นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงแนวทางการดำเนินนโยบายของ ธปท. ในระยะต่อไป ดังนี้
การดำเนินนโยบายจะต้องสอดคล้องกับภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินในปัจจุบันและอนาคต จึงขอเริ่มจากประเด็นภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินก่อน
ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพราะประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านลบหลายด้านมาตลอด ทั้งจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ภัยธรรมชาติ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 - 5 ต่อปี สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเข้มแข็งของปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยว่าจะยังสามารถรับมือกับปัญหาในอนาคตได้ แต่ประเด็นที่ ธปท. จะให้ความสำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มทรงตัว ปัญหาทางการเมืองที่คลี่คลาย และนโยบายการคลังของภาครัฐ ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ปัจจัยภายในดีขึ้นจากที่เคยเป็นก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม คงวางใจไม่ได้เสียทีเดียว เพราะปัจจัยภายนอกยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวกว่าที่คาด ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้อีก ปัญหาการขาดดุลของสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนลง และเงินทุนไหลเข้าออกในภูมิภาคอย่างรวดเร็วจนทำให้ค่าเงินผันผวนมาก
ทางด้านนโยบายการเงิน เท่าที่ผ่านมา กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เรียกว่า การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) นั้น เป็นที่ยอมรับจากสาธารณชน ธปท. ก็จะยังคงรักษากรอบนโยบายนี้ไว้ คือดูแลเสถียรภาพด้านราคาให้อยู่ภายในเป้าหมายที่กำหนด แต่ในขณะนี้กำลังศึกษาว่า เป้าหมายของเงินเฟ้อ และเครื่องมือของนโยบายการเงินที่ใช้อยู่เหมาะสมดีอยู่แล้ว หรือควรจะมีการปรับปรุง หากจำเป็นก็อาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิผลมากที่สุด
ส่วนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ก็ยังคงยึดหลักการของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) คือให้กลไกของตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน บทบาทของ ธปท. คือ การดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากจนเกินไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่เกิดจากเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไร เพราะการปล่อยให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวมากเกินกว่าเงินสกุลภูมิภาค และไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการทำธุรกิจ
ปัจจุบัน เงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และปัญหาการขาดความสมดุลในระดับโลก (Global imbalances) ที่มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ ก็จะยังคงเป็นปัญหาไปอีกนานพอควร การที่ ธปท. เข้าดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไปทำได้ในระดับหนึ่ง แต่คงจะต้านทานมากไม่ได้ ถ้าดอลลาร์อ่อนตัวลงต่อเนื่อง ดังนั้น ภาคเอกชนยังคงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนของตนเองด้วย ที่ผ่านมาการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้านนำเข้ามีความเสรีเต็มที่ แต่ด้านส่งออกยังมีความไม่สะดวกอยู่บ้าง อาจทำให้ผู้ออมและนักลงทุนไทยเสียโอกาส ต่อไปจึงจะมีการผ่อนคลายมาตรการด้านเงินทุนให้คล่องตัวมากขึ้น แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและด้านการเงินอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นด้วย ในเรื่องนี้ นอกจากจะดูแลความผันผวนของค่าเงินแล้ว ธปท. จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดเงินตราต่างประเทศมีความกว้างและลึกพอที่จะรองรับเงินทุนไหลเข้าออกจำนวนมากด้วยอีกทางหนึ่ง
สำหรับทางด้านนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. จะยังคงให้ความสำคัญสูงสุดกับความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินต่อไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ร่วมกับอดีตผู้ว่าการ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล วางรากฐานและแนวนโยบายหลัก ๆไว้แล้ว จึงจะเดินหน้าสานงานต่อให้เสร็จสมบูรณ์
สรุปแนวนโยบายสำคัญด้านสถาบันการเงินมี 5 ข้อ ดังนี้
1. เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน โดยการกำกับดูแลตามมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับ เช่น การกำกับเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel II การกันเงินสำรองภายใต้มาตรฐานบัญชี IAS39 รวมตลอดถึงมาตรการกำกับดูแลอื่น ๆ ที่กฎหมายใหม่จะให้อำนาจด้วย ที่สำคัญคือ การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม (consolidated supervision) เป็นต้น ทั้งนี้ ธปท. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมีกำหนดจะร่วมกันเข้ารับการประเมินความแข็งแกร่งของระบบการเงิน (Financial Sector Assessment Programme — FSAP) ซึ่งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะเข้ามาร่วมดำเนินการ ในไตรมาสแรกของปีหน้า
2. ให้ความสำคัญกับระบบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่โครงสร้างคณะกรรมการของสถาบันการเงิน คุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้บริหารระดับสูง การดำเนินงานอย่างสุจริต โปร่งใสไม่เอาเปรียบลูกค้า ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ หรือผู้ลงทุน สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เป็นการใช้กลไกของตลาดกำกับดูแลและสร้างวินัยให้กับสถาบันการเงินอีกทางหนึ่ง
3. เร่งให้สถาบันการเงินปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะในด้านการบริหารความเสี่ยงซึ่งสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจต้องลงทุนในด้านระบบข้อมูล เทคโนโลยี และบุคลากรมากขึ้น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรับมือกับตลาดภายในที่มีการแข่งขันมากขึ้นและมีความเชื่อมโยงกับตลาดโลกมากขึ้นตามลำดับ
4. จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่สอง ต่อเนื่องจากแผนฉบับที่หนึ่งซึ่งดำเนินการเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว แผนแม่บทฉบับที่สองมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยกระตุ้นให้มีการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะต้องทยอยเปิดให้มีผู้เล่นมากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ในเรื่องนี้ ธปท. จะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีกำหนดเวลาล่วงหน้าเพื่อให้สถาบันการเงินมีเวลาปรับตัวได้ตามสมควร
5. กระตุ้นให้ทุก ๆ ฝ่ายช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงินให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการจากสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับสถานภาพและความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีภูมิคุ้มกันรองรับความเสี่ยง และความท้าทายที่เกิดจากพัฒนาการทางการเงินสมัยใหม่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
การที่ ธปท. จะทำหน้าที่หลัก คือ ดำเนินนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินได้อย่างมีประสิทธิผลตามเป้าหมายดังกล่าวข้างต้นได้ จำเป็นจะต้องมีการแก้กฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมทางการเงินที่เปลี่ยนไป ในช่วงนี้จึงจะมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ. เงินตรา เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจหลักด้านนโยบายการเงินของ ธปท. มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีแนวทางให้ ธปท. มีความเป็นอิสระ แต่ขณะเดียวกันมีกลไกการถ่วงดุลอำนาจที่เหมาะสม มีการดำเนินงานที่โปร่งใส และต้องรับผิดและชอบ (มี accountability) อย่างเต็มที่ในสิ่งที่ดำเนินการ นอกจากนี้ จะเร่งการออก พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจการเงินใหม่ ๆ ของสถาบันการเงินได้ครบถ้วน ให้ทางการมีอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มครองผู้บริโภคได้ดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ รวมทั้งการออก พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝาก เพื่อจัดตั้งระบบประกันเงินฝากที่มีการค้ำประกันในขอบเขตที่เหมาะสมแทนการค้ำประกันเต็มจำนวน โดยการเปลี่ยนแปลงระบบประกันเงินฝากจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สำหรับในส่วนของธปท. เองนั้น เนื่องจากในระยะต่อไปเศรษฐกิจ อาจจะแปรเปลี่ยนและผันผวนได้มาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานของเราจะสามารถมองเห็นปัญหาล่วงหน้า และมีความรู้ความสามารถที่จะเผชิญกับปัญหา เหล่านั้น ธปท. จึงมุ่งสร้างพนักงานให้พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวให้ทันโลก ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการของ ธปท. และผู้บริหารระดับสูงจึงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับ 5 ปีข้างหน้าไว้ว่า ธปท. จะเป็น “องค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น” และเราจะพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายนี้ให้ลุล่วง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
การดำเนินนโยบายจะต้องสอดคล้องกับภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินในปัจจุบันและอนาคต จึงขอเริ่มจากประเด็นภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินก่อน
ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพราะประสบการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านลบหลายด้านมาตลอด ทั้งจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ภัยธรรมชาติ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 - 5 ต่อปี สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเข้มแข็งของปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยว่าจะยังสามารถรับมือกับปัญหาในอนาคตได้ แต่ประเด็นที่ ธปท. จะให้ความสำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มทรงตัว ปัญหาทางการเมืองที่คลี่คลาย และนโยบายการคลังของภาครัฐ ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ปัจจัยภายในดีขึ้นจากที่เคยเป็นก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม คงวางใจไม่ได้เสียทีเดียว เพราะปัจจัยภายนอกยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวกว่าที่คาด ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้อีก ปัญหาการขาดดุลของสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนลง และเงินทุนไหลเข้าออกในภูมิภาคอย่างรวดเร็วจนทำให้ค่าเงินผันผวนมาก
ทางด้านนโยบายการเงิน เท่าที่ผ่านมา กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เรียกว่า การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) นั้น เป็นที่ยอมรับจากสาธารณชน ธปท. ก็จะยังคงรักษากรอบนโยบายนี้ไว้ คือดูแลเสถียรภาพด้านราคาให้อยู่ภายในเป้าหมายที่กำหนด แต่ในขณะนี้กำลังศึกษาว่า เป้าหมายของเงินเฟ้อ และเครื่องมือของนโยบายการเงินที่ใช้อยู่เหมาะสมดีอยู่แล้ว หรือควรจะมีการปรับปรุง หากจำเป็นก็อาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิผลมากที่สุด
ส่วนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ก็ยังคงยึดหลักการของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) คือให้กลไกของตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน บทบาทของ ธปท. คือ การดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากจนเกินไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่เกิดจากเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไร เพราะการปล่อยให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวมากเกินกว่าเงินสกุลภูมิภาค และไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการทำธุรกิจ
ปัจจุบัน เงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และปัญหาการขาดความสมดุลในระดับโลก (Global imbalances) ที่มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ ก็จะยังคงเป็นปัญหาไปอีกนานพอควร การที่ ธปท. เข้าดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไปทำได้ในระดับหนึ่ง แต่คงจะต้านทานมากไม่ได้ ถ้าดอลลาร์อ่อนตัวลงต่อเนื่อง ดังนั้น ภาคเอกชนยังคงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนของตนเองด้วย ที่ผ่านมาการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้านนำเข้ามีความเสรีเต็มที่ แต่ด้านส่งออกยังมีความไม่สะดวกอยู่บ้าง อาจทำให้ผู้ออมและนักลงทุนไทยเสียโอกาส ต่อไปจึงจะมีการผ่อนคลายมาตรการด้านเงินทุนให้คล่องตัวมากขึ้น แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและด้านการเงินอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นด้วย ในเรื่องนี้ นอกจากจะดูแลความผันผวนของค่าเงินแล้ว ธปท. จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดเงินตราต่างประเทศมีความกว้างและลึกพอที่จะรองรับเงินทุนไหลเข้าออกจำนวนมากด้วยอีกทางหนึ่ง
สำหรับทางด้านนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. จะยังคงให้ความสำคัญสูงสุดกับความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินต่อไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ร่วมกับอดีตผู้ว่าการ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล วางรากฐานและแนวนโยบายหลัก ๆไว้แล้ว จึงจะเดินหน้าสานงานต่อให้เสร็จสมบูรณ์
สรุปแนวนโยบายสำคัญด้านสถาบันการเงินมี 5 ข้อ ดังนี้
1. เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน โดยการกำกับดูแลตามมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับ เช่น การกำกับเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel II การกันเงินสำรองภายใต้มาตรฐานบัญชี IAS39 รวมตลอดถึงมาตรการกำกับดูแลอื่น ๆ ที่กฎหมายใหม่จะให้อำนาจด้วย ที่สำคัญคือ การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม (consolidated supervision) เป็นต้น ทั้งนี้ ธปท. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมีกำหนดจะร่วมกันเข้ารับการประเมินความแข็งแกร่งของระบบการเงิน (Financial Sector Assessment Programme — FSAP) ซึ่งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะเข้ามาร่วมดำเนินการ ในไตรมาสแรกของปีหน้า
2. ให้ความสำคัญกับระบบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่โครงสร้างคณะกรรมการของสถาบันการเงิน คุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้บริหารระดับสูง การดำเนินงานอย่างสุจริต โปร่งใสไม่เอาเปรียบลูกค้า ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ หรือผู้ลงทุน สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เป็นการใช้กลไกของตลาดกำกับดูแลและสร้างวินัยให้กับสถาบันการเงินอีกทางหนึ่ง
3. เร่งให้สถาบันการเงินปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะในด้านการบริหารความเสี่ยงซึ่งสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจต้องลงทุนในด้านระบบข้อมูล เทคโนโลยี และบุคลากรมากขึ้น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรับมือกับตลาดภายในที่มีการแข่งขันมากขึ้นและมีความเชื่อมโยงกับตลาดโลกมากขึ้นตามลำดับ
4. จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่สอง ต่อเนื่องจากแผนฉบับที่หนึ่งซึ่งดำเนินการเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว แผนแม่บทฉบับที่สองมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยกระตุ้นให้มีการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะต้องทยอยเปิดให้มีผู้เล่นมากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ในเรื่องนี้ ธปท. จะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีกำหนดเวลาล่วงหน้าเพื่อให้สถาบันการเงินมีเวลาปรับตัวได้ตามสมควร
5. กระตุ้นให้ทุก ๆ ฝ่ายช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงินให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการจากสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับสถานภาพและความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีภูมิคุ้มกันรองรับความเสี่ยง และความท้าทายที่เกิดจากพัฒนาการทางการเงินสมัยใหม่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
การที่ ธปท. จะทำหน้าที่หลัก คือ ดำเนินนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินได้อย่างมีประสิทธิผลตามเป้าหมายดังกล่าวข้างต้นได้ จำเป็นจะต้องมีการแก้กฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมทางการเงินที่เปลี่ยนไป ในช่วงนี้จึงจะมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ. เงินตรา เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจหลักด้านนโยบายการเงินของ ธปท. มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีแนวทางให้ ธปท. มีความเป็นอิสระ แต่ขณะเดียวกันมีกลไกการถ่วงดุลอำนาจที่เหมาะสม มีการดำเนินงานที่โปร่งใส และต้องรับผิดและชอบ (มี accountability) อย่างเต็มที่ในสิ่งที่ดำเนินการ นอกจากนี้ จะเร่งการออก พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจการเงินใหม่ ๆ ของสถาบันการเงินได้ครบถ้วน ให้ทางการมีอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มครองผู้บริโภคได้ดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ รวมทั้งการออก พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝาก เพื่อจัดตั้งระบบประกันเงินฝากที่มีการค้ำประกันในขอบเขตที่เหมาะสมแทนการค้ำประกันเต็มจำนวน โดยการเปลี่ยนแปลงระบบประกันเงินฝากจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สำหรับในส่วนของธปท. เองนั้น เนื่องจากในระยะต่อไปเศรษฐกิจ อาจจะแปรเปลี่ยนและผันผวนได้มาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานของเราจะสามารถมองเห็นปัญหาล่วงหน้า และมีความรู้ความสามารถที่จะเผชิญกับปัญหา เหล่านั้น ธปท. จึงมุ่งสร้างพนักงานให้พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวให้ทันโลก ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการของ ธปท. และผู้บริหารระดับสูงจึงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับ 5 ปีข้างหน้าไว้ว่า ธปท. จะเป็น “องค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น” และเราจะพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายนี้ให้ลุล่วง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--