กรุงเทพ--3 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ได้มีชาวไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ ซึ่งมีเชื้อครอสตริเดียม บูโทลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ จ.น่าน และองค์การอนามัยโลก พร้อมด้วยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนได้ประสานงานกับสถาบันที่เกี่ยวข้องของอังกฤษเพื่อขอให้จัดส่งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (antidoxin) มาใช้รักษาผู้ป่วยที่ จ.น่าน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อบูโทลินัม ตามที่ Dr. Jorgen Schlundt, Director of Department of Food Safety, Zoonoses and Foodborne Disease แห่งองค์การอนามัยโลก ได้แจ้งต่อนายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร ณ นครเจนีวา ดังนี้
1. พิษที่เกิดจากแบคทีเรียบูโทลินัมมีเจ็ดชนิด (Type A ถึง G) และยา antitoxin จากอังกฤษ เป็นแห่งเดียวที่มีคุณสมบัติต้านพิษของทั้งเจ็ดชนิด ในขณะที่ยาจากแหล่งอื่นมีคุณสมบัติต้านพิษได้เพียง 2-3 ชนิด อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สันนิษฐานได้ว่าผู้ติดเชื้อแบคทีเรียบูโทลินัมในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากเชื้อบูโทลินัม Type A และนับเป็นการระบาดของโรคนี้ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นด้วย
2. เชื้อแบคทีเรียบูโทลินัมมีอยู่ทั่วไปในพื้นดิน และเมื่อมีการนำมาบรรจุในหีบห่อที่มีความชื้นในปริมาณพอเหมาะและไม่มีอากาศถ่ายเท จะทำเชื้อเติบโตและปล่อยพิษออกมา ดังนั้น การทำให้อาหาร (หน่อไม้) สุก โดยการหุงต้มด้วยความร้อนนานกว่า 10-20 นาที จะช่วยสลายพิษได้
3. การใช้ยา antitoxin จะได้ผลมากกว่ากับผู้ที่ยังไม่มีอาการมากนัก สำหรับผู้ป่วยหนัก
ซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแล้ว การใช้ยา antitoxin อาจไม่ได้ผลมากนักในระยะแรก การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อบูโทลินัมต้องใช้เวลา ดังนั้นจึงต้องติดตามและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
4. Dr. Schlundt กล่าวว่าเหตุการณ์ระบาดของโรคบูโทลินัมในไทยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
โดยไม่ใช่ความผิดของหน่วยงานรัฐ องค์การอนามัยโลกและนานาประเทศมีความชื่นชมประเทศไทยที่ให้ความสำคัญและบุกเบิกเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารเป็นอย่างมาก Dr. Schlundt ไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้มีการเพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร เพราะเห็นว่าเป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ผลกับการตรวจสอบเชื้อบูโทลินัมและเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ Dr. Schlundt กล่าวว่าองค์การ
อนามัยโลกได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ครั้งนี้ของไทยและจะนำไปปรับปรุงการดำเนินการในอนาคต รวมทั้งประสงค์จะใช้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่นๆ ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการการดำเนินการหายารักษาอย่างเร่งด่วน
5. นอกจากนี้ Dr. Schlundt ยังได้แสดงความชื่มชมการดำเนินการหลายอย่างของรัฐบาลไทยในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงการดำเนินการที่ดีเด่น และได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและรางวัลเกียรติยศอาหารปลอดภัย (Food Safety Award) แด่สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เป็นพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้ และประเทศไทยแทบจะเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารอย่างมาก โดยได้กำหนดให้ปี 2546 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร การจดทะเบียนแผงลอย หาบเร่ ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ารับการอมรบก่อนที่จะได้รับจดทะเบียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ได้มีชาวไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ ซึ่งมีเชื้อครอสตริเดียม บูโทลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ จ.น่าน และองค์การอนามัยโลก พร้อมด้วยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนได้ประสานงานกับสถาบันที่เกี่ยวข้องของอังกฤษเพื่อขอให้จัดส่งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (antidoxin) มาใช้รักษาผู้ป่วยที่ จ.น่าน นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อบูโทลินัม ตามที่ Dr. Jorgen Schlundt, Director of Department of Food Safety, Zoonoses and Foodborne Disease แห่งองค์การอนามัยโลก ได้แจ้งต่อนายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร ณ นครเจนีวา ดังนี้
1. พิษที่เกิดจากแบคทีเรียบูโทลินัมมีเจ็ดชนิด (Type A ถึง G) และยา antitoxin จากอังกฤษ เป็นแห่งเดียวที่มีคุณสมบัติต้านพิษของทั้งเจ็ดชนิด ในขณะที่ยาจากแหล่งอื่นมีคุณสมบัติต้านพิษได้เพียง 2-3 ชนิด อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สันนิษฐานได้ว่าผู้ติดเชื้อแบคทีเรียบูโทลินัมในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากเชื้อบูโทลินัม Type A และนับเป็นการระบาดของโรคนี้ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นด้วย
2. เชื้อแบคทีเรียบูโทลินัมมีอยู่ทั่วไปในพื้นดิน และเมื่อมีการนำมาบรรจุในหีบห่อที่มีความชื้นในปริมาณพอเหมาะและไม่มีอากาศถ่ายเท จะทำเชื้อเติบโตและปล่อยพิษออกมา ดังนั้น การทำให้อาหาร (หน่อไม้) สุก โดยการหุงต้มด้วยความร้อนนานกว่า 10-20 นาที จะช่วยสลายพิษได้
3. การใช้ยา antitoxin จะได้ผลมากกว่ากับผู้ที่ยังไม่มีอาการมากนัก สำหรับผู้ป่วยหนัก
ซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแล้ว การใช้ยา antitoxin อาจไม่ได้ผลมากนักในระยะแรก การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อบูโทลินัมต้องใช้เวลา ดังนั้นจึงต้องติดตามและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
4. Dr. Schlundt กล่าวว่าเหตุการณ์ระบาดของโรคบูโทลินัมในไทยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
โดยไม่ใช่ความผิดของหน่วยงานรัฐ องค์การอนามัยโลกและนานาประเทศมีความชื่นชมประเทศไทยที่ให้ความสำคัญและบุกเบิกเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารเป็นอย่างมาก Dr. Schlundt ไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้มีการเพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร เพราะเห็นว่าเป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ผลกับการตรวจสอบเชื้อบูโทลินัมและเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ Dr. Schlundt กล่าวว่าองค์การ
อนามัยโลกได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ครั้งนี้ของไทยและจะนำไปปรับปรุงการดำเนินการในอนาคต รวมทั้งประสงค์จะใช้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่นๆ ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการการดำเนินการหายารักษาอย่างเร่งด่วน
5. นอกจากนี้ Dr. Schlundt ยังได้แสดงความชื่มชมการดำเนินการหลายอย่างของรัฐบาลไทยในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงการดำเนินการที่ดีเด่น และได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและรางวัลเกียรติยศอาหารปลอดภัย (Food Safety Award) แด่สมเด็จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เป็นพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้ และประเทศไทยแทบจะเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารอย่างมาก โดยได้กำหนดให้ปี 2546 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร การจดทะเบียนแผงลอย หาบเร่ ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ารับการอมรบก่อนที่จะได้รับจดทะเบียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-