1. ภาวะทั่วไป
เครื่องเงินไทย เป็นศิลปหัตถกรรมที่มีค่าในตัวเอง คือทำด้วยโลหะเงินและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นโดยช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญและความประณีตพิเศษ ทั้งในด้านรูปทรงและลวดลายที่ประดิษฐ์ ซึ่งแสดงถึงวิจิตรกรรมและวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างชัดเจน สินค้าเครื่องเงินไทยจึงเป็นที่นิยมในหมู่ของคนไทย ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวซึ่งมีส่วนช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเครื่องเงินไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงในด้านการออกแบบให้ทันสมัย และตรงตามรสนิยมของชาวต่างประเทศมากขึ้น
เครื่องเงินไทยในที่นี้ประกอบด้วยเครื่องเงิน 2 ประเภท ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของขวัญของชำร่วย เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แจกัน กรอบรูป ขัน พานรอง เชิงเทียน ของขวัญของชำร่วย ฯลฯ ผู้ผลิตเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับโลหะเงินที่ผลิตเป็นอย่างดี ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ เทคโนโลยีพื้นบ้านและอื่น ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ความรู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สินค้าเครื่องเงินประเภทนี้จึงแฝงด้วยวัฒนธรรมและคุณค่าอยู่ในงานฝีมือนั้น เนื่องจากสินค้าเครื่องเงินประเภทนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นงานฝีมือ และความเป็นเอกลักษณ์ ความต้องการของตลาดภายในประเทศจึงยังอยู่ในวงจำกัด เพราะเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงและจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มผู้ที่นิยมซื้อหรือผู้สะสมส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้เครื่องเงินไทยยังรักษายากเพราะจะเกิดเป็นฝ้าคล้ำดำได้ง่าย ความต้องการส่วนใหญ่แต่เดิมมักเป็นไปเพื่องานมงคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรสหรืองานบวช เป็นต้น รวมถึงนิยมมอบเป็นของที่ระลึกให้กันและกันทั้งในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาด้วย ดังนั้นการผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นการผลิต เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและส่งออกเป็นหลัก
ในปัจจุบันความต้องการบริโภคเครื่องเงินได้เปลี่ยนไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และความนิยมสินค้ารูปแบบตะวันตก ผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปซื้อเนื่องในโอกาสใด ๆ ก็ได้ตลอดทั้งปี ไม่มีเทศกาลเฉพาะ คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตส่วนใหญ่เร่งรีบอยู่กับการทำงาน การให้ของขวัญชุดเครื่องเงินหรูหราในวันแต่งงานนั้น มีน้อยลงมาก สินค้าเครื่องเงินรูปแบบเก่าหรือรูปแบบเดิม เปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย ดีไซน์หรูหรา แปลก และใช้งานได้จริง ในขณะที่เศรษฐกิจถดถอยนิยมลดต้นทุนด้านราคา โดยใช้โลหะเงินผสมโลหะอื่น ๆ หรือ โลหะปิดด้วยแผ่นเงินบาง ๆ (Laminate) หรือเป็นเพียงส่วนประกอบที่มีชิ้นเงินร่วมประดับ มากกว่าสินค้าที่ทำจากเงินทั้งหมดแบบดั้งเดิมที่เหมาะสำหรับตั้งในตู้โชว์เท่านั้น ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความจำเป็น รายได้ เวลา และอื่น ๆ จำกัดมากขึ้น อีกประการหนึ่งสินค้าเครื่องเงินเป็นสินค้าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษและคนรุ่นใหม่ไม่มีเวลาอยู่บ้านมากนักจึงเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน จำเป็นจะต้องปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เวลา และความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินประเภทแหวน กำไลข้อมือ สายสร้อย ต่างหู จี้ห้อยคอ ฯลฯ เครื่องประดับเงินเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคตที่ดี เพราะตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของทศวรรษที่ผ่านมา สีอ่อนเป็นที่นิยมมาโดยตลอด และเครื่องประดับเงินก็เข้ากันได้ดีกับสีในโทนอ่อนจาง ในแง่ศิลปะเครื่องประดับได้ให้โอกาสศิลปินแสดงความรู้สึกของตนในรูปแบบดั้งเดิม หรือร่วมสมัยผ่านการประดิษฐ์เครื่องประดับแต่ละชิ้น เครื่องประดับเงินไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ ที่ผิวหนัง ดังนั้น ผู้หญิงจึงสามารถซื้อหาเครื่องประดับเงินได้โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน มีการผลิตสืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยบรรพบุรุษเช่นกัน เดิมการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นการผลิตและจำหน่ายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาจากผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม กรรมวิธีการผลิตแบบเก่าพัฒนาให้ทันสมัย เพื่อให้ได้การผลิตที่รวดเร็ว มีมาตรฐาน สามารถสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อขนาดกิจการเริ่มมีการขยายตัว ได้มีการพัฒนาการผลิตโดยอาศัยเครื่องจักรเข้ามาช่วย เพื่อให้การผลิตง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องประดับเงินจำนวนมากที่มีดีไซน์หรูในรูปแบบแปลกใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีโลหะเงินเป็นส่วนผสม และได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ในระยะหลังได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าเครื่องเงินที่เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยรสนิยมของผู้บริโภคนิยมประดับร่างกายที่ทันสมัยมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น ทั้งนี้รวมทั้งการนำเอาลูกปัดหรือหินสีมาประกอบเข้ากับเครื่องประดับเงินด้วย
ทัศนะและแนวโน้มเครื่องประดับเงิน
ในทัศนะของผู้ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้ให้ความสำคัญของเครื่องประดับเงินเป็นอย่างมาก โดยให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องประดับเงินไว้ ดังนี้
- เดิมทีหลายคนในวงการมองว่าความนิยมในเครื่องประดับเงินนั้น เป็นเพียงช่วงหนึ่งของกระแสแฟชั่นเท่านั้น แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นความนิยมคลาสสิกไปแล้ว ด้วยโอกาสทำกำไรที่สูง ยอดขายดีและ รูปลักษณ์ที่เป็นสากล เครื่องประดับเงินได้รับความนิยมมายาวนานเช่นนี้ เพราะมีระดับราคาที่แข่งขันได้ การรับรู้คุณค่าว่าเป็นโลหะมีค่า และสามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางแฟชั่นและออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ
- เครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมั่นคงสำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประดับระดับบน (High — end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำโลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ดีทีเดียว
- สีขาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับโลหะมีค่า ประกอบกับสภาวะที่ราคาทองคำและแพลทินัมขยับตัวสูงขึ้นมาก จึงทำให้โลหะเงินถูกนำมาใช้มากขึ้น เมื่อก่อนนี้ร้านขายเครื่องประดับมักลังเลที่จะนำเครื่องประดับเงินใส่โชว์ในตู้หน้าร้าน เนื่องจากโลหะเงินจะหมองเร็วมากและยังใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการทำความสะอาด ผู้จำหน่ายหลายรายได้นำโลหะนิเกิล หรือโลหะ อื่น ๆ มาหุ้มหรือเคลือบโลหะเงินเอาไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้เมื่อสวมใส่ ปัจจุบันจึงนิยมเคลือบด้วยโรเดียม ซึ่งไม่หลุดลอก
- ควรมีการเสริมสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่เครื่องประดับเงิน ยกระดับเครื่องประดับเงินให้มีคุณภาพ และความประณีตเทียบเท่าเครื่องประดับทองคำ 18 กะรัต โดยด้านหลังตัวเรือนจะต้องประณีตเหมือนด้านหน้า และต้องมีดีไซน์ที่โดดเด่นแปลกตา ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประณีตในการผลิตมีความสำคัญต่อตลาดเครื่องประดับเงินในปัจจุบัน
- เครื่องประดับเงินสามารถเข้ากับการแต่งกายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์หรูหราหรือแบบเกาะกระแสแฟชั่น แนวโมเดิร์นหรือคลาสสิก เครื่องประดับเงินสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายสไตล์ ทั้งแบบชิ้นงานที่เป็นเนื้อโลหะทึบ หรือเป็นลวดลายแบบแกะสลัก หากพิจารณาผลงานการออกแบบในปัจจุบัน จะเห็นว่าเหล่าดีไซน์เนอร์ ออกแบบชิ้นงาน ให้มีโครงสร้างหลากหลายลักษณะทั้งการถักทอ และการแกะเป็นลวดลายต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลือบชิ้นงานขั้นสุดท้ายหลากหลายเทคนิค
- โลหะเงินมีคุณสมบัติหลายประการที่เอื้อต่อการออกแบบและงานแกะสลัก หากเปรียบเทียบกับโลหะมีค่าอื่น ๆ อย่างทองคำและแพลทินัม ซึ่งมีความแข็งกว่าและมีราคาสูงเกินไป ด้วยคุณสมบัติของเงินที่เป็นโลหะอ่อน จึงสามารถตีหรือทำเป็นรูปทรงต่างๆได้ตามแบบ จะกดม้วนหรือแกะเป็นลายได้โดยไม่ต้องนำไปหลอม
- เครื่องประดับเงินเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสุภาพสตรีที่แต่งกายสไตล์ลำลอง และไม่ต้องการเครื่องประดับที่มีราคาสูง รวมไปถึงคนที่ชอบเปลี่ยนเครื่องประดับบ่อย ๆ ชอบสวมเครื่องประดับหลาย ๆ ชิ้น และต้องการเครื่องประดับที่สวมใส่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
- ผู้ที่เป็นลูกค้าหลักของเครื่องประดับเงินคือ กลุ่มวัยรุ่น ทุกวันนี้กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดมีการใช้จ่ายที่อิสระ ชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ และต้องการให้ตนเองดูดีภายใต้เครื่องประดับรุ่นล่าสุด เช่น ชุดเครื่องประดับเงินเงาวับ ประเภทสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กระดุมเสื้อ สร้อยข้อเท้า สร้อยที่สวมใส่ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ แหวนที่สวมพร้อมกันหลาย ๆ วง สร้อยคอที่มีลักษณะเป็นลวดลาย และต่างหูคู่ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอาจกลายเป็นกลุ่มลูกค้าของเครื่องประดับเงินที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดได้ ทั้งการจับจ่ายเพื่อมอบเป็นของขวัญหรือเพื่อสวมใส่เอง
- ผู้ชายหันมาซื้อเครื่องประดับมากขึ้น เพราะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ชายจะสวมแหวนเงิน แม้ว่าผู้ชายจะซื้อเครื่องประดับไม่กี่ชิ้น และไม่นิยมเปลี่ยนบ่อย ๆ เท่าผู้หญิง รูปแบบเครื่องประดับเงินที่ผู้ชายนิยมว่าเป็นแบบที่ทำออกมาเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอารมณ์ขัน และความทันสมัย เช่น แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ กำไลข้อมือ สร้อยคอ และจี้สำหรับสายสร้อยหรือสายหนัง
- ผู้หญิงในชนบท มักจะชอบเครื่องประดับเงินที่มีน้ำหนักมาก แต่คนในเมืองจะชอบเครื่องประดับที่มีน้ำหนักเบาและละเอียดประณีต สำหรับโลหะที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องเงินมาตรฐานสากล จะเป็นเงินสเตอร์ลิง ซึ่งผู้ผลิตเครื่องประดับใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 92.5
2. การตลาดเครื่องเงิน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศและผู้ผลิตสำหรับส่งออก โดยการผลิตเพื่อการส่งออกจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่สูงกว่าการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศ เนื่องจากต้องแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพและราคาสินค้า ในอดีตอุตสาหกรรมเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ผลิตในรูปแบบของเครื่องประดับ จะมีการนำเพชรพลอยทั้งแท้และเทียมมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรือนหรือชิ้นงาน โดยการผลิตเครื่องประดับที่นำอัญมณีมาประกอบกับตัวเรือนโลหะเงิน ต้องอาศัยความรู้อย่างดีในด้านศิลปะ และความชำนาญในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตต้นแบบและแม่พิมพ์ การขึ้นรูปโลหะ การหล่อ การประกอบตัวเรือน รูปพรรณ การฝังอัญมณีเข้ากับตัวเรือนไปจนถึงการตกแต่งขั้นสุดท้าย สำหรับตลาดเครื่องเงินของไทยนั้น ประกอบด้วย 2 ตลาด คือตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ตลาดภายในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด และตลาดต่างประเทศหรือตลาดส่งออกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งหมด
ตลาดภายในประเทศ
สินค้าประเภทเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ลูกค้าภายในประเทศจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มลูกค้าที่ทำงานแล้ว และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพราะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเงินที่เป็นเครื่องประดับจะมีรูปแบบที่หลากหลาย แหล่งจำหน่ายหรือแหล่งการค้าที่สำคัญในประเทศ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ แหล่งผลิตและแหล่งท่องเที่ยวที่ถนนวัวลาย อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ่อสร้างและสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ อำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดสวนจตุจักร สวนลุมไนท์พลาซ่า ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และย่านที่มีนักท่องเที่ยวเดินผ่าน เช่น สีลม สุรวงศ์ บางรัก และร้านขายเครื่องประดับในโรงแรม เป็นต้น
ตลาดต่างประเทศ
การซื้อขายกับตลาดต่างประเทศของเครื่องเงินไทย สามารถทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การที่ผู้ซื้อไปหาผู้ขาย เป็นลักษณะของการที่ผู้นำเข้าติดต่อสั่งซื้อสินค้าเข้าไปจำหน่าย ภายในประเทศของตน โดยอาจเป็นการนำเข้าไปจำหน่ายต่อให้แก่ร้านค้าปลีก หรือการที่ผู้นำเข้าเป็นผู้จัดจำหน่ายเอง
2. การที่ผู้ขายไปหาผู้ซื้อ โดยผู้ขายจะดำเนินการติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรง โดยผ่านงานแสดงนิทรรศการและงานแสดงสินค้า หรือวิธีการส่งคณะผู้แทนการค้าไปยังตลาดต่างประเทศ และจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขายในตลาดต่างประเทศในรูปต่าง ๆ
จากการได้วิเคราะห์ภาพรวมของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่าอยู่ในภาวะทรงตัว โดยดูจากสถิติตัวเลขมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบราย 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน มีเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ในปี 2546 มูลค่าการส่งออกประมาณ 16,177 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่า 18,731 ล้านบาท และในปี 2548 มูลค่า 20,492 ล้านบาท คาดว่าในช่วงปี 2549 และช่วงเวลาที่เหลือ มีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญซึ่งเป็นตลาดหลักประกอบด้วย
- สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ใหญ่ที่สุดของไทย เนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก และส่วนใหญ่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ซึ่งแต่ละปีจะมีมูลค่าการนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 22 อยู่ในลำดับที่ 2 รองจากจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 24
- สหราชอาณาจักร เป็นตลาดนำเข้าและส่งออกเครื่องเงินมากที่สุดในสหภาพยุโรป โดยนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 16 -20 เปอร์เซ็นต์
- สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สินค้าเครื่องเงินที่ไทยส่งออกไปยังตลาดนี้ ประมาณร้อยละ 99.9 เป็นสินค้าเครื่องประดับเงิน และอีกร้อยละ 0.1 เป็นสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัวและเครื่องใช้ในบ้าน ไทยส่งออกเครื่องเงินไปเยอรมนี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 28 — 30 เปอร์เซ็นต์
- ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องเงินไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ และนับเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียที่มีมูลค่าการนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 28 — 31 เปอร์เซ็นต์
นอกจากตลาดส่งออกหลักที่สำคัญดังกล่าว ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ฮ่องกง รัสเซีย อิสราเอล ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพียงพอ ฐานะเศรษฐกิจดี และถือว่าเป็นลูกค้าประจำที่ไทยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการส่งออกเครื่องเงินไทยไปยังตลาดดังกล่าว จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากการส่งออกโดยรวมของไทยที่ผ่านมา มีมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ จึงจัดได้ว่าอุตสาหกรรมประเภทนี้ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมียอดการจ้างงาน 1.2 ล้านคน เมื่อพิจารณา การส่งออกเครื่องประดับรายผลิตภัณฑ์พบว่า เครื่องประดับเงินไทยมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม และเป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญ ด้วยมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราคงที่ ในขณะที่เครื่องประดับทองคำกลับผันผวนตลอดช่วงสามปี ที่ผ่านมา แม้ว่าในภาพรวมปี 2548 ทั่วโลกยังประสบปัญหาในเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัว ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความหวาดวิตกเรื่องการก่อการร้าย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคู่ค้าหลายประเทศได้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออก เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินไทยยังมีการเติบโตได้ค่อนข้างดี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าโลหะเงิน ขยายตัวในระดับที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน ทั้งนี้ในปี 2549 คาดว่าปัจจัยด้านลบของปัญหาสภาวะเศรษฐกิจน่าจะยังคงอยู่ จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลายๆ รายให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ ของโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือจีน น่าจะมีการชะลอตัวลงเล็กน้อย อีกทั้งการขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดในปีที่แล้วของสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินเหรียญสหรัฐในปีนี้ด้วย รวมถึงปัจจัยในด้านราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องเงินไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกนั้นไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามคาดว่า มูลค่าการส่งออกจะยังปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในปี 2549 นี้
บทสรุป
ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องผลิตจากแรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างสูง เพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อันนำมาซึ่งรายได้มหาศาลเข้าสู่ประเทศ ดังนั้นการผลิตเครื่องเงินไทย จึงต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี และสร้างแรงงานฝีมือที่ประณีต อีกทั้งควรมีการฝึกฝนแรงงานให้เกิดความชำนาญด้วย ปัจจุบันจำนวนแรงงานไทยที่มีอยู่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะแรงงานฝีมือเครื่องประดับเงิน นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเงินไทยในอนาคตก็คือ นโยบายของภาครัฐ กลไก และมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการลงทุน มาตรการด้านภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอากร ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยข้างต้นเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการได้เปรียบการผลิตสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตจากต่างประเทศค่อนข้างสูง ในส่วนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทยเองก็ควรต้องเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว ควรเร่งปรับตัวในการพัฒนาศักยภาพการผลิตไปสู่การผลิตสินค้าคุณภาพสูงที่มีรูปแบบของตนเอง และจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของตนเอง นอกจากนี้ควรเร่งพัฒนาบุคลากรด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบเครื่องประดับ ส่วนในเรื่องการตลาดนั้น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย ควรให้ความสำคัญตลาดระดับบนที่เป็นการแข่งขันด้านคุณภาพเป็นหลัก และเน้นการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการกำหนดแผนการตลาดระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมประเภทนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ภาครัฐควรให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการติดตามทิศทางตลาดหรือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดสำคัญ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ และความต้องการของผู้บริโภคที่แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เครื่องเงินไทย เป็นศิลปหัตถกรรมที่มีค่าในตัวเอง คือทำด้วยโลหะเงินและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นโดยช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญและความประณีตพิเศษ ทั้งในด้านรูปทรงและลวดลายที่ประดิษฐ์ ซึ่งแสดงถึงวิจิตรกรรมและวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างชัดเจน สินค้าเครื่องเงินไทยจึงเป็นที่นิยมในหมู่ของคนไทย ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวซึ่งมีส่วนช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเครื่องเงินไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงในด้านการออกแบบให้ทันสมัย และตรงตามรสนิยมของชาวต่างประเทศมากขึ้น
เครื่องเงินไทยในที่นี้ประกอบด้วยเครื่องเงิน 2 ประเภท ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของขวัญของชำร่วย เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แจกัน กรอบรูป ขัน พานรอง เชิงเทียน ของขวัญของชำร่วย ฯลฯ ผู้ผลิตเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับโลหะเงินที่ผลิตเป็นอย่างดี ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ เทคโนโลยีพื้นบ้านและอื่น ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ความรู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สินค้าเครื่องเงินประเภทนี้จึงแฝงด้วยวัฒนธรรมและคุณค่าอยู่ในงานฝีมือนั้น เนื่องจากสินค้าเครื่องเงินประเภทนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นงานฝีมือ และความเป็นเอกลักษณ์ ความต้องการของตลาดภายในประเทศจึงยังอยู่ในวงจำกัด เพราะเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงและจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มผู้ที่นิยมซื้อหรือผู้สะสมส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้เครื่องเงินไทยยังรักษายากเพราะจะเกิดเป็นฝ้าคล้ำดำได้ง่าย ความต้องการส่วนใหญ่แต่เดิมมักเป็นไปเพื่องานมงคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรสหรืองานบวช เป็นต้น รวมถึงนิยมมอบเป็นของที่ระลึกให้กันและกันทั้งในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาด้วย ดังนั้นการผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นการผลิต เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและส่งออกเป็นหลัก
ในปัจจุบันความต้องการบริโภคเครื่องเงินได้เปลี่ยนไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และความนิยมสินค้ารูปแบบตะวันตก ผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปซื้อเนื่องในโอกาสใด ๆ ก็ได้ตลอดทั้งปี ไม่มีเทศกาลเฉพาะ คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตส่วนใหญ่เร่งรีบอยู่กับการทำงาน การให้ของขวัญชุดเครื่องเงินหรูหราในวันแต่งงานนั้น มีน้อยลงมาก สินค้าเครื่องเงินรูปแบบเก่าหรือรูปแบบเดิม เปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย ดีไซน์หรูหรา แปลก และใช้งานได้จริง ในขณะที่เศรษฐกิจถดถอยนิยมลดต้นทุนด้านราคา โดยใช้โลหะเงินผสมโลหะอื่น ๆ หรือ โลหะปิดด้วยแผ่นเงินบาง ๆ (Laminate) หรือเป็นเพียงส่วนประกอบที่มีชิ้นเงินร่วมประดับ มากกว่าสินค้าที่ทำจากเงินทั้งหมดแบบดั้งเดิมที่เหมาะสำหรับตั้งในตู้โชว์เท่านั้น ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความจำเป็น รายได้ เวลา และอื่น ๆ จำกัดมากขึ้น อีกประการหนึ่งสินค้าเครื่องเงินเป็นสินค้าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษและคนรุ่นใหม่ไม่มีเวลาอยู่บ้านมากนักจึงเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน จำเป็นจะต้องปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เวลา และความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินประเภทแหวน กำไลข้อมือ สายสร้อย ต่างหู จี้ห้อยคอ ฯลฯ เครื่องประดับเงินเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคตที่ดี เพราะตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของทศวรรษที่ผ่านมา สีอ่อนเป็นที่นิยมมาโดยตลอด และเครื่องประดับเงินก็เข้ากันได้ดีกับสีในโทนอ่อนจาง ในแง่ศิลปะเครื่องประดับได้ให้โอกาสศิลปินแสดงความรู้สึกของตนในรูปแบบดั้งเดิม หรือร่วมสมัยผ่านการประดิษฐ์เครื่องประดับแต่ละชิ้น เครื่องประดับเงินไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ ที่ผิวหนัง ดังนั้น ผู้หญิงจึงสามารถซื้อหาเครื่องประดับเงินได้โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน มีการผลิตสืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยบรรพบุรุษเช่นกัน เดิมการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นการผลิตและจำหน่ายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาจากผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม กรรมวิธีการผลิตแบบเก่าพัฒนาให้ทันสมัย เพื่อให้ได้การผลิตที่รวดเร็ว มีมาตรฐาน สามารถสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อขนาดกิจการเริ่มมีการขยายตัว ได้มีการพัฒนาการผลิตโดยอาศัยเครื่องจักรเข้ามาช่วย เพื่อให้การผลิตง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องประดับเงินจำนวนมากที่มีดีไซน์หรูในรูปแบบแปลกใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีโลหะเงินเป็นส่วนผสม และได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ในระยะหลังได้รับความนิยมมากกว่าสินค้าเครื่องเงินที่เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยรสนิยมของผู้บริโภคนิยมประดับร่างกายที่ทันสมัยมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น ทั้งนี้รวมทั้งการนำเอาลูกปัดหรือหินสีมาประกอบเข้ากับเครื่องประดับเงินด้วย
ทัศนะและแนวโน้มเครื่องประดับเงิน
ในทัศนะของผู้ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้ให้ความสำคัญของเครื่องประดับเงินเป็นอย่างมาก โดยให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องประดับเงินไว้ ดังนี้
- เดิมทีหลายคนในวงการมองว่าความนิยมในเครื่องประดับเงินนั้น เป็นเพียงช่วงหนึ่งของกระแสแฟชั่นเท่านั้น แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นความนิยมคลาสสิกไปแล้ว ด้วยโอกาสทำกำไรที่สูง ยอดขายดีและ รูปลักษณ์ที่เป็นสากล เครื่องประดับเงินได้รับความนิยมมายาวนานเช่นนี้ เพราะมีระดับราคาที่แข่งขันได้ การรับรู้คุณค่าว่าเป็นโลหะมีค่า และสามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางแฟชั่นและออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ
- เครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมั่นคงสำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประดับระดับบน (High — end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำโลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ดีทีเดียว
- สีขาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับโลหะมีค่า ประกอบกับสภาวะที่ราคาทองคำและแพลทินัมขยับตัวสูงขึ้นมาก จึงทำให้โลหะเงินถูกนำมาใช้มากขึ้น เมื่อก่อนนี้ร้านขายเครื่องประดับมักลังเลที่จะนำเครื่องประดับเงินใส่โชว์ในตู้หน้าร้าน เนื่องจากโลหะเงินจะหมองเร็วมากและยังใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการทำความสะอาด ผู้จำหน่ายหลายรายได้นำโลหะนิเกิล หรือโลหะ อื่น ๆ มาหุ้มหรือเคลือบโลหะเงินเอาไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้เมื่อสวมใส่ ปัจจุบันจึงนิยมเคลือบด้วยโรเดียม ซึ่งไม่หลุดลอก
- ควรมีการเสริมสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่เครื่องประดับเงิน ยกระดับเครื่องประดับเงินให้มีคุณภาพ และความประณีตเทียบเท่าเครื่องประดับทองคำ 18 กะรัต โดยด้านหลังตัวเรือนจะต้องประณีตเหมือนด้านหน้า และต้องมีดีไซน์ที่โดดเด่นแปลกตา ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประณีตในการผลิตมีความสำคัญต่อตลาดเครื่องประดับเงินในปัจจุบัน
- เครื่องประดับเงินสามารถเข้ากับการแต่งกายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์หรูหราหรือแบบเกาะกระแสแฟชั่น แนวโมเดิร์นหรือคลาสสิก เครื่องประดับเงินสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายสไตล์ ทั้งแบบชิ้นงานที่เป็นเนื้อโลหะทึบ หรือเป็นลวดลายแบบแกะสลัก หากพิจารณาผลงานการออกแบบในปัจจุบัน จะเห็นว่าเหล่าดีไซน์เนอร์ ออกแบบชิ้นงาน ให้มีโครงสร้างหลากหลายลักษณะทั้งการถักทอ และการแกะเป็นลวดลายต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลือบชิ้นงานขั้นสุดท้ายหลากหลายเทคนิค
- โลหะเงินมีคุณสมบัติหลายประการที่เอื้อต่อการออกแบบและงานแกะสลัก หากเปรียบเทียบกับโลหะมีค่าอื่น ๆ อย่างทองคำและแพลทินัม ซึ่งมีความแข็งกว่าและมีราคาสูงเกินไป ด้วยคุณสมบัติของเงินที่เป็นโลหะอ่อน จึงสามารถตีหรือทำเป็นรูปทรงต่างๆได้ตามแบบ จะกดม้วนหรือแกะเป็นลายได้โดยไม่ต้องนำไปหลอม
- เครื่องประดับเงินเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสุภาพสตรีที่แต่งกายสไตล์ลำลอง และไม่ต้องการเครื่องประดับที่มีราคาสูง รวมไปถึงคนที่ชอบเปลี่ยนเครื่องประดับบ่อย ๆ ชอบสวมเครื่องประดับหลาย ๆ ชิ้น และต้องการเครื่องประดับที่สวมใส่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
- ผู้ที่เป็นลูกค้าหลักของเครื่องประดับเงินคือ กลุ่มวัยรุ่น ทุกวันนี้กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดมีการใช้จ่ายที่อิสระ ชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ และต้องการให้ตนเองดูดีภายใต้เครื่องประดับรุ่นล่าสุด เช่น ชุดเครื่องประดับเงินเงาวับ ประเภทสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กระดุมเสื้อ สร้อยข้อเท้า สร้อยที่สวมใส่ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ แหวนที่สวมพร้อมกันหลาย ๆ วง สร้อยคอที่มีลักษณะเป็นลวดลาย และต่างหูคู่ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอาจกลายเป็นกลุ่มลูกค้าของเครื่องประดับเงินที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดได้ ทั้งการจับจ่ายเพื่อมอบเป็นของขวัญหรือเพื่อสวมใส่เอง
- ผู้ชายหันมาซื้อเครื่องประดับมากขึ้น เพราะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ชายจะสวมแหวนเงิน แม้ว่าผู้ชายจะซื้อเครื่องประดับไม่กี่ชิ้น และไม่นิยมเปลี่ยนบ่อย ๆ เท่าผู้หญิง รูปแบบเครื่องประดับเงินที่ผู้ชายนิยมว่าเป็นแบบที่ทำออกมาเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอารมณ์ขัน และความทันสมัย เช่น แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ กำไลข้อมือ สร้อยคอ และจี้สำหรับสายสร้อยหรือสายหนัง
- ผู้หญิงในชนบท มักจะชอบเครื่องประดับเงินที่มีน้ำหนักมาก แต่คนในเมืองจะชอบเครื่องประดับที่มีน้ำหนักเบาและละเอียดประณีต สำหรับโลหะที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องเงินมาตรฐานสากล จะเป็นเงินสเตอร์ลิง ซึ่งผู้ผลิตเครื่องประดับใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 92.5
2. การตลาดเครื่องเงิน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศและผู้ผลิตสำหรับส่งออก โดยการผลิตเพื่อการส่งออกจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่สูงกว่าการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศ เนื่องจากต้องแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพและราคาสินค้า ในอดีตอุตสาหกรรมเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ผลิตในรูปแบบของเครื่องประดับ จะมีการนำเพชรพลอยทั้งแท้และเทียมมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรือนหรือชิ้นงาน โดยการผลิตเครื่องประดับที่นำอัญมณีมาประกอบกับตัวเรือนโลหะเงิน ต้องอาศัยความรู้อย่างดีในด้านศิลปะ และความชำนาญในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตต้นแบบและแม่พิมพ์ การขึ้นรูปโลหะ การหล่อ การประกอบตัวเรือน รูปพรรณ การฝังอัญมณีเข้ากับตัวเรือนไปจนถึงการตกแต่งขั้นสุดท้าย สำหรับตลาดเครื่องเงินของไทยนั้น ประกอบด้วย 2 ตลาด คือตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ตลาดภายในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด และตลาดต่างประเทศหรือตลาดส่งออกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งหมด
ตลาดภายในประเทศ
สินค้าประเภทเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ลูกค้าภายในประเทศจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มลูกค้าที่ทำงานแล้ว และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพราะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเงินที่เป็นเครื่องประดับจะมีรูปแบบที่หลากหลาย แหล่งจำหน่ายหรือแหล่งการค้าที่สำคัญในประเทศ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ แหล่งผลิตและแหล่งท่องเที่ยวที่ถนนวัวลาย อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ่อสร้างและสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ อำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดสวนจตุจักร สวนลุมไนท์พลาซ่า ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และย่านที่มีนักท่องเที่ยวเดินผ่าน เช่น สีลม สุรวงศ์ บางรัก และร้านขายเครื่องประดับในโรงแรม เป็นต้น
ตลาดต่างประเทศ
การซื้อขายกับตลาดต่างประเทศของเครื่องเงินไทย สามารถทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การที่ผู้ซื้อไปหาผู้ขาย เป็นลักษณะของการที่ผู้นำเข้าติดต่อสั่งซื้อสินค้าเข้าไปจำหน่าย ภายในประเทศของตน โดยอาจเป็นการนำเข้าไปจำหน่ายต่อให้แก่ร้านค้าปลีก หรือการที่ผู้นำเข้าเป็นผู้จัดจำหน่ายเอง
2. การที่ผู้ขายไปหาผู้ซื้อ โดยผู้ขายจะดำเนินการติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรง โดยผ่านงานแสดงนิทรรศการและงานแสดงสินค้า หรือวิธีการส่งคณะผู้แทนการค้าไปยังตลาดต่างประเทศ และจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขายในตลาดต่างประเทศในรูปต่าง ๆ
จากการได้วิเคราะห์ภาพรวมของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่าอยู่ในภาวะทรงตัว โดยดูจากสถิติตัวเลขมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบราย 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน มีเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ในปี 2546 มูลค่าการส่งออกประมาณ 16,177 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่า 18,731 ล้านบาท และในปี 2548 มูลค่า 20,492 ล้านบาท คาดว่าในช่วงปี 2549 และช่วงเวลาที่เหลือ มีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญซึ่งเป็นตลาดหลักประกอบด้วย
- สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ใหญ่ที่สุดของไทย เนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก และส่วนใหญ่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ซึ่งแต่ละปีจะมีมูลค่าการนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 22 อยู่ในลำดับที่ 2 รองจากจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 24
- สหราชอาณาจักร เป็นตลาดนำเข้าและส่งออกเครื่องเงินมากที่สุดในสหภาพยุโรป โดยนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 16 -20 เปอร์เซ็นต์
- สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สินค้าเครื่องเงินที่ไทยส่งออกไปยังตลาดนี้ ประมาณร้อยละ 99.9 เป็นสินค้าเครื่องประดับเงิน และอีกร้อยละ 0.1 เป็นสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัวและเครื่องใช้ในบ้าน ไทยส่งออกเครื่องเงินไปเยอรมนี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 28 — 30 เปอร์เซ็นต์
- ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องเงินไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ และนับเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียที่มีมูลค่าการนำเข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 28 — 31 เปอร์เซ็นต์
นอกจากตลาดส่งออกหลักที่สำคัญดังกล่าว ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ฮ่องกง รัสเซีย อิสราเอล ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพียงพอ ฐานะเศรษฐกิจดี และถือว่าเป็นลูกค้าประจำที่ไทยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการส่งออกเครื่องเงินไทยไปยังตลาดดังกล่าว จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากการส่งออกโดยรวมของไทยที่ผ่านมา มีมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ จึงจัดได้ว่าอุตสาหกรรมประเภทนี้ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมียอดการจ้างงาน 1.2 ล้านคน เมื่อพิจารณา การส่งออกเครื่องประดับรายผลิตภัณฑ์พบว่า เครื่องประดับเงินไทยมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม และเป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญ ด้วยมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราคงที่ ในขณะที่เครื่องประดับทองคำกลับผันผวนตลอดช่วงสามปี ที่ผ่านมา แม้ว่าในภาพรวมปี 2548 ทั่วโลกยังประสบปัญหาในเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัว ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความหวาดวิตกเรื่องการก่อการร้าย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคู่ค้าหลายประเทศได้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออก เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินไทยยังมีการเติบโตได้ค่อนข้างดี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าโลหะเงิน ขยายตัวในระดับที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน ทั้งนี้ในปี 2549 คาดว่าปัจจัยด้านลบของปัญหาสภาวะเศรษฐกิจน่าจะยังคงอยู่ จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลายๆ รายให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ ของโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือจีน น่าจะมีการชะลอตัวลงเล็กน้อย อีกทั้งการขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดในปีที่แล้วของสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินเหรียญสหรัฐในปีนี้ด้วย รวมถึงปัจจัยในด้านราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องเงินไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกนั้นไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามคาดว่า มูลค่าการส่งออกจะยังปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในปี 2549 นี้
บทสรุป
ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องผลิตจากแรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างสูง เพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อันนำมาซึ่งรายได้มหาศาลเข้าสู่ประเทศ ดังนั้นการผลิตเครื่องเงินไทย จึงต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี และสร้างแรงงานฝีมือที่ประณีต อีกทั้งควรมีการฝึกฝนแรงงานให้เกิดความชำนาญด้วย ปัจจุบันจำนวนแรงงานไทยที่มีอยู่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะแรงงานฝีมือเครื่องประดับเงิน นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเงินไทยในอนาคตก็คือ นโยบายของภาครัฐ กลไก และมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการลงทุน มาตรการด้านภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอากร ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยข้างต้นเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการได้เปรียบการผลิตสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตจากต่างประเทศค่อนข้างสูง ในส่วนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทยเองก็ควรต้องเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว ควรเร่งปรับตัวในการพัฒนาศักยภาพการผลิตไปสู่การผลิตสินค้าคุณภาพสูงที่มีรูปแบบของตนเอง และจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของตนเอง นอกจากนี้ควรเร่งพัฒนาบุคลากรด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบเครื่องประดับ ส่วนในเรื่องการตลาดนั้น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย ควรให้ความสำคัญตลาดระดับบนที่เป็นการแข่งขันด้านคุณภาพเป็นหลัก และเน้นการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการกำหนดแผนการตลาดระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมประเภทนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ภาครัฐควรให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการติดตามทิศทางตลาดหรือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดสำคัญ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ และความต้องการของผู้บริโภคที่แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-