นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยถึงภาวะการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในไตรมาสแรกปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) ว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 66,254.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 9 โดยแบ่งเป็นการส่งออกเครื่องนุ่งห่มมูลค่า 868.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสิ่งทอ 803.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 52 และ 48 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของไทยในไตรมาสแรกปี 2549 ลำดับ 1-3 ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 523.2 326.3 และ 69.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 31.3 19.5 และ 6.2 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 12.3 และ 15.1 ขณะที่ญี่ปุ่นและจีน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.8 และ 11.8 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าสิ่งทอในไตรมาสแรกปี 2549 มีมูลค่า 679.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2 โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 93 เป็น สินค้าสิ่งทอเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต (ผ้าผืน เส้นใย เส้นด้าย) สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปมี สัดส่วนเพียงร้อยละ 7 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การที่การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในไตรมาสแรกปี 2549 มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9 เป็นผลมาจากการที่อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยสามารถปรับตัวในการผลิต และแข่งขันส่งออกสิ่งทอในตลาดโลกได้ดีขึ้นหลังจากประสบปัญหาการแข่งขันจากการเปิดเสรีสิ่งทอในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.3 และ 15.1 นอกจากนี้ ยังขยายการส่งออกไปยังตลาดยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตุรกี ปากีสถาน กัมพูชา ลาวและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.4 62.5 39.3 30.6 และ 22 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกในช่วงไตรมาส 2 อาจประสบปัญหาไม่ราบรื่น เนื่องจากสภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมากในขณะนี้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบปีโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทลดลง อย่างไรก็ตาม หากในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์ราคาน้ำมันลดลงและค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ประกอบกับตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังคงใช้มาตรการ safeguard กับจีนอยู่ คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2549 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 12
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
ตลาดส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของไทยในไตรมาสแรกปี 2549 ลำดับ 1-3 ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 523.2 326.3 และ 69.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 31.3 19.5 และ 6.2 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 12.3 และ 15.1 ขณะที่ญี่ปุ่นและจีน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.8 และ 11.8 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าสิ่งทอในไตรมาสแรกปี 2549 มีมูลค่า 679.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2 โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 93 เป็น สินค้าสิ่งทอเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต (ผ้าผืน เส้นใย เส้นด้าย) สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปมี สัดส่วนเพียงร้อยละ 7 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การที่การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยในไตรมาสแรกปี 2549 มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9 เป็นผลมาจากการที่อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยสามารถปรับตัวในการผลิต และแข่งขันส่งออกสิ่งทอในตลาดโลกได้ดีขึ้นหลังจากประสบปัญหาการแข่งขันจากการเปิดเสรีสิ่งทอในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.3 และ 15.1 นอกจากนี้ ยังขยายการส่งออกไปยังตลาดยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตุรกี ปากีสถาน กัมพูชา ลาวและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.4 62.5 39.3 30.6 และ 22 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกในช่วงไตรมาส 2 อาจประสบปัญหาไม่ราบรื่น เนื่องจากสภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมากในขณะนี้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบปีโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทลดลง อย่างไรก็ตาม หากในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์ราคาน้ำมันลดลงและค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ประกอบกับตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังคงใช้มาตรการ safeguard กับจีนอยู่ คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2549 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 12
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-