นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากต่างประเทศภายใต้ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในหลายความ ตกลงเช่น GSP CEPT และ FTA เป็นต้น กรมการค้าต่างประเทศได้สนับสนุนการส่งออกโดยการตรวจและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อการส่งออกไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในประเทศต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงประมาณปีละ 900,000 — 1,000,000 ฉบับ โดยในช่วงสามไตรมาสของปี 2549 (ม.ค. —ก.ย.) การใช้สิทธิมีมูลค่า 15,964 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 16.36 ของมูลค่าการส่งออกรวม และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.04
การใช้สิทธิฯ ในกลุ่มแรกคือ GSP มีมูลค่าประมาณ 8,533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 54.37 ของการใช้สิทธิทั้งหมดโดยตลาดสำคัญคือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 คือ CEPT หรือ ASEAN มีมูลค่าการใช้สิทธิ 3,974 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 25.32 ของการใช้สิทธิฯ โดยกลุ่มนี้ตลาดสำคัญคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 คือ FTA ซึ่งปัจจุบันได้มี 4 ความตกลงคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีนและอินเดีย กลุ่มนี้มีมูลค่าการใช้สิทธิ 3,187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 20.31 ของการใช้สิทธิฯ
โดยที่สิทธิประโยชน์ทางการค้าเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทำให้สินค้าไทยส่งออกได้มากขึ้น มีสินค้าหลากหลายสามารถแข่งขันและส่งออกได้มากขึ้นในตลาดต่างๆ โดยในปี 2549 (ม.ค. — ก.ย.) การส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.21 (จาก 81,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 95,948 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และสินค้าสำคัญที่ใช้สิทธิมากได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องรับโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารแปรรูป และผักผลไม้ เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้าซึ่งไทยเป็นผู้รับฝ่ายเดียว คือ ระบบสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP กำลังลดความสำคัญลง เนื่องจากผู้ให้กำลังพิจารณาปรับลดหรือยกเลิกการให้สิทธิโดยเฉพาะสหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการให้สิทธิ GSP และยังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยต้องเตรียมความพร้อมที่จะต้องแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิจาก GSP และรัฐบาลก็ได้หันมาสนับสนุนให้มีการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA แทน
--กรมการค้าต่างประเทศ--
การใช้สิทธิฯ ในกลุ่มแรกคือ GSP มีมูลค่าประมาณ 8,533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 54.37 ของการใช้สิทธิทั้งหมดโดยตลาดสำคัญคือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 คือ CEPT หรือ ASEAN มีมูลค่าการใช้สิทธิ 3,974 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 25.32 ของการใช้สิทธิฯ โดยกลุ่มนี้ตลาดสำคัญคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 คือ FTA ซึ่งปัจจุบันได้มี 4 ความตกลงคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีนและอินเดีย กลุ่มนี้มีมูลค่าการใช้สิทธิ 3,187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 20.31 ของการใช้สิทธิฯ
โดยที่สิทธิประโยชน์ทางการค้าเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทำให้สินค้าไทยส่งออกได้มากขึ้น มีสินค้าหลากหลายสามารถแข่งขันและส่งออกได้มากขึ้นในตลาดต่างๆ โดยในปี 2549 (ม.ค. — ก.ย.) การส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.21 (จาก 81,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 95,948 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และสินค้าสำคัญที่ใช้สิทธิมากได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องรับโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารแปรรูป และผักผลไม้ เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้าซึ่งไทยเป็นผู้รับฝ่ายเดียว คือ ระบบสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP กำลังลดความสำคัญลง เนื่องจากผู้ให้กำลังพิจารณาปรับลดหรือยกเลิกการให้สิทธิโดยเฉพาะสหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการให้สิทธิ GSP และยังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยต้องเตรียมความพร้อมที่จะต้องแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิจาก GSP และรัฐบาลก็ได้หันมาสนับสนุนให้มีการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA แทน
--กรมการค้าต่างประเทศ--