ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมเดือน ก.พ.49 ขยายตัวดีต่อเนื่อง ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.49 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% จากเดิม 4.8% ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 9,425 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 23.3% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 8,807 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 14.5% ขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าการส่งออกโดยมีมูลค่า 9,449 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 15.3% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 9,195 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 0.4% ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงจาก 388 ล.ดอลลาร์ สรอ. เหลือเพียง 24 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มี.ค.-พ.ย.49) แม้จะปรับลดลงจาก 53.2 เป็น 52.7 แต่ก็ยังอยู่เหนือ 50 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามา สำหรับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจ ธปท.เห็นว่า ระยะสั้นยังไม่เกิดผลกระทบ ซึ่ง ธปท.จะทำการประเมินผลกระทบจากปัญหาการเมืองเข้าไว้ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะเผยแพร่ในช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้ด้วย (โพสต์ทูเดย์ 1, ข่าวสด 1, ผู้จัดการรายวัน 1-2)
2. กรมสรรพากรยืนยันภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 48 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า วันที่ 31 มี.ค.49 เป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมียอดผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบแล้วจำนวนกว่า 8 ล้านคน สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีจำนวน 7.3 ล้านราย ยังไม่นับรวมผู้ที่จะมาแสดงรายการเสียภาษีเพิ่มเติมในวันสุดท้าย ดังนั้น เป้าหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้ 2.3 หมื่น ล.บาท จะเกินเป้าแน่นอน (ข่าวสด 1, ไทยโพสต์ 1)
3. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 3 เดือนแรกปี 49 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 มี.ค.49 มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 291 โครงการ มูลค่า 104,000 ล.บาท หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 100 โครงการมูลค่า 33,000 ล.บาทต่อเดือน ซึ่งบีโอไอพอใจกับตัวเลขดังกล่าว โดยอุตสาหกรรมที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุดคือ ธุรกิจบริการและระบบสาธารณูปโภค และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นยังเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ในรอบเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่สถานการณ์การเมืองยังไม่ได้ข้อยุติ บีโอไอยังมั่นใจว่าตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาสแรกที่ผ่านมา (ไทยรัฐ)
4. ปัญหาการเมืองไทยส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ เปิดเผยว่า อัตราการจองที่พักโรงแรมทั่วประเทศในช่วงสงกรานต์ปี 49 มียอดจองเข้ามาลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังชะลอดูสถานการณ์ความแน่นอนทางการเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วในช่วงนี้อัตราการจองห้องพักของโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญส่วนใหญ่จะเริ่มเต็มแล้ว หรือมีการจองไม่ต่ำกว่า 80% แต่ปีนี้กลับยังคงเงียบเหงาโดยภาพรวมอยู่แค่ไม่เกิน 20% ขณะที่เลขาธิการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มได้รับรายงานจากกลุ่มโรงแรมที่มีเครือข่ายข้ามประเทศแล้วว่า นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งเริ่มขอย้ายการจองที่พักจากโรงแรมที่ตั้งสาขาในไทยไปพักที่สาขาโรงแรมประเทศอื่นแล้ว (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 31 มี.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งไม่เป็นไปตามความคาดหมายของตลาดที่คาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.ซึ่งเป็นเดือนที่มีอากาศอบอุ่นจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีดัชนีราคาการใช้จ่ายผู้บริโภคในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากเดือน ม.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และหากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน หรือที่เรียกว่า Core PCE ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศที่ ธ.กลาง สรอ. (Fed) นิยมใช้ ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สำหรับตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคและกิจกรรมภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ของผลผลิตโรงงาน สรอ.ในเดือน ก.พ.49 กลับอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ เป็นสัญญาณสะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของ สรอ.เริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าแม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ก.พ.49 จะเพิ่มขึ้นพียงเล็กน้อย หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ม.ค.49 ก็น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้จะแข็งแกร่ง เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงแล้ว (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงอย่างไม่คาดหมายในช่วงไตรมาสสิ้นสุดเดือน มี.ค.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส รายงานจากโตเกียว เมื่อ 3 เม.ย.49 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่จากผลสำรวจความเห็นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นจำนวน 1,182 แห่งในระหว่างวันที่ 27 ก.พ. ถึง 31 มี.ค.49 ว่าลดลงมาอยู่ที่ระดับ +20 จากระดับ +21 ในเดือน ธ.ค.48 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +23 แต่ยังอยู่ในระดับที่เป็นบวกเทียบกับที่เคยติดลบถึง —38 เมื่อสี่ปีก่อน โดยตัวเลขดัชนีที่เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าจำนวนร้อยละของธุรกิจที่มองแนวโน้มธุรกิจในทางที่ดีขึ้นมีมากกว่าที่มองในทางที่เลวลง เช่นเดียวกับผลสำรวจธุรกิจรายใหญ่หลายแห่งที่คาดว่าการใช้จ่ายลงทุนในปีการเงินใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.49 นี้จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังจากตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมาเป็นเวลา 7 ปี โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตรา 5.4 ต่อปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 48 สูงกว่า สรอ.ซึ่งขยายตัวในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งตรงกับความเห็นของ ธ.กลางญี่ปุ่นและเป็นสาเหตุให้ ธ.กลางญี่ปุ่นยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเมื่อวันที่ 9 มี.ค.49 ที่ผ่านมา หลังจากปล่อยให้เงินท่วมระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับร้อยละ 0 ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 10-11 เม.ย.49 นี้เนื่องจากยังมีปริมาณเงินเหลือในระบบธนาคารอีกมาก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9.3 รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 เม.ย.49 State Information Centre ของจีนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.8 ในปี 50 เนื่องจากมีกำลังส่วนเกินในบางภาคอุตสาหกรรมและเริ่มส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว และจะแสดงให้เห็นผลกระทบอย่างเต็มที่ในปี 50 ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะชะลอลงและเริ่มเข้าสู่ช่วงปรับตัวในปี 50 ด้านการค้าปลีกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.8 และร้อยละ 12.5 ในปี 50 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในขณะที่คณะทำงานร่วมของ ม.ปักกิ่ง และ สนง.สถิติแห่งชาติของจีน คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มี. ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index — CPI) ซึ่งแสดงอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปีที่แล้วที่ CPI อยู่ที่ร้อยละ 2.0 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า CPI จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.4 ทำให้สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ราคาสินค้าจากฟาร์ม และค่าเช่าบ้านในเดือน มี.ค. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วชดเชยการสูงขึ้นอย่างมากของผลิตภัณฑ์น้ำมัน และภาคบริการ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก Hyundai Securities กล่าวว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อบ่งชี้ว่า ธ.กลางไม่มีเหตุที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในวันศุกร์นี้ หลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 3 ครั้งในช่วงเดือน ต.ค. ปีที่แล้วถึงเดือน ก.พ. ปีนี้ อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ที่ ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางไตรมาสที่ 2/49 หากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 เม.ย. 49 31 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.834 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6499/38.9417 38.3598/38.6471 ธปท.
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.25/ 18.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,550/10,650 10,650/10,750 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.25 60.69 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) *
ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 เม.ย. 49 27.54*/25.89* 27.14/25.49 19.69/14.59 ปตท.
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมเดือน ก.พ.49 ขยายตัวดีต่อเนื่อง ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.49 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% จากเดิม 4.8% ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 9,425 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 23.3% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 8,807 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 14.5% ขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าการส่งออกโดยมีมูลค่า 9,449 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 15.3% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 9,195 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัว 0.4% ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงจาก 388 ล.ดอลลาร์ สรอ. เหลือเพียง 24 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มี.ค.-พ.ย.49) แม้จะปรับลดลงจาก 53.2 เป็น 52.7 แต่ก็ยังอยู่เหนือ 50 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามา สำหรับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจ ธปท.เห็นว่า ระยะสั้นยังไม่เกิดผลกระทบ ซึ่ง ธปท.จะทำการประเมินผลกระทบจากปัญหาการเมืองเข้าไว้ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะเผยแพร่ในช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้ด้วย (โพสต์ทูเดย์ 1, ข่าวสด 1, ผู้จัดการรายวัน 1-2)
2. กรมสรรพากรยืนยันภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 48 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า วันที่ 31 มี.ค.49 เป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมียอดผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบแล้วจำนวนกว่า 8 ล้านคน สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีจำนวน 7.3 ล้านราย ยังไม่นับรวมผู้ที่จะมาแสดงรายการเสียภาษีเพิ่มเติมในวันสุดท้าย ดังนั้น เป้าหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้ 2.3 หมื่น ล.บาท จะเกินเป้าแน่นอน (ข่าวสด 1, ไทยโพสต์ 1)
3. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 3 เดือนแรกปี 49 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 มี.ค.49 มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 291 โครงการ มูลค่า 104,000 ล.บาท หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 100 โครงการมูลค่า 33,000 ล.บาทต่อเดือน ซึ่งบีโอไอพอใจกับตัวเลขดังกล่าว โดยอุตสาหกรรมที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุดคือ ธุรกิจบริการและระบบสาธารณูปโภค และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นยังเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ในรอบเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่สถานการณ์การเมืองยังไม่ได้ข้อยุติ บีโอไอยังมั่นใจว่าตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาสแรกที่ผ่านมา (ไทยรัฐ)
4. ปัญหาการเมืองไทยส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ เปิดเผยว่า อัตราการจองที่พักโรงแรมทั่วประเทศในช่วงสงกรานต์ปี 49 มียอดจองเข้ามาลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังชะลอดูสถานการณ์ความแน่นอนทางการเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วในช่วงนี้อัตราการจองห้องพักของโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญส่วนใหญ่จะเริ่มเต็มแล้ว หรือมีการจองไม่ต่ำกว่า 80% แต่ปีนี้กลับยังคงเงียบเหงาโดยภาพรวมอยู่แค่ไม่เกิน 20% ขณะที่เลขาธิการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มได้รับรายงานจากกลุ่มโรงแรมที่มีเครือข่ายข้ามประเทศแล้วว่า นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งเริ่มขอย้ายการจองที่พักจากโรงแรมที่ตั้งสาขาในไทยไปพักที่สาขาโรงแรมประเทศอื่นแล้ว (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 31 มี.ค.49 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งไม่เป็นไปตามความคาดหมายของตลาดที่คาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.ซึ่งเป็นเดือนที่มีอากาศอบอุ่นจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีดัชนีราคาการใช้จ่ายผู้บริโภคในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากเดือน ม.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และหากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน หรือที่เรียกว่า Core PCE ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศที่ ธ.กลาง สรอ. (Fed) นิยมใช้ ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สำหรับตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคและกิจกรรมภาคธุรกิจของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ของผลผลิตโรงงาน สรอ.ในเดือน ก.พ.49 กลับอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ เป็นสัญญาณสะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของ สรอ.เริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าแม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ก.พ.49 จะเพิ่มขึ้นพียงเล็กน้อย หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ม.ค.49 ก็น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้จะแข็งแกร่ง เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงแล้ว (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงอย่างไม่คาดหมายในช่วงไตรมาสสิ้นสุดเดือน มี.ค.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส รายงานจากโตเกียว เมื่อ 3 เม.ย.49 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่จากผลสำรวจความเห็นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นจำนวน 1,182 แห่งในระหว่างวันที่ 27 ก.พ. ถึง 31 มี.ค.49 ว่าลดลงมาอยู่ที่ระดับ +20 จากระดับ +21 ในเดือน ธ.ค.48 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +23 แต่ยังอยู่ในระดับที่เป็นบวกเทียบกับที่เคยติดลบถึง —38 เมื่อสี่ปีก่อน โดยตัวเลขดัชนีที่เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าจำนวนร้อยละของธุรกิจที่มองแนวโน้มธุรกิจในทางที่ดีขึ้นมีมากกว่าที่มองในทางที่เลวลง เช่นเดียวกับผลสำรวจธุรกิจรายใหญ่หลายแห่งที่คาดว่าการใช้จ่ายลงทุนในปีการเงินใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.49 นี้จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังจากตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมาเป็นเวลา 7 ปี โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตรา 5.4 ต่อปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 48 สูงกว่า สรอ.ซึ่งขยายตัวในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งตรงกับความเห็นของ ธ.กลางญี่ปุ่นและเป็นสาเหตุให้ ธ.กลางญี่ปุ่นยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเมื่อวันที่ 9 มี.ค.49 ที่ผ่านมา หลังจากปล่อยให้เงินท่วมระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับร้อยละ 0 ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 10-11 เม.ย.49 นี้เนื่องจากยังมีปริมาณเงินเหลือในระบบธนาคารอีกมาก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9.3 รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 เม.ย.49 State Information Centre ของจีนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.8 ในปี 50 เนื่องจากมีกำลังส่วนเกินในบางภาคอุตสาหกรรมและเริ่มส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว และจะแสดงให้เห็นผลกระทบอย่างเต็มที่ในปี 50 ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะชะลอลงและเริ่มเข้าสู่ช่วงปรับตัวในปี 50 ด้านการค้าปลีกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.8 และร้อยละ 12.5 ในปี 50 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในขณะที่คณะทำงานร่วมของ ม.ปักกิ่ง และ สนง.สถิติแห่งชาติของจีน คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มี. ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index — CPI) ซึ่งแสดงอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปีที่แล้วที่ CPI อยู่ที่ร้อยละ 2.0 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า CPI จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.4 ทำให้สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ราคาสินค้าจากฟาร์ม และค่าเช่าบ้านในเดือน มี.ค. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วชดเชยการสูงขึ้นอย่างมากของผลิตภัณฑ์น้ำมัน และภาคบริการ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก Hyundai Securities กล่าวว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อบ่งชี้ว่า ธ.กลางไม่มีเหตุที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในวันศุกร์นี้ หลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 3 ครั้งในช่วงเดือน ต.ค. ปีที่แล้วถึงเดือน ก.พ. ปีนี้ อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ที่ ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางไตรมาสที่ 2/49 หากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 เม.ย. 49 31 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.834 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6499/38.9417 38.3598/38.6471 ธปท.
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.25/ 18.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,550/10,650 10,650/10,750 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.25 60.69 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) *
ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 เม.ย. 49 27.54*/25.89* 27.14/25.49 19.69/14.59 ปตท.
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--