ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.49 โดยรวมยังมีแรงขับเคลื่อนดี ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยวานนี้ว่า
ที่ประชุมได้ประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของไทยแล้วพบว่า เศรษฐกิจในเดือน ก.พ.49 โดยรวมยังดีอยู่ ตัวเลข
ที่สำคัญทางเศรษฐกิจได้ขยายตัวดีขึ้น โดยการส่งออกของไทยขยายตัวถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.ปีที่
ผ่านมา ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15 ขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือน ก.พ.ก็เพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว แต่ต้อง
เฝ้าติดตามดูต่อไป เนื่องจากฐานตัวเลขของนักท่องเที่ยวปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเกิดสึนามิ อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังขาดตัวเลขของการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment) และ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Domestic Consumption) ซึ่งต้องใช้เวลารวบรวมและติดตามต่อไปว่าจะได้
รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองมากน้อยเพียงใด (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ก.พ.49 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ
101.4 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทย
ในเดือน ก.พ.49 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 101.4 จากระดับ
103.4 ในเดือน ม.ค.49 ที่ผ่านมา สาเหตุเนื่องมาจากค่าดัชนีหลักปรับตัวลดลงได้แก่ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดย
รวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และประมาณการผลิต ปรับตัวลดลงจากระดับ 123.4 121.9 และ 126.2
ในเดือน ม.ค.49 เป็น 117.8 118.5 และ 120 ในเดือน ก.พ.49 ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่น
โดยรวมต่อยอดคำสั่งซื้อในประเทศและยอดขายในประเทศลดลงจาก 118.1 128.8 และ 117.1 ในเดือน
ม.ค.49 เป็น 113.2 128.6 และ 115.7 ในเดือน ก.พ.49 ตามลำดับ (แนวหน้า, สยามรัฐ)
3. ม.หอการค้าไทยประเมินภาคธุรกิจส่วนใหญ่สามารถรับปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองได้ 3 เดือน
เท่านั้น ผอ.การศึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึง การประเมินสถานการณ์ทางการ
เมืองที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศรวม 66 ราย ระหว่างวันที่
6-20 มี.ค.49 ว่า การสำรวจว่าการเมืองยืดเยื้อเท่าใด จึงได้รับผลกระทบ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่า
ภายใน 3 เดือนสูงถึงร้อยละ 42.24 ยืดเยื้อ 4-6 เดือน เห็นว่า กระทบร้อยละ 0.33 ยืดเยื้อภายใน 1 เดือน
เห็นว่ากระทบร้อยละ 10.35 ยืดเยื้อภายใน 2 เดือน เห็นว่ากระทบร้อยละ 26.88 นักธุรกิจคาดว่าสถานการณ์
การเมืองจะคลี่คลาย โดยเฉลี่ยประมาณ 3 เดือนมีถึงร้อยละ 33.7 จะคลี่คลายภายใน 2 เดือนร้อยละ 35.40
ภายใน 4 เดือนร้อยละ 18.27 มากกว่า 6 เดือนร้อยละ 0.33 และภายใน 1 เดือนร้อยละ 12.30 ขณะที่ผล
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่า สถานการณ์จะจบภายใน 1 เดือน ผู้ประกอบการแสดงความเห็นสูงสุดถึงร้อยละ
30.12 เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 4.51-5.0 หากจบลง 2 เดือน กว่าร้อยละ 29.82 เห็นว่าเศรษฐกิจ
ขยายตัวที่ร้อยละ 4.51-4.50 เช่นกัน หากสถานการณ์จบภายใน 3 เดือน ผู้ประกอบแสดงความเห็นสูงสุดร้อยละ
37.33 เห็นว่าเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.51-4.0 และสถานการณ์จบใน 12 เดือน ผู้ประกอบการแสดงความเห็น
สูงสุดถึงร้อยละ 38.5 เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.35 (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ)
4. ปัญหาการเมืองกระทบจีดีพีภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.5-1.0 ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภาค
เหนือ เปิดเผยว่า ปัญหาการเมืองในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เป็นอย่าง
มาก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เริ่มยกเลิกโปรแกรมทัวร์ภาคเหนือ ส่วนนัก
ลงทุนจากต่างประเทศเริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยก่อนหน้านี้ ภาคเหนือกำหนดเป้าการขยายตัวของ
จีดีพีไว้ประมาณร้อยละ 5 แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองส่งผลให้ภาพรวมของจีดีพีในเขตภาคเหนือปรับตัวลดลง
ประมาณร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนอัตราการว่างงานจากเดิมประมาณร้อยละ 1.8 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
3 เนื่องจากต่างประเทศชะลอการลงทุน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติเผยหลังมีเครดิตบูโรทำให้ยอดเอ็นพีแอลทั้งระบบลดลงร้อยละ 2-3
ผู้จัดการใหญ่ บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า หลังจากมีเครดิตบูโร ทำให้ยอดเอ็นพีแอลลดลงร้อยละ 2-3
และช่วยให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวตามไปด้วย เพราะประวัติ
ของลูกค้าถือเป็นหลักประกันประเภทหนึ่งว่า ลูกค้ามีวินัยทางการเงินหรือไม่อย่างไร ปัจจุบันมีสินเชื่อที่เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลเครดิตที่เป็นบุคคลธรรมดา 12 ล้านบัญชี หรือ 12 ล้านราย และเป็นนิติบุคคล 5 ล้านบัญชี หรือ 1 ล้านราย
และคาดว่าสิ้นปีนี้ มีบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็น 40 ล้านบัญชี และนิติบุคคลเพิ่มเป็น 6 ล้านบัญชี ขณะที่ต้นปี 48 มีบุคคล
ธรรมดา 24 ล้านบัญชี นิติบุคคล 4 ล้านบัญชีเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มี.ค. จะชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ. รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 49 อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price Index — CPI) ของ 3 รัฐในเยอรมนี
ได้แก่ Bavaria Brandenburg และSaxony ต่างชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ. ทั้งนี้ 3 รัฐดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน
เกือบร้อยละ 25 ของ CPI ของประเทศ ทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีทั้งประเทศจะลดลงในเดือน
ดังกล่าว ซึ่งการชะลอตัวของ CPI ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลกระทบจากฐานข้อมูล เนื่องจากเดือนมี.ค. ปีก่อนราคา
น้ำมันเพิ่มขึ้นสูงมาก ทั้งนี้ นาย Rainer Guntermann นักเศรษฐศาสตร์จาก Dresdner Kleinwort
Wasserstein เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อมิได้เป็นประเด็นสำคัญของเยอรมนีแต่ประการใด และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. ของยูโรโซนคาดว่าจะชะลอตัวลง
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.9 ลดลง 2 จุดจากเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นอีก รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่
23 มี.ค.49 Gernot Nerb นักเศรษฐศาสตร์จาก Ifo คาดว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจเยอรมนีในเดือน มี.ค.
จะเพิ่มสูงขึ้นอีกทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายจาก 101.8 ใน
เดือน ม.ค. เป็น 103.3 ในเดือน ก.พ. สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 34 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
การผลิต และผู้ค้าปลีกมีความเชื่อมั่นระหว่างกันเพิ่มขึ้น ส่วนผลการสำรวจนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์คาดว่าความ
เชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่เฉลี่ย 103.0 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดภาคบริการของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.49 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 24 มี.ค.49 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (The tertiary sector index) ของญี่ปุ่นใน
เดือน ม.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 110.1 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 นับเป็นการขยายระดับของดัชนีในระดับสูงต่อไป สะท้อนว่าภาคบริการ
ได้กลับมาแข็งแกร่งและฟื้นตัวอย่างยั่งยืน โดยธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจด้านข้อมูล
และการสื่อสาร สำหรับ The all-industries index ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทรวมทั้ง
The tertiary index เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.0 สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นจากภาวะซบเซาอันเกิดจากการชะลอตัวของความต้อง
การภายในประเทศและการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ราย
งานจากโซล เมื่อ 24 มี.ค.49 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมา
อยู่ที่ระดับ 109 ในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันจากระดับ 107 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 และ
อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 119 โดยตัวเลขที่สูงกว่า 100 มีความหมาย
ว่าจำนวนผู้บริโภคที่มองแนวโน้มเศรษฐกิจในแง่บวกมีมากกว่าที่มองในแง่ลบ และจากมุมมองว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้
กำลังฟื้นตัว มีส่วนทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 48 ทั้งนี้
ทั้ง ธ.กลางและ ก.คลังเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะขยายตัวร้อยละ
5 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 มี.ค. 49 23 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.04 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7970/39.0835 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.58953 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 729.72/ 9.86 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.22 57.26 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มี.ค. 49 **ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ
9 มี.ค. 49 27.14*/25.49** 27.14*/25.49** 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.49 โดยรวมยังมีแรงขับเคลื่อนดี ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยวานนี้ว่า
ที่ประชุมได้ประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของไทยแล้วพบว่า เศรษฐกิจในเดือน ก.พ.49 โดยรวมยังดีอยู่ ตัวเลข
ที่สำคัญทางเศรษฐกิจได้ขยายตัวดีขึ้น โดยการส่งออกของไทยขยายตัวถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.ปีที่
ผ่านมา ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15 ขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือน ก.พ.ก็เพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว แต่ต้อง
เฝ้าติดตามดูต่อไป เนื่องจากฐานตัวเลขของนักท่องเที่ยวปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเกิดสึนามิ อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังขาดตัวเลขของการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment) และ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Domestic Consumption) ซึ่งต้องใช้เวลารวบรวมและติดตามต่อไปว่าจะได้
รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองมากน้อยเพียงใด (ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ก.พ.49 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ
101.4 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทย
ในเดือน ก.พ.49 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 101.4 จากระดับ
103.4 ในเดือน ม.ค.49 ที่ผ่านมา สาเหตุเนื่องมาจากค่าดัชนีหลักปรับตัวลดลงได้แก่ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดย
รวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และประมาณการผลิต ปรับตัวลดลงจากระดับ 123.4 121.9 และ 126.2
ในเดือน ม.ค.49 เป็น 117.8 118.5 และ 120 ในเดือน ก.พ.49 ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่น
โดยรวมต่อยอดคำสั่งซื้อในประเทศและยอดขายในประเทศลดลงจาก 118.1 128.8 และ 117.1 ในเดือน
ม.ค.49 เป็น 113.2 128.6 และ 115.7 ในเดือน ก.พ.49 ตามลำดับ (แนวหน้า, สยามรัฐ)
3. ม.หอการค้าไทยประเมินภาคธุรกิจส่วนใหญ่สามารถรับปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองได้ 3 เดือน
เท่านั้น ผอ.การศึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึง การประเมินสถานการณ์ทางการ
เมืองที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศรวม 66 ราย ระหว่างวันที่
6-20 มี.ค.49 ว่า การสำรวจว่าการเมืองยืดเยื้อเท่าใด จึงได้รับผลกระทบ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่า
ภายใน 3 เดือนสูงถึงร้อยละ 42.24 ยืดเยื้อ 4-6 เดือน เห็นว่า กระทบร้อยละ 0.33 ยืดเยื้อภายใน 1 เดือน
เห็นว่ากระทบร้อยละ 10.35 ยืดเยื้อภายใน 2 เดือน เห็นว่ากระทบร้อยละ 26.88 นักธุรกิจคาดว่าสถานการณ์
การเมืองจะคลี่คลาย โดยเฉลี่ยประมาณ 3 เดือนมีถึงร้อยละ 33.7 จะคลี่คลายภายใน 2 เดือนร้อยละ 35.40
ภายใน 4 เดือนร้อยละ 18.27 มากกว่า 6 เดือนร้อยละ 0.33 และภายใน 1 เดือนร้อยละ 12.30 ขณะที่ผล
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่า สถานการณ์จะจบภายใน 1 เดือน ผู้ประกอบการแสดงความเห็นสูงสุดถึงร้อยละ
30.12 เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 4.51-5.0 หากจบลง 2 เดือน กว่าร้อยละ 29.82 เห็นว่าเศรษฐกิจ
ขยายตัวที่ร้อยละ 4.51-4.50 เช่นกัน หากสถานการณ์จบภายใน 3 เดือน ผู้ประกอบแสดงความเห็นสูงสุดร้อยละ
37.33 เห็นว่าเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.51-4.0 และสถานการณ์จบใน 12 เดือน ผู้ประกอบการแสดงความเห็น
สูงสุดถึงร้อยละ 38.5 เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.35 (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ)
4. ปัญหาการเมืองกระทบจีดีพีภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.5-1.0 ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภาค
เหนือ เปิดเผยว่า ปัญหาการเมืองในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เป็นอย่าง
มาก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เริ่มยกเลิกโปรแกรมทัวร์ภาคเหนือ ส่วนนัก
ลงทุนจากต่างประเทศเริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยก่อนหน้านี้ ภาคเหนือกำหนดเป้าการขยายตัวของ
จีดีพีไว้ประมาณร้อยละ 5 แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองส่งผลให้ภาพรวมของจีดีพีในเขตภาคเหนือปรับตัวลดลง
ประมาณร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนอัตราการว่างงานจากเดิมประมาณร้อยละ 1.8 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
3 เนื่องจากต่างประเทศชะลอการลงทุน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติเผยหลังมีเครดิตบูโรทำให้ยอดเอ็นพีแอลทั้งระบบลดลงร้อยละ 2-3
ผู้จัดการใหญ่ บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า หลังจากมีเครดิตบูโร ทำให้ยอดเอ็นพีแอลลดลงร้อยละ 2-3
และช่วยให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวตามไปด้วย เพราะประวัติ
ของลูกค้าถือเป็นหลักประกันประเภทหนึ่งว่า ลูกค้ามีวินัยทางการเงินหรือไม่อย่างไร ปัจจุบันมีสินเชื่อที่เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลเครดิตที่เป็นบุคคลธรรมดา 12 ล้านบัญชี หรือ 12 ล้านราย และเป็นนิติบุคคล 5 ล้านบัญชี หรือ 1 ล้านราย
และคาดว่าสิ้นปีนี้ มีบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็น 40 ล้านบัญชี และนิติบุคคลเพิ่มเป็น 6 ล้านบัญชี ขณะที่ต้นปี 48 มีบุคคล
ธรรมดา 24 ล้านบัญชี นิติบุคคล 4 ล้านบัญชีเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มี.ค. จะชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ. รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 49 อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price Index — CPI) ของ 3 รัฐในเยอรมนี
ได้แก่ Bavaria Brandenburg และSaxony ต่างชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ. ทั้งนี้ 3 รัฐดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน
เกือบร้อยละ 25 ของ CPI ของประเทศ ทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีทั้งประเทศจะลดลงในเดือน
ดังกล่าว ซึ่งการชะลอตัวของ CPI ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลกระทบจากฐานข้อมูล เนื่องจากเดือนมี.ค. ปีก่อนราคา
น้ำมันเพิ่มขึ้นสูงมาก ทั้งนี้ นาย Rainer Guntermann นักเศรษฐศาสตร์จาก Dresdner Kleinwort
Wasserstein เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อมิได้เป็นประเด็นสำคัญของเยอรมนีแต่ประการใด และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. ของยูโรโซนคาดว่าจะชะลอตัวลง
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.9 ลดลง 2 จุดจากเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจในเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นอีก รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่
23 มี.ค.49 Gernot Nerb นักเศรษฐศาสตร์จาก Ifo คาดว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจเยอรมนีในเดือน มี.ค.
จะเพิ่มสูงขึ้นอีกทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายจาก 101.8 ใน
เดือน ม.ค. เป็น 103.3 ในเดือน ก.พ. สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 34 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
การผลิต และผู้ค้าปลีกมีความเชื่อมั่นระหว่างกันเพิ่มขึ้น ส่วนผลการสำรวจนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์คาดว่าความ
เชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน มี.ค. จะอยู่ที่เฉลี่ย 103.0 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดภาคบริการของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.49 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 24 มี.ค.49 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (The tertiary sector index) ของญี่ปุ่นใน
เดือน ม.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 110.1 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 นับเป็นการขยายระดับของดัชนีในระดับสูงต่อไป สะท้อนว่าภาคบริการ
ได้กลับมาแข็งแกร่งและฟื้นตัวอย่างยั่งยืน โดยธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจด้านข้อมูล
และการสื่อสาร สำหรับ The all-industries index ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทรวมทั้ง
The tertiary index เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.0 สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นจากภาวะซบเซาอันเกิดจากการชะลอตัวของความต้อง
การภายในประเทศและการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ราย
งานจากโซล เมื่อ 24 มี.ค.49 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมา
อยู่ที่ระดับ 109 ในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันจากระดับ 107 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 และ
อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 119 โดยตัวเลขที่สูงกว่า 100 มีความหมาย
ว่าจำนวนผู้บริโภคที่มองแนวโน้มเศรษฐกิจในแง่บวกมีมากกว่าที่มองในแง่ลบ และจากมุมมองว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้
กำลังฟื้นตัว มีส่วนทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 48 ทั้งนี้
ทั้ง ธ.กลางและ ก.คลังเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะขยายตัวร้อยละ
5 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 ในปี 48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 มี.ค. 49 23 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.04 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7970/39.0835 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.58953 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 729.72/ 9.86 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.22 57.26 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มี.ค. 49 **ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ
9 มี.ค. 49 27.14*/25.49** 27.14*/25.49** 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--