กรุงเทพ--3 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ระหว่างการเยือนเอสโตเนียอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล) ได้พบหารือกับนายอูรมัส พาเอท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีเอกอัครราชทูตอภิชาติ ชินวรรโณ ร่วมการหารือด้วย ในประเด็นทวิภาคี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แสดงความหวังที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยได้มอบหนังสือจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบรับคำเชิญเยือนเอส-โตเนีย พร้อมทั้งเชิญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนียเยือนไทยเป็นการต่างตอบแทนด้วย นอกจากนี้ ได้ย้ำความประสงค์ของไทยที่จะแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเอสโตเนีย เพื่อเป็นกลไกเสริมในการกระชับความสัมพันธ์ โดยขอให้เอสโตเนียช่วยเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ฝ่ายไทยพิจารณา และได้แจ้งความประสงค์ของไทยที่จะจัดทำพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-เอสโตเนีย เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาจัดทำความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างกันด้วย ซึ่งฝ่ายเอสโตเนียรับที่จะเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถลงนามได้พร้อมกับการลงนามความตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษาซึ่งเจรจาเสร็จสิ้นแล้วต่อไป
ในประเด็นพหุภาคี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวแนะนำ รองนายกรัฐมนตรี (ดร. สุร-เกียรติ์ เสถียรไทย) ในฐานะผู้สมัครของไทยและอาเซียนในตำแหน่ง UNSG ซึ่งขณะนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากทุกภูมิภาคแล้ว ในเรื่องนี้ นายพาเอท์ ซึ่งเคยพบหารือกับรองนายกรัฐมนตรีแล้ว เห็นว่า รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สมัครที่แข็งแกร่ง และตนจะนำเรื่องนี้หารือกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเอสโตเนียต่อไป อย่างไรก็ดี ฝ่ายเอสโตเนียซึ่งค่อนข้างจะเห็นด้วยกับหลักการหมุนเวียนตามภูมิภาค ยังประสงค์จะเห็น UNSG ที่มาจากภูมิภาคยุโรปตะวันออก เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่เคยมี โดยอยากให้มีความชัดเจนว่า หากตำแหน่ง UNSG รอบนี้เป็นวาระเอเชีย รอบต่อไปอาจเป็นวาระยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ นายพาเอท์ ได้สอบถามความคืบหน้าในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แจ้งว่า ศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าระดับชาติของไทยได้จัดตั้งและดำเนินการได้บางส่วนแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ ส่วนในระดับภูมิภาคกำลังเร่งดำเนินการอยู่ และไทยยังได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค โดยมีสหประชาชาติกำกับดูแล และขณะนี้หลายประเทศแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมด้วยแล้ว
อนึ่ง ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้พบหารือกับนางคิลลิเค ซิลลาส-เอลลิง ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีเอสโตเนีย และนายสเวน เยอร์เกนสัน ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านนโยบายความมั่นคงและองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ด้วย ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ก็ได้ใช้โอกาสดังกล่าวหารือประเด็นทวิภาคี รวมทั้งขอรับการสนับสนุนให้แก่ ดร. สายสุรี จุติกุล ในตำแหน่งสมาชิก CEDAW ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ระหว่างการเยือนเอสโตเนียอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล) ได้พบหารือกับนายอูรมัส พาเอท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีเอกอัครราชทูตอภิชาติ ชินวรรโณ ร่วมการหารือด้วย ในประเด็นทวิภาคี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แสดงความหวังที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยได้มอบหนังสือจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบรับคำเชิญเยือนเอส-โตเนีย พร้อมทั้งเชิญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนียเยือนไทยเป็นการต่างตอบแทนด้วย นอกจากนี้ ได้ย้ำความประสงค์ของไทยที่จะแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเอสโตเนีย เพื่อเป็นกลไกเสริมในการกระชับความสัมพันธ์ โดยขอให้เอสโตเนียช่วยเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ฝ่ายไทยพิจารณา และได้แจ้งความประสงค์ของไทยที่จะจัดทำพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-เอสโตเนีย เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาจัดทำความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างกันด้วย ซึ่งฝ่ายเอสโตเนียรับที่จะเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถลงนามได้พร้อมกับการลงนามความตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษาซึ่งเจรจาเสร็จสิ้นแล้วต่อไป
ในประเด็นพหุภาคี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวแนะนำ รองนายกรัฐมนตรี (ดร. สุร-เกียรติ์ เสถียรไทย) ในฐานะผู้สมัครของไทยและอาเซียนในตำแหน่ง UNSG ซึ่งขณะนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากทุกภูมิภาคแล้ว ในเรื่องนี้ นายพาเอท์ ซึ่งเคยพบหารือกับรองนายกรัฐมนตรีแล้ว เห็นว่า รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สมัครที่แข็งแกร่ง และตนจะนำเรื่องนี้หารือกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเอสโตเนียต่อไป อย่างไรก็ดี ฝ่ายเอสโตเนียซึ่งค่อนข้างจะเห็นด้วยกับหลักการหมุนเวียนตามภูมิภาค ยังประสงค์จะเห็น UNSG ที่มาจากภูมิภาคยุโรปตะวันออก เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่เคยมี โดยอยากให้มีความชัดเจนว่า หากตำแหน่ง UNSG รอบนี้เป็นวาระเอเชีย รอบต่อไปอาจเป็นวาระยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ นายพาเอท์ ได้สอบถามความคืบหน้าในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แจ้งว่า ศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าระดับชาติของไทยได้จัดตั้งและดำเนินการได้บางส่วนแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ ส่วนในระดับภูมิภาคกำลังเร่งดำเนินการอยู่ และไทยยังได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนในการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค โดยมีสหประชาชาติกำกับดูแล และขณะนี้หลายประเทศแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมด้วยแล้ว
อนึ่ง ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ได้พบหารือกับนางคิลลิเค ซิลลาส-เอลลิง ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีเอสโตเนีย และนายสเวน เยอร์เกนสัน ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านนโยบายความมั่นคงและองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ด้วย ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ก็ได้ใช้โอกาสดังกล่าวหารือประเด็นทวิภาคี รวมทั้งขอรับการสนับสนุนให้แก่ ดร. สายสุรี จุติกุล ในตำแหน่งสมาชิก CEDAW ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-