นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตแถลงที่พรรคประชาธิปัตย์วันนี้ (18 ก.ค. 2549)ว่า ในวันพรุ่งนี้ เวลา 10.00 น. จะยื่นหนังสือถึงนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทนโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ ตามสัญญาซื้อขายระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย, สัญญาการค้าต่างตอบแทน (Counter purchase Agreement) ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศ กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด ตามสัญญาเลขที่ DFT 38/2547 ลงนามวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2547 และ สัญญาระหว่างบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด กับบริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทย ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า การซื้อขายแบบการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว เป็นเพียงข้ออ้าง เพราะปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัทผู้ส่งออกในประเทศไทย ในวงเงิน 150 ล้านบาท โดยใช้โควตา หรือแผนการส่งออกเดิมมาอ้าง โดยไม่ได้มีการดำเนินการค้าต่างตอบแทนตามหลักเกณฑ์ และประกาศของกระทรวงพาณิชย์ เสมือนเป็นนิติกรรมอำพราง เพื่อแอบอ้างให้มีการจัดซื้อ โดยวิธีพิเศษและทำสัญญาที่ฉ้อฉลเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการสืบสวนสอบสวนของคณะทำงานฯ พบว่า การจัดซื้อดังกล่าว ไม่โปร่งใส ส่อทุจริตเข้าข่ายผิดกฎหมาย พรบ.ป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พรบ.ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการสอบสวนหาผู้กระทำผิด และผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อที่ฉ้อฉลครั้งนี้ จึงใคร่ขอให้ รักษาการรัฐมนตรีพาณิชย์ตรวจสอบ การดำเนินการตามสัญญาการค้าต่างตอบแทน ระหว่าง กรมการค้าต่างประเทศ กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด ฉบับวันที่ 30 กันยายน 2547 และสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ และมีความไม่ถูกต้องตามที่ดีเอสไอ ได้ชี้ประเด็นการสอบสวนหรือไม่
สำหรับกรณีที่นายศิธา ทิวารี โฆษกพรรคไทยรักไทย เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมมือใน
การตรวจสอบทุจริตรถดับเพลิงนั้น ไม่ทราบนายศิธาพูดจริงหรือไม่ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2547 และตอนนั้นไม่เห็นนายศิธาออกมาช่วยตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ หรือช่วยสนับสนุนผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ในการขอให้รัฐบาลทบทวนการจัดซื้อแม้แต่น้อย
ส่วนประเด็น แอล/ซี ที่นายศิธาอ้างว่า ผู้ว่าฯ อภิรักษ์เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการตรวจรับจากเดิมที่อดีตผู้ว่าฯ นายสมัคร ระบุให้ตรวจรับที่โรงงานผู้ผลิตนั้น ถามว่านายศิธามีเจตนาอุ้มผู้ร่วมทุจริต หรือต้องการสร้างประเด็นโจมตีใส่ร้ายนายอภิรักษ์ เพราะการตรวจรับที่โรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศนั้น ง่ายต่อการทุจริต หากกรรมการตรวจรับไม่สุจริต การตรวจรับเมื่อส่งมาถึงเมืองไทยตรวจสอบง่ายกว่ามาก ตัวอย่างที่พิสูจน์เรื่องนี้คือ เมื่อบริษัท สไตเออร์ฯ ส่งรถดับเพลิงมาถึงเมืองไทย เราพบว่าไม่ถูกต้อง ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ก็สั่งระงับไม่ตรวจรับ และทุกฝ่ายสามารถร่วมตรวจสอบได้โดยง่าย
“ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ พยายามยับยั้งการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ ในปลายปี 2547 และไม่ตรวจรับเมื่อพบว่า ไม่ถูกต้องในปี 2549 ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งแตกต่างราวฟ้ากับดินกับนายโภคิน พลกุล และนายประชา มาลีนนท์ รมว.และรมช.มหาดไทย และนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าฯ กทม.ขณะนั้น ที่รวบรัดทำสัญญาและเร่งรัดให้มีการเปิดแอลซี และอย่าลืมว่า ดีเอสไอ ระบุว่า มี 3 รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทย ต้องรับผิดชอบในความผิดที่เกิดขึ้น ขณะนี้ ควรช่วยกันระงับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย การให้นายกฯ ยกเลิกสัญญาจีทูจี และมติครม.เรื่องการจ่ายเงินงวดแรก 506 ล้านบาทให้กับผู้ขาย อย่าพยายามเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง หรือโยนบาปให้คนอื่น”
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หากเปรียบเทียบเรื่องรถดับเพลิงฯ กับการทุจริตติดสินบนซีทีเอ็กซ์ 9000 จะพบว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการติดสินบนข้ามชาติ และราคาซื้อแพงเกินจริง 1,400 ล้านบาท แทนที่ผู้บริหารบทม., รัฐมนตรีคมนาคม และนายกฯ ทักษิณ จะระงับการตรวจรับ และบอกเลิกสัญญา กลับเดินหน้าตรวจรับ และจัดซื้อ โดยไม่สนใจข้อท้วงติงแต่อย่างใด ต่างกับการดำเนินการของผู้ว่าฯ กทม. นายอภิรักษ์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2549--จบ--
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการสอบสวนหาผู้กระทำผิด และผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อที่ฉ้อฉลครั้งนี้ จึงใคร่ขอให้ รักษาการรัฐมนตรีพาณิชย์ตรวจสอบ การดำเนินการตามสัญญาการค้าต่างตอบแทน ระหว่าง กรมการค้าต่างประเทศ กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุด ฉบับวันที่ 30 กันยายน 2547 และสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ และมีความไม่ถูกต้องตามที่ดีเอสไอ ได้ชี้ประเด็นการสอบสวนหรือไม่
สำหรับกรณีที่นายศิธา ทิวารี โฆษกพรรคไทยรักไทย เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมมือใน
การตรวจสอบทุจริตรถดับเพลิงนั้น ไม่ทราบนายศิธาพูดจริงหรือไม่ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2547 และตอนนั้นไม่เห็นนายศิธาออกมาช่วยตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ หรือช่วยสนับสนุนผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ในการขอให้รัฐบาลทบทวนการจัดซื้อแม้แต่น้อย
ส่วนประเด็น แอล/ซี ที่นายศิธาอ้างว่า ผู้ว่าฯ อภิรักษ์เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการตรวจรับจากเดิมที่อดีตผู้ว่าฯ นายสมัคร ระบุให้ตรวจรับที่โรงงานผู้ผลิตนั้น ถามว่านายศิธามีเจตนาอุ้มผู้ร่วมทุจริต หรือต้องการสร้างประเด็นโจมตีใส่ร้ายนายอภิรักษ์ เพราะการตรวจรับที่โรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศนั้น ง่ายต่อการทุจริต หากกรรมการตรวจรับไม่สุจริต การตรวจรับเมื่อส่งมาถึงเมืองไทยตรวจสอบง่ายกว่ามาก ตัวอย่างที่พิสูจน์เรื่องนี้คือ เมื่อบริษัท สไตเออร์ฯ ส่งรถดับเพลิงมาถึงเมืองไทย เราพบว่าไม่ถูกต้อง ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ก็สั่งระงับไม่ตรวจรับ และทุกฝ่ายสามารถร่วมตรวจสอบได้โดยง่าย
“ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ พยายามยับยั้งการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ ในปลายปี 2547 และไม่ตรวจรับเมื่อพบว่า ไม่ถูกต้องในปี 2549 ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งแตกต่างราวฟ้ากับดินกับนายโภคิน พลกุล และนายประชา มาลีนนท์ รมว.และรมช.มหาดไทย และนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าฯ กทม.ขณะนั้น ที่รวบรัดทำสัญญาและเร่งรัดให้มีการเปิดแอลซี และอย่าลืมว่า ดีเอสไอ ระบุว่า มี 3 รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทย ต้องรับผิดชอบในความผิดที่เกิดขึ้น ขณะนี้ ควรช่วยกันระงับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย การให้นายกฯ ยกเลิกสัญญาจีทูจี และมติครม.เรื่องการจ่ายเงินงวดแรก 506 ล้านบาทให้กับผู้ขาย อย่าพยายามเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง หรือโยนบาปให้คนอื่น”
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หากเปรียบเทียบเรื่องรถดับเพลิงฯ กับการทุจริตติดสินบนซีทีเอ็กซ์ 9000 จะพบว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการติดสินบนข้ามชาติ และราคาซื้อแพงเกินจริง 1,400 ล้านบาท แทนที่ผู้บริหารบทม., รัฐมนตรีคมนาคม และนายกฯ ทักษิณ จะระงับการตรวจรับ และบอกเลิกสัญญา กลับเดินหน้าตรวจรับ และจัดซื้อ โดยไม่สนใจข้อท้วงติงแต่อย่างใด ต่างกับการดำเนินการของผู้ว่าฯ กทม. นายอภิรักษ์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2549--จบ--