กระแสการนำเมล็ดสบู่ดำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้กับเครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนน้ำมันดีเซลฟีเว่อร์ เกษตรกรตื่นตัวที่จะปลูกกันมากขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง ถึงแม้ว่าการทดลองปลูกสบู่ดำที่ผ่านมาจะยังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าผลผลิตที่ได้รับคุ้มค่ากับการลงทุน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลูกสบู่ดำของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะรวมกลุ่มกันในรูปวิสาหกิจชุมชน เพื่อจะดำเนินการหีบน้ำมันจากสบู่ดำใช้ในกลุ่มและลดต้นทุนการผลิต โดยหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนต้นพันธุ์ เครื่องกะเทาะเมล็ดและเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำ
โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ปลูกและผลิตน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายในการส่งเสริมปลูกสบู่ดำให้กับสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เบื้องต้นได้คัดเลือกสหกรณ์การเกษตรดงสามัคคี จังหวัดนครราชสีมา เป็นสหกรณ์นำร่องในการดำเนินดำเนินโครงการ ตลอดจนเป็นจุดสาธิตและเรียนรู้พลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดราคารับซื้อเมล็ดและการรับรองพันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์จากหน่วยงานราชการ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอีก 1 ปี จึงจะได้สบู่ดำพันธุ์ดีเพื่อการส่งเสริมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลูกสบู่ดำของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะรวมกลุ่มกันในรูปวิสาหกิจชุมชน เพื่อจะดำเนินการหีบน้ำมันจากสบู่ดำใช้ในกลุ่มและลดต้นทุนการผลิต โดยหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนต้นพันธุ์ เครื่องกะเทาะเมล็ดและเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำ
โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ปลูกและผลิตน้ำมันเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายในการส่งเสริมปลูกสบู่ดำให้กับสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เบื้องต้นได้คัดเลือกสหกรณ์การเกษตรดงสามัคคี จังหวัดนครราชสีมา เป็นสหกรณ์นำร่องในการดำเนินดำเนินโครงการ ตลอดจนเป็นจุดสาธิตและเรียนรู้พลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดราคารับซื้อเมล็ดและการรับรองพันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์จากหน่วยงานราชการ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์สบู่ดำที่ให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอีก 1 ปี จึงจะได้สบู่ดำพันธุ์ดีเพื่อการส่งเสริมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-