สศอ.ส่งสัญญาณผู้ประกอบการภาคอุตฯ เตรียมพร้อมก่อนลงนามร่วมเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น ย้ำต้องเร่งปรับกระบวนยุทธ์ก่อนบังคับใช้ปลายปีนี้
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ส่งคณะทำงานร่วมในทีมเจรจาการค้าระหว่างไทย ญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้น (ปี 2545) จนได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาครั้งสุดท้ายเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการลงนามตามข้อตกลงในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนตุลาคมศกนี้เป็นต้นไป โดยในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อการเจรจาของฝ่ายไทย ทั้งไทยและญี่ปุ่นต่างก็หาช่องทางเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างลงตัว
“สำหรับในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมมีข้อตกลงร่วมกันในหลายประเด็นเช่น รถยนต์สำเร็จรูป (CBU) เห็นร่วมกันว่าในการนำเข้ารถสำเร็จรูปเกินกว่า 3000 ซีซี เข้ามาในประเทศไทย ญี่ปุ่นจะพิจารณาการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทยสำหรับประกอบรถสำเร็จรูป ส่วนรถยนต์บางรายการที่ยังไม่มีการเจรจาในขณะนี้ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ จะกลับมาเจรจากันใหม่ในอีก 5 ปีข้างหน้า สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กไทยจะลดภาษีและให้โควตาสำหรับเหล็กที่ไม่มีการผลิตหรือผลิตไม่เพียงพอในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนวัตถุดิบในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้
นอกจากนี้ในสินค้าสิ่งทอ ไทยตกลงจะใช้ผ้าผืนและตัดเย็บในประเทศเพื่อส่งออกไปขายญี่ปุ่นโดยปราศจากภาษีและไม่มีโควตา ที่สำคัญสินค้าใดที่ไม่มีการนำมาเจรจาในขณะนี้ (Exclusion List) เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว แป้ง น้ำตาล รองเท้าบางรายการ สามารถหยิบยกขึ้นหารือกันได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือแม้แต่ก่อนหน้านั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อม” ทั้งนี้ไทยและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะมีความร่วมมือในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ SMEs และความร่วมมือเรื่องการยอมรับร่วม (MAR) ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในการเจรจาที่ผ่านมา สศอ. นำข้อมูลที่ได้จากการหารือกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด มาใช้ประกอบการพิจารณาและวางแผนการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมในการเจรจากับญี่ปุ่นอย่างรอบด้าน เชื่อว่าจะได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยเองควรที่จะเร่งปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันวางแนวทางให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ส่งคณะทำงานร่วมในทีมเจรจาการค้าระหว่างไทย ญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้น (ปี 2545) จนได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาครั้งสุดท้ายเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการลงนามตามข้อตกลงในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนตุลาคมศกนี้เป็นต้นไป โดยในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อการเจรจาของฝ่ายไทย ทั้งไทยและญี่ปุ่นต่างก็หาช่องทางเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างลงตัว
“สำหรับในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมมีข้อตกลงร่วมกันในหลายประเด็นเช่น รถยนต์สำเร็จรูป (CBU) เห็นร่วมกันว่าในการนำเข้ารถสำเร็จรูปเกินกว่า 3000 ซีซี เข้ามาในประเทศไทย ญี่ปุ่นจะพิจารณาการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทยสำหรับประกอบรถสำเร็จรูป ส่วนรถยนต์บางรายการที่ยังไม่มีการเจรจาในขณะนี้ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ จะกลับมาเจรจากันใหม่ในอีก 5 ปีข้างหน้า สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กไทยจะลดภาษีและให้โควตาสำหรับเหล็กที่ไม่มีการผลิตหรือผลิตไม่เพียงพอในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนวัตถุดิบในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้
นอกจากนี้ในสินค้าสิ่งทอ ไทยตกลงจะใช้ผ้าผืนและตัดเย็บในประเทศเพื่อส่งออกไปขายญี่ปุ่นโดยปราศจากภาษีและไม่มีโควตา ที่สำคัญสินค้าใดที่ไม่มีการนำมาเจรจาในขณะนี้ (Exclusion List) เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว แป้ง น้ำตาล รองเท้าบางรายการ สามารถหยิบยกขึ้นหารือกันได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือแม้แต่ก่อนหน้านั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อม” ทั้งนี้ไทยและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะมีความร่วมมือในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ SMEs และความร่วมมือเรื่องการยอมรับร่วม (MAR) ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในการเจรจาที่ผ่านมา สศอ. นำข้อมูลที่ได้จากการหารือกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด มาใช้ประกอบการพิจารณาและวางแผนการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมในการเจรจากับญี่ปุ่นอย่างรอบด้าน เชื่อว่าจะได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยเองควรที่จะเร่งปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันวางแนวทางให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-