทศ
(จีดีพี) เกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 จะเติบโตร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากเชียงไฮ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 49
รายงานการวิจัยของ the State Information Center และตีพิมพ์ในวารสารตลาดหลักทรัพย์ของจีน คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เศรษฐกิจจีนจะ
ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 10.2 ในไตรมาสแรก ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ผลการสำรวจได้เสนอให้ทางการจีนดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อที่จะจำกัดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ทำให้
ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น โดยได้แสดงความเห็นว่าต้องปรับเพิ่มต้นทุนเงินทุนโดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และกำหนดให้ ธพ. เพิ่มทุนสำรองให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันควรที่จะต้องจับตาการสูงขึ้นอย่างมากของราคาสินทรัพย์ สำหรับปริมาณเงินหมุนเวียน M2 ที่เป็นเครื่องชี้วัดสภาพคล่อง
ในระบบ ธพ. ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 18.8 และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่แล้ว แต่สูงกว่าเป้าหมายของทางการจีนที่ร้อยละ
16 ได้สร้างความวิตกให้แก่ทางการจีนเนื่องจากการฟื้นตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อาจส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้น และก่อให้เกิดหนี้
เสียในระบบการเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้ทางการจีนจัดการกับทุนสำรองระหว่างประเทศและเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ทำ
ให้จีนเกินดุลการค้าจำนวนมหาศาลด้วย(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ค. 49 8 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.537 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3677/37.6596 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83703 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 782.91/ 20.55 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,100/12,200 12,100/12,200 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.48 64.14 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--