สศอ.เผยผลศึกษา Competitive Benchmarking สาขาอาหาร หนุนกุ้ง-ปลาบด หนีคู่แข่ง จีน-เวียดนาม ชี้ศักยภาพไทยได้เปรียบหลายขุม พร้อมรุกสู่ผู้นำ แนะผู้ประกอบการอย่าหยุดนิ่ง
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร ทำการศึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขาอาหาร โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหารส่งออก 2 รายการ คือ อุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป และอุตสาหกรรมเนื้อปลาบด หรือ ซูริมิแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ซูริมิแปรรูป โดยเปรียบเทียบกับประเทศจีน และประเทศเวียดนาม สำหรับวิธีทำการศึกษา ได้ใช้ทั้งการสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกรอบหนึ่ง ตามตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรับทราบสถานการณ์เชิงลึก ในอุตสาหกรรมอาหารทั้ง 2 รายการ อันจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในเวทีการแข่งขัน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 70,000 ล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 45 ของการส่งออกสินค้าในหมวดประมง และคิดเป็นร้อยละ 14.38 ของมูลค่าการส่งออกอาหารของไทย
"ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกุ้งไทย กับประเทศเวียดนามและจีน มีความได้เปรียบในหลายปัจจัย โดยเมื่อเทียบความสามารถด้านการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการวิจัยพัฒนารวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ พบว่า ไทยมีความได้เปรียบเป็นอย่างมาก เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมของไทยมีประสบการณ์ ความชำนาญสูง และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทักษะการ เรียนรู้ของแรงงานไทยค่อนข้างเร็ว ขณะที่แรงงานคู่แข่งมีการเรียนรู้ได้ช้ากว่า นอกจากนี้ด้านวัตถุดิบไทยได้เปรียบทั้งจีนและเวียดนาม เนื่องจากเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบได้เองและมีคุณภาพสูงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงกว่า ด้านการตลาดคู่แข่งจะใช้ กลยุทธ์ด้านราคาเข้ามาสู้กับไทย เพื่อเห็นผลทางการตลาดที่เร็วกว่า แต่ในระยะยาวไทยยังได้เปรียบเนื่องจากมีเทคโนโลยีเหนือกว่าและมีตลาดรองรับที่แน่นอน"
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเนื้อปลาบด หรือ ซูริมิแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ซูริมิแปรรูประหว่างไทยกับเวียดนามและจีน จะมีส่วนที่ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน โดยพบว่า ไทยได้เปรียบคู่แข่งในปัจจัยคล้ายกันกับอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป เนื่องจากแรงงานของไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป ทำให้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสูง ส่วนปัจจัยที่เป็นข้อเสียเปรียบของไทยแต่ไม่มีผลมากนักคือ ด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งจีนและเวียดนามมีต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าไทยมากจึงใช้การแข่งขันด้านราคา แต่คงใช้ได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในระยะยาวผู้บริโภคจะต้องหันมาให้การตอบรับสินค้าที่มีคุณภาพ รวมไปถึงผ่านขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไทยได้เปรียบทั้งจีนและเวียดนาม
"ทั้งอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปและผลิตภัณฑ์ซูริมิ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในลำดับต้นๆ ของไทย ดังนั้นเมื่อมองเห็นช่องทางความได้เปรียบคู่แข่งตามที่ผลศึกษาระบุแล้ว ผู้ประกอบการควรเตรียมการรับมือให้พร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะหนีคู่แข่งไปให้ไกล หากผู้ประกอบการยังย่ำอยู่กับที่จะเป็นการเสียโอกาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ระบุแนวทางเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันหลายด้านที่สำคัญคือ การตลาดเนื่องจากคู่แข่งจะนำกลยุทธ์ด้านราคามาสู้สินค้าของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการควรต้องสร้างเครือข่ายในการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงและมองหาตลาดใหม่ไว้ด้วย ทั้งต้องรักษามาตรฐานการผลิตควบคุมคุณภาพสินค้าไว้ให้มาก รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง จึงจะช่วยให้ยืนหยัดเหนือคู่แข่งได้ สำหรับการต่อสู้กันด้วยวิธีลดราคาสินค้าให้ถูกกว่าถือเป็นช่วงสั้นๆ ของการแข่งขันเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดและอยู่ได้นานต่อไป" ผอ.สศอ. กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร ทำการศึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขาอาหาร โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหารส่งออก 2 รายการ คือ อุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป และอุตสาหกรรมเนื้อปลาบด หรือ ซูริมิแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ซูริมิแปรรูป โดยเปรียบเทียบกับประเทศจีน และประเทศเวียดนาม สำหรับวิธีทำการศึกษา ได้ใช้ทั้งการสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกรอบหนึ่ง ตามตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรับทราบสถานการณ์เชิงลึก ในอุตสาหกรรมอาหารทั้ง 2 รายการ อันจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในเวทีการแข่งขัน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 70,000 ล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 45 ของการส่งออกสินค้าในหมวดประมง และคิดเป็นร้อยละ 14.38 ของมูลค่าการส่งออกอาหารของไทย
"ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกุ้งไทย กับประเทศเวียดนามและจีน มีความได้เปรียบในหลายปัจจัย โดยเมื่อเทียบความสามารถด้านการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการวิจัยพัฒนารวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ พบว่า ไทยมีความได้เปรียบเป็นอย่างมาก เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมของไทยมีประสบการณ์ ความชำนาญสูง และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทักษะการ เรียนรู้ของแรงงานไทยค่อนข้างเร็ว ขณะที่แรงงานคู่แข่งมีการเรียนรู้ได้ช้ากว่า นอกจากนี้ด้านวัตถุดิบไทยได้เปรียบทั้งจีนและเวียดนาม เนื่องจากเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบได้เองและมีคุณภาพสูงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงกว่า ด้านการตลาดคู่แข่งจะใช้ กลยุทธ์ด้านราคาเข้ามาสู้กับไทย เพื่อเห็นผลทางการตลาดที่เร็วกว่า แต่ในระยะยาวไทยยังได้เปรียบเนื่องจากมีเทคโนโลยีเหนือกว่าและมีตลาดรองรับที่แน่นอน"
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเนื้อปลาบด หรือ ซูริมิแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ซูริมิแปรรูประหว่างไทยกับเวียดนามและจีน จะมีส่วนที่ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน โดยพบว่า ไทยได้เปรียบคู่แข่งในปัจจัยคล้ายกันกับอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป เนื่องจากแรงงานของไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป ทำให้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสูง ส่วนปัจจัยที่เป็นข้อเสียเปรียบของไทยแต่ไม่มีผลมากนักคือ ด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งจีนและเวียดนามมีต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าไทยมากจึงใช้การแข่งขันด้านราคา แต่คงใช้ได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในระยะยาวผู้บริโภคจะต้องหันมาให้การตอบรับสินค้าที่มีคุณภาพ รวมไปถึงผ่านขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไทยได้เปรียบทั้งจีนและเวียดนาม
"ทั้งอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปและผลิตภัณฑ์ซูริมิ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในลำดับต้นๆ ของไทย ดังนั้นเมื่อมองเห็นช่องทางความได้เปรียบคู่แข่งตามที่ผลศึกษาระบุแล้ว ผู้ประกอบการควรเตรียมการรับมือให้พร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะหนีคู่แข่งไปให้ไกล หากผู้ประกอบการยังย่ำอยู่กับที่จะเป็นการเสียโอกาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ระบุแนวทางเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันหลายด้านที่สำคัญคือ การตลาดเนื่องจากคู่แข่งจะนำกลยุทธ์ด้านราคามาสู้สินค้าของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการควรต้องสร้างเครือข่ายในการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงและมองหาตลาดใหม่ไว้ด้วย ทั้งต้องรักษามาตรฐานการผลิตควบคุมคุณภาพสินค้าไว้ให้มาก รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง จึงจะช่วยให้ยืนหยัดเหนือคู่แข่งได้ สำหรับการต่อสู้กันด้วยวิธีลดราคาสินค้าให้ถูกกว่าถือเป็นช่วงสั้นๆ ของการแข่งขันเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดและอยู่ได้นานต่อไป" ผอ.สศอ. กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-