กรุงเทพ--15 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่13 กันยายน 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายพรเสก กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและคณะซึ่งอยู่ในระหว่างการเยือนไอร์แลนด์ (working visit) เป็นวันที่สอง โดย ดร. กันตธีร์ ฯ ได้หารือกับนาย Dermot Ahernรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ และนาย Conor Lenihan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งภายหลังการหารือ ดร. กันตธีร์ และนาย Ahern ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การขยายความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในมิติต่างๆ
ดร. กันตธีร์กล่าวว่า ไทยและไอร์แลนด์มีความสัมพันธ์ทางการทูตมานาน แต่ทั้งสองประเทศยังไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญของแต่ละประเทศ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ดร. กันตธีร์ได้แสดงให้ฝ่ายไอร์แลนด์ตระหนักถึงศักยภาพของไทยในฐานะประเทศที่สามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคซึ่งไอร์แลนด์จะสามารถใช้ประโยชน์จากไทยได้ รวมถึงการชี้แจงให้ไอร์แลนด์ทราบถึงบทบาทของไทยที่สำคัญๆ ในเวทีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ไอร์แลนด์เห็นความสำคัญของไทยมากขึ้น และรับที่จะปรับยุทธศาสตร์เอเชียของไอร์แลนด์ให้ครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ นาย Ahern กล่าวว่าไอร์แลนด์จะพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดสถานเอกอัครราชทูตฯ ในประเทศไทย รวมถึงการจัดทำความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทยกับไอร์แลนด์ เพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถทำการบินระหว่างกันได้ โดยฝ่ายไอร์แลนด์รับที่จะพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางบินตรงจากไอร์แลนด์ไปยังประเทศไทยด้วย ในด้านการค้า ดร. กันตธีร์ได้ขอให้ไอร์แลนด์พิจารณาความตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับไทย รวมทั้งขอให้ไอร์แลนด์สนับสนุนด้านการลดภาษีนำเข้าสินค้าไก่ของไทยมายัง EU นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในอิรัก อิหร่าน เลบานอน และพม่า โดยบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
ในโอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ได้ขอให์พิจารณาสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในการลงสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย ไทยและไอร์แลนด์เห็นประโยชน์ของการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ดร. กันตธีร์แจ้งให้ฝ่ายไอร์แลนด์ทราบว่าไทยยึดมั่นในกรอบของ ACMECS และพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศพัฒนาแล้วและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้งไอร์แลนด์เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งฝ่ายไอร์แลนด์ได้ตอบรับพร้อมเสนอข้อคิดเห็นให้ร่วมกันในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศต่างๆ ในแอฟริกาด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาและ ICT
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะมีการขยายความร่วมมือด้านการศึกษา และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมในด้าน ICT มากขึ้น โดยไอร์แลนด์จะพิจารณาส่งอาจารย์และ/หรือนักวิจัยเดินทางมาประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับไทย นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไอร์แลนด์จะสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเยาวชนไทยที่สนใจด้าน ICT นอกจากนี้ ไอร์แลนด์ได้ถือโอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือและดูแลชาวไอริชที่ประสบภัยจาก Tsunami เป็นอย่างดี
ในวันเดียวกันนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม SFI (Science Foundation Ireland) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และต่อมาได้หารือกับผู้บริหารของบริษัท Kerry ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของยุโรป โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานของอาหารเพื่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆ ในช่วงเย็นดร. กันตธีร์ได้เดินทางไปเยี่ยมชม CRANN (Center for Research on Adeptive Nano Structure and Nano devices) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน ในช่วงค่ำ นาย Patrick Guilbaud กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงดับลินได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ ดร. กันตธีร์ และคณะ โดยมีเจ้าของกิจการร้านอาหารไทยเข้าร่วมงาน ซึ่งดร. กันตธีร์ได้สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินกิจการร้านอาหารไทยในไอร์แลนด์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่13 กันยายน 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายพรเสก กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและคณะซึ่งอยู่ในระหว่างการเยือนไอร์แลนด์ (working visit) เป็นวันที่สอง โดย ดร. กันตธีร์ ฯ ได้หารือกับนาย Dermot Ahernรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ และนาย Conor Lenihan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งภายหลังการหารือ ดร. กันตธีร์ และนาย Ahern ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การขยายความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในมิติต่างๆ
ดร. กันตธีร์กล่าวว่า ไทยและไอร์แลนด์มีความสัมพันธ์ทางการทูตมานาน แต่ทั้งสองประเทศยังไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญของแต่ละประเทศ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ดร. กันตธีร์ได้แสดงให้ฝ่ายไอร์แลนด์ตระหนักถึงศักยภาพของไทยในฐานะประเทศที่สามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคซึ่งไอร์แลนด์จะสามารถใช้ประโยชน์จากไทยได้ รวมถึงการชี้แจงให้ไอร์แลนด์ทราบถึงบทบาทของไทยที่สำคัญๆ ในเวทีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ไอร์แลนด์เห็นความสำคัญของไทยมากขึ้น และรับที่จะปรับยุทธศาสตร์เอเชียของไอร์แลนด์ให้ครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ นาย Ahern กล่าวว่าไอร์แลนด์จะพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดสถานเอกอัครราชทูตฯ ในประเทศไทย รวมถึงการจัดทำความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทยกับไอร์แลนด์ เพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถทำการบินระหว่างกันได้ โดยฝ่ายไอร์แลนด์รับที่จะพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางบินตรงจากไอร์แลนด์ไปยังประเทศไทยด้วย ในด้านการค้า ดร. กันตธีร์ได้ขอให้ไอร์แลนด์พิจารณาความตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับไทย รวมทั้งขอให้ไอร์แลนด์สนับสนุนด้านการลดภาษีนำเข้าสินค้าไก่ของไทยมายัง EU นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในอิรัก อิหร่าน เลบานอน และพม่า โดยบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
ในโอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ได้ขอให์พิจารณาสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในการลงสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย ไทยและไอร์แลนด์เห็นประโยชน์ของการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ดร. กันตธีร์แจ้งให้ฝ่ายไอร์แลนด์ทราบว่าไทยยึดมั่นในกรอบของ ACMECS และพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศพัฒนาแล้วและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้งไอร์แลนด์เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งฝ่ายไอร์แลนด์ได้ตอบรับพร้อมเสนอข้อคิดเห็นให้ร่วมกันในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศต่างๆ ในแอฟริกาด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาและ ICT
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะมีการขยายความร่วมมือด้านการศึกษา และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมในด้าน ICT มากขึ้น โดยไอร์แลนด์จะพิจารณาส่งอาจารย์และ/หรือนักวิจัยเดินทางมาประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับไทย นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไอร์แลนด์จะสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเยาวชนไทยที่สนใจด้าน ICT นอกจากนี้ ไอร์แลนด์ได้ถือโอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือและดูแลชาวไอริชที่ประสบภัยจาก Tsunami เป็นอย่างดี
ในวันเดียวกันนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม SFI (Science Foundation Ireland) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และต่อมาได้หารือกับผู้บริหารของบริษัท Kerry ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของยุโรป โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานของอาหารเพื่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆ ในช่วงเย็นดร. กันตธีร์ได้เดินทางไปเยี่ยมชม CRANN (Center for Research on Adeptive Nano Structure and Nano devices) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน ในช่วงค่ำ นาย Patrick Guilbaud กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงดับลินได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ ดร. กันตธีร์ และคณะ โดยมีเจ้าของกิจการร้านอาหารไทยเข้าร่วมงาน ซึ่งดร. กันตธีร์ได้สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินกิจการร้านอาหารไทยในไอร์แลนด์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-