ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดเช็คคืนไม่มีเงินในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.91 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ยอดเช็คคืนไม่มีเงินหรือเช็คเด้งเดือน พ.ค.49 มีมูลค่ารวมถึง 12,258.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ที่มีมูลค่าเช็คเด้ง
9,814.33 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 2,444.60 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.91 โดยเช็คเด้งดังกล่าวสามารถแบ่งเป็นเช็คที่เรียก
เก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมูลค่า 9,088.02 ล้านบาท เช็คเด้งที่เรียกเก็บในภูมิภาคมูลค่า 2,045.99 ล้านบาท และเช็คเด้งเรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชีมูลค่า 1,124.92 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาจากรายการเช็คเด้งในเดือน พ.ค.มีจำนวนทั้งสิ้น 128,512 รายการ เป็น
เช็คเด้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 93,954 รายการ ในเขตภูมิภาคจำนวน 22,045 รายการ และเช็คเด้งที่เรียกเก็บข้ามเขตสำนักหัก
บัญชีจำนวน 22,513 รายการ แม้ว่ามูลค่าเช็คเด้งในเดือน พ.ค.จะเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.อย่างมาก แต่หากเทียบสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียก
เก็บทั้งหมด ในเดือน พ.ค.มีสัดส่วนร้อยละ 0.45 ไม่ต่างจากเดือน เม.ย.ที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.43 มากนัก ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่มูลค่าเช็คเด้งใน
เดือน พ.ค.มีมูลค่ามากกว่าเดือนก่อนหน้า อาจจะมาจากการที่เดือน เม.ย.มีวันทำการที่น้อยกว่า ทำให้เช็คที่เรียกเก็บได้น้อยลง (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
2. ธปท.เผยยอดจองธนบัตรที่พิมพ์ใหม่สูงถึง 8 แสนฉบับ ผอ.สำนักจัดการธนบัตรกรุงเทพฯ ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงยอดการจองธนบัตรที่ระลึกฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีล่าสุดวานนี้ (15 มิ.ย.) ว่า มียอดจองแล้วทั้งสิ้น
800,000 ฉบับ ดังนั้น ในการจองธนบัตรวันสุดท้าย คือ ในวันที่ 16 มิ.ย.จึงมีจำนวนธนบัตรให้จองอีกแค่เพียง 200,000 ฉบับเท่านั้น โดยจำกัด
จำนวนธนบัตรที่รับแลกไว้ 10 ฉบับต่อคน ทั้งนี้ ประชาชนที่จองธนบัตรที่ระลึกไว้สามารถมารับธนบัตรได้ตามวันที่จอง คือ ผู้ที่จองธนบัตรวันที่
14 มิ.ย.สามารถรับธนบัตรได้ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.เป็นต้นไป ผู้ที่จองธนบัตรในวันที่ 15 มิ.ย.สามารถมารับธนบัตรได้ตั้งแต่ 17 ก.ค.เป็นต้นไป
และผู้ที่จองธนบัตรวันที่ 16 มิ.ย.สามารถรับธนบัตรได้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังกังวลการขาดช่วงการเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายปี 50 รักษาการ รมว.คลัง กล่าวแสดงความเป็นห่วงถึงภาวะเศรษฐกิจในปี
50 ว่า จะชะลอตัว เนื่องจากการขาดช่วงของการนำงบประมาณรายจ่ายปี 50 เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากขณะนี้ ร่าง พรบ.งบประมาณ
ดังกล่าวยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ เพราะติดปัญหาการเมืองที่ยังไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนได้ ขณะที่ยัง
เชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจปีนี้ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับที่เกินกว่าร้อยละ 4 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง)
4. ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจดัชนีการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยไตรมาส 2 ปี 49 ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่าง
ประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยประจำไตรมาส 2 ปี 49 จากการสอบถามผู้ส่งออก
ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการชิปปิ้ง และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการใสสะอาด 500 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
10 แห่ง เช่น กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก.อุตสาหกรรม ก.คมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยปี 48 จ่ายเงินสูงถึง 404 ล้านบาท แบ่งเป็นการจ่าย
เพื่อได้รับความสะดวก 121.70 ล้านบาท จ่ายแบบเต็มใจ 236.98 ล้านบาท และจ่ายกรณีเอกสารผิดพลาดอีก 45.43 ล้านบาท สำหรับด่านเข้า
ออกสินค้าที่เรียกเก็บเงินมากที่สุด ได้แก่ ด่วนท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 174 ล้านบาท ด่านท่าอากาศยานกรุงเทพฯ 92 ล้านบาท ด่านท่าเรือ
แหลมฉบัง 43 ล้านบาท ด่านเข้าออกสินค้าลาดกระบัง 28 ล้านบาท และอื่น ๆ 65 ล้านบาท (เดลินิวส์, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า สรอ. เดือน เม.ย.49 ลดลงเหลือ 46.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.49 ก.คลัง สรอ. เปิดเผยว่า ยอดสุทธิเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าของ สรอ. ในเดือน เม.ย.49 ลดลง
เหลือ 46.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ จำนวน 67.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.
เดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงถึง 63.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มีข้อมูลว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
ลดลงเนื่องจากนักค้าเงินกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยในสินทรัพย์ของ สรอ. อาจลดลง ทั้งนี้ ยอดเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสุทธิในเดือน เม.ย.นี้
นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ที่มียอดสุทธิ 41.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ที่ยอดสุทธิของ
เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต่ำกว่ายอดขาดดุลการค้า ด้านยอดสุทธิของเงินทุนจากต่างประเทศภาคเอกชนไหลเข้าของ สรอ. ในเดือน
เม.ย.49 ลดลงเหลือ 37.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 87.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
ส.ค.47 ในขณะที่ยอดซื้อสินทรัพย์ สรอ. อย่างเป็นทางการในเดือน เม.ย.49 พุ่งขึ้นสูงถึง 21.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก
1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และยอดซื้อตั๋วเงิน สรอ. อย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นถึงระดับ 10.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดสุทธิของการซื้อตั๋ว
เงิน สรอ. ขยับขึ้นสู่ระดับ 3.33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 3.07 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
ก.พ.46 (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี 15 ปี ของสรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 49
บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 6.63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
6.62 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.25 จากร้อยละ 6.23 เมื่อสัปดาห์ก่อน และ
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ ( Adjustable Rate Mortgages — ARM)อยู่ที่ร้อยละ 5.66 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.63
เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ประธาน บ. Freddie Mac กล่าวว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองไม่มีทิศทางที่แน่ชัดแต่ส่วนใหญ่จะ
เคลื่อนไหวในทางสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากผู้กู้พยายามที่จะประเมินภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจก็ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเช่นกัน อาทิ เมื่อ
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ก. แรงงานสรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงประมาณ 8,000 คนส่งผลให้
ภาวะตลาดแรงงานดีขึ้น ในขณะที่ ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยในวันเดียวกันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. ชะลอตัวลง และเงินลงทุนใน
ประเทศสุทธิลดลง ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.63 5.22 และ
4.25 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ.ลดลงเหนือความคาดหมาย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย.49 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 15 มิ.ย.49 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย.49 มีจำนวน
295,000 คน ลดลง 8,000 คน จากจำนวน 303,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือนนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่
18 ก.พ.49 ซึ่งมีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ 289,000 คน และเป็นการลดลงเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
จำนวน 320,000 คน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการชี้วัดที่แม่นยำกว่า สะท้อนภาพแนวโน้มตลาด
แรงงานในทางที่ดี โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ ลดลงเหลือ 315,750 คนจาก 328,000 ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานที่กลับมาขอรับสวัสดิการฯ อีกหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการฯ ครั้งแรก เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 2.425 ล้านคน ณ สัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 3 มิ.ย.49 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงเป็นจำนวน 2.41 ล้านคน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zoneในเดือน พ.ค.49 ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.5 ต่อปี รายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 15 มิ.ย.49 สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่งประกอบ
ด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนในเดือน พ.ค.49 โดยหากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 แต่อย่างไรก็ดีดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานคงที่อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 1.5 ต่อปี อาจทำให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปี 49 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปีเพื่อ
ชะลอภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่นักวิเคราะห์บางกลุ่มคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงครั้งเดียวในปีนี้ ในการประชุมในวันที่ 31 ส.ค.49 นี้ซึ่ง
จะทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากการที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 และดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งหลังปี 49 จะชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มิ.ย. 49 15 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.489 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3061/38.5961 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.05828 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.32/ 11.96 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,200/10,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.83 63.36 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดเช็คคืนไม่มีเงินในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.91 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ยอดเช็คคืนไม่มีเงินหรือเช็คเด้งเดือน พ.ค.49 มีมูลค่ารวมถึง 12,258.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ที่มีมูลค่าเช็คเด้ง
9,814.33 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 2,444.60 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.91 โดยเช็คเด้งดังกล่าวสามารถแบ่งเป็นเช็คที่เรียก
เก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมูลค่า 9,088.02 ล้านบาท เช็คเด้งที่เรียกเก็บในภูมิภาคมูลค่า 2,045.99 ล้านบาท และเช็คเด้งเรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชีมูลค่า 1,124.92 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาจากรายการเช็คเด้งในเดือน พ.ค.มีจำนวนทั้งสิ้น 128,512 รายการ เป็น
เช็คเด้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 93,954 รายการ ในเขตภูมิภาคจำนวน 22,045 รายการ และเช็คเด้งที่เรียกเก็บข้ามเขตสำนักหัก
บัญชีจำนวน 22,513 รายการ แม้ว่ามูลค่าเช็คเด้งในเดือน พ.ค.จะเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.อย่างมาก แต่หากเทียบสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียก
เก็บทั้งหมด ในเดือน พ.ค.มีสัดส่วนร้อยละ 0.45 ไม่ต่างจากเดือน เม.ย.ที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.43 มากนัก ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่มูลค่าเช็คเด้งใน
เดือน พ.ค.มีมูลค่ามากกว่าเดือนก่อนหน้า อาจจะมาจากการที่เดือน เม.ย.มีวันทำการที่น้อยกว่า ทำให้เช็คที่เรียกเก็บได้น้อยลง (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
2. ธปท.เผยยอดจองธนบัตรที่พิมพ์ใหม่สูงถึง 8 แสนฉบับ ผอ.สำนักจัดการธนบัตรกรุงเทพฯ ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงยอดการจองธนบัตรที่ระลึกฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีล่าสุดวานนี้ (15 มิ.ย.) ว่า มียอดจองแล้วทั้งสิ้น
800,000 ฉบับ ดังนั้น ในการจองธนบัตรวันสุดท้าย คือ ในวันที่ 16 มิ.ย.จึงมีจำนวนธนบัตรให้จองอีกแค่เพียง 200,000 ฉบับเท่านั้น โดยจำกัด
จำนวนธนบัตรที่รับแลกไว้ 10 ฉบับต่อคน ทั้งนี้ ประชาชนที่จองธนบัตรที่ระลึกไว้สามารถมารับธนบัตรได้ตามวันที่จอง คือ ผู้ที่จองธนบัตรวันที่
14 มิ.ย.สามารถรับธนบัตรได้ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.เป็นต้นไป ผู้ที่จองธนบัตรในวันที่ 15 มิ.ย.สามารถมารับธนบัตรได้ตั้งแต่ 17 ก.ค.เป็นต้นไป
และผู้ที่จองธนบัตรวันที่ 16 มิ.ย.สามารถรับธนบัตรได้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังกังวลการขาดช่วงการเบิกจ่าย งปม.รายจ่ายปี 50 รักษาการ รมว.คลัง กล่าวแสดงความเป็นห่วงถึงภาวะเศรษฐกิจในปี
50 ว่า จะชะลอตัว เนื่องจากการขาดช่วงของการนำงบประมาณรายจ่ายปี 50 เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากขณะนี้ ร่าง พรบ.งบประมาณ
ดังกล่าวยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ เพราะติดปัญหาการเมืองที่ยังไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนได้ ขณะที่ยัง
เชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจปีนี้ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับที่เกินกว่าร้อยละ 4 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง)
4. ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจดัชนีการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยไตรมาส 2 ปี 49 ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่าง
ประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีการอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยประจำไตรมาส 2 ปี 49 จากการสอบถามผู้ส่งออก
ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการชิปปิ้ง และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการใสสะอาด 500 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
10 แห่ง เช่น กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก.อุตสาหกรรม ก.คมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า โดยปี 48 จ่ายเงินสูงถึง 404 ล้านบาท แบ่งเป็นการจ่าย
เพื่อได้รับความสะดวก 121.70 ล้านบาท จ่ายแบบเต็มใจ 236.98 ล้านบาท และจ่ายกรณีเอกสารผิดพลาดอีก 45.43 ล้านบาท สำหรับด่านเข้า
ออกสินค้าที่เรียกเก็บเงินมากที่สุด ได้แก่ ด่วนท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 174 ล้านบาท ด่านท่าอากาศยานกรุงเทพฯ 92 ล้านบาท ด่านท่าเรือ
แหลมฉบัง 43 ล้านบาท ด่านเข้าออกสินค้าลาดกระบัง 28 ล้านบาท และอื่น ๆ 65 ล้านบาท (เดลินิวส์, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า สรอ. เดือน เม.ย.49 ลดลงเหลือ 46.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.49 ก.คลัง สรอ. เปิดเผยว่า ยอดสุทธิเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าของ สรอ. ในเดือน เม.ย.49 ลดลง
เหลือ 46.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ จำนวน 67.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.
เดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงถึง 63.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มีข้อมูลว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
ลดลงเนื่องจากนักค้าเงินกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยในสินทรัพย์ของ สรอ. อาจลดลง ทั้งนี้ ยอดเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสุทธิในเดือน เม.ย.นี้
นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ที่มียอดสุทธิ 41.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ที่ยอดสุทธิของ
เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต่ำกว่ายอดขาดดุลการค้า ด้านยอดสุทธิของเงินทุนจากต่างประเทศภาคเอกชนไหลเข้าของ สรอ. ในเดือน
เม.ย.49 ลดลงเหลือ 37.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 87.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มี.ค.49 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
ส.ค.47 ในขณะที่ยอดซื้อสินทรัพย์ สรอ. อย่างเป็นทางการในเดือน เม.ย.49 พุ่งขึ้นสูงถึง 21.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก
1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และยอดซื้อตั๋วเงิน สรอ. อย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นถึงระดับ 10.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดสุทธิของการซื้อตั๋ว
เงิน สรอ. ขยับขึ้นสู่ระดับ 3.33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 3.07 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน
ก.พ.46 (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี 15 ปี ของสรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 49
บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 6.63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
6.62 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.25 จากร้อยละ 6.23 เมื่อสัปดาห์ก่อน และ
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ ( Adjustable Rate Mortgages — ARM)อยู่ที่ร้อยละ 5.66 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.63
เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ประธาน บ. Freddie Mac กล่าวว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองไม่มีทิศทางที่แน่ชัดแต่ส่วนใหญ่จะ
เคลื่อนไหวในทางสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากผู้กู้พยายามที่จะประเมินภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจก็ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเช่นกัน อาทิ เมื่อ
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ก. แรงงานสรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงประมาณ 8,000 คนส่งผลให้
ภาวะตลาดแรงงานดีขึ้น ในขณะที่ ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยในวันเดียวกันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. ชะลอตัวลง และเงินลงทุนใน
ประเทศสุทธิลดลง ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.63 5.22 และ
4.25 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ.ลดลงเหนือความคาดหมาย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย.49 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 15 มิ.ย.49 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย.49 มีจำนวน
295,000 คน ลดลง 8,000 คน จากจำนวน 303,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือนนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่
18 ก.พ.49 ซึ่งมีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ 289,000 คน และเป็นการลดลงเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
จำนวน 320,000 คน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการชี้วัดที่แม่นยำกว่า สะท้อนภาพแนวโน้มตลาด
แรงงานในทางที่ดี โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ ลดลงเหลือ 315,750 คนจาก 328,000 ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานที่กลับมาขอรับสวัสดิการฯ อีกหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการฯ ครั้งแรก เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 2.425 ล้านคน ณ สัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 3 มิ.ย.49 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงเป็นจำนวน 2.41 ล้านคน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zoneในเดือน พ.ค.49 ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.5 ต่อปี รายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 15 มิ.ย.49 สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่งประกอบ
ด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนในเดือน พ.ค.49 โดยหากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 แต่อย่างไรก็ดีดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานคงที่อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 1.5 ต่อปี อาจทำให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปี 49 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปีเพื่อ
ชะลอภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่นักวิเคราะห์บางกลุ่มคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงครั้งเดียวในปีนี้ ในการประชุมในวันที่ 31 ส.ค.49 นี้ซึ่ง
จะทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากการที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 และดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งหลังปี 49 จะชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มิ.ย. 49 15 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.489 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3061/38.5961 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.05828 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.32/ 11.96 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,200/10,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.83 63.36 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--