วันนี้ (2 กรกฎาคม 2549) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคได้แถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ถึงเรื่องที่นายกฯ พูดถึงเรื่องคนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ และใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาสร้างความวุ่นวายให้กับประเทศชาติบ้านเมืองนั้นพรรคประชาธิปัตย์มองว่า การพูดจาของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ถือว่าเป็นคำพูดที่มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการ “Exercise อำนาจ ประกาศศักดา ท้ารบทุกรูปแบบ”
อย่างไรก็ตามโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังเห็นว่าการพูดของนายกฯ เป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดการเผชิญหน้า ระหว่างคณะบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม และเป็นการเผชิญหน้าที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง จนเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมือง
นอกจากนี้คำพูดของนายกฯ เป็นการก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิด และอาจนำไปสู่การแตกแยกทางการกระทำ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีจุดจบอยู่ที่ใด อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อประชาชน แม้ว่าจะพูดในวาระที่ต้องการมอบนโยบายการทำงานให้กับข้าราชการ โดยเฉพาะการที่นายกฯ ไม่สามารถระบุถึงบุคคลที่มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ และใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาสร้างความวุ่นวายนั้น กลับจะยิ่งทำให้มีความสงสัย มีความข้องใจ และอาจนำไปสู่การตีความที่คลาดเคลื่อนเกินกว่าความตั้งใจของนายกฯ เอง นายองอาจกล่าว
“การออกมาท้ารบทุกรูปแบบในลักษณะนี้ นอกจากจะไม่ถูกต้องแล้วก็ถือว่าไม่เหมาะสม ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง แน่นอนที่สุดอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จาบจ้วง ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง เพราะคนที่ท่านนายกฯ พยายามระบุว่ามีบารมีนั้น คนมีบารมีคือคนที่ทำความดีมาทั้งชีวิต จนได้รับการยอมรับนับถือ ศรัทธา จากคนไทยทั้งประเทศ ท่านนายกฯ ควรตรวจสอบตัวเองว่าเหตุใดคนมีบารมีในบ้านเมืองนี้จึงอยู่ตรงข้ามกับท่าน และการพูดในการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นการเตรียมการมาพูด จึงถือได้ว่าเป็นการท้ารบทุกรูปแบบอย่างโจ่งแจ้ง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ในเรื่องนี้นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ในขณะที่นายกฯ ทักษิณกล่าวว่าจะรับกระแสพระราชดำรัส ในการสร้างความสมานฉันท์ แต่วันรุ่งขึ้นกลับให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจไปแจ้งความดำเนินคดีกับพรรคประชาธิปัตย์ในทางแพ่ง อีกทั้งแจ้งความดำเนินคดีกับนายองอาจ โฆษกพรรค ในข้อหาหมิ่นประมาท พร้อมทั้งให้กองปราบดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตร ที่สำคัญยังได้ดำเนินคดีกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้เคยปราศรัยที่จังหวัดตรังหลายเดือนก่อน สิ่งเหล่านี้นายสาธิตชี้ว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่ามีการกระทำที่สร้างความแตกแยก ถึงแม้ว่านายกฯ ทักษิณจะมีสิทธิ์อย่างชอบธรรม ในการใช้สิทธิ์ในทางศาลก็ตาม
“สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าท่านนายกฯ มีนิสัย อาฆาตแค้น ผูกใจเจ็บ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่พยายามให้อภัย เพราะฉะนั้นถ้าผู้มีอำนาจมีนิสัยอย่างนี้ การสร้างความสมานฉันท์คงประสบความสำเร็จยาก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือจะไปเพิ่มดีกรีของความขัดแย้งให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงขอเรียนให้ท่านนายกฯ ไปสะกดคำว่า “ให้อภัย” ให้เป็น วันนั้นความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในประเทศ” นายสาธิตกล่าว
นอกจากนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่ กกต. มีท่าทีในการเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการที่นายกฯ ทักษิณใช้โอกาสของการเกิดสุญญากาศทางการเมือง กรณีที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้น โดยใช้สื่อของรัฐในการจัดรายการ “นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน” ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยคาดหวังกับการทำหน้าที่จากองค์กรอิสระที่ชื่อ กกต. ตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ประกาศยุบสภา และจนกระทั่งศาลมีคำตัดสินการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน เป็นโมฆะ โดยเห็นว่า กกต. ชุดนี้ทำหน้าที่เป็นที่ประจักษ์กับทุกฝ่ายในสังคมแล้วว่ามีความเป็นกลางอย่างไร นอกจากนี้จากที่ประชุม 3 ศาล ก็มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่า การทำหน้าที่ของ กกต. ชุดนี้หมดความชอบธรรม และไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการตามหน้าที่อีกต่อไป ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่คาดหวังว่า กกต. ชุดนี้จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายมองว่าเป็นการเอาเปรียบพรรคการเมือง ที่สำคัญที่สุดนายสาธิตเห็นว่า หากกกต. ชุดนี้ได้สำนึกและออกจากตำแหน่งหน้าที่ ประเทศชาติจะได้เริ่มต้นนับหนึ่ง เพื่อเดินหน้าต่อไปในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้ ในขณะเดียวกันหาก กกต. ชุดนี้ยังดื้อดึงอยู่ต่อไป หลายฝ่าย รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ ก็จะเกิดความเสียหายให้กับประเทศชาติ และหากความเสียหายเกิดขึ้นมากเท่าใด กลุ่มที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างสำคัญที่สุด ก็คือ กกต. ทั้ง 3 ท่านนี้เอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. 2549--จบ--
อย่างไรก็ตามโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังเห็นว่าการพูดของนายกฯ เป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดการเผชิญหน้า ระหว่างคณะบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม และเป็นการเผชิญหน้าที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง จนเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมือง
นอกจากนี้คำพูดของนายกฯ เป็นการก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิด และอาจนำไปสู่การแตกแยกทางการกระทำ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีจุดจบอยู่ที่ใด อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อประชาชน แม้ว่าจะพูดในวาระที่ต้องการมอบนโยบายการทำงานให้กับข้าราชการ โดยเฉพาะการที่นายกฯ ไม่สามารถระบุถึงบุคคลที่มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ และใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาสร้างความวุ่นวายนั้น กลับจะยิ่งทำให้มีความสงสัย มีความข้องใจ และอาจนำไปสู่การตีความที่คลาดเคลื่อนเกินกว่าความตั้งใจของนายกฯ เอง นายองอาจกล่าว
“การออกมาท้ารบทุกรูปแบบในลักษณะนี้ นอกจากจะไม่ถูกต้องแล้วก็ถือว่าไม่เหมาะสม ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง แน่นอนที่สุดอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จาบจ้วง ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง เพราะคนที่ท่านนายกฯ พยายามระบุว่ามีบารมีนั้น คนมีบารมีคือคนที่ทำความดีมาทั้งชีวิต จนได้รับการยอมรับนับถือ ศรัทธา จากคนไทยทั้งประเทศ ท่านนายกฯ ควรตรวจสอบตัวเองว่าเหตุใดคนมีบารมีในบ้านเมืองนี้จึงอยู่ตรงข้ามกับท่าน และการพูดในการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นการเตรียมการมาพูด จึงถือได้ว่าเป็นการท้ารบทุกรูปแบบอย่างโจ่งแจ้ง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ในเรื่องนี้นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ในขณะที่นายกฯ ทักษิณกล่าวว่าจะรับกระแสพระราชดำรัส ในการสร้างความสมานฉันท์ แต่วันรุ่งขึ้นกลับให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจไปแจ้งความดำเนินคดีกับพรรคประชาธิปัตย์ในทางแพ่ง อีกทั้งแจ้งความดำเนินคดีกับนายองอาจ โฆษกพรรค ในข้อหาหมิ่นประมาท พร้อมทั้งให้กองปราบดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตร ที่สำคัญยังได้ดำเนินคดีกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้เคยปราศรัยที่จังหวัดตรังหลายเดือนก่อน สิ่งเหล่านี้นายสาธิตชี้ว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่ามีการกระทำที่สร้างความแตกแยก ถึงแม้ว่านายกฯ ทักษิณจะมีสิทธิ์อย่างชอบธรรม ในการใช้สิทธิ์ในทางศาลก็ตาม
“สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าท่านนายกฯ มีนิสัย อาฆาตแค้น ผูกใจเจ็บ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่พยายามให้อภัย เพราะฉะนั้นถ้าผู้มีอำนาจมีนิสัยอย่างนี้ การสร้างความสมานฉันท์คงประสบความสำเร็จยาก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือจะไปเพิ่มดีกรีของความขัดแย้งให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงขอเรียนให้ท่านนายกฯ ไปสะกดคำว่า “ให้อภัย” ให้เป็น วันนั้นความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในประเทศ” นายสาธิตกล่าว
นอกจากนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่ กกต. มีท่าทีในการเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการที่นายกฯ ทักษิณใช้โอกาสของการเกิดสุญญากาศทางการเมือง กรณีที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้น โดยใช้สื่อของรัฐในการจัดรายการ “นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน” ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยคาดหวังกับการทำหน้าที่จากองค์กรอิสระที่ชื่อ กกต. ตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ประกาศยุบสภา และจนกระทั่งศาลมีคำตัดสินการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน เป็นโมฆะ โดยเห็นว่า กกต. ชุดนี้ทำหน้าที่เป็นที่ประจักษ์กับทุกฝ่ายในสังคมแล้วว่ามีความเป็นกลางอย่างไร นอกจากนี้จากที่ประชุม 3 ศาล ก็มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่า การทำหน้าที่ของ กกต. ชุดนี้หมดความชอบธรรม และไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการตามหน้าที่อีกต่อไป ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่คาดหวังว่า กกต. ชุดนี้จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายมองว่าเป็นการเอาเปรียบพรรคการเมือง ที่สำคัญที่สุดนายสาธิตเห็นว่า หากกกต. ชุดนี้ได้สำนึกและออกจากตำแหน่งหน้าที่ ประเทศชาติจะได้เริ่มต้นนับหนึ่ง เพื่อเดินหน้าต่อไปในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้ ในขณะเดียวกันหาก กกต. ชุดนี้ยังดื้อดึงอยู่ต่อไป หลายฝ่าย รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ ก็จะเกิดความเสียหายให้กับประเทศชาติ และหากความเสียหายเกิดขึ้นมากเท่าใด กลุ่มที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างสำคัญที่สุด ก็คือ กกต. ทั้ง 3 ท่านนี้เอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. 2549--จบ--