1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 248,576.7 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อย คิด
เป็นร้อยละ 1.3 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก
วุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอม ประกอบกับไตรมาสนี้ มีวันหยุดเทศกาล
สงกรานต์ โรงงานส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้กลับภูมิลำเนา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ
เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 7.9 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 883,247.2 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.1 และ 1.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษในประเทศสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุน
คือ 1) งานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ซึ่งมีการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
เพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก รวมทั้งการส่งไปรษณียบัตรอวยพรในหลวง 2) เทศกาลฟุตบอลโลก โดยประชาชนจะจัดส่งไปรษณียบัตรร่วมทายผลแชมป์
บอลโลกจำนวนมาก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
หน่วย : ตัน
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 230,432.80 251,896.60 248,576.70 -1.3 7.9
กระดาษ 872,641.40 873,244.50 883,247.20 1.1 1.2
กระดาษพิมพ์เขียน 256,236.30 242,354.50 254,360.30 4.9 -0.7
กระดาษแข็ง 52,872.10 50,039.40 47,786.30 -4.5 -9.6
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 538,932.60 553,560.20 553,629.50 0.01 2.7
อื่นๆ1/ 24,600.40 27,290.40 27,471.10 0.7 11.7
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ เช่น กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 108.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมี
อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 20.1 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและนำเข้าเศษกระดาษที่มีคุณภาพดี
เพื่อนำมาผลิตกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อเป็นสต๊อกรองรับความต้องการภายในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร การจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ โดยนำเข้า
เยื่อกระดาษจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
มีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 4.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศชะลอตัว อีกทั้งผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตเยื่อได้มากขึ้น
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 200.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 13.9 และ 12.9 ตามลำดับ เนื่องจากในประเทศมีการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับ
กระดาษที่นำเข้ามา ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 41.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 21.6 และ 28.3 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศไม่แน่นอนทำให้มีการชะลอการ
ใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรตั้งแต่ไตรมาสก่อน เนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 113.1 90 108.1 20.1 -4.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 230.6 233.3 200.8 -13.9 -12.9
สิ่งพิมพ์ 32.5 34.3 41.7 21.6 28.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 27.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัว
ลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.5 เนื่องจากความต้องการใช้เยื่อกระดาษในประเทศสูงขึ้นเพื่อนำไปผลิตกระดาษสำหรับจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลอง
ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของในหลวง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเยื่อกระดาษมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อย
ละ 9.6 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมาก ประกอบกับราคาเยื่อในตลาดโลกสูงจึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก
ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 263.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.9 และ 3.6 เนื่องจากราคากระดาษในตลาดโลกยังคงสูงกว่าตลาดใน
ประเทศ เช่นเดียวกับไตรมาสก่อน ทำให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่
เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 20.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 4.2 และ 25.1 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่ปรับค่า
แข็งขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตและขนส่งของผู้ส่งออกทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่งส่งผลให้ต่างประเทศชะลอการนำเข้าสินค้าไทย
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 25 28.4 27.4 -3.5 9.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 253.8 250.5 263 4.9 3.6
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 27.5 21.5 20.6 -4.2 -25.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ทรงตัว โดยมีปัจจัยลบที่ส่งผล
ต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกและ ในประเทศชะลอตัว ต้นทุนการผลิตและขนส่งที่สูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท
ที่แข็งขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน แม้ว่าจะได้รับปัจจัยหนุนในประเทศ เช่น การจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ
พระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง การเลือกตั้งระดับประเทศก็ตาม
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจาก
ความต้องการภายในประเทศมีสูงอันเนื่องจากความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงยังคงมีอย่างต่อ
เนื่อง การสั่งทำสมุดบันทึก และปฏิทินปี 2550 ได้เริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในช่วง
เดือนตุลาคม 2549 ทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ มีความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากเพื่อใช้ในการหาเสียง
สำหรับการส่งออกไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนเนื่องจากการแข็งตัวของค่าเงินบาททำให้สินค้าของไทยมีราคาสูง
ขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงทำให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งยังคงอยู่ในระดับที่สูงส่งผลให้การส่งออกสิ่งพิมพ์ไม่
ขยายตัวเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 248,576.7 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อย คิด
เป็นร้อยละ 1.3 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก
วุฒิสภา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอม ประกอบกับไตรมาสนี้ มีวันหยุดเทศกาล
สงกรานต์ โรงงานส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้กลับภูมิลำเนา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ
เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 7.9 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 883,247.2 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.1 และ 1.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษในประเทศสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุน
คือ 1) งานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ซึ่งมีการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
เพื่อเก็บสะสมและเป็นที่ระลึก รวมทั้งการส่งไปรษณียบัตรอวยพรในหลวง 2) เทศกาลฟุตบอลโลก โดยประชาชนจะจัดส่งไปรษณียบัตรร่วมทายผลแชมป์
บอลโลกจำนวนมาก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
หน่วย : ตัน
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 230,432.80 251,896.60 248,576.70 -1.3 7.9
กระดาษ 872,641.40 873,244.50 883,247.20 1.1 1.2
กระดาษพิมพ์เขียน 256,236.30 242,354.50 254,360.30 4.9 -0.7
กระดาษแข็ง 52,872.10 50,039.40 47,786.30 -4.5 -9.6
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 538,932.60 553,560.20 553,629.50 0.01 2.7
อื่นๆ1/ 24,600.40 27,290.40 27,471.10 0.7 11.7
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ เช่น กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 108.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมี
อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 20.1 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อใยยาวที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศและนำเข้าเศษกระดาษที่มีคุณภาพดี
เพื่อนำมาผลิตกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อเป็นสต๊อกรองรับความต้องการภายในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร การจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ โดยนำเข้า
เยื่อกระดาษจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
มีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 4.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศชะลอตัว อีกทั้งผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตเยื่อได้มากขึ้น
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 200.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 13.9 และ 12.9 ตามลำดับ เนื่องจากในประเทศมีการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับ
กระดาษที่นำเข้ามา ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 41.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 21.6 และ 28.3 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศไม่แน่นอนทำให้มีการชะลอการ
ใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรตั้งแต่ไตรมาสก่อน เนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 113.1 90 108.1 20.1 -4.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 230.6 233.3 200.8 -13.9 -12.9
สิ่งพิมพ์ 32.5 34.3 41.7 21.6 28.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 27.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัว
ลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.5 เนื่องจากความต้องการใช้เยื่อกระดาษในประเทศสูงขึ้นเพื่อนำไปผลิตกระดาษสำหรับจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลอง
ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของในหลวง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเยื่อกระดาษมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อย
ละ 9.6 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมาก ประกอบกับราคาเยื่อในตลาดโลกสูงจึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก
ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 263.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.9 และ 3.6 เนื่องจากราคากระดาษในตลาดโลกยังคงสูงกว่าตลาดใน
ประเทศ เช่นเดียวกับไตรมาสก่อน ทำให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียนมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่
เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 20.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 4.2 และ 25.1 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่ปรับค่า
แข็งขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตและขนส่งของผู้ส่งออกทำให้ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่งส่งผลให้ต่างประเทศชะลอการนำเข้าสินค้าไทย
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2/2548 1/2549 2/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 25 28.4 27.4 -3.5 9.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 253.8 250.5 263 4.9 3.6
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 27.5 21.5 20.6 -4.2 -25.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ทรงตัว โดยมีปัจจัยลบที่ส่งผล
ต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกและ ในประเทศชะลอตัว ต้นทุนการผลิตและขนส่งที่สูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท
ที่แข็งขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่แน่นอน แม้ว่าจะได้รับปัจจัยหนุนในประเทศ เช่น การจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ
พระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง การเลือกตั้งระดับประเทศก็ตาม
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจาก
ความต้องการภายในประเทศมีสูงอันเนื่องจากความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงยังคงมีอย่างต่อ
เนื่อง การสั่งทำสมุดบันทึก และปฏิทินปี 2550 ได้เริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในช่วง
เดือนตุลาคม 2549 ทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ มีความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากเพื่อใช้ในการหาเสียง
สำหรับการส่งออกไตรมาสหน้าคาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนเนื่องจากการแข็งตัวของค่าเงินบาททำให้สินค้าของไทยมีราคาสูง
ขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงทำให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งยังคงอยู่ในระดับที่สูงส่งผลให้การส่งออกสิ่งพิมพ์ไม่
ขยายตัวเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-