คำถาม : ข้อควรทราบเบื้องต้นก่อนเข้าไปลงทุนในไนจีเรียมีอะไรบ้าง
คำตอบ : ไนจีเรียตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรราว 128 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมน้ำมัน (เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาและรายใหญ่อันดับที่ 11 ของโลก) และก๊าซธรรมชาติ (เป็นแหล่งสำรองอันดับ 1ของทวีปแอฟริกาและติด 1 ใน 10 ของโลก) ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไนจีเรีย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิ ดีบุก เหล็ก ถ่าน และอัญมณี ฯลฯ ทั้งนี้ ไนจีเรียเป็นตลาดที่มีโอกาสในการทำกำไรสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของไนจีเรียให้รอบคอบก่อนเข้าไปลงทุน โดยมีข้อควรทราบเบื้องต้น ดังนี้
1. หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ คือ Nigerian Investment Promotion Commission (NIPC) จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ พ.ศ. 2538 (The Nigerian Investment Promotion Commission Act No.16 of 1995) ซึ่งเป็น One Stop Shop และเป็นหน่วยงานประสานงานระหว่างนักธุรกิจ และรัฐบาล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนในไนจีเรีย ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลไนจีเรียเพื่อกำหนดนโยบายการลงทุน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้พิจารณาอนุมัติธุรกิจที่จะได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไนจีเรียต้องจดทะเบียนกับหน่วยงาน Corporate Affairs Commission (CAC) ซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนธุรกิจ และตรวจสอบการทำงานของธุรกิจ อีกทั้งต้องจดทะเบียนกับ NIPC เพื่อรับสิทธิพิเศษในการลงทุนด้วย
2. สิทธิพิเศษด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ
* ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี (อัตราปกติอยู่ที่ร้อยละ 30) สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมบุกเบิก (Pioneer Industry) ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลของไนจีเรียกำหนด ซึ่งจะได้รับสถานะ "Pioneer Status" แต่ในกรณีที่โครงการนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีความล้าหลังทางเศรษฐกิจ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยาวนานขึ้นเป็น 7 ปี
* ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 30 เป็นเวลา 5 ปี สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิตตามสัดส่วนที่ทางการไนจีเรียกำหนด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการเกษตรต้องใช้วัตถุดิบท้องถิ่น 80% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 70% อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 70% อุตสาหกรรมวิศวกรรม 65% และอุตสาหกรรมเคมี 60%
* ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานท้องถิ่น โดยอัตราภาษีที่ลดหย่อนจะขึ้นกับจำนวนแรงงานที่ว่าจ้าง อาทิ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 15 เป็นเวลา 5 ปี สำหรับธุรกิจที่ว่าจ้างแรงงานตั้งแต่ 1,000 คน ขึ้นไป ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 7 สำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 6 สำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
3. ธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในการลงทุน อาทิ
* ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไนจีเรียส่งเสริมเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากชาวไนจีเรียราว 70% ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยไนจีเรียผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิด อาทิ มันสำปะหลัง (เป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดในโลก) ข้าว (ชาวไนจีเรียบริโภคข้าวและมันสำปะหลังเป็นอาหารหลัก) และโกโก้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ไนจีเรียยังต้องการความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยจากไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร เช่น การแปรรูปมันสำปะหลังเป็นแป้งมันสำปะหลัง และการสีข้าว เป็นต้น
* ธุรกิจประมงและแปรรูปอาหารทะเล ไนจีเรียเป็นประเทศที่อยู่ติดทะเล โดยมีชายฝั่งทะเลยาว 853 กิโลเมตร จึงมีทรัพยากรทางทะเลมากมาย สามารถนำมาแปรรูปขายในไนจีเรีย รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น
* ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดิมนักธุรกิจไนจีเรียนิยมเดินทางเข้ามาซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ประเทศไทย โดยเฉพาะแถบประตูน้ำ และตึกใบหยก ฯลฯ เนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพดี สวยงามและทันสมัย โดยชาวไนจีเรียส่วนใหญ่นิยมเสื้อผ้าสีจัดจ้าน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสถานทูตไทยในไนจีเรีย (ปิดไปเมื่อปี 2539 เนื่องจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยและการขาดแคลนงบประมาณ) ทำให้การเดินทางเข้ามายังไทยของนักธุรกิจไนจีเรียเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเดินทางไปขอวีซ่าเข้าประเทศไทยที่อังกฤษก่อน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไนจีเรีย โดยนำเข้าชิ้นส่วนและผ้าผืนจากไทยไปตัดเย็บและประกอบเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไนจีเรียเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อ ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีอนาคตที่สดใสในตลาดแห่งนี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ไนจีเรียตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรราว 128 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมน้ำมัน (เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาและรายใหญ่อันดับที่ 11 ของโลก) และก๊าซธรรมชาติ (เป็นแหล่งสำรองอันดับ 1ของทวีปแอฟริกาและติด 1 ใน 10 ของโลก) ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไนจีเรีย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิ ดีบุก เหล็ก ถ่าน และอัญมณี ฯลฯ ทั้งนี้ ไนจีเรียเป็นตลาดที่มีโอกาสในการทำกำไรสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของไนจีเรียให้รอบคอบก่อนเข้าไปลงทุน โดยมีข้อควรทราบเบื้องต้น ดังนี้
1. หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ คือ Nigerian Investment Promotion Commission (NIPC) จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ พ.ศ. 2538 (The Nigerian Investment Promotion Commission Act No.16 of 1995) ซึ่งเป็น One Stop Shop และเป็นหน่วยงานประสานงานระหว่างนักธุรกิจ และรัฐบาล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนในไนจีเรีย ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลไนจีเรียเพื่อกำหนดนโยบายการลงทุน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้พิจารณาอนุมัติธุรกิจที่จะได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไนจีเรียต้องจดทะเบียนกับหน่วยงาน Corporate Affairs Commission (CAC) ซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนธุรกิจ และตรวจสอบการทำงานของธุรกิจ อีกทั้งต้องจดทะเบียนกับ NIPC เพื่อรับสิทธิพิเศษในการลงทุนด้วย
2. สิทธิพิเศษด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ
* ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี (อัตราปกติอยู่ที่ร้อยละ 30) สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมบุกเบิก (Pioneer Industry) ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลของไนจีเรียกำหนด ซึ่งจะได้รับสถานะ "Pioneer Status" แต่ในกรณีที่โครงการนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีความล้าหลังทางเศรษฐกิจ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยาวนานขึ้นเป็น 7 ปี
* ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 30 เป็นเวลา 5 ปี สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิตตามสัดส่วนที่ทางการไนจีเรียกำหนด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการเกษตรต้องใช้วัตถุดิบท้องถิ่น 80% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 70% อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 70% อุตสาหกรรมวิศวกรรม 65% และอุตสาหกรรมเคมี 60%
* ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานท้องถิ่น โดยอัตราภาษีที่ลดหย่อนจะขึ้นกับจำนวนแรงงานที่ว่าจ้าง อาทิ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 15 เป็นเวลา 5 ปี สำหรับธุรกิจที่ว่าจ้างแรงงานตั้งแต่ 1,000 คน ขึ้นไป ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 7 สำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 6 สำหรับธุรกิจที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
3. ธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในการลงทุน อาทิ
* ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไนจีเรียส่งเสริมเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากชาวไนจีเรียราว 70% ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยไนจีเรียผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิด อาทิ มันสำปะหลัง (เป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดในโลก) ข้าว (ชาวไนจีเรียบริโภคข้าวและมันสำปะหลังเป็นอาหารหลัก) และโกโก้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ไนจีเรียยังต้องการความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยจากไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร เช่น การแปรรูปมันสำปะหลังเป็นแป้งมันสำปะหลัง และการสีข้าว เป็นต้น
* ธุรกิจประมงและแปรรูปอาหารทะเล ไนจีเรียเป็นประเทศที่อยู่ติดทะเล โดยมีชายฝั่งทะเลยาว 853 กิโลเมตร จึงมีทรัพยากรทางทะเลมากมาย สามารถนำมาแปรรูปขายในไนจีเรีย รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น
* ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดิมนักธุรกิจไนจีเรียนิยมเดินทางเข้ามาซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ประเทศไทย โดยเฉพาะแถบประตูน้ำ และตึกใบหยก ฯลฯ เนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพดี สวยงามและทันสมัย โดยชาวไนจีเรียส่วนใหญ่นิยมเสื้อผ้าสีจัดจ้าน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสถานทูตไทยในไนจีเรีย (ปิดไปเมื่อปี 2539 เนื่องจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยและการขาดแคลนงบประมาณ) ทำให้การเดินทางเข้ามายังไทยของนักธุรกิจไนจีเรียเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเดินทางไปขอวีซ่าเข้าประเทศไทยที่อังกฤษก่อน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไนจีเรีย โดยนำเข้าชิ้นส่วนและผ้าผืนจากไทยไปตัดเย็บและประกอบเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไนจีเรียเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อ ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีอนาคตที่สดใสในตลาดแห่งนี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-