สศอ.ชี้ภาคการผลิตอุตฯ ไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่กระทบ เหตุผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายตามคำสั่งล่วงหน้า เผยดัชนีอุตฯ ส.ค.พุ่งต่อร้อยละ 6.22 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ เอสเอ็มอี โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 160.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 151.00 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 69.08
ในเดือนสิงหาคม ดัชนีอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัด โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 171.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.95 จากระดับ 160.41 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 จากระดับ 156.41 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 190.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50 จากระดับ 161.97 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 174.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.14 จากระดับ 130.95 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 135.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 จากระดับ 131.94 และ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.40 จากระดับ 116.08
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และนอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของการผลิต ได้แก่ การแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ การผลิตเบียร์ การผลิตน้ำมันพืช การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษแข็ง เป็นต้น
โดย การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลอย่างทันท่วงที ทำให้มีสินค้าที่หลากหลายในกลุ่มนี้ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hard Disk Drive มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ส่วน การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งค่ายรถรายใหญ่ได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆออกมาเพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11.1 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ด้าน การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นหลอดภาพสำหรับโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 13.4 และ 14.2 ตามลำดับ ซึ่งสินค้าหลักที่ส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นได้แก่ Other IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.15 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.51 และ Monolithic IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.84 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะตลาดโลกมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตลอดทั้งปีอีกด้วย
และ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงนี้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เมื่อเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาวะการผลิตเหล็กในภาพรวมยังคงขยายตัว โดยเฉพาะเหล็กทรงแบน ประเภทเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งขยายตัวตามอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนเหล็กแผ่นทรงยาวมีการชะลอตัวเล็กน้อยตามทิศทางของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนสิงหาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ และนอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์รวมทั้งน้ำดื่ม การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยา การแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลง เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันยากขึ้น โดยมีการผลิตลดลงถึงร้อยละ 13.17 หรือมีการผลิตรวมลดลง 71,600 เครื่อง และ จำหน่ายรวมลดลงร้อยละ 7.09 หรือจำหน่ายลดลง 37,600 เครื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อน
และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาพรวมดัชนีการผลิตของทั้งกลุ่มลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันที่มีความรุนแรงจากสินค้าของประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว ที่เข้ามาตีตลาดมากขึ้นเนื่องจากได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และอีกปัจจัยหนึ่งมาจากค่าเงินบาทที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
10 จากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่ลดลง รวมทั้งในเดือนสิงหาคมของทุกปีถือเป็นช่วง Low Season ของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกายด้วย
นอกจานี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้คาดว่าภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไทยจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยเฉพาะแนวโน้มของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำหรับเดือนกันยายน ซึ่งคาดว่ามีการการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีการทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า อีกทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูง ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ เอสเอ็มอี โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 160.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 151.00 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 69.08
ในเดือนสิงหาคม ดัชนีอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัด โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 171.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.95 จากระดับ 160.41 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 จากระดับ 156.41 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 190.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50 จากระดับ 161.97 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 174.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.14 จากระดับ 130.95 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 135.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 จากระดับ 131.94 และ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.40 จากระดับ 116.08
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และนอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของการผลิต ได้แก่ การแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ การผลิตเบียร์ การผลิตน้ำมันพืช การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษแข็ง เป็นต้น
โดย การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลอย่างทันท่วงที ทำให้มีสินค้าที่หลากหลายในกลุ่มนี้ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hard Disk Drive มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ส่วน การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งค่ายรถรายใหญ่ได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆออกมาเพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11.1 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ด้าน การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นหลอดภาพสำหรับโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 13.4 และ 14.2 ตามลำดับ ซึ่งสินค้าหลักที่ส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นได้แก่ Other IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.15 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.51 และ Monolithic IC มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.84 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะตลาดโลกมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตลอดทั้งปีอีกด้วย
และ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงนี้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เมื่อเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาวะการผลิตเหล็กในภาพรวมยังคงขยายตัว โดยเฉพาะเหล็กทรงแบน ประเภทเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งขยายตัวตามอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนเหล็กแผ่นทรงยาวมีการชะลอตัวเล็กน้อยตามทิศทางของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนสิงหาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ และนอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์รวมทั้งน้ำดื่ม การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยา การแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลง เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันยากขึ้น โดยมีการผลิตลดลงถึงร้อยละ 13.17 หรือมีการผลิตรวมลดลง 71,600 เครื่อง และ จำหน่ายรวมลดลงร้อยละ 7.09 หรือจำหน่ายลดลง 37,600 เครื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อน
และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นที่ทำจากขนสัตว์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนภาพรวมดัชนีการผลิตของทั้งกลุ่มลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันที่มีความรุนแรงจากสินค้าของประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว ที่เข้ามาตีตลาดมากขึ้นเนื่องจากได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และอีกปัจจัยหนึ่งมาจากค่าเงินบาทที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
10 จากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่ลดลง รวมทั้งในเดือนสิงหาคมของทุกปีถือเป็นช่วง Low Season ของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกายด้วย
นอกจานี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้คาดว่าภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไทยจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยเฉพาะแนวโน้มของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำหรับเดือนกันยายน ซึ่งคาดว่ามีการการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีการทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า อีกทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูง ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-