แท็ก
โลกาภิวัฒน์
กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา เป็นกระบวนการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความเจริญเติบโต เพื่อสร้างตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ถูกนำมาอ้างถึงความเจริญและความมั่งคั่ง ตามกระแสการบริโภคนิยมที่ผูกโยงมากับโลกาภิวัฒน์ ทำให้ตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาถูกกำหนดในเชิงตัวเลข เพื่อวัดความสามารถและศักยภาพของบุคคลในทุกระดับ กระบวนทัศน์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาที่ฐานรากที่แข็งแรงไม่เพียงพอที่จะรองรับความใหญ่โตของส่วนอื่นที่มีอยู่บนฐานนั้น เป็นเหตุให้ผลผลิตของกระบวนการพัฒนาต้องล่มสลายเป็นจำนวนมาก ประเด็นเชิงยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา จึงต้องทบทวนกระบวนการทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม โดยเรียนรู้จากอดีต เพื่อสืบหาข้อเท็จจริงและปรับกระบวนการพัฒนาให้หลุดพ้นจากวัฏจักรความล้มเหลวซ้ำซากต่อไป
ความผิดพลาดในการทำงานชุมชน ทำให้เกิดความความล้มเหลวในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนนั้น มีความผิดพลาดจากจุดอ่อนในการมองวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. การมองวิสาหกิจชุมชนด้วยความว่างเปล่า เป็นมุมมองที่มองวิสาหกิจชุมชน “เปรียบเสมือนกับภาชนะที่ว่างเปล่า” ชุมชนต้องขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในทุกๆ ด้าน ชุมชนไม่มีศักยภาพ ไม่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญา
2. การมองปัญหาวิสาหกิจชุมชนแบบแยกส่วน มองไม่เห็นความเชื่อมโยงของระบบที่ต้องพึ่งพาและสอดประสานกัน ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกชุมชน
3. การมองงานวิสาหกิจชุมชนเสมือนว่ามีองค์กรเดียว มองไม่เห็นองค์กรอื่นภายในชุมชน โดยไม่ทำความเข้าใจกับงานขององค์กรอื่นที่ทำงานในชุมชน สำคัญว่าตนเท่านั้นที่เป็นผู้นำและอยู่เหนือกว่าองค์กรอื่น ไม่สนใจองค์กรเล็กๆ ที่เป็นพื้นฐานของชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มสตรีพัฒนา หรือการรวมกลุ่มในลักษณะอื่น เป็นต้น
4. การมองวิสาหกิจชุมชนในทุกชุมชนเหมือนกันหมด
วัฒนธรรมองค์กรภาครัฐโดยทั่วไป มักมีรากฐานและความเชื่อจากแนวคิดที่ว่า “หากแผนงานใดประสบความสำเร็จในชุมชนหนึ่ง ก็สามารถนำไปขยายผลและดำเนินการในรูปแบบและวิธีการเดียวกันในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศได้” ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว วิสาหกิจชุมชนในแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การค้นหาเอกลักษณ์และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน จะช่วยให้การทำงานได้รับความร่วมมือจากชุมชนและมีพลังในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนในที่สุด
กระบวนการทำงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชน ควรที่จะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยใช้ปรัชญาการพัฒนาชนบทแบบองค์รวมยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชนมากกว่าการมุ่งหวังความเจริญเติบโตทางวัตถุตามกระแสการบริโภคนิยม ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ด้วยแนวคิด 4 ประการ คือ
1. Rethink คือ คิดใหม่ให้สามารถทำงานผสมผสานระหว่างความต้องการของหน่วยงาน และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามที่ควรจะเป็น
2. Redesign คือ การนำเอาความคิดใหม่มาออกแบบระบบการทำงานใหม่ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและชุมชน
3. Retool คือ การสร้างเครื่องมือใหม่เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตามแนวคิดใหม่
4. Retrain คือ การเข้ารับการฝึกทักษะหรือการศึกษาเอกสารความรู้ใหม่ๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ความผิดพลาดในการทำงานชุมชน ทำให้เกิดความความล้มเหลวในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนนั้น มีความผิดพลาดจากจุดอ่อนในการมองวิสาหกิจชุมชนของเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. การมองวิสาหกิจชุมชนด้วยความว่างเปล่า เป็นมุมมองที่มองวิสาหกิจชุมชน “เปรียบเสมือนกับภาชนะที่ว่างเปล่า” ชุมชนต้องขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในทุกๆ ด้าน ชุมชนไม่มีศักยภาพ ไม่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญา
2. การมองปัญหาวิสาหกิจชุมชนแบบแยกส่วน มองไม่เห็นความเชื่อมโยงของระบบที่ต้องพึ่งพาและสอดประสานกัน ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกชุมชน
3. การมองงานวิสาหกิจชุมชนเสมือนว่ามีองค์กรเดียว มองไม่เห็นองค์กรอื่นภายในชุมชน โดยไม่ทำความเข้าใจกับงานขององค์กรอื่นที่ทำงานในชุมชน สำคัญว่าตนเท่านั้นที่เป็นผู้นำและอยู่เหนือกว่าองค์กรอื่น ไม่สนใจองค์กรเล็กๆ ที่เป็นพื้นฐานของชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มสตรีพัฒนา หรือการรวมกลุ่มในลักษณะอื่น เป็นต้น
4. การมองวิสาหกิจชุมชนในทุกชุมชนเหมือนกันหมด
วัฒนธรรมองค์กรภาครัฐโดยทั่วไป มักมีรากฐานและความเชื่อจากแนวคิดที่ว่า “หากแผนงานใดประสบความสำเร็จในชุมชนหนึ่ง ก็สามารถนำไปขยายผลและดำเนินการในรูปแบบและวิธีการเดียวกันในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศได้” ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว วิสาหกิจชุมชนในแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การค้นหาเอกลักษณ์และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน จะช่วยให้การทำงานได้รับความร่วมมือจากชุมชนและมีพลังในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนในที่สุด
กระบวนการทำงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชน ควรที่จะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยใช้ปรัชญาการพัฒนาชนบทแบบองค์รวมยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชนมากกว่าการมุ่งหวังความเจริญเติบโตทางวัตถุตามกระแสการบริโภคนิยม ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ด้วยแนวคิด 4 ประการ คือ
1. Rethink คือ คิดใหม่ให้สามารถทำงานผสมผสานระหว่างความต้องการของหน่วยงาน และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามที่ควรจะเป็น
2. Redesign คือ การนำเอาความคิดใหม่มาออกแบบระบบการทำงานใหม่ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและชุมชน
3. Retool คือ การสร้างเครื่องมือใหม่เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตามแนวคิดใหม่
4. Retrain คือ การเข้ารับการฝึกทักษะหรือการศึกษาเอกสารความรู้ใหม่ๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-