พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วัน จันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 64/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2549
ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. — 1 มิ.ย. ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. ร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศพม่า ลาว และเวียดนามตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง
ข้อควรระวัง
ในระยะนี้ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย และอุดรธานี ระวังภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก และประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มโดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากในลุ่มน้ำยม ที่อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่อำเภอบางระกำ และบางกระทุ่ง จังหวัดพิษณุโลก จะได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งในระยะต่อไป
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. และ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-25 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. และ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-25 กม./ชม. พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำ ถ้าต้นไม้มีบาดแผลควรทำความสะอาดและตกแต่งบาดแผลแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรกหากจำเป็นควรสวมรองเท้าบูตเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
ตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค.- และ 3-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค.- และ 3-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในระยะนี้ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่ว รวมทั้งทำแผงกำบังฝนสาดโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กหากเปียกฝนจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผัก
กลาง
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 30-50 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตะวันตกของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย 30-50 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตะวันตกของภาค ส่วนมากในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกชุกเกษตรกรควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันการอับชื้นภายในโรงเรือนและป้องกันสัตว์เจ็บป่วย นอกจากนี้ควรหมั่นสำรวจหากพบสัตว์ที่ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
ตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค. และ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ค. และ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่และพืชผัก นอกจากนี้ผู้ที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า รวมทั้งควรเก็บกวาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เรียบร้อย
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ในช่วงนี้มีฝนตกชุกซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมขังได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะระยะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำตาปีมีระดับสูงขึ้น เกษตรกรควรระวังป้องกันอันตรายจากน้ำล้นตลิ่งด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-